ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

ดีเอสไอ รับจะนำเสนอคดีบิลลี่ให้คณะกรรมการคดีพิเศษพิจารณาในอีก 2 เดือนข้างหน้า

วันนี้ 27 เมษายน 2561 นางสาวพิณภา พฤกษาพรรณ หรือมึนอภรรยาบิลลี่ ลูกสาว และชาวบ้านบางกลอย พร้อมตัวแทนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNOHCHR) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เข้าพบผู้แทนกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ เพื่อสอบถามความคืบหน้าและหารือเกี่ยวกับคดีบังคับสูญหายนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่หายไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน การเข้าพบกรมสอบสวนคดีพิเศษครั้งนี้ เกิดจากความไม่คืบหน้าและความไม่ชัดเจนในการดำเนินคดีบิลลี่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพราะช่วงต้นปี 2560 กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีหนังสือแจ้งมายังมึนอว่าว่าคณะกรรมการคดีพิเศษมีมติไม่รับกรณีการหายตัวไปของบิลลี่เป็นคดีพิเศษ โดยมติดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมวันที่ 10 มิถุนายน 2559 หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปีบิลลี่ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือ ICJ ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง ประเทศไทย: ยังคงไม่มีความคืบหน้าใดๆในวันครบรอบ 4 ปี ที่“บิลลี่”ถูกบังคับให้สูญหาย ระบุว่าการสืบสวนสอบสวนคดีบิลลี่ไม่มีความคืบหน้าและและดีเอสไอปฏิเสธไม่รับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ  ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษก็ออกมาชี้แจงอย่างรวดเร็วว่าคดีบิลลี่ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ใช่มีมติไม่รับเป็นคดีพิเศษแล้วตามที่ปรากฏเป็นข่าวแต่อย่างใด การเข้าพบครั้งนี้ มีพ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร […]

รายงาน 4 ปีการบังคับสูญหายบิลลี่ ความยุติธรรมที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

โดย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแม่เพรียง มีฐานะเป็นหลานของปู่โคอี้ หรือคออี้ มีมิ ผู้เฒ่าวัย 107 ปี ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาติพันธ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน หนึ่งในผู้ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ออกจากถิ่นฐานที่บรรพบุรุษชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอยู่อาศัยทำกินมานับร้อยปี บิลลี่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ต้องจากแผ่นดินเกิด เพราะนโยบายการอนุรักษ์ที่มองไม่เห็นชีวิตของผู้คน  บิลลี่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในคดีที่ปู่คออี้ และชาวกะเหรี่ยงบางกลอยอีก 5 คน ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต่อศาลปกครองกลาง จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ภายใต้ปฏิบัติการ “ยุทธการตะนาวศรี หรือโครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม     ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน” ซึ่งเป็นโครงการที่มีขึ้นเพื่อผลักดันให้ชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมออกจากพื้นที่ แม้พวกเขาจะเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้วก็ตาม ในช่วงที่บิลลี่หายตัวไป เป็นช่วงที่กำลังมีการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว และอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรม “วันที่ 17 เมษายน 2557 เวลาประมาณ 16.00 น. ผมได้รับโทรศัพท์จากพี่ชายของบิลลี่ บอกว่า บิลลี่ถูกจับเรื่องน้ำผึ้งที่ด่านมะเร็ว ให้ช่วยไปดูที่โรงพักหน่อย แต่ด้วยเห็นว่าวันนี้ค่ำแล้ว […]

4 ปีบิลลี่หาย รอก่อน…ความยุติธรรมยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่เป็นสมาชิก อ.บ.ต. ห้วยแม่เพรียง เป็นหลายปู่โคอี้ ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาติพันธ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย เขามีภรรยาและลูกที่ต้องดูแลอีก 5 คน ลูกทุกคนยังอยู่ในวัยเรียน บิลลี่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นปากเป็นเสียงให้พี่น้องชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบางกลอยของเขา ที่ถูกบังคับไล่รื้อให้ต้องจากผืนดินเกิด เนื่องจากนโยบายการอนุรักษ์ที่มองไม่เห็นผู้คน เขาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในคดีที่ปู้คออี้ และชาวกระเหรี่ยงบางกลอยอีก 5 คนยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่อศาลปกครองกลาง จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว ที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ตาม“โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตามแนวชายแดนไทยพม่า” หรือ “ยุทธการตะนาวศรี” เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แม้จะปรากฏผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า 100 ปีแล้ว ในช่วงที่บิลลี่หายตัวไป เป็นช่วงที่กำลังมีการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว และอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรม “วันที่ 17 เมษายน 2557 เวลาประมาณหกโมงเย็น ผมได้รับโทรศัพท์ติดต่อจากครูในหมู่บ้านบอกว่า บิลลี่ถูกจับที่ด่านมะเร็ว เป็นเรื่องน้ำผึ้ง ให้ไปดูที่โรงพักหน่อย แต่ผมเห็นว่าไม่ไช่ความผิดร้ายแรงอะไร และมันก็ค่ำแล้ว เตรียมเอกสารประกันตัวไม่ทัน วันนั้นก็เลยไม่ได้ไป แต่ผมก็ได้โทรหาบิลลี่นะ โทรไปสองครั้ง แต่บิลลี่ไม่รับสาย […]

กรณีการหายตัวไปของนายบิลลี่ กับอนุญาฯการต่อต้านการอุ้มหาย โดย ญาดา หัตถธรรมนูญ

นายบิลลี่ หรือ นายพอจะลี รักจงเจริญ เป็นแกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ช่วยทนายความ อยู่ระหว่างการเตรียมการต่อสู้คดีปกครองที่ชาวบ้านบางกลอยยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชและนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร จากกรณีการเข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว ที่บ้านบางกลอยเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2554 เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่แม้ปรากฎผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดังเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า 100 ปีแล้ว นอกจากนี้ นายบิลลี่ยังอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ทั้งนี้ เชื่อว่านายบิลลี่มีพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีและกรณีร้องเรียนดังกล่าวอยู่กับตัวด้วยในขณะที่หายไป นายบิลลี่หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 โดยมีชาวบ้านพบเห็นนายบิลลี่ครั้งสุดท้ายเมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. ขณะถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ต่อมาเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2557 นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้ยอมรับว่าควบคุมตัวนายบิลลี่จริง เนื่องจากค้นตัวนายบิลลี่แล้วพบรังผึ้งและน้ำผึ้งหกขวด ตนจึงได้ทำการตักเตือน และอ้างว่าได้ปล่อยตัวนายบิลลี่ไปแล้ว อย่างไรก็ตามไม่ปรากฏหลักฐานที่อ้างเกี่ยวกับการจับกุมตามข้อกล่าวหาและหลักฐานการปล่อยตัวแต่อย่างใด จนถึงปัจจุบันเป็นเวลาร่วม 6 วันแล้วหลังจากถูกควบคุมตัว ที่ยังไม่มีผู้ใดพบเห็นนายบิลลี่อีก โดยครอบครัวของนายบิลลี่ พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านบางกลอยได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ไว้แล้ว ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกันยายน 2554 ได้มีการลอบสังหารนายทัศน์กมล โอบอ้อม […]

ความไม่ชัดเจนของสิทธิชุมชนในคดีกะเหรี่ยงแก่งกระจาน โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 ศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ส.660/2559 (คำพิพากษาฯ) ระหว่างนายโคอิหรือโคอี้ มิมิ กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี  กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กับพวกรวม 2 คน เป็นผู้ถูกฟ้อง คำพิพากษาคดีนี้ได้รับความสนใจจากสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง  เพราะคดีนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในการผลักดันชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ให้ออกจากพื้นที่ดังกล่าว  ด้วยมาตรการที่รุนแรงที่สุดเท่าที่หน่วยงานเคยใช้มาก่อนหน้านี้ คือ การเผาทำลายบ้านพัก และทรัพย์สินของชาวกะเหรี่ยงที่ถูกกล่าวหาว่าเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่อุทยานโดยผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2559 ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ได้จัดเสวนาวิชาการในหัวข้อ วิถีชาติพันธุ์และ “ความยุติธรรมทางสังคม?” ผู้เขียนในฐานะนักกฎหมายได้รับเกียรติจากผู้จัดให้เป็นหนึ่งในวิทยากรเพื่อให้แง่มุมต่อคำพิพากษาฯ บทความสั้นชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่ได้พูดคุยในเวทีดังกล่าวในประเด็นสิทธิชุมชน   โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการวางบรรทัดฐานในการรับรองสิทธิชุมชนในสังคมไทยต่อไป 1. คำพิพากษาฯ กับ สิทธิชุมชนตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ประเด็นหลักสำคัญที่สุดและส่งผลต่อการวินิจฉัยประเด็นอื่น ๆ ตามมา คือ […]

จอแฮริ สุณี ดอกไม้ : ความอยุติธรรมภาคต่อในผืนป่าแก่งกระจาน

วันนี้ (20 กันยายน 2560) เป็นวันที่พนักงานอัยการจังหวัดเพชรบุรีนัดส่งสำนวนและสั่งคดี กรณี 3 ชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงถูกดำเนินคดีข้อหาความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และอาวุธปืน ทั้งสามคนเข้าพบอัยการตามนัด พร้อมทั้งขอยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ทั้งนี้ พนักงานอัยการให้เลื่อนนัดสั่งคดีไปเป็นวันที่ 19 ตุลาคม 2559 ผู้ต้องหา 3 คนคือ นายจอแฮริ กว่าบุ นายสุณี กว่าบุ และนายดอกไม้ พื้อแม้ ทั้ง 3 เป็นชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย พวกเขาถูกดำเนินคดีแบบงงๆ ในข้อหาทำไม้หรือทำอันตรายใดๆแก่ไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต แปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต, ยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่นสร้าง แผ้วถางหรือทำด้วยประการใดๆอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต, มีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต, เก็บหาของป่า นำออกไปหรือทำด้วยประการใดๆให้เป็นอันตรายแก่สภาพป่าไม้ภายในอุทยานโดยไม่ได้รับอนุญาต การดำเนินคดีดังกล่าวมาจากเหตุการณ์การเข้าตรวจค้นของเจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ เจ้าหน้าที่กองร้อยตำรวจตะเวนชายแดนที่ 144 และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 และได้ตรวจพบไม้แปรรูปจำนวนหนึ่ง ในพื้นที่หมู่ 1 ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ทั้ง […]

แอะนอ พุกาด : กฎหมาย วิถีชีวิต และสิทธิชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย

นางแอะนอ พุกาด อายุ 40 ปี หญิงชาติพันธุ์กะเหรี่ยงดั้งเดิมติดแผ่นดิน เกิดและตั้งรกรากถิ่นฐานบนพื้นที่บริเวณลำห้วยที้โพ้เปรือ หรือภาษาไทยเรียกว่าห้วยส้ม เป็นบริเวณที่ชาวกระเหรี่ยงดั้งเดิมเรียกว่า “ใจแผ่นดิน” บรรพบุรุษของเธอตั้งรกรากในพื้นที่นี้มาหลายชั่วอายุคนเป็นเวลานานกว่า 100 ปี เธอยังไม่มีบัตรประชาชน แต่ถือบัตรเลข 0 และเธอพูดและฟังภาษาไทยไม่ได้ สามีของเธอเสียชีวิตเมื่อ 2 ปีก่อน เธอมีลูก 4 คน เป็นชาย 3 หญิง 1 คน ปัจจุบันเธอจึงมีภาระเลี้ยงดูลูกที่ยังเรียนอยู่ 2 คน ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ลูกๆทุกคนของเธอเกิดในพื้นที่บริเวณใจแผ่นดินเช่นเดียวกันเธอ และทุกคนถือบัตรเลข 0 อยู่ระหว่างรอสถานะ เธอเป็นหนึ่งในคนที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับชาวบางกลอย โดยเฉพาะเหตุการณ์ผลักดันและเผาบ้านกะเหรี่ยงเมื่อปี 2554 ปัจจุบันเธอกำลังจะถูกดำเนินคดี เพราะทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชีวิตเพื่อการเลี้ยงชีพ วิถีชีวิตชาติพันธุ์กะเหรี่ยงผูกติดกับที่ดิน กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียน ซึ่งเป็นไร่ในลักษณะดั้งเดิมในที่ดินที่มีมากกว่าหนึ่งแปลงแล้วผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อที่จะได้มีการพักฟื้นที่ดินเพื่อปรับความสมดุลตามธรรมชาติ การทำไร่แบบเป็นแกนหลักต่อการดำรงชีวิต วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ซึ่งมีคุณูปการต่อระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดิน ภาวะไร้สารพิษทางการเกษตร […]

3 ปีบิลลี่ กับ 3 ประเด็นสิทธิที่ยังค้างคา

วันนี้ (17 เมษายน 2560) เครือข่ายภาคประชาชนชาติพันธุ์กระเหรี่ยง ได้ร่วมกันจัดงาน 3 ปีบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ ณ ห้วยกระซู่ ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี โดยมีชาวบ้านชาต้พันธุ์กระเหรี่ยงเจ้าร่วมงานจากหลายพื้นที่ อาทิ บ้านลิ้นช้าง บ้านพุน้ำร้อน บ้านสาลิกา บ้านห้วยกระซู่ บ้านบางกลอย บ้านตากแดด ฯลฯ 17 เมษายน 2560 เป็นวันครบรอบ 3 ปีที่บิลลี่หายไป หลังถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บิลลี่ถือเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและเป็นตัวแทนชุมชนบางกลอย ในการประสานงานดำเนินการเรื่องสิทธิชุมชนของคนกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ต้นน้ำเพชรบุรี ในงานมีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและรำลึกถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่จากไป อาทิ นายทัศกมล โอบอ้อม หรืออาจารย์ป๊อด ผู้ที่ช่วยเหลือชาวบ้านบางกลอยเรียกร้องสิทธิหลังถูกเผาบ้านไล่รื้อจากแผ่นดินเดิม ณ ใจแผ่นดิน อาจารย์ป๊อดถูกยิงในวันที่ 10 กันยายน 2554 กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ นักปกป้องสิทธิชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบางกลอย เขาหายตัวไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน […]

ศาลฎีกาพิพากษาคดีสองชาวชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบ้านแม่อมกิ ไม่ผิดฐานบุกรุกป่าสงวน เพราะอยู่มาก่อน แต่ต้องออกจากพื้นที่

วันที่ 21 มีนาคม 2560 ศาลจังหวัดแม่สอด จังหวัดตาก อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดี 2 ชาวกระเหรี่ยงบ้านแม่อมกิ คือ นางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายดิแปะโปหรือดิ๊แปะโพ ถูกดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ โดยศาลฎีกามีคำพิพากษาสรุปความได้ว่า จำเลยทั้งสองไม่มีความผิด เพราะขาดเจตนาบุกรุก เนื่องจากเป็นคนดั้งเดิมอยู่อาศัยทำกินมาก่อนประกาศเขตป่าสงวน แต่อย่างไรก็ดี ศาลฎีกายังคงยืนยันให้จำเลยทั้งสองและบริวารต้องออกจากพื้นที่ เดินในวันนี้ (22 มีนาคม 2560) ศาลนัดอ่านคำพิพากษาเฉพาะคดีของนางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา คดีหมายเลขดำที่ อ.1770/2551 หมายเลขแดงที่ 1737/2551 คดีความผิดต่อพ.ร.บ ป่าไม้ และพ.ร.บ ป่าสงวนแห่งชาติ แต่ทนายความได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลอ่านคำพิพากษาฎีกาในคดีของนายดิแปะโปหรือดิ๊แปะโพ หมายเลขดำที่ อ.1771/2551 หมายเลขแดงที่ 1738/2551 ด้วยในวันเดียวกันนี้ จากเดิมที่ศาลนัดอ่านในวันที่ 23 มีนาคม 2560 คดีนี้สืบเนื่องจากชาวกระเหรี่ยง 2 คนคือ นางน่อเฮมุ้ย เวียงวิชชา และนายดิแปะโป ที่มีอาชีพทำไร่หมุนเวียนเพื่อเลี้ยงชีพ ในชุมชนบ้านแม่อมกิ ตำบลแม่ว่าหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก […]

เมื่อผีเสื้อขยับปีก …… เผยให้เห็นว่าประเทศไทยมีอาชญากรมากกว่า 2 ล้านคน โดย เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล

หลังการอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์คดีนางหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายดิ๊แปะโพ ชาวปกาญอ บ้านแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ทำให้เกิดคำถามต่างๆ ตามมามากมายในกลุ่มนักกฎหมาย ทนายความสิทธิมนุษยชน นักวิชาการและชาวบ้าน ซึ่งได้ติดตามคดีนี้มาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคดีนี้มีเป็นคดีแรกที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุม เนื่องจากทำไร่หมุนเวียน ได้ยกเอาหลักสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 และ 67 และ หลักวิชาการเกี่ยวกับการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งถือเป็นวิถีการเกษตรที่ต่อเนื่องและเกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม มาเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล เป็นผลให้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งสองคดี แต่ศาลอุทธรณ์กลับมีคำพิพากษาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้ง สองคดีนี้มีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันในสาระสำคัญ กล่าวคือ ที่พิพาทอยู่ติดกันโดยตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง , ถูกจับกุมในวันเดียวกัน , สภาพการใช้พื้นที่เหมือนกัน คือ ทำไร่หมุนเวียน , โจทก์ฟ้องในข้อหาเดียวกันและใช้พยานชุดเดียวกัน , จำเลยก็ยกข้อต่อสู้เหมือนกันและใช้พยานชุดเดียวกัน , ที่สำคัญคือ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเหมือนกันซึ่งสรุปได้ว่า “จำเลยเป็นชาวเขา เผ่ากะเหรี่ยงไม่สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้ และได้อาศัยที่พิพาททำประโยชน์มาก่อนที่จะถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ เข้าใจผิดคิดว่าสามารถทำกินได้ เห็นว่าเป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง” อย่าง ไรก็ตามเมื่ออัยการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีความเห็นสำหรับสองคดีนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ คดีนางหน่อเฮหมุ่ย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยสรุปได้ว่า “การ ที่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่เกิดเหตุในลักษณะไร่หมุนเวียนมาก่อน ย่อมทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าที่เกิดเหตุเป็นที่ที่จำเลยสามารถเข้าทำประโยชน์ […]

1 2 3