คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558

พรทิพย์ หงชัย : กฎหมายชุมนุมฯ ทำให้เสียงของผู้เดือดร้อนเงียบลง

สถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ที่กระทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 สิทธิและสรีภาพของประชาชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆของประชาชนถูกจำกัดมากกว่าในยุครัฐบาลปกติ นอกจากรัฐบาลทหารจะมีกองกำลังที่ใหญ่โตในมือเพื่อปิดกั้นการเคลื่อนไหวของประชาชนแล้ว สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลทหารนำมาใช้และค่อนข้างได้ผลก็คือกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยกฎหมายที่มักจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจำกัดเสรีภาพของประชาชนก็คือพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ถูกตราออกมาได้โดยง่ายในยุคสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีสมาชิกประกอบด้วยข้าราชการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในยุครัฐบาลปกติ แม้จะมีการพยายามผลักดันกฎหมายเหล่านี้ แต่ก็ไม่สามารถจะตราออกมาได้ง่ายๆ ส่วนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ารัฐธรรมนูญมาตรานี้ได้ให้อำนาจแก่หัวหน้า คสช. อย่างกว้างขว้างในการออกคำสั่งใดๆก็ได้ในนามของการรักษาความสงบและการปฏิรูปประเทศ และที่ผ่านมาก็มีการใช้อำนาจตามมาตราดังกล่าวออกคำสั่งต่างๆที่มีค่าบังคับเป็นกฎหมายมาใช้บังคับมากมาย โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ กฎหมายเหล่านี้ ถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาล คสช. โดยตรง และประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิของตนเองและชุมชนจากการดำเนินโครงการพัฒนาต่างๆของรัฐและทุนที่ก่อผลกระทบต่อชุมชน วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา พรบ. ชุมนุมฯ ก็แผลงฤทธิ์อีกครั้ง เมื่อ สภ.วังสะพุง […]

แถลงการณ์ให้รัฐเคารพเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ  และปล่อยประชาชนที่ถูกควบคุมตัวจากการค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่โดยไม่มีเงื่อนไข

แถลงการณ์ เรื่อง ขอให้เคารพเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ และปล่อยประชาชนที่ถูกควบคุมตัวจากการค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่โดยไม่มีเงื่อนไข ตามที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมแกนนำค้านโรงไฟฟ้ากระบี่สามคน คือ นายประสิทธิชัย หนูนวล นายอัครเดช ฉากจินดา และ ม.ล.รุ่งคุณ กิตติยากร และได้ควบคุมตัวไว้ที่มณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) และมีการควบคุมตัวประชาชนอีกกว่า 10 คนไว้นั้น สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) และองค์กรที่มีชื่อท้ายแถลงการณ์ เห็นว่าการใช้เสรีภาพในการชุมนุมเพื่อคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เป็นการใช้เสรีภาพชุมนุมตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ที่กำหนดว่า “การชุมนุมในที่สาธารณะ เพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป..”อีกทั้งผู้จัดการชุมนุมได้แจ้งการชุมนุมต่อเจ้าหน้าที่แล้ว แต่เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการชุมนุมผิดเงื่อนไข จึงไปร้องต่อศาลแพ่ง ให้วินิจฉัยว่าให้เลิกการชุมนุมและศาลแพ่งได้มีหมายนัดให้มีการไต่สวน ผู้จัดการชุมนุม ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09.00 น. ในระหว่างที่รอการไต่สวนของศาลแพ่งนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการห้ามผู้ชุมนุมไม่ให้ใช้ห้องน้ำ และไม่ให้ส่งอาหารให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมรับประทาน อันเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐานอย่างรุนแรง อีกทั้งเจ้าหน้าที่ได้จับกุมแกนนำสามคนโดยไม่แจ้งสถานที่ควบคุมตัว ไม่แจ้งญาติ หรือทนายความให้ทราบในระหว่างการสอบสวน อันเป็นการขัดกับหลักสิทธิเสรีภาพตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ทั้งนี้โดย ไม่รอการไต่สวนของศาลแพ่ง ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 […]

ศาลแขวงปทุมวันพิพากษาคดี “อภิชาต” ชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ

วันนี้ (19 ธันวาคม 2559) เวลา 13.30 น. ศาลแขวงปทุมวันได้มีคำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ อ.363/2558 และคดีหมายเลขแดงที่ 134/2559 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดฯ กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ในคดีความผิดฝ่าฝืนประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 7/2557 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90, 215, 216 และ 368 และพ.ร.บ.กฎอัยการศึก มาตรา 8 และ 11 โดยศาลมีคำพิพากษาโดยสรุปว่า จ่าสิบเอกอภิชาติมีความผิดตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 7/2557 ให้พิจารณาโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคแรก แต่เนื่องจากเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ให้จำคุก 2 เดือน ปรับ 6,000 บาท โดยโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 […]

ใบแจ้งข่าว : ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดี “อภิชาต” ชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2559 เวลา 13.30 น. ศาลแขวงปทุมวันมีนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในคดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 และคดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดฯ กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง จากกรณีที่นายอภิชาตชูป้ายคัดค้านการรัฐประหารหน้าหอศิลป์ฯ จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น คดีนี้ สืบเนื่องจากกรณีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร ของจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ผู้ช่วยนักวิชาการปฎิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย เพื่อคัดค้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องในวันที่ 28 เมษายน 2558 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ต่อมาศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่ากระบวนการสอบสวนไม่ถูกต้อง เนื่องจากคดีนี้เหตุเกิดและจำเลยถูกจับกุมในท้องที่สน.ปทุมวัน แต่ตำรวจจากกองปราบเป็นผู้สอบสวน ซึ่งโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นถึงเขตอำนาจสอบสวน จึงถือว่าไม่มีการสอบสวนอย่างถูกต้อง วันที่ 17 มีนาคม 2559 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลแขวงปทุมวัน โดยยกประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า […]

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนร่อนแถลงการณ์จี้ คสช.ยุติใช้ ม.44

วันนี้ (7 เม.ย.) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ส่งแถลงการณ์ถึงสื่อมวลชน เรื่อง ขอให้ยกเลิกคำสั่งที่ 3/2558 ของ คสช. ยุติการใช้อำนาจโดยอาศัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ฯ มาตรา 44 ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ออกคำสั่งที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 44 แทนการใช้กฎอัยการศึก ที่ยกเลิกไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมานั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเห็นว่า การประกาศใช้คำสั่งที่ 3/2558 ดังกล่าว ที่ให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีอำนาจเหนืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการรวมถึงคำสั่งใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับบทบัญญัติข้างต้น ขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย และขัดต่อหลักการพื้นฐานทางด้านสิทธิมนุษยชนด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. การให้อำนาจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจเหนือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ เป็นการรวบอำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ขัดต่อหลักนิติรัฐ ที่แบ่งแยกอำนาจเพื่อถ่วงดุล ป้องกันการใช้อำนาจปกครองตามอำเภอใจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ สิทธิ์และเสรีภาพของประชาชน […]

1 2