แถลงการณ์

แถลงการณ์ ขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยุติการดำเนินคดีฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

แถลงการณ์ ขอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยุติการดำเนินคดีฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง [English Below] จากข่าวที่พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้ออกหมายเรียก นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่เข้ารับทราบข้อกล่าวหาในคดีอาญาที่ 691/2558 เนื่องจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)   โดยฝ่ายกฎหมายได้แจ้งความกล่าวหาว่า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ร่วมกันทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่เป็นการกระทำภายใต้ความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ช่วยเหลือผู้อื่นซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดหรือเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดอันมิใช่ความผิดลหุโทษ เพื่อไม่ให้ต้องโทษ โดยให้พำนักแก่ผู้นั้น โดยซ่อนเร้น หรือช่วยเหลือผู้นั้นด้วยประการใด   เพื่อไม่ให้ถูกจับกุม อันเป็นความผิดตามมาตรา 116 และ 189 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และสั่งให้นายธนาธรไปพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาดังกล่าวในวันที่ 6 เมษายน 2562  ทั้งนี้หากมีการดำเนินคดี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจจะต้องถูกนำตัวขึ้นศาลทหาร นอกจากนั้นยังปรากฎเป็นข่าวว่า คสช. ยังได้มอบอำนาจให้ฝ่ายกฎหมาย แจ้งความกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (กก.3 บก.ปอท) เพื่อเอาผิดกับเจ้าของเว็ปไซต์ http://futureforwardparty.org/ และหรือผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด โดยเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2562 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ออกหมายเรียก นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ให้ไปให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนในฐานะพยานเพราะเหตุ “ เป็นผู้อ่านแถลงการณ์ยุบพรรคไทยรักษาชาติและได้เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่เว็ปไซต์ http://futureforwardparty.org/” ในทางกฎหมายข้อหาที่นายธนาธร ถูกกล่าวหา ซึ่งเกี่ยวเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่หน้า สน.ปทุมวัน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2558 […]

จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน An open letter Hakeem Ali al-Araibi should be released and not deported to face grave risks in Bahrain

จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน (English below)           สืบเนื่องจากทางการไทยได้จับกุมตัวนายฮาคีม อาลี โมฮัมหมัด อาลี อัล อาไรบี (Mr. Hakeem Ali Mohamed Ali Alaraibi) อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรนไว้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 หลังจาก ที่นายฮาคีมและภรรยาได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการจับกุมตามหมายแดง (Red Notice) ของตำรวจสากล (INTERPOL) ซึ่งเป็นการออกตามคำขอของทางการบาห์เรน ต่อมาหมายจับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากขัดกับ,oนโยบายของตำรวจสากล ที่ห้ามการออกหมายจับของรัฐบาลต่อผู้ลี้ภัย ที่หลบหนีการประหัตประหารมาจากประเทศที่ขอออกหมายจับ           หลังจากการถูกจับกุมนายฮาคีมถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามคำสั่งของศาลอาญา มาตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2561 จนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ศาลอาญาเบิกตัวเขามาสอบถามความยินยอมส่งตัวกลับประเทศบาห์เรนเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามคำร้องของพนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีต่างประเทศ […]

แถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวนางสาวราฮาฟ และต้องไม่ส่งกลับไปยังรัฐที่ทำให้เธอไม่ปลอดภัย

(English version below) สืบเนื่องจากการควบคุมตัวนางสาวราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน (Ms. Rahaf Mohammed Alqunun) หญิงชาวซาอุดีอาระเบีย ซึ่งได้หลบหนีจากครอบครัว เพราะไม่อยากแต่งงาน และได้ถูกทำร้ายอย่างหนักทางร่างกายและจิตใจ โดยได้เดินทางมาต่อเครื่องจากสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อลี้ภัยไปยังประเทศออสเตรเลีย แต่ระหว่างรอเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิปรากฎว่ามีบุคคลอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากสถานทูตราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ประจำประเทศไทย พร้อมบุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สายการบินคูเวตแอร์ไลน์มาควบคุมตัวเธอไปกักขังไว้ที่ห้องพักในโรงแรมมิราเคิล ทรานซิท สนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งได้ยืดเอกสารหนังสือเดินทาง ตั๋วเครื่องบิน และเอกสารประจำตัวไปแล้วนำตัวไป และไม่ยินยอมให้เธอเดินทางต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย ขณะนี้เธอยังถูกกักขังอยู่ในห้องพักโรงแรมดังกล่าว นางสาวราฮาฟ ได้แจ้งแก่ทนายความที่เข้าให้การช่วยเหลือว่าเธอไม่ต้องการเดินทางไปยังประเทศคูเวตและประเทศซาอุดิอาระเบีย เนื่องจากหากถูกส่งตัวกลับไปจะมีภัยอันตรายถึงแก่ชีวิต จากเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องความเชื่อทางศาสนา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมูลนิธิผสานวัฒนธรรมเห็นว่า การควบคุมตัวนางสาวราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน ถือเป็นการละเมิดสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของร่างกายของบุคคล อันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานประการสำคัญที่ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ข้อ 9  และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 28 และพฤติการณ์การควบคุมตัวดังกล่าว  ยังอาจเข้าข่ายเป็นการควบคุมตัวหรือลิดรอนเสรีภาพของบุคคลโดยอำเภอใจและไม่ชอบด้วยกฎหมายอีกด้วย เพราะนางสาวราฮาฟ มิได้กระทำความผิดกฎหมายใดใดในประเทศไทยขณะที่ขอต่อเครื่องเดินทางไปประเทศที่สาม การที่ประเทศไทยโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะผลักดันนางสาวราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน   ซึ่งแสวงหาที่ลี้ภัยเพราะต้องเผชิญกับอันตรายอันเกิดจากการไม่ยินยอมสมรสและเหตุแห่งความเชื่อทางศาสนา  ให้กลับไปยังประเทศต้นทาง ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่สอดคล้องต่อหลักการสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะเรื่องเสรีภาพของบุคคลในการนับถือศาสนา สิทธิของบุคคลที่จะไม่ถูกบังคับให้ทำการสมรสโดยปราศจากความยินยอมอย่างเต็มใจ และสิทธิที่จะแสวงหาและพักพิงในประเทศอื่นๆ […]

ภาคประชาชนส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประธาน สนช. หลังคณะกรรมาธิการสามัญฯ ตรวจสอบประวัติผู้ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กสม. ล่าช้า

จดหมายเปิดผนึก วันที่   ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๑ เรื่อง  การตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรียน  ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่เคารพ ตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๖๑ โดยกำหนดระยะเวลาการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน คือวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ ต่อมาคณะกรรมาธิการสามัญฯ ขอขยายเวลาการตรวจสอบประวัติฯ ครั้งที่ ๑ ไปอีก ๓๐ วันซึ่งสิ้นสุดในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ และล่าสุดขอขยายเวลาการตรวจสอบประวัติฯ ครั้งที่ ๒ อีก ๓๐ วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒ นั้น องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรสิทธิมนุษยชน และบุคคลที่มีรายนามท้ายจดหมายนี้ ขอเสนอความเห็นและข้อเสนอมายังท่าน เพื่อการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมและสมควรได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ […]

จดหมายเปิดผนึกถึงศาลทหาร : กรณีให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบข้อมูลเกี่ยวกับคำเบิกความพยานจากเว็บไซต์

[English Below] จดหมายเปิดผนึก วันที่  7  พฤศจิกายน พ.ศ.  2561 เรื่อง    ขอให้ทบทวนการใช้อำนาจศาลทหารกรุงเทพ กรณีการให้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลบข้อมูลเกี่ยวกับคำเบิกความพยานจากเว็บไซต์ เรียน    เจ้ากรมพระธรรมนูญ หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร ตุลาการพระธรรมนูญหัวหน้าศาลทหารกรุงเทพ สืบเนื่องจากที่ศาลทหารกรุงเทพได้ทำการไต่สวนนายอานนท์ นำภา ทนายความ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2561 จากกรณีที่เว็บไซต์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้เผยแพร่คำเบิกความพยานในคดีฐนกร (สงวนนามสกุล) ซึ่งถูกดำเนินคดีในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 จากการแชร์ผังทุจริตในโครงการก่อสร้างอุทยานราชภักดิ์ และข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จากการกดไลค์เพจที่มีข้อความหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และโพสต์เสียดสีคุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง โดยศาลทหารเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวมาจากเอกสารที่นายอานนท์ขอคัดถ่ายไปจากศาล  จากการไต่สวน ศาลทหารกรุงเทพเห็นว่าการเผยแพร่คำเบิกความดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อรูปคดี และเกิดผลกระทบต่อพยานที่มาเบิกความเป็นพยานต่อศาล จึงมีคำสั่งให้นายอานนท์แจ้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ลบข้อมูลดังกล่าวจากเว็บไซต์ภายใน 24 ชั่วโมง และห้ามมิให้บุคคลหรือองค์ใดนำคำเบิกความพยานและการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลในคดีนี้ไปลงเผยแพร่ในสื่อทุกชนิด มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการละเมิดอำนาจศาล . ทั้งนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ไม่ได้มีการดำเนินการลบข้อความดังกล่าวออกจากเว็บไซต์แต่อย่างใด เพราะเห็นว่าการเผยแพร่ข้อความพยานดังกล่าวไม่ใช่การกระทำที่เข้าข่ายจะเป็นการละเมิดอำนาจศาล (อ่านแถลงการณ์ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน) และเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบและคำร้องขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งต่อศาลทหารกรุงเทพในวันที่ 4 ตุลาคม 2561 […]

แถลงการณ์ร่วม 26 องค์กรภาคประชาชน 93 นักวิชาการและคนทำงานด้านสังคม เรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานโดยทันที

[English Below]    เผยแพร่ 4 พฤศจิกายน 2561 แถลงการณ์ร่วม ขอให้ยุติการดำเนินคดีชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจาน ทั้งทางแพ่งทางอาญา  หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้รัฐจ่ายเงินชดเชย  กรณีเจ้าหน้าที่เผาบ้านปู่คออี้และชุมชนกะเหรี่ยง เมื่อวันที่ 25-31 ตุลาคม 2561 มีสื่อมวลชนบางสำนักได้เผยแพร่ข่าวอย่างต่อเนื่องในทำนองว่า อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจฯ กรมอุทธยานฯ เข้าพบพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรแก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้สืบสวน สอบสวน ดำเนินคดีกับชาวกะเหรี่ยง คือทายาทของนายโคอิ มีมิ หรือปู่คออี้กับพวกรวม 6 คน ในข้อหายึดถือหรือครอบครองที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติ คือบริเวณบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน ซึ่งถูกประกาศทับโดยเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เรื่องนี้นี้สืบเนื่องมาจากกรณีที่ในปี 2555  ปู่คออี้ และชาวกะเหรี่ยงบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน รวม 6 คน ในฐานะผู้ฟ้องคดี ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ ส. 58/2555 ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม สิทธิชุมชนและสิทธิของชนพื้นเมืองที่ ได้รับความสนใจจากสาธารณะชนในช่วงเกือบ 10 ปีมานี้ โดยผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 คน กล่าวหาว่า เมื่อปี 2554 ในการปฏิบัติการยุทธการตะนาวศรี เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานกลุ่มหนึ่ง ได้ใช้กำลังบังคับให้พวกตนต้องโยกย้ายออกจากที่ดินและชุมชนบ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดิน อันเป็นถิ่นกำเนิด ที่ทำกินและอยู่อาศัยมาหลายชั่วอายุคน ทั้งได้เผาทำลายบ้านเรือน ยุ้งฉาง เรือกสวนไร่นาของพวกตนและประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงคนอื่นๆอีกหลายสิบคนจนเสียหาย โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าบ้านเรือน […]

Joint Statement : Review and Drop Charges against Page Administrator and Twelve other Individuals for Posting Alleged Koh Tao Tourist Sexual Assault

Pursuant to the media coverage that arrest warrants from Samui Provincial Court, No. 65-77/2561, dated 3rd September 2018, have been issued for the CSI LA Facebook page administrator and other people, totally, twelve individuals, who shared information regarding Samui sexual assault allegation, for dishonesty or deceitfully bringing into a computer system computer data which is […]

แถลงการณ์ : ให้ทบทวนและยุติการดำเนินคดีแอดมินเพจและบุคคล 12 ราย กรณีเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการร้องเรียนเรื่องการละเมิดทางเพศต่อนักท่องเที่ยวที่เกาะเต่า

ด้วยปรากฏรายงานข่าวผ่านสื่อมวลชนว่า ได้มีการออกหมายจับแอดมินเพจ CSI LA และคนแชร์ข้อมูลจากเพจดังกล่าวอีก 12 ราย ตามหมายจับศาลจังหวัดเกาะสมุย ที่ 65-77 /2561 ลงวันที่ 3 กันยายน 2561 ในฐานความผิดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายประชาชน นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ซึ่งหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ทำการไล่จับกุมบุคคลตามหมายจับดังกล่าวไปแล้ว 9 ราย และคาดว่าจะมีการนำส่งพนักงานสอบสวน สภ. เกาะสมุยภายในวันนี้ มูลเหตุที่นำมาสู่การถูกออกหมายจับ เนื่องจากเพจ CSI LA ได้เผยแพร่ข้อความที่ในวันที่ 25 สิงหาคม 2561 เกี่ยวกับกรณีหญิงสาวอายุ 19 ปี นักท่องเที่ยวสัญชาติอังกฤษ ถูกข่มขืน ที่หาดทรายรี ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ในคืนวันที่ 26 มิถุนายน 2561 ต่อมาวันที่ 28 สิงหาคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการลงพื้นที่ตรวจสอบ เจ้าหน้าที่ระบุว่ากระแสข่าวดังกล่าวได้สร้างผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของประเทศ พร้อมทั้งระบุว่าจะมีการดำเนินคดีกับเพจคือ เพจสมุยไทม์ […]

แถลงการณ์ ขอให้ยุติการใช้คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ปิดกั้นเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปล่อยตัวผู้ชุมนุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้งโดยทันที

เผยแพร่ 22 พฤษภาคม 2561 ตามที่กลุ่มประชาชนในนาม “กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง” ได้มีการจัดการชุมนุมในวาระครบรอบ 4 ปีการรัฐประหารของ คสช. เพื่อเรียกร้องให้มีการจัดเลือกตั้งภายในปลายปี 2561 และให้ คสช. หยุดสืบทอดอำนาจ การชุมนุมเริ่มขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 21 พฤษภาคม 2561 และมีการเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 แต่ได้ถูกสกัดกั้นจากเจ้าหน้าตำรวจหลายกองร้อยทำให้ผู้ชุมนุมไม่สามารถเคลื่อนขบวนไปถึงทำเนียบรัฐบาลได้ และในที่สุดช่วงเวลาประมาณ 15.00 น. เจ้าหน้าที่ก็ได้ทำการจับกุมแกนนำการชุมนุมและผู้ชุมนุม และแกนนำบางส่วนตัดสินใจเข้ามอบตัว รวมแล้วมีผู้ถูกควบคุมตัวอย่างน้อย 14 คน โดยถูกแยกควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม และสถานีตำรวจนครบาลพญาไทนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มีความกังวลอย่างยิ่งต่อการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ในกรณีดังกล่าว และมีความเห็นว่าการชุมนุมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง ถือเป็นสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองในทางการเมืองของประชาชน และเป็นเรื่องที่ชอบธรรมในสังคมที่เรียกตนเองว่าเป็นประชาธิปไตย โดยสิทธิประการดังกล่าวได้ถูกรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ดังนั้น รัฐควรที่จะเคารพสิทธิที่จะแสดงออกถึงเจตจำนงอย่างเสรีของประชาชน ไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องที่ขัดต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย และผู้ที่แสดงออกถึงเจตจำนงดังกล่าวไม่ควรถูกดำเนินคดี การจัดกิจกรรมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ถือเป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และอยู่ในขอบข่ายของการชุมนุมโดยสงบตามที่ถูกรับรองไว้ในมาตรา 34 และ 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย […]

จดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกาและเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เรียกร้องสถาบันตุลาการย่อมอยู่ในตำแหน่งแห่งที่อันเหมาะสมที่สุดที่จะเป็นที่พึ่งของประชาชน

จดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกาและเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ในฐานะสถาบันที่ใช้อำนาจตุลาการ หนึ่งในอำนาจอธิปไตยในระบอบประชาธิปไตย เผยแพร่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานับแต่มีการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีการออกประกาศ คำสั่ง และกฎหมายที่จำกัดลิดรอน ตลอดจนละเมิดสิทธิประชาชนจำนวนมาก และเป็นที่รับรู้โดยทั่วกันว่ารัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐภายใต้ คสช. พยายามอาศัยอำนาจศาล ผลักภาระให้ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งต่างๆ ออกมาในทางจำกัดลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน รูปธรรมที่เห็นได้ชัดเจน เช่น ในหลายกรณีพนักงาสอบสวนสามารถใช้ดุลพินิจปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยไม่มีประกันได้ แต่พนักงานสอบสวนกลับเลือกที่จะใช้ดุลพินิจนำตัวผู้ต้องหาไปฝากขังต่อศาล อันเป็นการผลักภาระให้ศาล รวมถึงเป็นการสร้างภาระให้กับประชาชนที่จะต้องหาหลักประกันมายื่นต่อศาลเพื่อให้ตนเองได้รับอิสรภาพระหว่างการสอบสวนและต่อสู้คดี หรือแม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ของรัฐอาศัยอำนาจศาลในการสร้างเงื่อนไขต่างๆ ให้ประชาชนต้องปฏิบัติตาม โดยมีความมุ่งหมายเพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นหรือการมีส่วนร่วมของประชาชน ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนที่ออกมาแสดงความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลทหารซึ่งครองอำนาจมาเกือบสี่ปีแล้ว รวมถึงเรียกร้องสิทธิและการมีส่วนร่วมในประเด็นต่างๆ ถูกเจ้าหน้าที่รัฐใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือเอาผิดดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก และขั้นตอนอันดับแรกที่ถือได้ว่าเป็นการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือโดยมีเจตนาเพื่อสร้างภาระให้กับประชาชน คือการนำตัวไปขออำนาจศาลฝากขัง สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนจึงมีความห่วงกังวลอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการใช้ดุลพินิจในการอนุญาตให้ฝากขังของศาล ตลอดจนดุลพินิจในการกำหนดวงเงินประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ตลอดจนข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2548 ซึ่งให้ศาลใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวเป็นหลัก และการเรียกหลักประกันให้เป็นไปตามความเหมาะสมเพื่อให้ประชาชนที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ซึ่งพึงได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ได้เข้าถึงความยุติธรรมและสามารถต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ แต่บางกรณีมีข้อมูลปรากฏว่าศาลบางแห่งกลับใช้ดุลพินิจในการกำหนดวงเงินประกันตัวสูงกว่าที่ข้อบังคับประธานศาลฎีกาฯ ให้อำนาจไว้ นอกจากนี้กรณีที่ใช้ตำแหน่งบุคคลเป็นประกัน ศาลส่วนใหญ่กลับวางแนวปฏิบัติว่าผู้ใช้ตำแหน่งประกันตัวต้องเป็นบิดา มารดา หรือญาติพี่น้องของผู้ต้องหาหรือจำเลย ทั้งที่โดยความเป็นมนุษย์แล้วมีความสัมพันธ์ในทางอื่นที่ซับซ้อนกว่านั้น แต่แนวปฏิบัติส่วนใหญ่ของศาลกลับปฏิเสธไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ซึ่งกรณีดังกล่าวผิดไปจากเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้การใช้ตำแหน่งบุคคลเป็นช่องทางหรือโอกาสที่เท่าเทียมให้ประชาชนที่มีฐานะยากจนหรือไม่ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอจะประกันตัวสามารถได้รับการปล่อยชั่วคราวได้ ดังนั้น […]

1 2 3 4