ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

พรุ่งนี้แล้ว! ศาลฎีกาพิพากษาคดีสิทธิในที่ดินทำกินและวิถีชีวิตของชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอญอ บ้านแม่อมกิ

วันพุธที่ 22 มีนาคม 2560 ณ ศาลจังหวัดแม่สอด จังหวัดตาก เวลา 09.00 น. มีนัดอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชา ชาวปกาเกอญอ ชุมชนบ้านแม่อมกิ ที่ถูกดำเนินคดีจากการทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชุมชน โดยในวันเดียวกันนั้นทนายความจะยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดแม่สอดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนายดิ๊แปะโพหรือดิแปะโป จำเลยอีกคดีจากการกระทำความผิดในฐานเดียวกัน เพื่อให้ศาลอ่านคำพิพากษาในวันดังกล่าวข้างต้นพร้อมกันทั้ง 2 คดี (จากเดิมที่ศาลมีนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 23 มีนาคม 2560) คดีนี้เริ่มต้นจากชาวกะเหรี่ยง 2 คนคือ นางน่อเฮมุ้ย เวียงวิชชา และนายดิแปะโป ที่มีอาชีพทำไร่หมุนเวียนเพื่อเลี้ยงชีพ ในชุมชนบ้านแม่อมกิ ตำบลแม่ว่าหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุมในที่ดินที่ตนเองได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าบุกรุกทำลายป่า โดยถูกนำไปขังและฟ้องเป็นคดีความต่อศาลในเวลาต่อมา และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องทั้งสองคดี โดยเห็นว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ เป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง หลังมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น พนักงานอัยการได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในคดีของนางน่อเฮมุ้ย แต่อย่างไรก็ดี ศาลเห็นว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวน แม้การกระทำของจำเลยจะขาดเจตนา แต่ก็ไม่มีสิทธิที่จะเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่เกิดเหตุได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องออกจากป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุ ส่วนคดีของนายดิแปะโปศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยให้เหตุผลว่า แม้ว่าจำเลยจะทำกินในที่ดินดังกล่าวต่อจากบิดามารดาอันเป็นเวลาก่อนที่จะมีการประกาศให้เป็นเขตป่าสงวน และแม้ว่าจำเลยไม่ทราบว่าเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อกฎกระทรวงกำหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว […]

ใบแจ้งข่าว : ฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีสิทธิในที่ดินทำกินและวิถีชีวิตของชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอญอบ้านแม่อมกิ

วันพุธที่ 22 มีนาคม 2560 เวลา 9.00 น. ณ ศาลจังหวัดแม่สอด จังหวัดตาก ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา ชาวปกาเกอญอที่ถูกดำเนินคดีจากการทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชุมชนดั้งเดิม คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551 เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้จับกุมชาวปกาเกอญอกลุ่มหนึ่งในขณะกำลังทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชุมชนดั้งเดิม ที่ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน 2551 พนักงานอัยการจังหวัดแม่สอดได้ส่งฟ้องผู้ต้องหา 2 คน ต่อศาลจังหวัดแม่สอด คือ นางน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายนายดิ๊แปะโพ ไม่มีชื่อสกุล โดยทั้งสองเป็นประชาชนในชุมชนแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 และความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ.2507 ในศาลชั้นต้น จำเลยทั้ง 2 คนรับสารภาพตามคำฟ้อง จึงไม่มีการสืบพยาน ศาลจึงตัดสินพิพากษาโดยคดีของนายดิ๊แปะโพให้ลงโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือนรับ สารภาพลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 1 ปี […]

ตามหาความเป็นธรรม ภรรยาและลูกๆบิลลี่เดินทางเข้าพบ ป.ป.ท. สอบถามความคืบหน้าการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมตัวบิลลี่

เกือบจะเข้าปีที่ 3 แล้วที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ที่ด่านเขามะเร็ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าบิลลี่มีรังผึ้งและน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นบิลลี่ก็หายตัวไปโดยไม่ทราบชะตากรรมจนกระทั่งบัดนี้ วันที่ 19 ธันวาคม 2559 นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของนายบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ จึงได้เดินทางเข้าพบประธานอนุกรรมการไต่สวนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการที่จะใช้เพื่อดำเนินการสืบหาตัวบิลลี่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการหายตัวไปของบิลลี่ การดำเนินการของ ป.ป.ท. เริ่มต้นจากพนักงานสอบสวนจากสถานีตำรวจภูธรแก่งกระจานได้ส่งสำนวนให้ ป.ป.ท. ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2557 เพื่อให้ดำเนินการกับนายชัยวัฒน์และพวกรวม 4 คนกรณีที่มีการกล่าวโทษว่านายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น กับพวกรวม 4 คนมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 จากการนายชัยวัฒน์ กับพวกได้ควบคุมตัวนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ผู้นำชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ไว้เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 โดยอ้างว่ามีของกลางเป็นน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง แต่เจ้าหน้าที่อุทยานฯก็ไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย […]

เสวนา 2 ปีบิลลี่ ญาติและองค์กรสิทธิเรียกร้องให้เร่งสืบสวนสอบสวนคดีจนทราชะตากรรมของบิลลี่และเด่น คำแหล้ รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐเร่งสร้างกลไกเพื่อป้องกันการบังคับสูญหาย

วันที่ 10 พฤษภาคม2559 ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร่วมกันจัดเวทีเสวนาวิชาการ 2 ปีบิลลี่ : อุ้มหายคน อุ้มหายความยุติธรรม อุ้มหายสิทธิเสรีภาพ เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนและวิเคราะห์สถานการณ์การบังคับสูญหาย รวมทั้งจัดทำข้อเสนอของภาคประชาสังคมต่อกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้สูญหาย ตลอดจนร่วมผลักดันให้มีการออกกฎหมายดังกล่าวโดยเร่งด่วนเพื่อที่จะยกระดับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและผลักดันกลไกในการป้องกันการบังคับสูญหายและมีกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในงานมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 50 คน คุณพิณภา พฤกษาพรรณ หรือมึนอ ภรรยาของบิลลี่ กล่าวถึงการหายตัวไปของบิลลี่ วันสุดท้ายที่เขาพบบิลลี่อยู่บ้านก็คือวันที่ 15 เมษายน 2557 และได้ข่าวจากน้องชายของบิลลี่ ว่าเจ้าหน้าที่อุทยานควบคุมตัวเขาไว้ที่ด่านมะเร็ว เหล่าแล้วเขาก็หายตัวไป มึนอยังกล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวพันกับการหายตัวไปของบิลลี่และถูกร้องขอให้ตรวจสอบและขอให้ย้ายออกจากพื้นที่ แต่ปัจจุบันกลับได้รับผิดชอบหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เหมือนคนๆนี้มีอำนาจเหนือกฎหมาย ทำไมคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำบิลลี่และคดียังไม่ถึงที่สุด กลับได้รับตำแหน่งที่ดูจะใหญ่โตขึ้น นอกจากนี้ มึนอยังกล่าวถึงการยื่นคำร้องให้ศาลตรวจสอบการควบคุมตัวบิลลี่โดยมิชอบ ตามมาตรา 90 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ก็ปรากฎว่าทั้งสามศาลต่างยกฟ้องไปแล้ว คุณวราภรณ์ อุทัยรังสี ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีบทบาทเข้าไปช่วยเหลือทางกฎหมายในการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวบิลลี่โดยมิชอบ สะท้อนปัญหาว่าการใช้เครื่องมือทางกฎหมายผ่านกลไกมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น พบว่าศาลไม่ได้เข้าไปค้นหาความจริงอย่างเต็มที่ ในศาลฎีกานั้นพบว่าศาลเน้นวินิจฉัยในข้อกฎหมายจนตัดข้อเท็จจริงออกไปแทบทั้งหมด กล่าวคือศาลฎีกาเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ศาลไม่สามารถรับฟังพยานปากของชัยวัฒน์และเจ้าหน้าที่ได้ ส่วนพยานฝ่ายของผู้ร้องก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงให้ฟังได้ ข้อเท็จจริงที่จะรับฟังว่าบิลลี่ถูกควบคุมตัวไว้โดยมิชอบจริงหรือไม่จึงไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ศาลก็เลยยกฟ้อง มีคำถามว่า กรณีเช่นนี้ที่กระบวนการพิจารณาที่กระทำโดยมิชอบตั้งแต่ศาลชั้นต้น จนนำมาสู่การตัดพยานและการยกฟ้อง […]

ทบทวนการใช้กลไกทางกฎหมายกรณีการหายตัวไปของบิลลี่ 2 ปีการหายไปของบิลลี่ กับความยุติธรรมที่ยังมาไม่ถึง

นับตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2557 ที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ที่ด่านเขามะเร็ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าบิลลี่มีรังผึ้งและน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นบิลลี่ก็หายตัวไปโดยไม่ทราบชะตากรรมจนกระทั่งบัดนี้  แม้ภายหลังนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจะอ้างว่าได้ทำการตักเตือนและปล่อยตัวบิลลี่ไปแล้ว อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏหลักฐานที่อ้างเกี่ยวกับการจับกุมและหลักฐานการปล่อยตัวแต่อย่างใด บิลลี่เป็นแกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย  นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ช่วยทนายความในคดีที่ชาวบ้านบางกลอยยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่อศาลปกครองกลาง จากกรณีที่นายชัยวัฒน์  ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว  ที่บ้านบางกลอยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ตาม“โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตามแนวชายแดนไทยพม่า”  หรือ“ยุทธการตะนาวศรี”  เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แม้จะปรากฏผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า100ปีแล้วขณะที่บิลลี่หายตัวไปนั้นอยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว นอกจากนี้ บิลลี่ยังอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ทั้งนี้ เรายังเชื่อด้วยว่านายบิลลี่มีพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีและกรณีร้องเรียนดังกล่าวอยู่กับตัวด้วยในขณะที่หายไป หลังจากที่บิลลี่ถูกบังคับให้หายตัวไป ครอบครัวของเขา รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในและระหว่างประเทศหลายองค์กร ได้พยายามเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องให้มีการสืบสวนสอบสวนหาตัวบิลลี่และนำตัวผู้กระทำมาลงโทษ ผ่านการใช้กลไกทางกฎหมายหลากหลายช่องทาง แต่ 2 ปีผ่านไป การดำเนินการเหล่านั้นกลับไม่ประสบความสำเร็จมากนัก การสืบสวนสอบสวนคดีอาญา การดำเนินคดีอาญาถือเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการที่จะสืบหาตัวบิลลี่ที่สูญหายไปและนำผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เขาหายไปมารับโทษอย่างเหมาะสม การสืบสวนสอบสวนเริ่มต้นขึ้น เมื่อนางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของบิลลี่  […]

ศาลสั่งสอบนายชัยวัฒน์ หัวหน้าอุทยานแก่งกระจาน กรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่

ล่าสุดวันนี้ เวลาประมาณ 15.30 นาฬิกา ศาลจังหวัดเพชรบุรี ได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่ส่วนคำร้องกรณีนายบิลลี่หายตัวไป โดยศาลสั่งให้นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและนายเกษม ลือฤทธิ์ หัวหน้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กจ.6 (เขามะเร็ว) มาสอบพยานเพิ่มเติม ในวันที่ 30 เมษายน 2557 เวลา 13.30 นาฬิกา โดยกรณีนี้สืบเนื่องมาจาก เช้าวันนี้ (24 เมษายน 2557) คณะทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมูลนิธิผสานวัฒนธรรม พร้อมด้วยภรรยาของนายบิลลี่ หรือ นายพอละจี รักจงเจริญ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดเพชรบุรีเพื่อขอไต่สวนกรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่ เพื่อขอศาลเรียกหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมตัวมาไต่สวนให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการควบคุมตัวนายบิลลี่ และขอให้ปล่อยตัวทันที ทั้งนี้ นายบิลลี่ เป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน แกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย อ.แก่งกระจาน จ. เพชรบุรี  ได้หายตัวไปหลังจากถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจับกุมเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 และไม่ทราบชะตากรรมจนถึงปัจจุบัน ในช่วงบ่าย ศาลได้พิจารณาไต่สวนคำร้องและพยานฝ่ายผู้ร้องแล้วเห็นว่า กรณีมีเหตุอันสมควรสงสัยว่า นายพอละจีอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานหรือไม่ เพื่อให้ข้อเท็จจริงกระจ่างขึ้น จึงเห็นสมควรให้มีหมายเรียก นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานและนายเกษม […]

1 2 3