กฎอัยการศึก

สรุปประเด็นงานเสวนาทางกฎหมายในหัวข้อ “คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา คืนความยุติธรรมให้ประชาชน”

วันที่ 11 ตุลาคม 2562 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF) และ iLaw จัดงานเสวนาทางกฎหมายในหัวข้อ “คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา คืนความยุติธรรมให้ประชาชน” โดยสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์เผยแพร่คำแถลงการณ์ของนายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา ที่มีประเด็นหลักพูดถึงความเป็นอิสระในการพิพากษาคดีของผู้พิพากษา การใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ รวมไปถึงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลจากพยานหลักฐานที่ได้มาโดยกฎหมายพิเศษด้วย

ความเห็นทางกฎหมายต่อความรับผิดของเจ้าหน้าที่ภายใต้กฎอัยการศึก โดย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ตามที่โฆษกของคณะรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (คสช.) ได้แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ สรุปใจความได้ว่า “ประชาชนกลุ่มต่อต้านที่ออกมาชุมนุมอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่อาจจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด หากปะทะกันอาจบาดเจ็บสูญเสีย จะไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้ เพราะขณะนี้อยู่ในช่วงภาวะไม่ปกติ เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ปฏิบัติงานภายใต้กฎอัยการศึก ,ประกาศ ,และคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในทุกพื้นที่ของประเทศ” (อ่านข่าวได้ที่ http://thainews.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNPOL5705250020022)  ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (ศทส.) เห็นว่าการให้ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย และขัดต่อแนวคำพิพากษาของทั้งศาลปกครองและศาลทหาร  ที่เคยวินิจฉัยกรณีพิพาทที่มีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในสถานการณ์กฎอัยการศึกว่าหากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารใช้อำนาจหน้าที่อย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย  ประชาชนที่เสียหายก็ยังมีสิทธิฟ้องหน่วยงานให้ชดใช้ค่าเสียหายและแจ้งความดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่ได้  หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองมีอยู่ว่า การใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าในสถานการณ์พิเศษอย่างไร  ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย เป็นไปอย่างมีเหตุมีผล  และหากมีการฝ่าฝืนต่อหลักการข้างต้นก็ย่อมต้องมีความรับผิดอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ในรัฐสมัยใหม่ที่ยอมรับว่าประชาชนมีฐานะเป็นพลเมืองของรัฐเป็นประธานแห่งสิทธิและรัฐมีอำนาจจำกัดเท่าที่จำเป็นนั้น  การดำเนินการใด ๆ ของรัฐอันอาจไปกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นจะกระทำได้ก็แต่โดยมีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง  ไม่เพียงเท่านั้นต่อให้มีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว  การใช้อำนาจของฝ่ายปกครองยังต้องเป็นไปโดยถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย มีเหตุผล  เมื่อพิจารณาการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. กฎอัยการศึกทั่วประเทศ  จะพบว่ามีบทบัญญัติที่กำหนดยกเว้นความรับผิดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไว้ในมาตรา ๑๖ ของ ซึ่งบัญญัติว่า “ความเสียหายซึ่งอาจบังเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในมาตรา ๘ ถึงมาตรา ๑๕ บุคคลหรือบริษัทใด ๆ จะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ทหารไม่ได้เลย เพราะอำนาจทั้งปวงที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ปฏิบัติและดำเนินการตามกฎอัยการศึกนี้เป็นการสำหรับป้องกันพระมหากษัตริย์ ชาติ […]