กฤษดา ขุนณรงค์

บ้านตระ เสียงสะท้อนถึงผู้บังคับใช้กฎหมาย ทัศนะที่ต้องเปลี่ยนแปลง (ตอน 1)  โดย กฤษดา ขุนณรงค์ 

ด้วยวันที่ 27 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดตรังได้พิพากษาคดี หมายเลขดำที่ 1171, 1172, 1173/2559 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดตรัง โจทก์ กับ นายเรวัตร หรือ วัตร อินทร์ช่วย จำเลยที่ 1 นายอัมมร หรือ ชาย บรรถะ จำเลยที่ 2 และนายสมพร หรือ มิตร อินทร์ช่วย จำเลยที่ 3 เกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บุกรุกป่าสงวน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด) โดยศาลจังหวัดตรังมีคำพิพากษาโดยสรุปคือให้จำเลยที่ 1 จำคุก 7 ปี ปรับ 90,000 บาท จำเลยที่ 2 จำคุก 6 ปี ปรับ 60,000 บาท และจำเลยที่ 3 จำคุก 1 ปี ปรับ 15,000 […]

ปัญหาของเอกสาร (ศักดิ์)สิทธิ์ ใน ” กระบวนการยุติธรรม ” โดย กฤษดา ขุนณรงค์

“ถ้าจะพูดกันตรง ๆ วันนี้ เรายังยืนอยู่กับกฎหมายที่ยังล้าหลังมากๆ ในการจัดการทางด้านคดีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เพราะระหว่างความถูกต้อง ถูกกฎหมายของชั้นศาลหรือกระบวนการยุติธรรมกับความเป็นธรรมของคนจนมันไปด้วย กันไม่ได้ มันเหมือนเหรียญคนละด้านที่อยู่ด้วยกัน ยกตัวอย่างว่าวันนี้มีที่ดินแปลงใหญ่หลายแปลงที่กลุ่มนายทุนเข้าครอบ ครองอยู่ แต่ได้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานหรือองค์กรภาคประชาชนร่วมกับภาครัฐและองค์กร อิสระตามรัฐธรรมนูญ พบว่าการเข้าครอบครองที่ดินของบริษัทหรือเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่นายทุนถือ ครองอยู่มันไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่กลายเป็นว่าในทางกระบวนการยุติธรรมหรือศาลยังไปยอมรับ รับรอง ปล่อยให้กลุ่มนายทุนเอาความไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นมาฟ้องร้องประชาชนโดยที่ไม่ ได้มีการตรวจสอบก่อน ” ( บุญฤทธิ์ ภิรมย์ : ตุลาคม ๒๕๕๓ สัมภาษณ์ ) ผมขอยกเอาความคิดเห็นต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างตรงไปตรงมาของคุณบุญฤทธิ์ ภิรมย์ สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยข้างต้น ขึ้นมาแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมกันในที่นี้อีกครั้ง หลังเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาจำคุก คุณบุญฤทธิ์ และเพื่อนบ้านอีกแปดคน เป็นเวลา ๑ ปี ๖ เดือน โดยไม่รอลงอาญา ในความผิดฐานบุกรุกที่ดินของเอกชน จากกรณีการเข้าตรวจสอบและรวมตัวจัดตั้งชุมชนเพื่อเข้าปฏิรูปที่ดินทำการ เกษตรบนพื้นที่ที่กลุ่มบริษัทเอกชนครอบครองปลูกสร้างสวนปาล์มขนาดใหญ่ในเขต จังหวัดสุราษฎรธานี หลังได้มีการตรวจสอบจากภาคประชาชนและองค์กรอิสระหลายหน่วยงานพบว่าบริษัท เอกชนเข้าครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งมีการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยความเคารพในคำพิพากษาของศาลเนื่องจากการพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ยังไม่ […]

คดีโลกร้อน ปะทะ สิทธิชุมชน โดย กฤษดา ขุนณรงค์

ปมที่ไม่อาจคลายหากยังไม่เลิกใช้ “ แบบจำลอง” ใช่ครับเรื่องที่จะพูดถึงต่อไปนี้เกิดขึ้นในเมืองไทยของเราเมื่อไม่กี่ปีมานี่เอง ปัจจุบันนี้หลายท่านพอคุ้นเคยกับคำว่า โลก ร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งเชื่อกันว่าจะส่งผลร้ายแรง ต่อโลกของเรา ว่ากันไปถึงขั้นโลกใบนี้อาจถึงจุดอวสานหรือพูดกันให้เห็นภาพสั้น ๆ ภาษาชาวบ้าน ว่า “ โลกของเรากำลังจะแตก ” ทำนองนั้น หลายปีก่อนผู้นำกว่าร้อยประเทศทั่วโลกไปนั่งคุยเพื่อหาทางแก้ไขเรื่องนี้ และมีข้อตกลงอันเป็นพันธสัญญาทางกฎหมายภายใต้ชื่อ “ พิธีสารเกียวโต ” เป้าหมายหลัก คือ การลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกซึ่งมีคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้นเหตุสำคัญที่ส่ง ผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา รัสเซีย ญี่ปุ่น ยกเว้น สหรัฐและออสเตรเลีย ยอมที่จะรับผิดชอบปฏิบัติตามอนุสัญญา สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญาฉบับนี้ด้วย แต่เนื่องจากเราไม่ได้เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมจึงไม่มีผลบังคับให้ต้อง ดำเนินการครบถ้วนตามอนุสัญญา แต่สามารถเลือกเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบดูแลในเรื่องนี้ ผมเกริ่นถึงเรื่องนี้เสียยืดยาวเพื่อที่จะบอกว่ามันมีความสำคัญและจะไม่ไกลตัวของเราอีกแล้ว เพราะกระแสภาวะโลกร้อนไม่เพียงเป็นเรื่องข้อกังวลของคนทั่วโลกถึงผลกระทบทาง ธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น แต่ด้านหนึ่งประเด็นนี้กำลังเชื่อมโยงมาถึงกลุ่มประเทศเกษตรกรรม ภาคชนบท ลงมาถึงชุมชนท้องถิ่นของประเทศไทยในฐานะผู้ต้องรับผิดชอบกับความเปลี่ยนแปลง ดังที่ว่า ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา พวกเราคงพอได้ยินคำว่า “ คดีโลกร้อน ” กันอยู่บ้าง ดูจากคำก็ตีความได้ทันทีว่าเป็นคดีเกี่ยวกับคนกระทำความผิดข้อหาทำให้โลก […]