การพิจารณาคดีที่เป็นธรรม

แถลงการณ์ : เรียกร้องสถาบันตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมาย โดยคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

แถลงการณ์สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เรียกร้องสถาบันตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมาย โดยคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และอุดมการณ์ของผู้พิพากษาตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ตลอดระยะเวลาของการใช้เสรีภาพในการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ประชาชนจำนวนมากต้องตกเป็นผู้ต้องหาและจำเลยในกระบวนการยุติธรรมอันเนื่องมาจากความเห็นต่างทางการเมือง อาจกล่าวได้ว่า กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบถูกใช้เป็นกลไกเพื่อสนองนโยบายรัฐในการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 การปล่อยชั่วคราวถูกใช้เป็นกลไกสำคัญในการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ผ่านการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ห้ามไปกระทำการในลักษณะเดียวกันกับคดีเดิมอีก การกำหนดเวลาห้ามออกนอกเคหสถานในบางช่วงเวลาร่วมกับการใส่กำไล EM การอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยให้ใส่กำไลติดตามตัว (EM) ร่วมกับคำสั่งห้ามออกนอกเคหสถานตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวที่เข้มงวดกว่าอาชญากรที่ก่ออาชญากรรม และการมีคำสั่งถอนประกันได้โดยง่าย เหล่านี้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ถูกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไร้ซึ่งมนุษยธรรม ทั้งนี้ยังสะท้อนถึงความพยายามของศาลในการเข้ามามีบทบาทในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเสียเองทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของศาล เพราะมีองค์กรอื่นทำหน้าที่อยู่แล้ว ศาลมีหน้าที่รักษาและดำรงความยุติธรรมในสังคมอย่างเป็นอิสระโดยอาศัยหลักกฎหมายเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนทุกคนจะได้รับความยุติธรรมแม้จะมีข้อพิพาทกับรัฐหรือเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐก็ตาม   แต่ปรากฏว่ากรณีที่ไม่ใช่คดีการเมือง เช่นกรณีของ พ.ต.อ.หญิงวัทนารีย์ กรณ์ชายานันท์ จำเลยที่ 8 ภรรยานายตู้ห่าว ชาวจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีพยานหลักฐานว่ามีพฤติการณ์ข่มขู่พยาน เป็นการผิดเงื่อนไขการประกันของศาล ศาลกลับไม่ถอนประกัน โดยอ้างว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวไปเเล้ว แต่พนักงานสอบสวนมายื่นเอกสารแบบกระชั้นชิด ทำให้การยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการประกันตัว พ.ต.อ.หญิง วัทนารีย์ ดังกล่าวจึงเป็นเพียงคำร้องที่ประกอบการพิจารณา กรณีที่แตกต่างกันดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความลักลั่นและปัญหาการปล่อยชั่วคราวสำหรับผู้ต้องหาและจำเลยในคดีการเมือง   การถูกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไร้ซึ่งมนุษยธรรมโดยกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวนำมาสู่การอดอาหารและน้ำของตะวันและแบมเพื่อทวงถามหาความยุติธรรม และเรียกร้องให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปัจจุบันร่างกายของทั้งสองเข้าขั้นวิกฤติและสุ่มเสี่ยงต่อชีวิตอย่างมาก   สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถาบันศาลจะพิจารณาทบทวนบทบาทในการใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย […]

เรื่องเล่าการปล่อยชั่วคราว : หลักการที่สวยงาม ความฝันของการปฏิรูป และความจริงที่เป็นอยู่

โดยหลักการแล้ว…. สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ถือว่าเป็นสิทธิที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคล และเกี่ยวพันสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิด (The Presumption of Innocent) เพราะหากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับการปล่อยชั่วคราว เขาต้องถูกส่งไปขังไว้ที่เรือนจำ ต้องตัดผม ต้องใส่ชุดนักโทษ บางครั้งต้องใส่ตรวนออกมาศาล ซึ่งทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสภาพไม่ต่างจากนักโทษเด็ดขาดที่ถูกตัดสินถึงที่สุดแล้วว่ามีความผิด สิทธิที่จะมีโอกาสอย่างเท่าเทียมและสิทธิที่จะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่  หากผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ย่อมก่อให้เกิดอุปสรรคในการที่จะแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนอย่างเต็มที่และเท่าเทียมกับโจทก์ นอกจากนี้ การที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวซ้ำแล้วซ้ำเล่า หรือมีการกำหนดประกันหรือหลักประกันไว้สูงเกินไปจนผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่สามารถหาหลักประกันมาวางเพื่อการปล่อยชั่วคราวได้ ย่อมส่งผลให้เกิดความกดดันทางอ้อมให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยยอมรับสารภาพเพื่อให้คดีสิ้นสุดและถูกปล่อยตัวออกมาโดยเร็ว ด้วยผลกระทบมากมายที่มี  กฎเกณฑ์ทั้งระดับสากลและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเองจึงรับรองสิทธิประการดังกล่าวไว้  โดยให้ถือว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหลัก ส่วนการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวหรือการควบคุมตัวไว้ระหว่างดำเนินคดีให้เป็นข้อยกเว้น  เท่าที่จำเป็นเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อยและการมีตัวจำเลยในการพิจารณาคดี (เพราะคดีอาญาถือหลักว่าการพิจารณาคดีต้องทำต่อหน้าจำเลย) รวมถึงการมีตัวในการบังคับโทษตามคำพิพากษา กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง (ICCPR) ข้อ 9 (3) กำหนดไว้ว่า  “…ผู้ถูกจับกุมหรือควบคุมในข้อหาทางอาญาได้รับการปล่อยตัวไป มิให้ถือเป็นหลักทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลที่รอการพิจารณาคดี แต่ในการปล่อยตัวอาจกำหนดให้มีการประกันว่าจะมาปรากฏตัวในการพิจารณาคดี ในขั้นตอนอื่นของกระบวนพิจารณาและจะมาปรากฏตัวเพื่อการบังคับตามคำพิพากษา เมื่อถึงวาระนั้น” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 บัญญัติว่า “การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี” และ “คำขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาต้องได้รับการพิจารณาและจะเรียกหลักประกันจนเกินควรแก่กรณีมิได้ การไม่ให้ประกันต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ” อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติการปล่อยตัวชั่วคราวถือเป็นเรื่องที่มีปัญหาและได้รับการพูดถึงมาตลอด โดยเฉพาะปัญหาเรื่องศาลมักให้ปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดหลักประกันเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สิน ทำให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีต้องพบกับความยากลำบากในการหาหลักทรัพย์มาใช้ประกันตัวเอง ในความพยายามแก้ไขและความฝันของการปฏิรูป  […]

สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ ออกจดหมายเปิดผนึกถึงสถาบันตุลาการขอให้ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและตรวจสอบการใช้อำนาจตามประกาศ/ คำสั่ง คสช.

จดหมายเปิดผนึก วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๑ เรื่อง     ขอให้สถาบันตุลาการทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตรวจสอบการใช้อำนาจตามประกาศ/ คำสั่ง คสช. เรียน    ประธานศาลฎีกา           ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมทั่วประเทศ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม ความเป็นธรรมในสังคม และปกป้องสิทธิมนุษยชน  ผ่านการใช้มาตรการทางกฎหมายและการดำเนินคดี รวมถึงการผลักดันนโยบายต่างๆเพื่อให้บรรทัดฐานทางกฎหมายสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม  โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Right to Fair Trial) สมาคมฯเห็นว่า สถาบันตุลาการเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยและเป็นกลไกสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  และช่วยสร้างหลักประกันว่าทุกคนที่ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดจะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมตามมาตรฐานสากล  ฝ่ายตุลาการยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้มีหลักประกันว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายบริหารได้ดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมตามที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศหรือไม่ ตลอดระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมานับแต่มีรัฐประหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีการออกประกาศและคำสั่งที่จำกัดและละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยอ้างว่ามีฐานะเป็นกฎหมาย หากจะยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวได้จะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติ  ตลอดเวลาที่ผ่านมา คสช. ไม่ได้มีท่าทีว่าจะยกเลิกประกาศหรือคำสั่งเหล่านั้นไปแต่อย่างใด และได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือจำกัดและคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่เห็นต่างจากรัฐอยู่เสมอ อันเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐไทยเข้าเป็นภาคี โดยเฉพาะกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ […]

กองทัพบกตอบกลับทนายชัยภูมิ ป่าแส ระบุไม่พบภาพข้อมูลใดๆในกล้องวงจรปิดวันเกิดเหตุ

ตามที่เมื่อวันที่  18 มิถุนายน  2561 ทนายความและองค์กรเครือข่ายติดตามความคืบหน้าคดีวิสามัญฆาตกรรม ชัยภูมิ ป่าแส ได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้บัญชาการทหารบก ณ กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก เพื่อขอข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวงจรปิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ทหารยิงนายชัยภูมิ ป่าแส เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 นั้น ล่าสุดวันนี้ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก ได้มีหนังสือลงวันที่ 6 สิงหาคม 2561 ส่งถึงนายรัษฎา มนูรัษฎา อุปนายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและหนึ่งในทนายความคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส โดยเนื้อความในหนังสือระบุว่า “วันที่ 24 มีนาคม 2560 กองบัญชาการควบคุมที่ 1 หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารม้าที่ 5 (บก.ควบคุมที่ 1 ฉก.ม.5) ได้ถอดเครื่องบันทึกข้อมูลกล้องวงจรปิดออกจากจุดตรวจบ้านรินหลวง เพื่อเตรียมการส่งให้สถานีตำรวจภูธรนาหวาย และเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560 กองกำลังผาเมือง ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมดำเนินการเปิดดูข้อมูลภาพเหตุการณ์ของวันที่ 17 มีนาคม 2560 แต่ภาพในเครื่องบันทึกข้อมูลเป็นภาพของวันที่ 20 – […]

ศาลพิพากษาลงโทษ 4 แรงงานเมียนมาร์ตกเป็นจำเลยฆ่าน้องแอปเปิ้ล เนื่องจากเชื่อว่าจำเลยรับสารภาพในชั้นสอบสวนโดยสมัครใจ

หลังจากศาลเลื่อนอ่านคำพิพากษามาจากวันที่ 29 มีนาคม 2561 วันนี้ (19 เมษายน 2561) ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง และศาลจังหวัดระนองก็ได้อ่านคำพิพากษาในคดีที่ชาวเมียนมาร์ 4 คน ตกเป็นจำเลยในความผิดฐานฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง หรือน้องแอปเปิ้ล อายุ 18 ปี นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนสตรีระนอง เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2558 เหตุเกิดในซอยสำนักสงฆ์สะพานปลา ข้างโรงเจ หมู่ที่ 5 ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง แรงงานชาวเมียนมาร์ทั้ง 4 คน ถูกแยกฟ้องคดีอาญาเป็น 2 ศาล เนื่องจากมีจำเลย 2 คนมีฐานะเป็นเยาวชนอยู่  โดยแบ่งเป็นคดีศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง คดีหมายเลขดำที่ 7/2559 จำเลยคือ นายโมซินอ่าว และนายจอโซวิน และคดีศาลจังหวัดระนอง คดีหมายเลขดำที่ 115/2559  จำเลยคือนายเมาเซ้น หรือเซกะดอ และนายซอเล คดีของศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง ศาลมีคำพิพากษาจำคุกนายโมซินอ่าวข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา […]

ใบแจ้งข่าว : ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการพิพากษา คดี 4 แรงงานชาวเมียนมาร์ถูกกล่าวหาร่วมกันฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง (น้องแอปเปิ้ล)

เผยแพร่วันที่ 28 มีนาคม 2561 วันที่ 29 มีนาคม 2561 เวลา 09.30 น. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง และศาลจังหวัดระนองนัดฟังคำพิพากษาในคดีที่ชาวเมียนม่า 4 คน ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดฐานฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง หรือน้องแอปเปิ้ล เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2558 เหตุเกิดในซอยสำนักสงฆ์สะพานปลา ข้างโรงเจ หมู่ที่ 5 ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง โดยแรงงานชาวเมียนม่าทั้ง 4 คน ถูกแยกฟ้องคดีอาญาเป็น 2 ศาล เนื่องจาก 2 ใน 4 คน ยังมีฐานะเป็นเยาวชน ดังต่อไปนี้ 1. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง คดีหมายเลขดำที่ 7/2559 ระหว่างพนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง โจทก์ นางมาริษา สำเภาทอง (มารดาผู้ตาย) โจทก์ร่วม นายโมซินอ่าว ที่ 1 […]

แถลงการณ์ ประนามเหตุระเบิดในโรงพยาบาล และเรียกร้องให้มีการค้นหาความจริงอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

ตามที่ปรากฎข่าวตามสื่อมวลชนหลายสำนักว่าเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม เวลาประมาณ 10.00 น. ได้เกิดเหตุระเบิดบริเวณห้องตรวจโรคนายทหารชั้นยศนายพล และที่ช่องจ่ายยา ช่องการเงิน ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 ปี รพ.พระมงกุฎเกล้า ส่งผลให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการได้รับบาดเจ็บ 24 ราย และมีการยื่นยันจากเจ้าหน้าที่ที่เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุเบื้องต้นพบแผงวงจรไอซีทามเมอร์ เศษสายไฟ และเศษถ่านไฟฉายตกอยู่ในพื้นที่ คาดว่าเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของระเบิด สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มีความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าว และมีความเห็นว่า สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายเป็นสิทธิมนุษยชนที่สัมบูรณ์ ซึ่งถูกรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 28 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ดังนั้น ไม่ว่ารัฐหรือบุคคลอื่นใดก็ไม่อาจล่วงละเมิดสิทธิดังกล่าวได้ การใช้โรงพยาบาลเป็นเป้าหมายของการก่อเหตุรุนแรง เป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ อันเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับในทางสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาเจนีวาที่กำหนดหลักการมูลฐานสำคัญให้โรงพยาบาลเป็นเขตปลอดภัย การห้ามใช้โรงพยาบาล หรือสถานที่ที่มีเครื่องหมายกาชาดในทางที่ผิด หรือเพื่อประโยชน์แก่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศดังกล่าวจะเป็นกติกาที่กำหนดไว้เพื่อใช้ในสภาวะสงคราม แต่ในความขัดแย้งรุนแรงโดยทั่วไปก็ควรเคารพหลักการดังกล่าวด้วยเช่นกัน ในเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าว รัฐจำเป็นต้องเร่งค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ในกระบวนการค้นหา จับกุมหรือควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดจำเป็นต้องเคารพหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ที่ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ซึ่งกำหนดให้ห้ามจับกุมหรือควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจ ผู้ถูกจับกุมจะต้องได้รับแจ้งถึงเหตุผลในการจับกุม ได้รับแจ้งถึงข้อหาโดยพลัน และบุคคลที่ต้องหาว่ากระทำความผิดต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการติดต่อกับทนายความและญาติ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน จึงมีข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์ดังกล่าวดังต่อไปนี้ 1.ขอประนามการก่อความรุนแรงในพื้นที่โรงพยาบาล […]

แถลงการณ์ : คืนสิทธิปล่อยตัวระหว่างดำเนินคดีแก่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาโดยทันที

แถลงการณ์ คืนสิทธิปล่อยตัวระหว่างดำเนินคดีแก่นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษาโดยทันที เผยแพร่ 16 มกราคม 2560 สืบเนื่องจากตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2559 ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนสัญญาประกันตัว นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากการแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเฟซบุคของสำนักข่าวบีบีซีไทย ในเฟซบุคของตนเอง โดยศาลให้เหตุผลในการเพิกถอนการประกันตัวว่า ยังไม่ยอมลบข้อความที่ถูกกล่าวหา และมีการโพสรูปภาพแสดงท่าทางในเชิงสัญลักษณ์ที่ศาลเห็นว่าเป็นการเย้ยหยันอำนาจรัฐ ซึ่งนับตั้งแต่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำสั่งเพิกถอนการประกันตัว ทนายความได้ยื่นอุทธรณ์ และฎีกาตามลำดับ แต่ศาลสูงได้ยืนตามคำสั่งของศาลจังหวัดขอนแก่น นอกจากนี้ ทนายความยังได้มีการยื่นขอประกันตัวใหม่ไปแล้วถึง 5 ครั้ง แต่ศาลก็ยังไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจตุภัทร์ โดยอ้างว่า ยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ประกอบกับพนักงานสอบสวนได้ยื่นขอฝากขัง ครั้งที่ 4 โดยอ้างว่า การสอบสวนพยานบุคคลยังไม่เสร็จสิ้น และศาลขอนแก่นได้อนุมัติฝากขัง เป็นผลให้จตุภัทร์ต้องถูกคุมขังต่อไปอีกจนถึงวันที่ 20 มกราคม 2560 ซึ่งจะทำให้เขาไม่ได้ออกมาสอบวิชาสุดท้าย ที่จะมีการสอบในวันที่ 17 มกราคม […]

การเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวไผ่ ดาวดิน : บทสะท้อนปัญหาการปล่อยตัวชั่วคราว และการปิดกั้นการตั้งคำถามต่อกระบวนการยุติธรรม

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2559 ที่ศาลจังหวัดขอนแก่นได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” หนึ่งในสมาชิกกลุ่มดาวดินและขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งถูกแจ้งความโดยเจ้าหน้าที่รัฐและถูกจับกุมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2559 ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 จากกรณีแชร์ข่าวพระราชประวัติรัชกาลที่ 10 จากเว็บไซต์ข่าว BBC ไทย ซึ่งในครั้งนั้นศาลได้อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีหลักทรัพย์ประกัน 400,000 บาท การขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวในคราวนี้ มีสาเหตุจากการที่นายจตุภัทร์โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กว่า “ตอนแรกก็อยากจะขอโทษเพื่อนประชามติทั้ง 3 คน เพราะคดีล่าสุดก็โดนไป 400,000 แต่ผมไม่ได้ผิดไง ผมไม่สามารถกระทำการขอโทษได้จริง ๆ #เศรษฐกิจมันแย่แมร่งเอาแต่เงินประกัน” ซึ่งข้อความดังกล่าวถูกโพสต์หลังจากทราบข่าวว่าศาลจังหวัดพระโขนงไม่อนุญาตให้นักวิชาการใช้ตำแหน่งประกันตัวเพื่อนนักกิจกรรมที่ถูกฟ้องในคดีฉีกบัตรลงคะแนนประชามติ เป็นเหตุให้ต้องหาหลักทรัพย์มาประกันทั้งสามคนเป็นจำนวนถึง 600,000 บาท ทั้งนี้ ศาลจังหวัดขอนแก่นได้นัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 22 ธันวาคม 2559 โดยได้สั่งให้มีการพิจารณาลับ และได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา ซึ่งต่อมาทนายความของจตุภัทร์ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลจังหวัดขอนแก่นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 อย่างไรก็ดี ในวันที่ […]

ใบแจ้งข่าว : ฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีเรียกค่าเสียหายจากการละเลยล่าช้าของเจ้าหน้าที่รัฐ  กรณีการเสียชีวิตในเรือนจำของ นายอำพล ตั้งนพกุล 

  วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00 น. ศาลแพ่งรัชดามีนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ในคดีหมายเลขดำที่ พ 2256/2558 ระหว่าง นางรสมาลิน ตั้งนพกุล โจทก์ กับ กรมราชทัณฑ์ จำเลย กรณีนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ “อากง” จำเลยในคดีอาญาซึ่งเสียชีวิตระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เพราะเหตุเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรมราชทัณฑ์ละเลยเพิกเฉยต่อหน้าที่ในการให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ต้องขัง จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น คดีนี้นางรสมาลิน ตั้งนพกุล ภรรยาอากง ได้มอบอำนาจให้ทนายความฟ้องกรมราชทัณฑ์ต่อศาลปกครอง จากกรณีที่นายอำพลหรืออากงเสียชีวิตในระหว่างการเตรียมการเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษณ ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ซึ่งเป็นการเสียชีวิตเนื่องจากการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร หรือประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ภายใต้สังกัดของกรมราชทัณฑ์ โดยกำหนดให้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 2,225,250 บาท และดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ต่อมาศาลปกครองได้โอนคดีไปยังศาลยุติธรรม และคดีนี้ศาลแพ่งรัชดาได้สืบพยานเมื่อวันที่ 2 – 5 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา รายละเอียดเพิ่มเติม http://prachatai.com/journal/2012/12/44270 https://www.facebook.com/naksit.org/photos/a.135675933167580.26339.115427115192462/1093239647411199/?type=3&theater […]

1 2