ฐานข้อมูลคดีฟ้องปิดปากในไทย

ฐานข้อมูลคดีฟ้องปิดปากในไทย

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจัดทำฐานข้อมูลคดีเกี่ยวกับการฟ้องคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะ (คดีฟ้องปิดปาก  อ่านรายละเอียด) เพื่อให้สาธารณชนสามารถติดตามความคืบหน้าของคดีเเละเพื่อนำข้อมูลมาทำการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบเเละแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม

ทั้งนี้ ทุกท่านสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัย และหากกรณีของท่านเข้าข่ายของการถูกคุกคามด้วยการดำเนินการทางกฎหมาย (คดีเเบบไหนเข้าข่ายการฟ้องปิดปาก) หรือทราบกรณีที่เกิดขึ้นกับคนรู้จัก สามารถแจ้งให้เราทราบได้ในทุกช่องทางการติดต่อของสมาคมฯ (ดูช่องทางการติดต่อ)

ลำดับชื่อคดี ข้อหากฎหมาย ข้อมูลความเคลื่อนไหวของคดี หมายเหตุ
119คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) V. รังสิมันต์ โรม และพวกรวม 7 คนยุยงปลุกปั่นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1168 ต.ค. 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจสน. สำราญราษฎร์ ออกหมายเรียกถึงผู้ต้องหาในคดี เพื่อนัดส่งตัวผู้ต้องหาและสำนวนให้พนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 10 โดยตามหมายเรียก กำหนดให้เข้าพบพนักงานสอบสวนที่สน. สำราญราษฎร์ ในวันที่ 27 ต.ค. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1448563713896697858
208คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) V. ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และพวกรวม 17 คนยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวาย และมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 21527 ต.ค. 2564 พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาและสำนวนให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการอาญากรุงเทพใต้ ทั้งนี้ ธนาธร, วรวุฒิ และรังสิมันต์ได้ขอเลื่อนรายงานตัว เนื่องจากติดภารกิจอื่น และจตุภัทร์ยังอยู่ในระหว่างถูกควบคุมตัวในเรือนจำ

พนักงานอัยการได้เลื่อนนัดฟังคำสั่งไปเป็นวันที่ 23 พ.ย. 2564
https://voicetv.co.th/read/4A7lttlz_?fbclid=IwAR0vO0zIXdOimiAm5G_QNQ6qltwsy1Jz4lMVb498FS_BIw9F1xCE9GyYdHE
210บริษัท ธรรมเกษตร จำกัด V. งามศุกร์ รัตนเสถียรหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 32822 ก.ย. 2564 ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง
https://twitter.com/FortifyRights/status/1440565290731933700
212ร.ต.อ. ศรีเดช สุวรรณ V. สิรวัชญ์ เสรีธวัฒน์ (จ่านิว) และพวกรวม 7 คน ข้อหาไม่แจ้งการชุมนุม
พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ 2558 มาตรา 107 ก.ค. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าพ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 4, 10, 14 และ 28 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26, 34 และ 44
https://twitter.com/TLHR2014/status/1412651583070871554
221 บริษัท ธรรมเกษตร จำกัด V. อังคณา นีละไพจิตรหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 32816 ส.ค. 2564 ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งรับฟ้อง และมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวอังคณาชั่วคราว โดยไม่ต้องวางหลักประกัน และให้ทำสัญญาประกันให้อังคณามาตามนัดศาล

ทั้งนี้ ศาลได้นัดพร้อมในวันที่ 26 ต.ค. 2564
https://prachatai.com/journal/2021/08/94529

26 ต.ค. 2564 ศาลสอบคำให้การจำเลย และตรวจพยานหลักฐาน โดยศาลได้อ่านคำฟ้องให้จำเลยฟัง และจำเลยได้ให้การปฏิเสธ พร้อมยื่นคำให้การเป็นหนังสือประกอบต่อศาล

ศาลได้นัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 3-4, 8 มี.ค. 2565 และนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 9-11 มี.ค. 2565
https://prachatai.com/journal/2021/10/95672
227พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ. v. ศิรวิทย์ ทองคำ อดีตผู้สมัคร ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ข้อหาหมิ่นประมาท, ข้อหานำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 , พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(1)30 ส.ค. 2564 ศิรวิทย์ได้รับแจ้งคำสั่งอัยการจังหวัดเพชรบูรณ์สั่งไม่ฟ้องเด็ดขาด
https://tlhr2014.com/archives/34232
229พ.ต.อ.สัมภาษณ์ ศรีจันทึก v. อิสรีย์ อภิสิริรุจิภาสข้อหาไม่แจ้งการชุมนุม
พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ 2558 มาตรา 106 ก.ค. 2564 ศาลนัดสืบพยาน คือ อิสรีย์ เป็นปากสุดท้าย แต่ยังไม่นัดฟังคำพิพากษา โดยจะต้องรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยประเด็นที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยว่าพ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะ ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
https://twitter.com/TLHR2014/status/1412291020025257985

7 ก.ค. 2564 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าพ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 4, 10, 14 และ 28 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26, 34 และ 44
https://twitter.com/TLHR2014/status/1412651583070871554
242พ.ต.ท. ไกรสิทธิ์ พิพัฒศุภมงคล v. สมยศ พฤกษเกษมสุข แกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย กับพวก รวม 6 คนพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 25489 มิ.ย. 2564 อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องและยุติการดำเนินคดีต่อสมยศและพวกรวม 6 คน จากกรณีขอความเป็นธรรมให้ #วันเฉลิม หน้าสถานทูตกัมพูชา เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 63 เนื่องจากการชุมนุมดังกล่าวเป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพทั่วไป ไม่ได้มั่วสุมในสถานที่แออัด และไม่ได้ยุยงให้เกิดความไม่สงบในบ้านเมือง
https://twitter.com/TLHR2014/status/1402465811156008967
https://tlhr2014.com/archives/35711
243ภาณุพงศ์ จาดนอก แกนนำเด็กและเยาวชนจิตอาสาระยองข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 254818 มิ.ย. 2564 อัยการมีคำสั่งฟ้องภาณุพงศ์ต่อศาล ในข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.ก. ฉุกเฉิน จากกรณีจัดกิจกรรม ใคร สั่ง อุ้ม? วันเฉลิม เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2563 โดยศาลให้ประกันตัวโดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์เป็นประกันและตั้งมารดาของภาณุพงศ์เป็นผู้ดูแล พร้อมนัดตรวจคำให้การ ตรวจพยานหลักฐาน และกำหนดวันสืบพยาน ในวันที่ 2 ส.ค. 2564
https://tlhr2014.com/archives/30964

20 ต.ค. 2564 ศาลมีคำสั่งเลื่อนนัดพร้อมไปเป็นวันที่ 7 ธ.ค. 2564 เนื่องจากทนายมีว่าความที่ศาลอื่น และจำเลยอยู่ในระหว่างคุมขัง จึงไม่สามารถมาศาลได้
https://twitter.com/TLHR2014/status/1450719996674408452
246พ.ต.ท. อัครพล จั่นพชร v. ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล กับพวกข้อหาร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากในลักษณะมั่วสุมประชุมกันหรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่ายพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 254817 มิ.ย. 2564 อัยการมีคำสั่งฟ้องพริษฐ์และจุุฑาทิพย์ต่อศาล จากกรณี "ทวงความเป็นธรรมให้กับนายวันเฉลิม" บริเวณสกายวอล์ก หน้าหอศิลป์ เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 63 โดยศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว โดยไม่ต้องวางหลักประกัน แต่ให้ทำสัญญาประกันและแต่งตั้งผู้กำกับดูแล พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขให้รายงานตัวกับผู้กำกับดูแลทุกเดือน https://twitter.com/TLHR2014/status/1405404084325163008
https://tlhr2014.com/archives/30924
248บริษัท เมียนมาร์ พงษ์พิพัทธ์ จำกัด (เหมืองแร่เฮงดา ประเทศพม่า) v. บรรณาธิการข่าวสิ่งแวดล้อม Green Newsข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326, 32827 ต.ค. 2564 พนักงานอัยการจังหวัดนครปฐมเลื่อนนัดฟังคำสั่งเป็นวันที่ 15 พ.ย. 2564 เพราะต้องพิจารณาหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ซึ่งอัยการสูงสุดได้รับหนังสือแล้ว อยู่ในระหว่างพิจารณาตรวจสอบที่สำนักงานคดีกิจการ โดยจะใช้เวลาพิจารณาตรวจสอบ 1 เดือน ทั้งนี้ การสั่งฟ้องคดี ยังอยู่ในอำนาจของอัยการนครปฐม
https://prachatai.com/journal/2021/10/95648
252พ.ต.ท.สมศักดิ์ ใหม่บุญมี สน.นางเลิ้ง v. อานนท์ นำภา กับพวกรวม 5 คนข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 25488 ก.ค. 2564 อัยการยื่นฟ้องอานนท์แะละพวกรวม 5 คน โดยจำเลยทั้งหมดได้ให้การปฏิเสธ และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยไม่ต้องวางหลักประกัน และให้จำเลยทั้ง 5 ทำประวัติและสาบานตน

ศาลนัดพร้อมสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐานต่อไปในวันที่ 18 ต.ค. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1413056929945976836?s=19

18 ต.ค. 2564 ศาลแขวงดุสิตนัดตรวจพยานหลักฐาน โดยทนายได้แจ้งต่อศาลว่า ในคดีการชุมนุมแฮร์รี่ พอตเตอร์ เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2563 ที่ได้เบิกตัวอานนท์ไปที่ศาลอาญา ในนัดถามคำให้การ กับคดีศาลแขวงดุสิต มีทนายคนเดียวกัน จึงได้ให้เสมียนทนายยื่นคำเลื่อนการนัดพิจารณาไว้ พร้อมเขียนคำร้องขอศาลขอให้ศาลเบิกตัวจำเลยมาศาล โดยจำเลยไม่ประสงค์จะพิจารณาคดีผ่านจอภาพ เนื่องจากไม่สะดวกและทำให้จำเลยเสียเปรียบ ทั้งนี้ การนำตัวจำเลยมาศาลสามารถทำได้ เนื่องจาก เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ได้เบิกตัวอานนท์ไปศาลอาญา และหากเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์มีเหตุขัดข้อง ก็ขอให้ศาลเรียกเจ้าหน้าที่มาไต่สวนด้วย

ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้นำอานนท์, ภาณุพงศ์ และพริษฐ์ มาเรือนจำ และพนักงานอัยการได้แถลงคัดค้านว่า หากไม่สามารถตรวจพยานได้ในช่วงเช้า ก็ขอให้เลื่อนการพิจารณา แต่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีต่อไป

ต่อมา เนื่องจากเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้ขอความร่วมมือกับผู้พิพากษาขอให้ไม่มีใครเข้าฟ้องพิจารณา เนื่องจากมาตรการโควิดของเรือนจำ และคิดว่าอาจมีความวุ่นวาย ถ้าอนุญาตให้บุคคลที่ไม่ใช่คู่ความเข้าห้องพิจารณา ทนายจึงแถลงรับรองต่อศาลว่าจะไม่มีความวุ่นวาย และขอให้ศาลเห็นใจจำเลยที่ไม่สามารถพบครอบครัวมากว่า 2 เดือน ทั้งทนายจะทำหน้าที่เก็บโทรศัพท์ของผู้เข้าฟังการพิจารณาตามที่เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ขอมา ดังนั้น ก่อนเริ่มพิจารณา ทนายจึงต้องแนะนำคนในห้องพิจารณาว่าแต่ละคนเกี่ยวข้องกับจำเลยอย่างไร

ในการตรวจพยานหลักฐาน โจทก์แถลงขอนำสืบพยาน 16 คน และจำเลยแถลงขอสืบพยาน 11 คน โดยทนายจะส่งชื่อพยานคนที่ 11 ซึ่งเป็นแพทย์ ภายใน 15 วัน เนื่องจากแพทย์กำลังขออนุญาตต้นสังกัด

พนักงานอัยการจึงแถลงติงว่า โจทก์ได้เปิดเผยพยานหมดแล้ว จึงไม่เป็นการสมควรถ้าจะมีการยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมภายหลัง อานนท์จึงแถลงว่า การพยานยามคัดค้านดังกล่าว จะทำให้พนักงานอัยการถูกมองว่าไม่ส่งเสริมการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ของจำเลย ตนจึงอยากให้ระวังในเรื่องนั้น

ศาลมีคำสั่งให้โจทก์สืบพยาน 8 นัด และให้จำเลยสืบพยาน 4 นัด ในวันที่ 18-20 พ.ค. 2565, 15-17, 22-24, 29-30 มิ.ย. 2565 และวันที่ 1 ก.ค. 2565
https://tlhr2014.com/archives/36752
253พ.ต.ท.จารุวัจน์ สุปินะ สภ.แม่กา จว.พระเยา v. ชินภัทร วงค์คม กับพวกรวม 5 คน ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 25487 มิ.ย. 64 ศาลจังหวัดพะเยานัดพร้อมและตรวจพยานหลักฐานใน 3 คดี ของ 4 จำเลย ได้แก่ ชินภัทร วงค์คม, ธนวัฒน์ วงศ์ไชย, รศ.ดร.มนตรา พงษ์นิลและ นายศิริวัฒน์ จุปะมัดถา ที่ถูกส่งฟ้องจากกรณีเดียวกัน แต่อัยการแยกฟ้องเป็นรายคดีในช่วงเวลาต่างกัน ทั้งหมดถูกกล่าวหาในข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากกิจกรรมการชุมนุม #คนพะเยาบ่าเอาแป้ง ที่หน้ามหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อวันที่ 27 ก.ค. 63 โดยศาลอนุญาตให้รวมทั้ง 3 คดีเข้าด้วยกัน ภายหลังจากที่อัยการและทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอรวมคดี https://tlhr2014.com/archives/30603ศาลมีคำสั่งให้รวมคดี โดยมีจำเลยทั้งหมด 6 คน คือ
1. ชินวัตร วงค์คม
2. ธนวัฒน์ วงศ์ไชย
3. รศ. ดร. มนตรา พงษ์นิล
4. ศิริวัฒน์ จุปะมัดถา
5. อานนท์ นำภา
6. พริษฐ์ ชิวารักษ์
255พ.ต.ท.กฤติเดช เข็มเพชร์ v. พริษฐ์ ชิวารักษ์ กับพวกรวม 31 คน

สน. สำราญราษฎร์ v. เนตรนภา อำนาจส่งเสริม
**เพิ่มจำเลย
ข้อหาร่วมกันมั่วสุมมกันตั้งเเต่สิบคนขึ้นไป, ข้อหาร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากในลักษณะมั่วสุมกัน หรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันง่าย, ข้อหาฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ, ข้อหาร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ, ข้อหาร่วมกันวาง ตั้ง ยื่น หรือแขวนสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นการกีดขวางการจลาจร, ข้อหาร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

เนตรนภา: ยุยงปลุกปั่น, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายฯ โดยเป็นหัวหน้า, ร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ, ฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามพ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ, ร่วมกันวางตั้งสิ่งใดกีดขวางการจราจร, ร่วมกันตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548, พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535, พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493, พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14(2) (บางราย)

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116. 215 วรรคสาม และ 385, ข้อกำหนดออกตามพ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ. จราจรฯ มาตรา 114, พ.ร.บ. ความสะอาดฯ มาตรา 19 และพ.ร.บ. เครื่องขยายเสียงฯ มาตรา 4
15 ก.ค. 2564 อัยการมีคำสั่งฟ้องพริษฐ์, ภาณุพงศ์, อานนท์, จุฑาทิพย์, ทัตเทพ, ณัฐวุฒิ, กรกช, สุวรรณา, ธนายุทร, บารมี, ทศพร, เดชาธร, ธานี และภาณุมาศ โดยวันนี้พริษฐ์, ณัฐวุฒิ, ภาณุพงศ์, ภาณุมาศ และทัตเทพ ไม่มาศาล เนื่องจากพริษฐ์และณัฐวุฒิอยู่ในระหว่างกักตัว และภาณุพงศ์ต้องไปรายงานตัวรับทราบคำสั่งอัยการที่จ.ระยอง และในส่วนของทัตเทพและภาณุมาศนั้น เจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดต่อได้

อัยการจึงยื่นฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด 11 คนก่อน รวมถึงพริษฐ์และภาณุพงศ์ โดยจะแยกฟ้องทัตเทพ, ภาณุมาศและณัฐวุฒิในวันอื่น
https://www.komchadluek.net/news/crime/474447

15 ก.ค. 2564 อัยการยื่นฟ้องลัลนา, ณวรรษ, กานต์นิธิ, จตุภัทร์, จิรฐิตา, ณัฐพงษ์, สิรินทร์, ธนชัย, พิมพ์สิริ, ยามารุดดิน, ชลธิศ, ปรัชญา, ทักษกร, กฤษณะ และจักรธร และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยไม่ต้องวางหลักประกัน และให้สาบานตนว่าจะมาตามนัดศาล พร้อมกำหนดวันนัดสอบคำให้การในวันที่ 8 พ.ย. 2564
https://www.facebook.com/RatsadonNews/posts/189437189816672

16 ส.ค. 2564 พนักงานอัยการยื่นฟ้องณัฐวุฒิต่อศาลอาญา โดยเหตุที่ยื่นฟ้องภายหลังนั้น เป็นเพราะณัฐวุฒิไม่ได้มาฟังคำสั่งฟ้องเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2564 เนื่องจากอยู่ในระหว่างกักตัว
https://tlhr2014.com/archives/34344

27 ก.ย. 2564 ทนายได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนนัดนัดสอบคำให้การและนัดตรวจพยานหลักฐานของณัฐวุฒิ เนื่องจากณัฐวุฒิอยู่ในระหว่างรักษาตัวจากโรคโควิด-19 และศาลมีคำสั่งเลื่อนนัดเป็นวันที่ 29 พ.ย. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1442371232393875461

6 ต.ค. 2564 เนตรนภา เข้ามอบตัวตามหมายจับศาลอาญาที่ 1180/2563 ที่สน. สำราญราษฏร์ ภายหลังจากที่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อเดือนก.ย. 2564

เนตรนภาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และระบุว่าจะให้การเป็นหนังสือภายใน 20 วัน ทั้งยังไม่ยินยอมลงลายมือชื่อในบันทึกจับกุม แต่เขียนข้อความว่า "คน 99% เป็นเจ้าของประเทศ" แทน

ต่อมา พนักงานสอบสวนได้ควบคุมตัวเนตรนภาขออำนาจศาลอาญาฝากขัง ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนศ์ เนื่องจากยังสอบสวนไม่เสร็จ พร้อมยื่นคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากเป็นคดีที่มีอัตราโทษสูง และมีเหตุควรเชื่อว่าเนตรนภาจะหลบหนี ทำให้ลำบากในการนำเนตรนภามาดำเนินคดี ทั้งนี้ ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้ตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นประกัน ซึ่งศาลตีราคาประกัน 45,000 บาท และได้กำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำการแบบเดียวกับที่ถูกกล่าวหา หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง

ศาลได้นัดรายงานตัวในวันที่ 23 พ.ย. 2564
https://tlhr2014.com/archives/36197
256ร.ต.อ.วัชรินทร์ ศรีราม v. ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธ์ทําร้ายร่างกายผู้อื่น โดยไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจ, ทำให้เสียทรัพย์ และทำให้ปรากฏซึ่งรูปรอยใดๆ บนถนนหรือที่สาธารณะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 และ 358 และพ.ร.บ. ความสะอาด มาตรา 1217 มิ.ย. 2564 พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแขวงดุสิต โดยฟ้องทั้งหมด 3 ข้อคือ ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 391, 358 และตามพ.ร.บ. ความสะอาด มาตรา 12 จากกรณีสาดสีเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2563 https://twitter.com/TLHR2014/status/1405383325343047688?s=19
https://tlhr2014.com/archives/30935
https://prachatai.com/journal/2021/06/93547

11 ต.ค. 2564 ไชยอมรเข้าสอบคำให้การที่ศาลแขวงดุสิต และผู้เสียหายและไชยอมร ได้แถลงว่าไชยอมรยินยอมชดใช้ค่าเสียหายคนละ 5,000 บาท ทั้งหมด 50,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ และได้โอนเงินให้แล้วในวันที่ 11 ต.ค. 2564

ต่อมา ผู้เสียหายแถลงว่าไม่ติดใจเอาความในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ทั้งนี้ ผู้เสียหายที่ 10 ได้แจ้งผ่านผู้เสียหายที่ 1 ว่า ถ้าไชยอมรยินยอมชดใช้ค่าเสียหาย ก็จะแถลงว่าไม่เอาความในความผิดเดียวกันก่อนวันนัดคำฟังคำพิพากษา

นอกจากนี้ ไชยอมรยังให้การสารภาพในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และโจทก์แถลงไม่ติดใจสืบพยาน อีกทั้ง ผู้เสียหายที่ 8 ยังแถลงว่าไม่เอาความในความผิดฐานทำร้ายร่างกายอีกด้วย

ศาบมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานคุมประพฤติสืบเสาะพฤติการณ์ไชยอมร และให้เสนอรายงานต่อศาลเพื่อพิจารณาพิพากษาภายใน 30 วัน และศาลได้เลื่อนนัดฟังคำพิพากษาเป็นวันที่ 8 ธ.ค. 2564
https://tlhr2014.com/archives/36424
260ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) v. อานนท์ นำภา และพวก (คดีปราศรัย)ข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาทประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 11211 พ.ค. 2564 ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวพริษฐ์ โดยวางหลักประกันเป็นเงินสด 200,000 บาทและกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำการตามที่ถูกฟ้องหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง, ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์, ห้ามเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่รับอนุญาตจากศาล และให้มาศาลตามกำหนดนัดโดยเคร่งครัด และในส่วนของไชยอมร ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวโดยวางเงินเป็นประกันจำนวน 50,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขเดียวกับพริษฐ์ https://tlhr2014.com/archives/29555?fbclid=IwAR1kUEsA9hKCGuAe89je8L4h3AJ_xI9qBuaO_MD7pl_1AvDWd-E-_EU7318

21 พ.ค. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอประกันตัวอานนท์และภาณุพงศ์ โดยศาลได้นัดไต่ส่วนวันที่ 1 มิ.ย. 2564 https://tlhr2014.com/archives/29974?fbclid=IwAR3YVWAsLzyTz7C0sou8ysEL8fZPgWE3dW6wXNleVLUq4Qyb9ItjRiqsCqA

1 มิถุนายน 2564 ศาลอาญามีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว อานนท์ นำภา และ ภาณุพงศ์ จาดนอก โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดคนละ 200,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำการให้สถาบันเสื่อมเสีย https://tlhr2014.com/archives/30348 https://twitter.com/TLHR2014/status/1399639325151617024

7 ก.ค. 2564 ศาลออกหมายนัดไต่สวนเพิกถอนคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวของปนัสยาเป็นวันที่ 23 ก.ค. 2564 ซึ่งเป็นวันนัดพร้อมเพื่อกำหนดวันนัดสืบพยาน

13 ก.ค. 2564 ปนัสยาได้รับหมายนัดไต่สวนเพิกถอนคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว
https://twitter.com/TLHR2014/status/1414790602282061826/photo/1

27 ก.ค. 2564 พนักงานอัยการยื่นคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์ โดยอ้างว่าอานนท์ผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว สืบเนื่องจากอานนท์ได้เข้าร่วมคาร์ม็อบในวันที่ 10 และ 18 ก.ค. 2564 รวมถึงมีการโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงการนัดหมายการชุมนุมและสถาบันพระมหากษัตริย์ ศาลอาญาจึงกำหนดนัดไต่สวนคำร้องต่อไปในวันที่ 7 ก.ย. 2564 ซึ่งเป็นวันเดียวกับนัดสืบพยานในคดีนี้
https://tlhr2014.com/archives/32998

6 ส.ค. 2564 พนักงายอัยการยื่นคำร้องขอเพิกถอนประกันพริษฐ์ (ยื่นคำร้องเพิ่มเติมอีกครั้งในวันที่ 9 ส.ค. 2564 จากกรณีถือภาพพระบรมฉายาลักาณ์ของรัชกาลที่ 10 กลับหัว และมีข้อความว่า “ด้วยรักและฟักยู 28 กรกฎา ร่วมใจใส่ชุดดำ”

9 ส.ค. 2564 ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา มีคำสั่งเพิกถอนประกันของพริษฐ์ โดยไม่ต้องไต่สวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอีก เนื่องจากข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานรับฟังได้ชัดแจ้ง ศาลระบุว่าการกระทำของพริษฐ์มีเจตนาด้อยค่า ลดคุณค่าของพระมหากษัตริย์ และมีผลเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขศาล โดยแจ้งไปยังศาลธัญบุรีในระหว่างที่พริษฐ์ถูกดำเนินคดี จากกรณีชุมนุม 2 ส.ค. 2564 เพื่อให้แจ้งสุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ ผู้ประกัน และให้ส่งตัวพริษฐ์ต่อศาลอาญา ภายใน 3 วันนับแต่ทราบคำสั่ง
https://tlhr2014.com/archives/33241?fbclid=IwAR1bO9jE1K8xPia4XrLRgf-xHiuQ5rKC4BRrnkGsSVbGbjZLkwfZ1la12CE

16 ส.ค. 2564 ศาลอาญาไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนประกันของจตุภัทร์
https://tlhr2014.com/archives/33541

17 ส.ค. 2564 ศาลมีคำสั่งว่าการเพิกถอนประกันของจตุภัทร์นั้น เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว เนื่องจากการที่จตุภัทร์ร่วมชุมนุมหลายครั้ง ภายหลังจากได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งมีทั้งการเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาและการสาดสีใส่สถานีตำรวจหรือพรรคการเมือง พอจะถือได้ว่าเป็นการก่อภยันตรายประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108(3) ศาลจึงเพิกถอนประกันได้โดยไม่ต้องกำหนดเงื่อนไขให้ทราบล่วงหน้า
https://tlhr2014.com/archives/33581

25 ส.ค. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวจตุภัทร์ชั่วคราว โดยวางเงินสดเป็นประกันจำนวน 200,000 บาท จากกองทุนราษรประสงค์ และศาลมีคำสั่งยกคำร้อง เนื่องจากไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
https://tlhr2014.com/archives/34043

10 ก.ย. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวจตุภัทร์ชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสด 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ และศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจาก มีเหตุควรเชื่อว่าจตุภัทร์จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น และจตุภัทร์ไม่ได้มีอาการติดเชื่อโควิด-19 ร้ายแรง จึงไม่มีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
https://tlhr2014.com/archives/34840

24 ก.ย. 2564 ทนายและสุรีรัตย์ ชิวารักษ์ มารดาของพริษฐ์ ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ แต่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวพริษฐ์ชั่วคราว เนื่องจากพริษฐ์เคยได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวจากศาลมาแล้ว แต่ก็ยังเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองและถูกดำเนินคดีอีก เป็นการก่อให้เกิดสภาวะไม่สงบเรียบร้อยในบ้านเมือง อันเป็นการก่อเหตุอันตรายประการอื่น ทำให้ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว
https://twitter.com/TLHR2014/status/1441277761495048201
https://tlhr2014.com/archives/35616

14 ต.ค. 2564 ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวจตุภัทร์ชั่วคราว เนื่องจาก ศาลเคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว
https://twitter.com/TLHR2014/status/1448594729407422466

26 ต.ค. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวพริษฐ์และจตุภัทร์ชั่วคราว โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล และธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคก้าวไกลเป็นประกัน

ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวพริษฐ์ชั่วคราว เนื่องจากได้ให้เหตุผลชัดแจ้งไว้ในคำสังศาลลงวันที่ 9 ส.ค. 2564 แล้ว

นอกจากนี้ ศาลยังไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวจตุภัทร์ชั่วคราวอีกด้วย เนื่องจากศาลมีคำสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีเหตุผลตามคำสั่งลงวันที่ 11 ส.ค. 2564 แล้ว
https://tlhr2014.com/archives/36989
260, 277 คดี #19กันยาทวงคืนอำนาจราษฎร 7 ก.ย. 2564 ผู้ต้องหาเข้ารายงานตัวต่อศาลตามนัดพร้อม ยกเว้นปนัสยา, ไชยอมร และอนุรักษ์ เนื่องจากปนัสยาและไชยอมรอยู่ในะระหว่างกักตัว และอนุรักษ์มีนัดฉีดวัคซีนโรคโควิด-19

ทนายจำเลยยื่นคำแถลงขอยกเลิกวันนัดสืบพยานเดิม เนื่องจากมีการเปลี่ยนทนายจำเลย และกำหนดวันนัดสืบพยานเป็น 42 นัด ในวันที่ 9 มี.ค. 2565, 24-27 พ.ค. 2565, 7-10 มิ.ย. 2565, 8, 15, 22, 26 และ 27 ก.ค. 2565, 5, 9-11 และ 23-25 ส.ค. 2565, 20-23 ก.ย. 2565, 21 และ 28 ต.ค. 2565, 9-11, 15-18, 23-25 และ 29-30 พ.ย. 2565 และ 1,2 และ 7 ธ.ค. 2565
https://tlhr2014.com/archives/34738
261จตุภัทร์ บุญภัทร์รักษา และพวกรวม 21 คน
ร่วมกันต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กําลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย โดยมีผู้ร่วมกระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป (เฉพาะ วชิรวิชญ์ ลิมป์ธนวงศ์, ปวริศ แย้มยิ่ง, ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์, เมยาวัฒน์ บึงมุม, นวพล ต้นงาม และทรงพล สนธิรักษ์)ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 9 มิ.ย. 2564 นักกิจกรรม 6 ราย ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน หลังได้รับหมายเรียกให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ในความผิดฐานมาตรา 140 “ร่วมกันต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กําลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย โดยมีผู้ร่วมกระทําความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป” เหตุจากการชุมนุม #ม็อบ13ตุลา ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยทั้งหมดได้ให้การปฏิเสธทุกข้อกลาวหาและจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือในวันที่ 22 มิถุนายน 2564
https://tlhr2014.com/archives/30675

21 ก.ย. 2564 พนักงานอัยการยื่นฟ้องจำเลยทั้งหมด 17 คน ต่อศาลอาญา และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดคนละ 35,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำการแบบเดียวกับที่ถูกกล่าวหา และห้ามก่อความวุ่นวายหรือร่วมกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวาย

ศาลได้นัดตรวจพยานหลักฐานต่อไปในวันที่ 1 พ.ย. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1440261304783032337?s=19

29 ก.ย. 2564 พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญา 10 สั่งฟ้องไชยอมร ต่อศาลอาญา
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2964993
https://tlhr2014.com/archives/35957

4 ต.ค. 2564 พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 ยื่นฟ้องอรรถพล ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.1612/2564 และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 50,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์
https://twitter.com/TLHR2014/status/1444975756199612419

11 ต.ค. 2564 ศาลอาญาสอบคำให้การจตุภัทร์ และจตุภัทร์ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าว พร้อมขอรวมการพิจารณาคดีเข้ากับอีกคดี ซึ่งมีจำเลย 18 คน โดยศาลมีคำสั่งอนุญาตให้รวมคดี และเลื่อนตรวจพยานหลักฐานไปเป็นวันที่ 1 พ.ย. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1447418846504112133

14 ต.ค. 2564 ศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวจตุภัทร์ชั่วคราว เนื่องจากจตุภัทร์เคยก่อเหตุแบบเดียวกันในหลายคดี จึงมีเหตุควรเชื่อว่าจะก่อเหตุอีก
https://twitter.com/TLHR2014/status/1448594729407422466

26 ต.ค. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวจตุภัทร์ชั่วคราว โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล และธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคก้าวไกลเป็นประกัน

ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
https://tlhr2014.com/archives/36989
262, 284 พริษฐ์ ชิวารักษ์ 7 มิ.ย. 2564 ศาลอาญา รัชดา มีนัดไต่สวนผู้กำกับดูแลของนายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือ “เพนกวิน” แกนนำกลุ่มราษฎร จากกรณีที่นายสนธิญา สวัสดี ที่ปรึกษากรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร และอดีตผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคพลังประชารัฐ ยื่นเรื่องให้อธิบดีศาลอาญาพิจารณาเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2564 กรณีที่พริษฐ์ ชิวารักษ์ โพสต์เฟซบุ๊ก ‘สาส์นแรกแห่งอิสรภาพ’ หลังจากที่ศาลได้อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวมาสู้คดี โดยขอให้พิจารณาว่าโพสต์ดังกล่าวเป็นการผิดเงื่อนไขการประกันตัวของศาลหรือไม่ https://tlhr2014.com/archives/30577
https://www.facebook.com/RatsadonNews/photos/a.106955498064842/165646948862363/

26 ต.ค. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวพริษฐ์ต่อศาล โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล และธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคก้าวไกล เป็นประกัน

ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากศาลเคยมีคำสั่งให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวแล้ว ไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
https://tlhr2014.com/archives/36989
264สภ.เมืองอุบลราชธานี v. พริษฐ์ ชิวารักษ์ และพวกหมิ่นประมาทกษัตริย์ (แจ้งเพิ่มเติม)ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1123 มิ.ย. 2564 สภ. เมืองอุบลราชธานี ได้ออกหมายเรียกให้ปิยรัฐ จงเทพเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพิ่มเติม

15 มิ.ย. 2564 ปิยรัฐเข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่สภ. เมืองอุบลราชธานี ภายหลังที่เลื่อนวันเข้ารับทราบข้อกล่าวหาจากเดิมคือวันที่ 14 มิ.ย. 2564 https://twitter.com/TLHR2014/status/1404614892758306816

2 ก.ย. 2564 ซึ่งเป็นวันนัดส่งตัวผู้ต้องหาและสำนวนให้พนักงานอัยการ พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องปิยรัฐต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานี ทนายจึงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 200,000 บาท

นอกจากนี้ ในวันเดียวกัน ศาลได้ถามคำให้การปิยรัฐเบื้องต้น โดยปิยรัฐให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงได้นัดคุ้มครองสิทธิและตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 14 ธ.ค. 2564 และ 25 ม.ค. 2565 ตามลำดับ

ต่อมา ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 100,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ และมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นนายประกัน
https://prachatai.com/journal/2021/09/94780
https://twitter.com/TLHR2014/status/1433287776103849992
https://tlhr2014.com/archives/34459
266สน.ชนะสงคราม v. พริษฐ์ ชิวารักษ์ข้อหายุยงปลุกปั่นสร้างความกระด้างกระเดื่อง, ข้อหาข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, ข้อหาร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, 116 และ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)11 พ.ค. 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองร้อยเอ็ด ได้เข้าแสดงหมายจับของศาลจังหวัดร้อยเอ็ดลงวันที่ 2 มีนาคม 2564 เพื่อจับกุมพริษฐ์ จากกรณีชุมนุม #เจาะกะลาตามหาบักคำผาน และภายหลัง พนักงานสอบสวนอนุญาตให้ประกันตัว โดยวางเงินประกันจำนวน 200,000 บาท https://tlhr2014.com/archives/29622?fbclid=IwAR0N80o-PciJaz6Gj2GiTEeZ29K4rNYAtKd1qvC1pUE4UyAA5k4EIhyce6A
267ร่วมกันฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินร้ายแรง ในเขตพื้นที่กทม.ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 15 ต.ค. 63 ข้อกำหนดออกตามความมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 19 มิ.ย. 2564 พนักงานสอบสวนได้นัดหมายให้ผู้ต้องหาทั้ง 3 คนเข้าพบเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม ภายหลังจากที่พนักงานอัยการมีคำสั่งตีกลับสำนวนให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาร่วมกันฝ่าฝืนพ.ร.ก. ฉุกเฉินร้ายแรง ในเขต กทม. เพิ่มเติม

23 มิ.ย. 2564 สิรินทร์และอ้อมทิพย์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมที่ สน. ปทุมวัน จากกรณีชุมนุมที่บริเวณสามย่านมิตรทาวน์ เมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2563 ทั้งนี้ ณววรรษไม่ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพราะติดภารกิจ โดยจะเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในภายหลัง

สิรินทร์และอ้อมทิพย์ให้การปฏิเสธลอดข้อกล่าวหา
https://tlhr2014.com/archives/31179
268สภ.เมืองพระนครศรีอยุธยา v. พริษฐ์ ชิวารักษ์ และพวกรวม 3 คนข้อหายุยงปลุกปั่นสร้างความกระด้างกระเดื่อง, หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 11620 ก.ย. 2564 ศาลอาญามีหนังสือแจ้งให้ชลิตา บัฑุวงศ์ นายประกันของภาณุพงศ์ ส่งตัวภาณุพงศ์ไปศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสอบถามเกี่ยวกับคดีนี้

29 ก.ย. 2564 ชลิตาได้ทำหนังสือแจ้งต่ออธิบดีศาลอาญาให้แจ้งต่อศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาว่า ไม่สามารส่งตัวได้ เนื่องจากภาณุพงศ์อยู่ในระหว่างถูกคุมขังในคดีราษฎรสาส์น และศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว

ในวันเดียวกัน ศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เบิกตัวพริษฐ์เพื่อยืนยันตัวจำเลยอีกด้วย อย่างไรก็ดี ในวันดังกล่าว พริษฐ์ได้โต้แย้งขอให้มีทนายอยู่ด้วย แต่ศาลแจ้งว่าสามารถยืนยันตัวโดยไม่มีทนายได้ พริษฐ์จึงแจ้งต่อว่ายังไมได้คำฟ้องและขอคัดรายงานกระบวนพิจารณานี้ด้วย แต่ศาลแจ้งว่าให้ทนายมาคัดในภายหลัง ซึ่งพริษฐ์ได้โต้แย้งว่าเหตุที่ยังไม่ได้เอกสารวันนี้ ก็มาจากการที่ศาลไม่ให้พริษฐ์มีทนายในวันนี้

ศาลได้นัดสอบคำให้การพริษฐ์ต่อไปในวันที่ 19 พ.ย. 2564
https://tlhr2014.com/archives/35835
269สุพัฒน์ ปัสสาคร v. พริษฐ์ ชิวารักษ์และพวก

**เฉพาะอรรถพล บัวพัฒน์ และวชิรวิทย์ เทศศรีเมือง
ร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจํานวนมากในลักษณะมั่วสุมกันหรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันง่าย ชุมนุมหรือทํากิจกรรมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ ในสถานที่แออัดหรือในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค, กระทําการหรือดําเนินการใดๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคแพร่ระบาดออกไป ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ, ไม่แจ้งชุมนุม และร่วมกันวาง ตั้ง หรือยื่นสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือกระทําด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจร

**เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีในข้อหาไม่แจ้งชุมนุมเฉพาะการชุมนุม เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2563
ข้อกำหนดออกตามพ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ (ฉบับที่ 1) ข้อ 5, พ.ร.บ. โรคติดต่อฯ มาตรา 34(6), พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 10 และพ.ร.บ. จราจรฯ มาตรา 114 27 พ.ค. 2564 อรรถพลและวชิรวิทย์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่สภ. เมืองขอนแก่น จากกรณีจัดชุมนุม ที่บริเวณอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย และถนนศรีจันทร์ จ. ขอนแก่น เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2563 และจัดชุมนุม "หมายที่ไหน ม็อบที่นั่น" ที่บริเวณสวนรัชดานุสรณ์ และเคลื่อนขบวนไปจนถึงสภ. เมืองขอนแก่น เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2563 โดยในวันดังกล่าวอรรถพลและวชิรวิทย์ไม่ได้แจ้งการชุมนุมล่วงหน้า

ทั้งสองให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และระบุว่าจะให้การเป็นหนังสือภายใน 30 วัน พนักงานสอบสวนจึงนัดส่งตัวผู้ต้องหาและสำนวนให้พนักงานอัยการในวันที่ 16 มิ.ย. 2564 โดยแจ้งว่าทั้งสองสามารถยื่นคำให้การให้พนักงานอัยการในภายหลังได้
https://tlhr2014.com/archives/30185
270พ.ต.ท.ภาสกร ไชยทวีวงศ์ v. นายชินวัตร จันทร์กระจ่าง กับพวกข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
พรบ.เครื่องขยายเสียงฯ มาตรา 412 ก.ค. 2564 พนักงานอัยการตีกลับสำนวนสอบสวน โดยมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติม และออกหมายเรียกให้ปาริชาติเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 14 ก.ค. 2564

14 ก.ค. 2564 ปาริชาติเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามพ.ร.บ. เครื่องขยายเสียง ที่สภ. เมืองนนทบุรี จากกรณีร่วมชุมนุมเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2563 ที่บริเวณลานกิจกรรมท่าน้ำนนทบุรี โดยปาริชาติได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และระบุจะให้การเป็นหนังสือภายใน 20 วัน พนักงานสอบสวนจึงนัดส่งสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการในวันที่ 15 ก.ค. 2564
https://tlhr2014.com/archives/32099

21 ก.ค. 2564 ผู้ชุมนุมจ่ายค่าปรับ 100 บาทจากกรณีใช้เครื่องเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตเพื่อให้คดีสิ้นสุดลง ภายหลังอัยการสั่งไม่ฟ้องข้อหาตามพ.ร.ก. ฉุกเฉิน เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา
https://twitter.com/TLHR2014/status/1417810248207720451
275สน.ทุ่งมหาเมฆ v. ภัสราวลี และพวกรวม 13 คนหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, ข้อหายุยงปลุกปั่นสร้างความกระด้างกระเดื่องประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 11622 ก.ค. 2564 อัยการมีคำสั่งฟ้องคดีต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้ง 12 คน โดยใช้ตำแหน่งคณาจารย์และส.ส. เป็นประกัน พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้มาศาลตามนัดทุกนัด และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรก่อนได้รับอนุญาต
https://twitter.com/iLawFX/status/1418055124480528387
https://twitter.com/TLHR2014/status/1418134768990916613

23 ก.ค. 2564 ณวรรษเข้าฟังคำสั่งฟ้องคดี โดยศาลอาญากรุงเทพใต้ได้สอบคำให้การ ณวรรษให้การปฏิเสธ และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางเงินสดเป็นประกัน 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเข้าร่วมหรือกระทำการที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์อีก ให้มาศาลตามนัด และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยหากผิดสัญญาประกัน ศาลจะลงโทษปรับ 200,000 บาท
https://twitter.com/TLHR2014/status/1418473401899896843
https://twitter.com/TLHR2014/status/1418485616354856961

7 ก.ย. 2564 ศาลอาญากรุงเทพใต้ ออกหมายแจ้งคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวของเบนจาโดยศาลได้นัดไต่สวนในวันที่ 11 ต.ค. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1439794015646277632

20 ก.ย. 2564 เบนจาระบุว่าได้รับหมายแจ้งของศาลดังกล่าว
https://twitter.com/benjarrrrr/status/1439897816302637056?ref_src=twsrc%5Egoogle%7Ctwcamp%5Eserp%7Ctwgr%5Etweet

11 ต.ค. 2564 ศาลเลื่อนตรวจพยานหลักฐานเป็นวันที่ 25 ต.ค. 2564 เนื่องจากวันนี้ไม่สามารถเบิกตัวเบนจา ซึ่งอยู่ในแดนกักโรค มาร่วมระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ได้

นอกจากนี้ ในวันดังกล่าว ได้มีการไต่สวนเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวของเบนจา โดยทนายได้แถลงต่อศาลส่งตัวคืนสู่การคุมตัวของศาล ศาลจึงมีคำสั่งรับตัวจำเลยและให้ออกหมายขัง ทั้งนี้ ในระหว่างการไต่สวน โจเซฟได้แถลงขอให้ศาลปล่อยตัวอานนท์และเบนจา และใช้คัตเตอร์กรีดต้นแขนเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ "ปล่อยเพื่อนเรา"
https://twitter.com/TLHR2014/status/1447452190046441472
https://twitter.com/TLHR2014/status/1447452853539278852

21 ต.ค. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวเบนจาชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 200,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์

ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากเบนจากระทำผิดเงื่อนไขห้ามกระทำการซ้ำอันเป็นการทำให้เป็นที่เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และเงื่อนไขอื่นๆ โดยกระทำซ้ำ จนทำให้ถูกดำเนินคดีอื่นในศาลนี้ ประกอบกับ หลังจากการกระทำตามที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้ เบนจายังได้ฝ่าฝืนเงื่อนไขซ้ำ จนทำให้ถูกดำเนินเป็นคดีอื่นของศาลนี้ และในคดีนั้น ศาลก็มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว กรณีนี้ จึงมีเหตุควรเชื่อว่าเบนจาจะไปก่ออันตรายประการอื่น จึงยกคำร้อง
https://www.facebook.com/VoiceOnlineTH/photos/a.131804224847/10162252664244848/

25 ต.ค. 2564 ศาลเลื่อนัดตรวจพยานหลักฐานไปเป็นวันที่ 17 ธ.ค. 2564 เนื่องจากพนักงานอัยการติดโควิด

ทั้งนี้ ศาลไม่ได้เบิกตัวเบนจามาศาลแต่อย่างใด เนื่องจากเบนจาได้แถลงต่อศาลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ว่า ประสงค์จะตรวจพยานหลักฐานด้วยตนเอง
https://twitter.com/TLHR2014/status/1452531127911022594
276สน.ชนะสงคราม v. อรรถพล บัวพัฒน์ และพวกรวม 11 คน- อรรถพล, ชินวัตร, ธานี, ณัฐชนน
ข้อหาร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ, ข้อหาร่วมกันวางสิ่งของกีดขวางการจราจร และข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
- อรรถพล, ชินวัตร, ธานี, ณัฐชนน
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 385, พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 114 ร่วมกันวางสิ่งของกีดขวางการจราจร และพรบ.โฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง
8 มิ.ย. 2564 ศาลยังไต่สวนถอนประกันชินวัตร โดยศาลมีคำสั่งไม่ถอนประกัน เนื่องจากไม่ปรากฎเหตุตาม #ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108/1 (4) (5) แต่เพิ่มเงื่อนไขห้ามเข้าร่วมการชุมนุมที่ก่อให้เกิดความวุ่นว่าย https://twitter.com/TLHR2014/status/1402204366132580353
298สุกิจ เดชกุล v. วรรณวลี ธรรมสัตยา, "หนึ่ง" นามสมมติ, "น้ำ" นามสมมติข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรไทย และจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้
เป็นเครื่องมือในการกระทําความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10
หรือมาตรา 11 พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 13 และ 145 เม.ย. 2564 พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาและสำนวนให้พนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ โดยอัยการนัดฟังคำสั่งต่อไปในวันที่ 22 เม.ย. 2564
https://tlhr2014.com/archives/27964

26 ต.ค. 2564 อัยการจังหวัดเชียงใหม่มีคำสั่งฟ้องวรรณวลีและพวกต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1183/2564 ทนายจึงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้ตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นประกัน แต่เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่า ถ้าไม่มีความสัมพันธ์เป็นอาจารย์โดยตรง ถือว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับนักศึกษา และไม่สามารถใช้ตำแหน่งประกันได้ ทนายจึงถามต่อว่าสามารถให้ศาลพิจารณาหลักประกันดังกล่าวได้หรือไม่ เจ้าหน้าที่ตอบว่าสามารถยื่นได้ แต่ศาลคงจะไม่อนุญาต ประกอบกับเอกสารของอาจารย์ยังไม่สมบูรณ์อีกด้วย

ทนายจึงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจากกองทุนราษฎรประสงค์ และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักทรัพย์เป็นประกันคนละ 150,000 บาท ทั้งนี้ ศาลได้นัดพร้อมถามคำให้การในวันที่ 14 ก.พ. 2565
https://twitter.com/TLHR2014/status/1452823684599599104
https://twitter.com/TLHR2014/status/1452931379755315205
https://twitter.com/TLHR2014/status/1452940246476230664
https://tlhr2014.com/archives/37006
302สน.พญาไท v. นายปิยรัฐ จงเทพ กับพวกรวม 19 คนข้อหาร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่10 คน ขึ้นไป โดยใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง, ร่วมกันไม่เลิกมั่วสุมเพื่อกระทำความผิดตามมาตรา 215 เมื่อเจ้าหนักงานสั่งให้ผู้ที่มั่วสุมเลิกไป, ร่วมกันต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ต้องช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติตามหน้าที่ป.อ. มาตรา 215, 216, 13830 ส.ค. 2564 อัยการสั่งฟ้องคดีต่อศาลอาญา ทนายจึงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันป็นเงินสดคนละ 25,000 บาทและใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคก้าวไกลเป็นประกัน และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวตามคำร้อง และกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยกระทำการในลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหา
https://twitter.com/TLHR2014/status/1432294111755702275
303สภ.เมืองนนทบุรี v. พริษฐ์ และพวกรวม 3 คนหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, ข้อหาสร้างความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่อง ก่อความไม่สงบ- พริษฐ์, ปนัสยา, ภาณุพงศ์
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

- ชินวัตร, ธนกร
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
2 ก.ย. 2564 พนักงานอัยการศาลเยาวชนและครอบครัว ส่งหนังสือให้ผู้กำกับสภ. นนทบุรี โดยระบุให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนธนกรในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพิ่มเติม เนื่องจากพิจารณาแล้วเห็นว่าการปราศรัยของธนกรเข้าข่ายเป็นความผิดดังกล่าว
https://twitter.com/TLHR2014/status/1435469456466014212

8 ก.ย. 2564 ธนกรได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่สภ. เมืองนนทบุรี จากกรณีที่ปราศรัยถึงเรื่องที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ และแนวคิดเรื่องกษัตริย์คือเทพนั้น เป็นเพียงแนวคิดที่ถูกครอบงำโดยศาสนาเท่านั้น โดยธนกรได้ปราศรัยดังกล่าวในการชุมนุม ที่บริเวณลานกิจกรรมท่าน้ำนนทบุรี จ. นนทบุรี เมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2563

ธนกรได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และพนักงานอัยการได้นัดฟังคำสั่งต่อไปในวันที่ 10 พ.ย. 2564
https://tlhr2014.com/archives/34766
306สน.ลุมพินี v. อรรถพล บัวพัฒน์ และพวกรวม 5 คนข้อหาร่วมกันไม่แจ้งการชุมนุม, ข้อหาร่วมกันฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนด)

จตุภัทร์และณัฐวุฒิถูกแจ้งข้อกล่าวหา ร่วมกันกระทําด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางทางสาธารณะและการจราจรจนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร เพิ่มเติม

*แจ้งข้อหาตามพ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะฯ และพ.ร.ก. ฉุกเฉินฯใหม่
พ.ร.บ.ชุมนุมฯ มาตรา 10 , พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 13 ข้อ 1 และข้อ 5

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385
3 ก.ย. 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจสน. ลุมพินีเข้าแจ้งข้อกล่าวหาแก่จตุภัทร์ ซึ่งอยู่ในระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์เพิ่มเติม ภายหลังพนักงานอัยการมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาเพิ่มเติม

จตุภัทร์ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ยินยอมลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา
https://tlhr2014.com/archives/34513

9 ก.ย. 2564 ธานีเข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมที่สน. ลุมพินี และได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พร้อมระบุว่าจะให้การเป็นหนังสือภายใน 20 วัน
https://tlhr2014.com/archives/34818

23 ก.ย. 2564 อรรถพลและณวรรษเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามพ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะฯ ที่สน.ลุมพินี โดยทั้งสองได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และณวรรษระบุว่าจะให้การเป็นหนังสือภายใน 20 วัน ทั้งนี้ ณวรรษยังไม่ยินยอมลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหา แต่เขียนข้อความว่า “ว่างชิบหาย หมายเต็มบ้าน งานอื่นไม่มีเหรอ” แทน
https://tlhr2014.com/archives/35571

28 ก.ย. 2564 พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จตุภัทร์เพิ่มเติม และจตุภัทร์ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ทั้งยังไม่ยินยอมลงลายมือชื่อในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาอีก้วย
https://tlhr2014.com/archives/35799

6 ต.ค. 2564 พนักงานสอบสวนเข้าแจ้งข้อกล่าวหาต่อณัฐวุฒิ ที่โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ ทั้งนี้ ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ยินยอมให้ณัฐวุฒิใช้ทนายความที่เขาไว้วางใจร่วมการสอบสวน

ณัฐวุฒิได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และระบุว่าจะให้การเป็นหนังสือภายใน 20 วัน
https://tlhr2014.com/archives/36239

20 และ 25 ต.ค. 2564 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษศาลแขวง 6 มีคำสั่งฟ้องจตุภัทร์, อรรถพล, ณวรรษ, ธานี และณัฐวุฒิ ต่อศาลแขวงปทุมวัน และศาลได้มีคำสั่งอนุญาให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดคนละ 20,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ โดยศาลได้นัดพร้อมเพื่อสอบคำให้การในวันที่ 24 พ.ย. 2564
https://tlhr2014.com/archives/36919
308สน.บางเขน v. อานนท์ นำภา และพวกรวม 8 คนหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, ข้อหาร่วมกันกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการ กระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย, ข้อหาร่วมกันมั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไปใช้กําลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้ายหรือกระทําการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง, ข้อหาเมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแต่ไม่เลิกการกระทำ, ข้อหาร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะจนเป็นอุปสรรคต่อความสะดวกในการจราจร, ข้อหาไม่แจ้งการชุมนุม, ข้อหาร่วมกันจัดกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจํานวนมากใน ลักษณะมั่วสุมประชุมกัน หรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย, ข้อหาร่วมกันเท หรือทิ้งสิ่งปฏิกูล มูลฝอย โสโครก หรือ สิ่งใดลงบนถนน, ข้อหาร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
-ผู้ต้องหาที่ 1-7
มาตรา 112, 116, 215, มาตรา 216, มาตรา 385 ประมวลกฎหมายอาญา, มาตรา 10 พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558, ข้อกำหนดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548, มาตรา 3 พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535, มาตรา 4 พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493
-ผู้ต้องหาที่ 8
มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
6 ก.ย. 2564 พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ต้องหาและสำนวนให้พนักงานอัยการ และพนักงานอัยการได้นัดฟังคำสั่งในวันที่ 27 ก.ย. 2564
https://www.matichon.co.th/local/crime/news_2924719
310ศรายุทธ สังวาลย์ทอง v. สมบัติ ทองย้อยข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรไทย, ข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ข้อหามาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14 (3) ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ19 พ.ค. 2564 อัยการส่งฟ้องต่อศาลเป็นคดีหมายเลขดำที่อ. 940/2564 และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางเงินประกัน 200,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลย เข้าร่วมในกิจกรรมใด ที่จะกระทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือใน ลักษณะเดียวกันกับที่ถูกฟ้องในคดีนี้ ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากศาล และให้มาศาลตามกำหนดนัดโดยเคร่งครัดด้วย
https://www.facebook.com/lawyercenter2014/photos/a.668860109830513/3935397123176779/
https://www.thairath.co.th/news/crime/2096100

27 ก.ย. 2564 ศาลนัดสอบคำให้การและตรวจพยานหลักฐาน โดยสมบัติได้แถลงต่อศาลว่าเป็นผู้โพสต์จริง แต่ประสงค์จะต่อสู้คดี เนื่องจากการกระทำดังกล่าวไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

พนักงานอัยการได้แถลงจะนำพยานเข้าสืบทั้งหมด 18 ปาก แต่เนื่องจากสมบัติรับข้อเท็จจริงของพยานลำดับที่ 8 และ 9 ซึ่งเป็นพยานเบิกความเรื่องกรยืนยันตัวตนในเฟซบุ๊ก ทำให้พนักงานอัยการต้องสืบพยานเพียง 16 ปาก 4 นัด และทนายจำเลยแถลงขอนำพยานเข้าสืบ 5 ปาก 2 นัด

ศาลอนุญาตตามคำขอ และคู่ความได้ตกลงวันนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 8-11 มี.ค. 2565 และนัดสืบพยานจำเลยในวันที่ 15-16 มี.ค. 2565
https://tlhr2014.com/archives/35664
312สน.สำราญราษฎร์ v. อานนท์ นำภา และพวกรวม 3 คนข้อหาร่วมกันกีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรค ต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร,
ข้อหาร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะไม่ดูแลและรับผิดชอบการชุมนุมสาธารณะไม่ให้เกิดการขัดขวางเกินสมควรต่อประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ ดูแลรับผิดชอบให้ผู้ชุมนุมปฏิบัติตามในอันที่จะไม่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะอันเป็นที่ชุมนุมหรือทําให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนเกินที่พึ่งคาดหมายได้ว่าเป็นไปตามเหตุอันควร, บุกรุกหรือทําให้เสียหาย ทําลาย หรือทําด้วยประการใดๆ ให้ใช้การไม่ได้ตามปกติซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่น, ข้อหาขัดขวางหรือกระทําการใดๆ อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะในการคุ้มครอง ความสะดวกของประชาชนในการใช้ที่สาธารณะ และการดูแลการชุมนุมสาธารณะนั้น, ข้อหาเดินขบวนหรือเคลื่อนย้ายการชุมนุมระหว่างเวลา 18.00 นาฬิกา ถึงเวลา 06.00 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือคําสั่งของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ
พระราชบัญญัติโรคติดต่อฯ, ข้อหาร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมรวมกลุ่มเพื่อการชุมนุมใดๆ โดยไม่จัดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด, ข้อหาร่วมกันกระทําการหรือดําเนินการใดๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคแพร่ระบาดออกไป ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ, ข้อหาร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

นอกจากนี้ อานนท์ นำภา ยังถูกแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมอีก 1 ข้อหาคือ หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ จากการปราศรัย 3 ข้อความในบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาข้างต้นด้วย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358, พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558, พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548, พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535, พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522, มาตรา 4 พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 24938 ต.ค. 2564 พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญา 10 ยื่นฟ้องอานนท์ ต่อศาลอาญา เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ. 2495/2564
https://thestandard.co/prosecutor-sue-anon-on-m112-last-year-14-october/

14 ต.ค. 2564 มารดาของอานนท์ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว และศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจาก เป็นคดีมีอัตราโทษสูง ประกอบกับอานนท์ถูกดำเนินคดีหลายคดี จึงอาจจะหลบหนีได้
https://twitter.com/TLHR2014/status/1448584832242520066
https://twitter.com/TLHR2014/status/1448572333673775104

19 ต.ค. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 300,000 บาท จากกองทุนราษฎร และมีมารดาเป็นนายประกัน

ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
https://twitter.com/TLHR2014/status/1450343905673703425
https://twitter.com/TLHR2014/status/1450414505968631809

26 ต.ค. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวอานนท์ชั่วคราว โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล และธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคก้าวไกลเป็นประกัน

ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
https://tlhr2014.com/archives/36989
313สน.ยานนาวา V. จตุพร แซ่อึง และพวกหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, ร่วมกันกระทำการหรือดำเนินการใด ๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่สุขลักษณะซึ่งอาจเป็นเหตุเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคแพร่ระบาดออกไป, ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ, ร่วมกันชุมนุมสาธารณะที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกแก่ประชาชนฯ, ร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ

สายน้ำ: หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, ฝ่าฝืนข้อกำหนดและประกาศออกตามพ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ, กระทําการหรือดําเนินการใด ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
มาตรา 112, พรบ.โรคติดต่อฯ , พรบ.การชุมนุมสาธารณะฯ, พรบ. เครื่องขยายเสียงฯ

สายน้ำ: ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, ข้อกำหนดและประกาศออกตามพ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ, พ.ร.บ. โรคติดต่อฯ มาตรา 34(6) และพ.ร.บ. เครื่องขยายเสียงฯ มาตรา 4
15 ก.ค. 2564 อัยการยื่นฟ้องจตุพรต่อศาลในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางเงินสดเป็นประกัน 200,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำหรือร่วมกิจกรรมอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์หรือกระทำในลักษณะเดียวกับที่ถูกฟ้องอีก ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และให้มาตามนัดศาลอย่างเคร่งครัด

ศาลได้นัดตรวจพยานหลักฐานต่อไปในวันที่ 13 ก.ย. 2564
https://www.facebook.com/iLawClub/photos/a.10150540436460551/10165656275670551/

26 ต.ค. 2564 พนักงานอัยการสูงสุดเลื่อนนัดฟ้องเป็นวันที่ 29 ต.ค. 2564
https://prachatai.com/journal/2021/10/95640

29 ต.ค. 2564 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว 4 ยื่นฟ้องคดีของสายน้ำต่อศาลเยาวชนและครอบครัว โดยพนักงานอัยการได้ระบุในฟ้องว่า อัยการไม่สามารถยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนด คดีขาดผัดฟ้อง และรองอัยการสูงสุด ซึ่งได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุดได้อนุญาตให้ฟ้องจำเลยแล้ว ที่ปรึกษากฎหมายจึงได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 12,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์

ศาลได้นัดสอบถามต่อไปในวันที่ 20 ธ.ค. 2564
https://tlhr2014.com/archives/37191
326จักรพงศ์ กลิ่นแก้ว v. ชูเกียรติ แสงวงค์ และพวกรวม 3 คนข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 11224 พฤษภาคม 2564 ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ธนกร อายุ 18 ปี เดินทางเข้ารายงานตัวตามนัด ในคดีที่ถูกกล่าวหาในข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112 กรณีการปราศรัยในการชุมนุม #ม็อบ6ธันวา บริเวณลานพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช วงเวียนใหญ่ ก่อนพบว่าอัยการได้สั่งฟ้องคดีต่อศาลไปแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 64 https://tlhr2014.com/archives/30060

6 ก.ค. 2564 ชูเกียรติได้เดินทางไปศาลตามนัดคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยวรรณวลีไม่ได้เดินทางมาตามนัดในวันนี้ เนื่องจากมีอาการป่วย ศาลได้อ่าคำฟ้องให้จำเลยฟัง และชูเกียรติได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา พร้อมระบุว่าจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือในนัดพร้อมตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 12 ก.ค. 2564

ในวันเดียวกัน พนักงายอัยการได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราววรรณวลี เนื่องจากจำเลยเข้าร่วมการชุมนุม "ราษฎรยืนยันดันเพดาน" เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 และปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัริย์และมาตรา 112 ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว ศาลจึงนัดไต่สวนคำร้องต่อไปในวันที่ 12 ก.ค. 2564
https://tlhr2014.com/archives/31795

21 ก.ย. 2564 ศาลอาญาธัญบุรี นัดตรวจพยานหลักฐานในคดีของชูเกียรติและวรรณวลี และนัดไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวของวรรณวลี

ทนายจำเลยยื่นคำให้การของชูเกียรติและวรรณวลี ซึ่งทั้งคู่ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ต่อมา โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยาน แถลงต่อศาลว่าจะนำพยานเข้าสืบ 11 ปาก และทนายจำเลยแถลงว่าศาลว่าจะพยานเข้าสืบ 6 ปาก ศาลจึงนัดสืบพยานในวันที่ 8-10, 18 และ 22 ก.พ. 2565

ในส่วนของการไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนั้น โดยวรรณวลีให้การว่าไม่ได้มีเจตนาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ตนเพียงแสดงความคิดเห็น และตั้งแต่วันนี้ จะไม่กล่าวถ้อยคำหรือกระทำการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์อีก

ศาลมีคำสั่งไม่เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม และให้โอกาสวรรณวลีได้ต่อสู้คดีเต็มที่ เนื่องจากฟังไม่ได้ว่าวรรณวลีกระทำผิดเงื่อนไขสัญญาปล่อยตัวชั่วคราว แต่ศาลก็ได้ตักเตือนให้วรรณวลีปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด
https://tlhr2014.com/archives/35447

12 ต.ค. 2564 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเลื่อนนัดตรวจพยานหลักฐานของธนกร ตามคำร้องขอเลื่อนคดี เหตุจากธนกรติดเชื้อโรคโควิด-19
https://twitter.com/TLHR2014/status/1447816009608400896
327สน.หนองแขม v. นราธร โชตมั่นคงสิน และพิชญหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1122 ก.ย. 2564 พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญาตลิ่งชันสั่งฟ้องต่อศาล
https://twitter.com/TLHR2014/status/1433374979677057028
335สภ.คลองหลวง v. สิริชัย นาถึงหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1126 ก.ค. 2564 ศาลนัดพร้อมและตรวจพยานหลักฐาน โดยสิริชัยได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาทั้งคดีตามมาตรา 112 และคดีตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ พนักงานอัยการจึงแถลงต่อศาลว่าจะนำพยานเข้าสืบทั้งหมด 20 ปากสำหรับคดีตามมาตรา 112 หลังจำเลยรับข้อเท็จจริงและพยานเอกสารเฉพาะส่วนของเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์หลักฐาน และจำเลยจะนำพพยานเข้าสืบ 2 ปาก และพยานเอกสาร 3 ฉบับ สำหรับคดีดังกล่าว ศาลจึงนัดวันสืบพยานทั้งหมด 4 นัด ในวันที่ 12 และ 15 ต.ค. 2564 และ 19-20 ม.ค. 2565

ในส่วนของคดีพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ อัยการแถลงต่อศาลว่าจะนำพยานเข้าสืบทั้งหมด 5 ปาก โดยจำเลยไม่รับข้อเท็จจริงพยานปากใดๆ และจำเลยจะนำพยานเข้าสืบทั้งหมด 3 ปาก และพยานเอกสาร 2 ฉบับ ศาลจึงนัดสืบพยาน 2 นัด ในวันที่ 27 ต.ค. 2564 และ 26 พ.ย. 2564
https://tlhr2014.com/archives/31830
336แน่งน้อย อัศวกิตติกร v. ภานุพงค์ จาดนอกข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรไทย, หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (3) 23 ก.ย. 2564 ภาณุพงศ์เข้าพบพนักงานสอบสวนตามที่พนักงานสอบสวนนัดจะนำตัวไปพบพนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5

ต่อมา อัยการมีคำสั่งฟ้องต่อศาลอาญา ทนายจึงยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 200,000 บาท และศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูง พฤติการณ์ร้ายแรง มีเหตุควรเชื่อว่าภาณุพงศ์จะกระทำการตามที่ถูกฟ้องอีก หรือหลบหนี
https://twitter.com/TLHR2014/status/1440942934698835972
https://twitter.com/TLHR2014/status/1440976422772699146
https://tlhr2014.com/archives/35553

24 ก.ย. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 100,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ แต่ศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากยังไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำร้อง
https://twitter.com/TLHR2014/status/1441270331440656400
https://tlhr2014.com/archives/35616

26 ต.ค. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล และธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคก้าวไกลเป็นประกัน

ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากเคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดเจนแล้ว
https://tlhr2014.com/archives/36989

30 ต.ค. 2564 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากคดีมีอัตราโทษสูง และการกระทำตามข้อกล่าวหามีการใช้ข้อความอันมิบังควร จึงมีเหตุควรเชื่อว่าจำเลยจะหลบหนี
https://twitter.com/TLHR2014/status/1454347274742419469
337สน.ปทุมวัน v. ณัฐกรณ์ ชูเสนาะ และพวกรวม 7 คนหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 11229 มิ.ย. 2564 พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องเบนจา อะปัญ, ภวัต หิรัณย์ภณ (ป๊อกกี้), พริษฐ์ ชิวารักษ์, ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล และภาณุพงศ์ จาดนอก ต่อศาล จากกรณีใส่เสื้อครอปท็อปในบริเวณห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2563 ทั้งนี้ ในส่วนของพริษฐ์ ปนัสยา และภาณุพงศ์นั้น ยังไม่ได้มีการนำตัวผ้ต้องหามาฟ้องในวันนี้ แต่จะออกหมายนัดต่อไป

ทั้งนี้ ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำสั่งรับฟ้อง และให้ประกันตัวเบนจาและภวัต โดยวางเงินเป็นประกันคนละ 200,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามจำเลยกระทำการในลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหา อันเป็นที่เสื่อมเสียแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ หรือร่วมกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และมาศาลตามกำหนดโดยเคร่งครัด
https://tlhr2014.com/archives/31403

27 ก.ย. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอเลื่อนนัดสอบคำให้การ เนื่องจากไม่สามารถเบิกตัวภาณุพงศ์มาสอบคำให้การได้ทัน และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนนัด โดยเลื่อนนัดสอบคำให้การเป็นวันที่ 15 พ.ย. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1442384577524166657
338พันตำรวจเอกจักรกริศน์ โฉสูงเนิน v. อานนท์ นำภา และพวกรวม 7 คนข้อหาร่วมกันจัดกิจกรรมชุมนุมสาธารณะ โดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันโรค, (ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ สำหรับสิรภพ และชูเกียรติ)พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558, ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548(ฉบับที่ 13) ข้อ 1 และข้อ 5, (มาตรา 112 สำหรับสิรภพ และชูเกียรติ)2 มิถุนายน 2564 ศาลอาญากรุงเทพใต้ให้ประกัน "จัสติน-ชูเกียรติ" ระหว่างพิจารณาคดี #ม112 เหตุปราศรัยในชุมนุม #18พฤศจิกาไปราชประสงค์ พร้อมเงื่อนไข https://twitter.com/TLHR2014/status/1399950066148810757

9 ก.ย. 2564 พรพจน์เข้ารับทราบข้อกล่าวหาที่สน. ลุมพินี ตามที่พนักงานอัยการส่งสำนวนกลับให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาใหม่อีกครั้ง และพรพจน์ได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พร้อมระบุว่าจะให้การเป็นหนังสือภายใน 20 วัน
https://tlhr2014.com/archives/34818
342พ.ต.ท.เศกสรรค์ บัวเรือง V. พริษฐ์ และพวก
กรณีให้กำลังใจ เดฟ
ข้อหาร่วมกันชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป เพื่อก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยเป็นหัวหน้า หรือสั่งการในการกระทำความผิด, ข้อหาร่วมกันกระทำการใด ๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นเหตุให้โรคระบาดแพร่ออกไป, ข้อหาร่วมกันจััดกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากในลักษณะติดต่อสัมผัสกันได้ง่าย, ข้อหาร่วมกันทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้ับอนุยาตประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 วรรคสาม,
พ.ร.บ. โรคติดต่อฯ มาตรา 34 (6)
พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ฯ พ.ศ. 2548
พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ มาตรา 4
26 ต.ค. 2564 อัยการจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งให้เลื่อนนัดฟังคำสั่งเป็นวันที่ 23 พ.ย. 2564 เนื่องจากสำนวนยังไม่เสร็จ
https://twitter.com/TLHR2014/status/1452880518911909893
343สภ.เมืองเชียงใหม่ v. ประสิทธิ์ ครุธาโรจน์ และพวกรวม 38 คนข้อหายุยงปลุกปั่น, ข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ,ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ. โรคติดต่อ ฯประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 (2) , พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548,
,พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 34 (6)
23 ก.ย. 2564 พนักงานสอบสวนส่งตัวตามหทัย, ธนาธร, วัชรภัทร, วิธญา และประสิทธิ์ และสำนวนให้พนักงานอัยการ โดยพนักงานอัยการได้นัดฟังคำสั่งในวันที่ 14 ต.ค. 2564
https://tlhr2014.com/archives/35585
345พ.ต.ท.ประวิทย์ วงษ์เกษม และพวก v.ปนัสยา, ปิยรัฐ และพวกปนัสยา,ปิยรัฐ
ข้อหาร่วมกันชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุม ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่ที่แออัด หรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย, ข้อหาร่วมกันกระทําการ หรือดําเนินการใดๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคแพร่ระบาดออกไป ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ, ร่วมกันใช้ เครื่องขยายเสียงด้วยกําลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
การ์ด We Volunteer และ ผู้ชุมนุมอีก 8 คน
ข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง โดยผู้กระทำผิดคนใดคนหนึ่งมีอาวุธ, ข้อหาร่วมกันต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย โดยมีหรือใช้อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป, ข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ, ข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ,ข้อหาฝ่าฝืนพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ร่วมกันกระทําการซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะฯ
พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138, 215, 296
29 มิ.ย. 2564 เจ้าหน้าที่ตำรวจสน.ยานนาวา ได้ส่งตัวผู้ต้องหาอีก 9 คนให้กับพนักงานอัยการด้วย โดยพนักงานอัยการได้นัดฟังคำสั่งในวันที่ 24 ส.ค. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1409735927501516800

ทั้งนี้ ในวันเดียวกัน เจ้าหน้าตำรวจสน. ยานนาวาได้ส่งตัวพริษฐ์, ปนัสยา และปิยรัฐให้กับพนักงานอัยการอีกด้วย โดยพนักงานอัยการนัดฟังคำสั่งในส่วนของสามคนนี้ในวันที่ 25 ส.ค. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1409783523842527237
ผู้ต้องหา:
ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, ปิยรัฐ จงเทพ, WeVo และประชาชนรวม 11 คน
พริษฐ์ ชิวารักษ์
ประชาชนที่ถูกจับกุมในที่เกิดเหตุ 3 คน
346 & 359พันตำรวจเอกทศพล อำไพพิพัฒน์กุล และพวก V. นายอรรถพล บัวพัฒน์ และพวก

รุ้ง ปนัสยา
ข้อหาร่วมกันฝ่าฝืน พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 9 (2)

ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ , ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ.โรคติดต่อ, ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ.รักษาความสะอาด และข้อหาสร้างความเสียหายให้แก่ต้นไม้เนื่องจากย้ายกระถาง
พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548,
มาตรา 9 (2)

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
พ.ร.บ. ความสะอาดฯ
1 ก.ค. 2564 พนักงานสอบสวนได้นัดส่งตัวปนัสยา และภาณุพงศ์ พร้อมสำนวนให้กับพนักงานอัยการศาลแขวงดุสิต โดยพนักงานอัยการนัดฟังคำสั่งต่อไปในวันที่ 27 ต.ค. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1410457560247721987?s=19
349พนังงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม V. อานนท์ นำภา

**เพิ่มข้อกล่าวหา
หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์

ยุยงปลุกปั่น, นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ, ไม่แจ้งให้ผู้ชุมนุมปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ชุมนุม, ชุมนุมมั่วสุมกันในที่แออัด ไม่มีการเว้นระยะห่าง และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(3), พ.ร.บ. ชุมนุมสาธารณะฯ มาตรา 16, พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ และพ.ร.บ. เครื่องขยายเสียงฯ มาตรา 4
14 ก.ค. 2564 พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 มีคำสั่งฟ้องอานนท์ โดยเป็นการฟ้องโดยไม่มีผู้ต้องหา พร้อมยื่นคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากหากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว อานนท์อาจทำผิดซ้ำอีก

7 ก.ย. 2564 ศาลอาญาถามคำให้การอานนท์ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ และทนายได้ยื่นคำร้องปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 90,000 บาท และศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจาก เมื่อพิจารณาจากความร้ายแรงของคดี มีเหตุควรเชื่อว่าอานนท์จะกระทำการตามฟ้องหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นหรือหลบหนี จงสั่งยกคำร้อง
https://twitter.com/TLHR2014/status/1435209975320612865
https://twitter.com/TLHR2014/status/1435209977946263554
https://tlhr2014.com/archives/34773

1 ต.ค. 2564 ทนายได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว และศาลมีคำสั่งยกคำร้อง เนื่องจาก “กรณีลายมือและสีหมึกในส่วนของผู้รับมอบฉันทะ แตกต่างจากสำนวนของผู้มอบฉันทะ โดยผู้มอบฉันทะไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ จึงไม่อาจเชื่อได้ว่ามีผู้รับมอบฉันทะจริง”
https://tlhr2014.com/archives/35948

2 ต.ค. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว และศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
https://twitter.com/TLHR2014/status/1444162309450915848
https://twitter.com/TLHR2014/status/1444241630022692865

14 ต.ค. 2564 มารดาของอานนท์ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว และศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
https://twitter.com/TLHR2014/status/1448584832242520066
https://twitter.com/TLHR2014/status/1448572333673775104

19 ต.ค. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 300,000 จากกองทุนราษฎรประสงค์ และมีมารดาเป็นนายประกัน

ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากเคยยกคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวหลายครั้ง
https://twitter.com/TLHR2014/status/1450343905673703425
https://twitter.com/TLHR2014/status/1450414505968631809

26 ต.ค. 2564 ทนายยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล และธีรัจชัย พันธุมาศ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคก้าวไกลเป็นประกัน

ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม
https://tlhr2014.com/archives/36989
350พันตำรวจโทภาสกร สุขะ V. แอดมินเพจ "Free Youth CEI- เชียงรายปลดแอก'ข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์, ข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อความอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดิน หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน และโฆษณาด้วยการปิด ทิ้ง หรือโยนโปรยแผ่นประกาศหรือแผ่นใบปลิวโดยไม่ได้รับอนุญาตประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560
พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535
9 มิ.ย. 2564 ตร.สภ.เมืองเชียงรายส่งสำนวนคดีให้กับอัยการจังหวัดเชียงราย โดยอัยการมีคำสั่งให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปโดยใช้หลักทรัพย์เดิม และนัดฟังคำสั่งในคดีต่อไปวันที่ 6 ก.ค.64 https://twitter.com/TLHR2014/status/1402509177600180225
352สน. ดินแดง v. ณวรรษ เลี้ยงวัฒนาและพวกรวม 17 คน

ร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากในลักษณะมั่วสุมกัน หรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันง่าย ชุมนุมทำกิจกรรมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ ในสถานที่แออัด หรือกระทำการดังกล่าวอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย หรือในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค, กระทำการหรือดำเนินการใด ๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคแพร่ระบาดออกไป ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง, เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกกระทำความผิดตามมาตรา 215 แล้วไม่เลิก, ร่วมกันต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย โดยได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธ หรือร่วมกระทำความผิดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และร่วมกันทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการตามหน้าที่จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจข้อกำหนดตามพ.ร.ก. ฉุกเฉิน, พ.ร.บ. โรคติดต่อ มาตรา 34(6) และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, 216, 140 และ 2967 เม.ย. 2564 นักกิจกรรม-ประชาชน-เยาวชนรวม 16 ราย พร้อมทนายความ ได้เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน สน.ดินแดง เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาจากกรณีเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุม #ม็อบ28กุมภา ที่หน้ากรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
https://tlhr2014.com/archives/28056

10 มิ.ย. 2564 พนักงานอัยการนัดส่งตัว 19 ผู้ต้องหาในคดีแรก และมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนกรณีผู้ต้องหา 17 รายฝ่าฝืนพ.ร.ก. ฉุกเฉิน จากกรณี #ม็อบ28กุมภา หน้ากรมทหารราบที่ 1 โดยอัยการนัดฟังคำสั่งทางคดีวันพุธที่ 14 ก.ค. 2564 เวลา 09.30 น https://twitter.com/TLHR2014/status/1402903009655279617

7 ต.ค. 2564 อัยการรัชดากอง 4 ยื่นฟ้องสิรภพ พุ่มพึ่งพุทธและพวกรวม 19 คน ต่อศาล และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดคนละ 35,000 บาท สำหรับผู้ต้องหา 18 คน และวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 70,000 บาท จากกองทุนราษฎรประสงค์ สำหรับผู้ต้อง 1 คนที่เคยกระทำผิดมาก่อน
https://twitter.com/TLHR2014/status/1446071477149704195
352สน. ดินแดง v. ประชาชน 23 คน (เยาวชน 4 คน)
*แยกกับ 17 คน
ฝ่าฝืนข้อกำหนดตามพ.ร.ก. ฉุกเฉิน, กระทําการหรือดําเนินการใด ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
ซึ่งอาจเป็นเหตุให้โรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดแพร่ออกไป, ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง, เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก, ร่วมกันต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย และร่วมกันทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่งกระทําการตามหน้าที่จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
เป็นบุคคลต่างด้าวเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย ตามพ.ร.บ. คนเข้าเมือง มาตรา 81 (เฉพาะแซม สาแมท)
ข้อกำหนดตามพ.ร.ก. ฉุกเฉิน, พ.ร.บ. โรคติดต่อ มาตรา 34(6) และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, 216, 140 และ 29628 ก.พ. 2564 ตำรวจคุมฝูงชนเข้าจับกุมประชาชน 23 ราย จากกรณีเข้าร่วมชุมนุม REDEM เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2564 ที่เคลื่อนขบวนจากอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิมาถึงกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารมหาดเล็กฯ รักษาพระองค์ 1 และเจ้าหน้าที่ได้เข้าสลายการชุมนุมในภายหลัง โดยประชาชน 18 คนถูกควบคุมตัวไปที่บก. ตชด. ภาค 1 จังหวัดปทุมธานี และเยาวชนอีก 4 คนได้ถูกควบคุมตัวไปที่สน. สุทธิสาร

เยาวชนทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และไม่ยินยอมลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุม โดยให้เหตุผลว่าเป็นการจับกุมโดยมิชอบและมีการทำร้ายร่างกายขณะเข้าจับกุม

ในส่วนของประชาชนอีก 18 คนนั้น มี 4 ได้รับบาดเจ็บมากจนต้องทำตัวส่งโรงพยาบาลก่อน จากนั้น เจ้าหน้าที่ได้เข้ามาทำบันทึกจับกุมผู้ต้องหา และผู้ต้องหาทั้งหมดไม่ยินยอมลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุม พร้อมทำหนังสือคัดค้านการควบคุมตัวที่บก. ตชด. 1 เนื่องจากเป็นสถานที่คุมตัวโดยมิชอบ

พนักงานสอบสวนให้ประกันตัวบัญชา และได้นำผู้ต้องหาที่เหลือไปขออำนาจศาลฝากขัง 12 วันและคัดค้านการประกันตัว โดยศาลอนุญาตให้ฝากขังและอนุญาตให้ประกันตัว โดยผู้ต้องหา 13 คนวางเงินสดเป็นประกันคนละ 35,000 บาท ผู้ต้องหา 1 คนวางเงินสดเป็นประกัน 70,000 บาท เนื่องจากเคยมีประวัติการกระทำความผิด และผู้ต้องหาอีก 4 คนใช้ตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคก้าวไกลเป็นนายประกัน

ศาลนัดรายงานต่อไปวันี่ 19 เม.ย. 2564
https://tlhr2014.com/archives/26380

26 มี.ค. 2564 แซม สาแมท ถูกจับกุมตามหมายจับของศาล จากกรณีที่ถูกกล่าวว่าได้ทำท่ายืนปัสสาวะอยู่บนตู้คอนเทนเนอร์ ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2564 และพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาโดยไม่มีทนายความ

แซมถูกนำตัวไปฝากขังต่อศาล และถูกควบคุมตัวในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครในวันที่ 27 มี.ค. 2564

16 เม.ย. 2564 พนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานออัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 4 ยื่นฟ้องต่อศาลเป็นคดีหมายเลขดำที่ 884/2564 ทั้งนี้ ในวันนั้น มีเพียงบัญชาที่มาตามนัดอัยการ และผู้ต้องหาอีก 17 คนจะเข้ามารับทราบคำฟ้องในวันที่ 19 เม.ย. 2564

ในวันเดียวกัน พนักงานอัอยการได้ยื่นฟ้องแซมด้วย

ทนายยื่นประกันตัวบัญชา โดยวางเงินสดเป็นประกัน 35,000 บาทและศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัว

19 เม.ย. 2564 จำเลย 16 คนยกเว้นพรชัย โลหิตดี ได้เดินทางมาตามนัดศาล พร้อมบัญชาที่เดนิทางมาศาลตามนัดถามคำให้การ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ไม่ได้เบิกตัวแซมมาจากเรือนจำ ศาลจึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่เบิกตัวแซมมาศาลโดยด่วน

ทนายของพรชัยได้ยื่นขอให้ศาลอนุโลมเลื่อนการรายงานตัวของพรชัยออกไปอีก 30 วัน แต่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตเลื่อนนัดอ่านฟ้องและสอบคำให้การ พร้อมปรับนายประกัน 35,000 บาท และให้เจ้าหน้าที่ทำรายงานเพื่ออกหมายจับพรชัยต่อไป

ทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงนัดตรวจพยานต่อไปในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 และอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้หลักประกันเดิม ยกเว้นแซม เนื่อจากไม่มีเอกสารประจำตัวมารับรองสถานะบุคคล จึงไม่สามารถยื่นประกันได้
https://tlhr2014.com/archives/28364
https://tlhr2014.com/archives/28556

5 ก.ค. 2564 ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวแซม โดยวางเงินสดเป็นประกัน 52,500 บาท และในกรณีของพรชัย ที่ภายหลังปรากฎว่าไม่ได้มาตามนัดเนื่องจากเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดและโทรศัพท์หาย เมื่อเดินทางมาตามนัดศาล ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางเงินสดเป็นประกันจำนวน 70,000 บาท
https://twitter.com/TLHR2014/status/1411988221320306691
354สถานีตำรวจนครบาลประชาชื่น V. นายไชยอมร แก้ววิบูลพันธุ์ข้อหาประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์,ข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112,217, พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 255811 พ.ค. 2564 ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยให้วางเงินสดเป็นประกันจำนวน 200,000 บาทและกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำการตามที่ถูกฟ้องหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความวุ่นวายในบ้านเมือง, ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมที่สร้างความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์, ห้ามเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่รับอนุญาตจากศาล และให้มาศาลตามกำหนดนัดโดยเคร่งครัด
https://tlhr2014.com/archives/29555?fbclid=IwAR1kUEsA9hKCGuAe89je8L4h3AJ_xI9qBuaO_MD7pl_1AvDWd-E-_EU7318

25 พฤษภาคม 2564 สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์ ในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 83, 91, 112, 217 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 มาตรา 4 พ.ร.บ.การกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 14
จากกรณีได้บังอาจร่วมกันวางเพลิงบริเวณหน้าเรือนจำกลางคลองเปรมเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ https://www.facebook.com/RatsadonNews/photos/a.106955498064842/157629322997459/?type=3&source=48 2 มิ.ย. 64 พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ได้มีคำสั่งฟ้องคดีของ ธนพัฒน์ (สงวนนามสกุล) ใน 2 ข้อหา ได้แก่ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และมาตรา 217 เหตุวางเพลิงเผารูปกษัตริย์รัชกาลที่ 10 บริเวณด้านหน้าเรือนจำกลางคลองเปรม ในช่วงเช้ามืดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ต่อมา ศาลให้ประกันตัวโดยให้วางหลักทรัพย์ 200,000 บาท https://tlhr2014.com/archives/30423

28 มิ.ย. 2564 ศาลนัดตรวจพยานหลักฐานในคดีของไชยอมรและธนพัฒน์ โดยในคดีของธนพัฒน์ ศาลได้มีคำสั้งให้นำจำเลยไปตรวจสภาพร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาว่าเข้าเกณฑ์การเป็นเยาวชนหรือไม่ ที่รพ.วิชัยยุทธ และรพ. ตุลาการเฉลิมพระเกียรติ และสั่งให้นำแพทย์เข้าไต่สวนด้วย ภายหลังจากที่ทนายได้ยื่นคำร้องให้มีการโอนคดีไปพิจารณาที่ศาลเยาวชนฯ ทั้งนี้ เนื่องจากคู่ความยินยอมให้จำเลยไปตรวจร่างกาย ศาลจึงเลื่อนนัดพิจารณา และนัดไต่สวนในวันที่ 19 ก.ค. 2564

นอกจากนี้ ในส่วนของไชยอมร ศาลไม่อนุญาตให้รวมสำนวนกับธนพัฒน์ เนื่องจากคดีของธนพัฒน์อยู่ในระหว่างไต่สวนว่าจะต้องโอนคดีไปศาลเยาวชนฯหรือไม่ ต่อมา จึงมีการตรวจพยานหลักฐานและไม่มีข้อเท็จจริงที่รับกันได้ อัยการแถลงประสงค์จะนำพยานเข้าสืบ 28 ปาก และจำเลยจะนำพยานเข้าสืบ 5 ปาก ศาลจึงนัดสืบพยานต่อไปในวันที่ 1-4 และ 8-11 มี.ค. 2565
https://tlhr2014.com/archives/31348

20 ก.ย. 2564 ศาลอาญาไต่สวนคำร้องขอโอนย้ายคดีไปศาลเยาวชนและครอบครัว ภายหลังจากที่เลื่อนจากวันที่ 19 ก.ค. 2564 เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19

ทนายได้แถลงว่าจะไต่สวนพยานทั้งหมด 2 ปาก คือธนพัมน์และแม่ของธนพัฒน์ และโจทก์ได้ถามค้าน จากนั้น ทนายจำเลยจึงถามติงตามกระบวนการ

ศาลได้นัดฟังคำสั่งต่อไปในวันที่ 27 ก.ย. 2564
https://tlhr2014.com/archives/35386

27 ก.ย. 2564 ศาลอาญามีคำสั่งไม่โอนคดีไปพิจารณาที่ศาลเยาวชนและครอบครัว เนื่องจากธนพัฒน์มีร่างกายปกติ สภาพจิตใจไม่ได้ผิดปกติชัดเจน มีความคิดดี สามารถช่วยเหลือตัวเอง มีสติปัญญา เรียนรู้ได้อย่างคนทั่วไป และแม้แพทย์จะมีวินิจฉัยว่าธนพัฒน์มีพฤติกรรมและนิสัยสอดคล้องกับเยาวชน แต่ศาลเห็นว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นนิสัยของวัยรุ่น ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรจะโอนคดีไปศาลเยาวชนและครอบครัว

ทนายได้แถลงแย้งว่า ศาลเคยกล่าวในนัดก่อนว่า ให้เป็นไปตามใบรับรองแพทย์ แต่ศาลได้โต้แย้งว่า ใบรับรองแพทย์เป้นเพียงเอกสารประกอบการวินิจฉัย และผู้พากษาอีกท่านได้เสริมว่า ผู้พิพากษาหลักเคยปฏิบัติหน้าที่อยู่ศาลเยาวชนและครอบครัวเป็นเวลา 10 ปี จึงไม่มีอะไรต้องกังวล

ทนายจึงแถลงว่า การยื่นคำร้องนี้เป็นไปเพื่อขอให้ศาลใช้ดุลพินิจมีคำสั่งโอนคดี เพื่อประโยชน์ของลูกความ แต่ศาลก็ตอบกลับว่า ใบรับรองแพทย์มีไว้เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจ และให้นำกรณีนี้ไปประกอบการพิจารณาคดีต่อไป

ศาลได้นัดวันตรวจพยานหลักฐานต่อไปในวันที่ 18 ต.ค. 2564
https://tlhr2014.com/archives/35697
355ทิวากร วิถีตนข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ, ข้อหายุยงปลุกปั่น สร้างความกระด้างกระเดื่อง,ข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรประมาลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14(3)
25 พฤษภาคม 2564 พนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่นเป็นโจทก์ยื่นฟ้องทิวากรในฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, มาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) และในวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 ศาลจังหวัดขอนแก่นให้ประกันตัวทิวากร ใช้หลักประกันเดิม โดยไม่กำหนดเงื่อนไขใดๆ นัดสอบคำให้การและคุ้มครองสิทธิ 3 ส.ค.64 https://www.facebook.com/lawyercenter2014/photos/a.668860109830513/3962939273755897/ https://twitter.com/TLHR2014/status/1397803341590110216
355ทิวากร วิถีตนหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, ข้อหายุยงปลุกปั่น สร้างความกระด้างกระเดื่อง,ข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรประมาลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14(3)
15 มิ.ย. 2564 โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิ่มเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวตามหนังสือของพนักงานสอบสวน

ศาลได้นัดไต่สวนคำร้องในวันที่ 5 ก.ค. 2564 ทั้งนี้ ภายหลังได้เลื่อนออกและยังไม่ได้กำหนดวันนัดใหม่

6 ต.ค. 2564 ศาลนัดคุ้มครองสิทธิและตรวจพยานหลักฐาน และทิวากรให้ปฏิเสธ โดยระบุว่าตนเป็นผู้โพสต์จริง แต่การกระทำดังกล่าวไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามฟ้อง

ศาลจึงนัดตรวจพยานหลักฐานต่อไปในวันที่ 22 พ.ย. 2564

ต่อมา พนักงานอัยการได้แถลงถึงคำร้องขอให้ศาลเพิ่มเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราว โดยระบุว่าพนักงานสอบสวนได้สอบถามความคืบหน้ามา ศาลจึงแจ้งว่า เมื่อโจทก์ จำเลย และทนายจำเลยอยู่ด้วยกันแล้ว ศาลจึงไต่สวนคำร้องนั้นเลย โดยโจทก์ระบุว่า ทิวากรยังมีพฤติกรรก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ พนักงานสอบสวนจึงขอให้ศาลเพิ่มเงื่อนไขให้จำเลยงดเว้นการกระทำที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริญืเสื่อมเสียพระเกียรติ อันเป็นการกระทำแบบเดียวกับที่ถูกฟ้องในคดีนี้

ทิวากรได้แถลงต่อศาลว่า จำเลยโพสต์ข้อความตามคำร้องจริง แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นตามวิถีที่ถูก โดยมีเจตนาดีต่อสังคม ต้องการสร้างพื้นที่ระหว่างคนที่เห็นต่าง โดยไม่มีเจตนาก่อความปั่นป่วนวุ่นวาย และทนายได้แถลงประกอบว่าการเขียนจดหมายถึงรัชกาลที่ 10 ตามคำร้องมีลักษณะเดียวกับการถวายฎีกา ซึ่งประชาชนสามารถทำได้

ศาลมีคำสั่งยกคำร้องโจทก์ เนื่องจากทิวากรยอมรับว่าเป็นผู้โพสต์แต่ไม่มีเจตนาทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมเสียพระเกยีรติ ประกอบกับข้อความของทิวากรยังเป็นข้อความสุภาพ ไม่ส่อเจตนาที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมเสีย จึงไม่มีเหตุกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ ศาลได้ว่ากล่าว ตักตือน แนะนำจำเลยตามสมควรถึงการกระทำที่หมิ่นเหม่ต่อการกระทำความผิดอีก
https://tlhr2014.com/archives/36232
356นายปริญญา ชีวินกุลปฐม (พอร์ท ไฟเย็น)ข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ, ข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, พระราชบัญญัติว่าการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 255812 พ.ค. 2564 ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางเงินสดเป็นประกันจำนวน 200,000 บาทและกำหนดเงื่อนไขห้ามมิให้ผู้ต้องหาทำกิจกรรมหรือใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทางที่จะเกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมใดที่อาจก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล และให้มาศาลตามกำหนดนัด
https://tlhr2014.com/archives/29604?fbclid=IwAR0kjMeegPXMVDV4R_sx6HHrx2aJryf5hU4bqTX9F7FYBfMUMVWpxbeo7C8

28 พฤษภาคม 64 พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญา 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายปริญญา ชีวินปฐมกุล เป็นจำเลยในความผิดตาม ป.อาญา ม.112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ พ.ศ.2550 ม.14 (3) จากกรณี เมื่อระหว่างวันที่ 16 ก.ค. 2559 - 27 เม.ย.2559 จำเลยได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก ส่วนตัวชื่อ Rishadam Port ดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์หลายครั้งหลายหน อันเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมาย https://www.facebook.com/RatsadonNews/photos/a.106955498064842/159562906137434/

นัดสอบคำให้การวันนี้ หลังศาลอ่านคำฟ้องให้จำเลยฟัง ได้มีคำสั่งให้เลื่อนนัดสอบคำให้การในคดีนี้ ไปเป็นวันที่ 28 มิถุนายน 2564 เวลา 09.00 น. และอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยไป โดยใช้หลักทรัพย์ประกันเดิมในชั้นสอบสวน
https://tlhr2014.com/archives/30320

28 มิ.ย. 2564 ในวันนัดสอบคำให้การ จำเลยได้ยื่นคำให้การเป็นหนังสือต่อศาล แถลงรับว่าตนเป็นเจ้าบัญชีและเป็นผู้โพสต์ข้อความทั้ง 3 โพสต์จริง แต่ไม่ได้มีเจตนาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรืออาฆาตมาดรร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ในวันเดียวกัน อัยการได้แถลงประสงค์สืบพยานบุคคล 7 ปาก โดยไม่ติดใจสืบพยานเจ้าหน้าที่กระทรวงดิจิตัล เนื่องจากจำเลยได้แถลงรับการตรวจสอบบัญชีเฟสบุ๊กของโดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวตามข้อกล่าวหาจริง และรับว่าเป็นผู้ใช้งานบัญชีเฟสบุ๊คและเป็นผู้โพสต์ข้อความจริงตามที่ให้การไว้กับพนักงานสอบสวน ทั้งนี้ ในส่วนของจำเลย จำเลยประสงค์จะนำพยานบุคคลเข้าสืบ 2 ปาก ศาลจึงนัดสืบพยานต่อไปในวันที่ 8-9 มี.ค. 2565
https://tlhr2014.com/archives/31355
361, 371พ.ต.ต.ธีรภัทร์ วงศ์วิลาศ V. อรรถพล บัวพัฒน์ และพวกรวม 10 คน


สภ.เมืองขอนแก่น V. วชิรวิทย์ เทศศรีเมือง และพวกรวม 9 คน (คดีเดินขบวนวันที่ 1 มี.ค. 2564)
ข้อหาร่วมกันจัดให้มีกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากในลักษณะมั่วสุมกัน ฯ

ร่วมกันจัดกิจกรรมซึ่งมีผู้เข้าร่วมจำนวนมากในลักษณะติดต่อสัมผัสกันง่าย, ร่วมกันกระทำการหรือดำเนินการใดๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นเหตุให้โรคแพร่ระบาดออกไป ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ, ร่วมกันเดินแถว เดินเป็นขบวนแห่ หรือเดินขบวนใดๆในลักษณะกีดขวางจราจร และร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548

ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน, พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 มาตรา 34(6), พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 108 และพระราชบัญญัติการควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 มาตรา 4
27 พ.ค. 2564 นักกิจกรรมกลุ่มราษฎรโขงชีมูล เข้ารับฟังคำสั่งอัยการ 2 คดี 1.คดีการชุมนุม 20 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 10 คน และ 2.คดีการชุมนุม 1 มีนาคม 2564 จำนวน 9 คน โดยอัยการยังไม่มีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้อง และได้เลื่อนให้มาฟังคำสั่งอีกครั้งวันที่ 30 มิถุนายน 2564

ทั้งนี้ ในส่วนของอรรถพลและวชิรวิทย์ พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมย้อนหลังในข้อกล่าวหาความผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 จากกรณีชุมนุมที่สวนเรืองแสงและชุมนุมต่อเนื่องที่หน้า สภ.เมืองขอนแก่น เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2564
https://www.facebook.com/IsaanRecordThai/photos/a.1006949489354884/4040971739285962/
362, 363พ.ต.ท.เอกภพ ลิขิตธนสมบัติ V. นักกิจกรรมกลุ่มราษฎร #ปล่อยเพื่อนเรา

พ.ต.ท.เจริญสิทธิ์ จงอิทธิ V. นักกิจกรรมกลุ่มราษฎร #ตีหม้อไล่เผด็จการ
ข้อหาร่วมกันฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, ข้อหาร่วมกันกระทำหรือดำเนินการใด ๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ, ข้อหาร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต

ข้อหาร่วมกันฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน, ข้อหาร่วมกันกระทำหรือดำเนินการใด ๆ ซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ, ข้อหาร่วมกันโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต
พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493

พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
16 ส.ค. 2564 พนักงายสอบสวนส่งสำนวนและปนัสยา ให้พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญาศาลอาญากรุงเทพใต้ และพนักงานอัยการนัดฟังคำสั่งในวันที่ 21 ก.ย. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1427142711287500800
364ระพีพงษ์ ชัยยารัตน์ V. เบนจา อะปัญหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เนื่องจากจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค, ข้อหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และข้อหาร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558
พระราชบัญญัติควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493
ประมาลกฎหมายอาญา มาตรา 112
13 ก.ค. 2564 เบนจาได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหาฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามพ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 16 เพิ่มเติม เนื่องจากพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาผิดพลาด โดยคราวก่อน ได้แจ้งข้อหาตามข้อกำหนดตามพ.ร.ก. ฉุกเฉินฯฉบับที่ 18 ซึ่งออกภายหลังกิจกรรมที่เป็นมูลคดีนี้ ประกอบกับพนักงานสอบสวนได้ระบุวันที่ผิดในคำบรรยายพฤติการณ์ จึงต้องมีเรียกให้รับทราบข้อกล่าวหาใหม่ เพื่อแก้วันเกิดเหตุจากวันที่ 20 ม.ค. 2564 เป็นวันที่ 25 ม.ค. 2564

เบนจาได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และระบุจะยื่นคำให้การเป็นหนังสือในวันที่ 31 ก.ค. 2564
https://tlhr2014.com/archives/32104
365สภ.คลองหลวง V. ณัฐชนน ไพโรจน์, ชลทิศ โชติสวัสดิ์, พรหมศร ธรรมจารี, เบนจา อะปัญหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ประมาลกฎหมายอาญา มาตรา 11227 ต.ค. 2564 พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการเยาวชนและครอบครัว จ. ปทุมธานี ได้เลื่อนนัดฟังคำสั่ง ในกรณีของศศลักษณ์ เป็นวันที่ 29 พ.ย. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1453232325764993025
369นายนิรุตต์ แก้วเจริญ V. นายจรัสข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ฯ
นำเข้าสู่ระบบความพิวเตอร์ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับคามมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112,
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14(3)
27 พฤษภาคม 2564 พนักงานอัยการจังหวัดจันทบุรีมีคำสั่งฟ้องคดีของนายจรัสในข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จากกรณีไปแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงบนโพสต์ในกลุ่ม “เพจจันทบุรี” https://tlhr2014.com/archives/30136

5 ก.ค. 2564 ศาลจังหวัดจันทบุรีนัดตรวจพยานหลักฐาน โดยอัยการจะนำพยานเข้าสืบ 5 ปาก และจำเลยจะนำพยานเข้าสืบ 2 ปาก และศาลได้นัดสืบพยานในวันที่ 7-8 ต.ค. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1411966997135454213
370สภ.เมืองขอนแก่น V. วชิรวิทย์ เทศศรีเมือง และพวกรวม 3 คน (คดีชักธงปฏิรูปกษัตริย์)ข้อหากระทำการเหยียดหยามต่อธงไตรรงค์พ.ร.บ.ธง มาตรา 53, 5422 เม.ย. 2564 พนักงานอัยการคดีศาลแขวงขอนแก่นมีคำสั่งฟ้องนักศึกษา 3 ราย ที่ถูกกล่าวหาในคดีชักธง #ปฏิรูปกษัตริย์ https://tlhr2014.com/archives/28667

7 มิ.ย. 2564 ศาลนัดสอบคำให้การ โดยจำเลยทั้งสามให้การปฏิเสธ https://twitter.com/TLHR2014/status/1401929687694143490?s=19
372สภ.เชียงใหม่ v. ประสิทธิ์ ครุธาโรจน์ข้อหาจัดการชุมนุมโดยไม่แจ้งการชุมนุมก่อน 24 ชั่วโมง พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ มาตรา 10 ประกอบมาตรา 1413 ก.ย. 2564 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายืน เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ประสงค์จัดการชุมนุม จึงพิพากษาลงโทษปรับ 6,000 บาท
https://twitter.com/TLHR2014/status/1437304577796100099
377#ม็อบ20มีนา (อุทัย จักขุรักษ์, สมเกียรติ รัตนาวิบูลย์, บุญล้อม จันทร์เพ็ง, เกศศิรินทร์ วุฒิวงศ์, วิน หมื่นมณี, ธีระพงษ์ เงินลม, ศรีรัตน์ วิจิตร์จั่น, วัชรคุณ อุบออ, ถนอม ศิริสุภา และธนพัฒน์ กาเพ็ง)

**แยกเป็น 2 คดี คดีละ 5 คน แบ่งเป็นหน้าศาลฎีกาและสะพานผ่านฟ้า 1 คดี และแยกคอกวัว 1 คดี
ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทําความผิดคนใดคนหนึ่งมีอาวุธประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21515 ก.ค. 2564 อุทัย, สมเกียรติ, บุญล้อม, เกศศิรินทร์, วิน, ธีระพงษ์, ศรีรัตน์ เข้ารับทราบข้อกล่าวหาเพิ่มเติมที่สน.ชนะสงคราม จากกรณีชุมนุมม็อบ REDEM ที่บริเวณสนามหลวงเมื่อวันที่ 20 มี.ค. 2564 โดยผู้ต้องหา 7 คนได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และระบุว่าจะให้การเป็นหนังสือในภายหลัง
https://tlhr2014.com/archives/32152
378พนักงานสอบสวน v. ชูเกียรติ แสงวงค์ยุยงปลุกปั่นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 6 ก.ย. 2564 ศาลอาญาตรวจพยานหลักฐาน โดยพนักงานอัยการแถลงว่าจะนำพยานเข้าสืบทั้งหมด 22 ปาก และทนายจำเลยแถลงว่าจะนำพยานเข้าสืบ 7 ปาก ศาลจึงนัดวันสืบพยานเป็นวันที่ 22-25 มี.ค. 2565 และ 19-21 เม.ย. 2565
https://twitter.com/TLHR2014/status/1434741312343851009
379พ.ต.ต.สิทธิศักดิ์ สุดหอม v. ภัสราวลี ธนกิจวิบูลย์ผล และพวกรวม 10 คนฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (ร่วมกันชุมนุมหรือทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัดในลักษณะที่อาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคโควิด 19 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก และโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่าย อันเป็นการร่วมกันฝ่าฝืนประกาศหัวหน้าผู้หน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเกี่ยวกับความมั่นคง)

เฉพาะกรณีภัสราวลี ถูกแจ้งหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์อีก 1 ข้อหา
พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ศ. 2548 มาตรา 9, ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1122 มิ.ย. 2564 คณพศเข้ารายงานตัวกับพนักงานอัยการ และพนักงานสอบสวนได้ส่งสำนวนการสอบสวนให้กับพนักงานอัยการ โดยคณพศได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่อพนักงานอัยการ โดยขอให้สั่งไม่ฟ้องคดี เนื่องจากพฤติการณ์ในคดีไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย, เป็นการสั่งฟ้องคดีไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และการดำเนินคดีการเมืองกับเยาวชนเป็นการละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กอย่างร้ายแรง

21 ก.ค. 2564 พนักงานสอบสวนนัดส่งตัวภัสราวลีให้พนักงานอัยการกรุงเทพใต้ โดยพนักงานอัยการได้นัดฟังคำสั่งในวันที่ 24 ส.ค. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1417694850367983619

8 ส.ค. 2564 ยิ่งชีพ, ณัฐธิดา และอรรถพล ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมแก่พนักงานอัยการ โดยขอให้ไม่สั่งฟ้องคดีพ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ นี้ เนื่องจากเป็นการปรับใช้กฎหมายไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและเป็นการฟ้องคดีไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ
https://tlhr2014.com/archives/33020

30 ก.ย. 2564 อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 3 สั่งฟ้องภัสราวลีต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยตามคำฟ้องระบุว่าภัสราวปราศรัยในทำนองว่ารัชกาลที่ 10 ทรงต้องการขยายพระราชอำนานจตามอำเภอใจ แยกกองทัพ แทรกแซงการเมืองนำทรัพย์สินของประเทศไปเป็นของพระองค์ และทรงกำลังสร้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

ต่อมา ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสด 200,000 บาทจากกองทุนราษฎรประสงค์ และกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำผิดแบบเดียวกับที่ถูกฟ้อง หรือเข้าร่วมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร

ศาลได้นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 29 พ.ย. 2564
https://twitter.com/TLHR2014/status/1443434620347826180
https://twitter.com/TLHR2014/status/1443450405023739910
https://tlhr2014.com/archives/35848
380ตำรวจควบคุมฝูงชน v. ประชาชน 99 ราย (หมู่บ้านทะลุฟ้า)ข้อหาร่วมกันจัดกิจกรรมในลักษณะมั่วสุมหรือมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันง่าย ชุมนุมในสถานที่แออัดหรือยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย, ข้อหาร่วมกันกันกระทำการซึ่งอาจก่อสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาจเป็นเหตุให้โรคแพร่ระบาดออกไป, ข้อหาร่วมกันวาง ตั้ง หรือแขวนสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในลักษณะกีดขวาง, ข้อหาร่วมกันตั้ง วาง หรือกองวัตถุใดๆ บนถนน, ข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาตรา 9, พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ มาตรา 34 และมาตรา 51, พ.ร.บ.จราจรฯ มาตรา 114, พ.ร.บ.ความสะอาดฯ มาตรา 19 และ พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงฯ มาตรา 427-28 ต.ค. 2564 ศาลสอบคำให้การจำเลยทั้งหมด 93 คน โดยแบ่งเป็น 2 คดี คือ
1. กลุ่มสลายการชุมนุมในช่วงเย็น เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2564 ศาลสอบคำให้การจำเลย 30 คน โดยมีพิสิฏฐ์กุล ควรแถลง และปวริศ แย้มยิ่งที่ไม่ได้มาศาล เนื่องจากพิสิฏฐ์กุลไปจัดแสดงงานศิลปะที่ประเทศโปรตุเกส และปวริศอยู่ในระหว่างถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ซึ่งเจ้าหน้าที่ควบคุมเรือนจำได้ทำหนังสือแจ้งต่อศาลว่าจำเลยต้องการเบิกตัมาศาล แต่ไม่สามารถนำตัวมาสอบคำให้การผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ได้ เนื่องจากจำเลยอยู่ระหว่างกักตัว

ทั้งนี้ อัยการไม่ได้ยื่นคัดค้านการเลื่อนคดี แต่ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนสอบคำให้การแค่เฉพาะของปวริศ เพราะจะเลยคนอื่นมาศาลแล้ว

จำเลยทั้งหมด 30 คนได้ให้การปฏิเสธ และจำเลยได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีลับหลัง เพราะมีจำเลยเยอะ และโจทก์ไม่ได้คัดค้าน

ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยไม่ต้องมาฟังการพิจารณาและสืบพยาน เนื่องจากคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 10 ปี และจำเลยมีทนายความแล้ว ทั้งนี้ ศาลได้นัดสอบคำให้การปวริศ นัดตรวจพยานหลักฐานและนัดพร้อมกำหนดวันสืบพยานต่อไปในวันที่ 25 พ.ย. 2564

2. กลุ่มสลายการชุมนุมในช่วงเช้า เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2564 ศาลได้สอบคำให้การจำเลย 50 คน โดยมีจำเลย 11 คนไม่ได้มาศาล เนื่องจากนวพล, วชิรวิชญ์, ปวริศ และทรงพลอยู่ในระหว่างถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ และไม่สามารถเบิกตัวได้ เนื่องจากกำลังกักตัว นอกจากนี้ ทนายไม่สามารถติดต่อจำเลยอีก 6 คนได้ ซึ่งมี 3 คนเป็นคนไร้บ้าน และมีจำเลย 1 คน (จำเลยที่ 10) ไม่สามารถมาศาลได้ เนื่องจากไปทำธุระที่ต่างจังหวัดและอยู่ในระหว่างกักตัว ทนายจึงยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณคดี

ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนพิจารณาคดีเฉพาะของจำเลยที่ 10 และให้ปรับนายประกันเต็มตามสัญญาของจำเลย 6 คนที่ติดต่อไม่ได้ เพราะถือว่าจำเลยมีพฤติการณ์หลบหนี และให้ออกหมายจับ ทั้งนี้ ให้จำหน่ายคดีส่วนของจำเลยทั้ง 6 คนออกชั่วคราว เพราะไม่แน่ชัดว่าจะจับจำเลยได้เมื่อไหร่

จำเลย 49 คน ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และมีจำเลย 1 คนให้การรับสารภาพ โจทก์จึงแถลงว่าพร้อมยื่นฟ้องเฉพาะจำเลยี่ให้การรับสารภาพ ศาลจึงให้โจทก์ยื่นฟ้องเฉาพะของจำเลยคนดังกล่าวมาภายในวันเดียวกัน และให้จำหน่ายส่วนของจำเลยคนดังกล่าวออกจากคดีนี้

นอกจากนี้ จำเลยยังได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีลับหลัง เพราะมีจำเลยเยอะ และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยไม่ต้องมาฟังการพิจารณาและสืบพยาน เพราะคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 10 ปี และจำเลยมีทนายแล้ว

ศาลได้นัดสอบคำให้การจำเลยที่ 10, ตรวจพยานหลักฐาน และนัดพร้อมเพื่อนกำหนดวันสืบพยานในวันที่ 1 ธ.ค. 2564

ต่อมา ในส่วนของจำเลยที่ให้การรับสารภาพนั้น ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำผิดฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดและประกาศห้ามทำกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 และฐานร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่จำเลยได้ให้การรับสารภาพ ศาลจึงลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เป็นโทษปรับจำนวน 2,600 บาท แต่ให้รอการลงโทษ 1 ปี
https://tlhr2014.com/archives/37089
382สภ.บางแก้ว V. มีชัย (สงวนนามสกุล)หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, ข้อหานำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และข้อหามาตรา 14 (3) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 256030 มิ.ย. 2564 พนักงานอัยการจังหวัดสมุทรปราการยื่นฟ้องต่อศาล และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี โดยใช้หลักทรัพย์เดิมเป็นประกัน และศาลได้นัดคุ้มครองสิทธิในวันที่ 29 ก.ย. 2564 และนัดพร้อมในวันที่ 18 ต.ค. 2564

1 ก.ค. 2564 มีชัยได้เข้ารายงานต่อศาลตามนัด
https://www.facebook.com/668420999874424/posts/4062848017098355/?d=n
386สภ.เมืองเชียงราย V. มงคล ถิระโคตรหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์, ข้อหานำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และข้อหามาตรา 14 (3) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 256025 ส.ค. 2564 ภายหลังอัยการยื่นฟ้องต่อศาล ศาลจังหวัดเชียงรายสอบคำให้การและไต่สวนของคำร้องปล่อยตัวมงคลชั่วคราว ต่อมา ทนายได้ยื่นคำร้องของดไต่สวนคำร้องขอให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวน เนื่องจากคดีอยู่ในชั้นศาลแล้ว

ศาลมีคำสั่งงดไต่สวนคำร้องขอให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวน และศาลได้สอบคำให้การ โดยมงคลได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและจะต่อสู้คดีถึงที่สุด

ต่อมา บิดาของมงคลได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 150,000 บาทจากกองทุนราษฎรประสงค์ และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักประกันเป็นเงินสดจำนวน 150,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำอันเป็นการเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์, ห้ามออกนอกราชอาณาจักรและมาตามนัดศาล นอกจากนี้ ศาลได้นัดคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพจำเลยและนัดตรวจพยานหลักฐานต่อไปในวันที่ 21 ก.ย. 2564 และ 8 ต.ค. 2564 ตามลำดับ
https://tlhr2014.com/archives/34018
387พ.ต.ท.ยุทธนา รัตนแพทย์ (สน.ชนะสงคราม) V. อดุลย์ เขียวบริบูรณ์ และพวกข้อหาร่วมกันชุมนุม หรือการทำกิจกรรมที่มีการรวมคนที่มีความแออัด ในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้โดยง่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานครประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่อง ห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อันเป็นข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ19 ก.ค. 2564 พนักงานสอบสวนสน.ชนะสงคราม ได้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ธนเดช โดยธนเดชได้ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
https://tlhr2014.com/archives/32362
288พต.ท.วรินทร เศรษฐ v. คณพศ นักเรียน วัย 16 ปี และพวกรวม 3 คนข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา9 ประกอบ 1117 พ.ย. 2563 สน.ลุมพินี ออกหมายเรียก นายคณพศ คาดว่าจากการชุมนุมม๊อบ 15 ตุลา ที่บริเวณสี่แยกราชประสงค์

30 พ.ย. 2563 เวลา 13.00 น. ที่สน.ลุมพินี เยาวชน 3 คน ได้แก่ “มิน” ลภนพัฒน์ หวังไพสิฐ, “พลอย” เบญจมาภรณ์ นิวาส แกนนำกลุ่มนักเรียนเลว และคณพศ แย้มสงวนศักดิ์ แกนนำกลุ่มนักเรียนไท ซึ่งถูกออกหมายเรียกในคดีฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามความใน 9 แห่ง พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ จากกรณีการเข้าร่วมการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 63 เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาตามหมายเรียก
https://tlhr2014.com/archives/23666

24 ธ.ค. 2563 พนักงานสอบสวน สน.ลุมพินี ได้นัดหมายให้เยาวชน 3 รายเดินทางมาพบเพื่อทำการส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนให้พนักงานอัยการ ที่สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลเยาวชนและครอบครัว โดยพนักงานสอบสวนสรุปสำนวนโดยมีความเห็นควรสั่งฟ้องคดี

ในวันนี้เยาวชนทั้งสามผู้ถูกกล่าวหายังได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการ ขอให้สั่งสอบสวนพยานเพิ่มเติมและสั่งไม่ฟ้องคดี เนื่องจากพวกตนไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา และการสั่งฟ้องในคดีดังกล่าวนี้ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
https://tlhr2014.com/archives/24462

29 ธ.ค. 2563 หลังจากอัยการรับสำนวนคดีได้นัดให้เยาวชนทั้งสามเดินทางมาฟังคำสั่งอัยการว่าจะฟ้องคดีหรือไม่ ในวันที่ 29 ธ.ค. 2563 ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง

28 ม.ค. 2564 สั่งฟ้องคดี 3 แกนนำนร. เยาวชนชี้อัยการไม่ได้พิจารณาประเด็นขอความเป็นธรรมที่ร้องไป
https://tlhr2014.com/archives/25605
“มิน” ลภนพัฒน์ หวังไพสิฐ, “พลอย” เบญจมาภรณ์ นิวาส แกนนำกลุ่มนักเรียนเลว และคณพศ แย้มสงวนศักดิ์ แกนนำกลุ่มนักเรียนไท นักเรียน วัย 16 ปี
%d bloggers like this: