แถลงการณ์

แถลงการณ์ : เรียกร้องสถาบันตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมาย โดยคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

แถลงการณ์สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เรียกร้องสถาบันตุลาการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามหลักกฎหมาย โดยคำนึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และอุดมการณ์ของผู้พิพากษาตามประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ ตลอดระยะเวลาของการใช้เสรีภาพในการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมา ประชาชนจำนวนมากต้องตกเป็นผู้ต้องหาและจำเลยในกระบวนการยุติธรรมอันเนื่องมาจากความเห็นต่างทางการเมือง อาจกล่าวได้ว่า กระบวนการยุติธรรมทั้งระบบถูกใช้เป็นกลไกเพื่อสนองนโยบายรัฐในการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 การปล่อยชั่วคราวถูกใช้เป็นกลไกสำคัญในการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ผ่านการไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ห้ามไปกระทำการในลักษณะเดียวกันกับคดีเดิมอีก การกำหนดเวลาห้ามออกนอกเคหสถานในบางช่วงเวลาร่วมกับการใส่กำไล EM การอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยให้ใส่กำไลติดตามตัว (EM) ร่วมกับคำสั่งห้ามออกนอกเคหสถานตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเงื่อนไขการปล่อยชั่วคราวที่เข้มงวดกว่าอาชญากรที่ก่ออาชญากรรม และการมีคำสั่งถอนประกันได้โดยง่าย เหล่านี้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ถูกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไร้ซึ่งมนุษยธรรม ทั้งนี้ยังสะท้อนถึงความพยายามของศาลในการเข้ามามีบทบาทในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองเสียเองทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของศาล เพราะมีองค์กรอื่นทำหน้าที่อยู่แล้ว ศาลมีหน้าที่รักษาและดำรงความยุติธรรมในสังคมอย่างเป็นอิสระโดยอาศัยหลักกฎหมายเพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนทุกคนจะได้รับความยุติธรรมแม้จะมีข้อพิพาทกับรัฐหรือเป็นฝ่ายตรงข้ามกับรัฐก็ตาม   แต่ปรากฏว่ากรณีที่ไม่ใช่คดีการเมือง เช่นกรณีของ พ.ต.อ.หญิงวัทนารีย์ กรณ์ชายานันท์ จำเลยที่ 8 ภรรยานายตู้ห่าว ชาวจีน ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจมีพยานหลักฐานว่ามีพฤติการณ์ข่มขู่พยาน เป็นการผิดเงื่อนไขการประกันของศาล ศาลกลับไม่ถอนประกัน โดยอ้างว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวไปเเล้ว แต่พนักงานสอบสวนมายื่นเอกสารแบบกระชั้นชิด ทำให้การยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการประกันตัว พ.ต.อ.หญิง วัทนารีย์ ดังกล่าวจึงเป็นเพียงคำร้องที่ประกอบการพิจารณา กรณีที่แตกต่างกันดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความลักลั่นและปัญหาการปล่อยชั่วคราวสำหรับผู้ต้องหาและจำเลยในคดีการเมือง   การถูกปฏิบัติโดยไม่คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และไร้ซึ่งมนุษยธรรมโดยกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวนำมาสู่การอดอาหารและน้ำของตะวันและแบมเพื่อทวงถามหาความยุติธรรม และเรียกร้องให้ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ปัจจุบันร่างกายของทั้งสองเข้าขั้นวิกฤติและสุ่มเสี่ยงต่อชีวิตอย่างมาก   สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถาบันศาลจะพิจารณาทบทวนบทบาทในการใช้ดุลพินิจในการปล่อยชั่วคราวให้เป็นไปตามหลักกฎหมาย […]

[แถลงการณ์] เรียกร้องให้ผู้พิพากษาปล่อยตัวชั่วคราวนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อยืนยันเจตจำนงค์แห่งรัฐธรรมนูญ

แถลงการณ์สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  เรียกร้องให้ผู้พิพากษาปล่อยตัวชั่วคราวนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อยืนยันเจตจำนงค์แห่งรัฐธรรมนูญ [English Below]   จากกรณีที่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกจับกุมดำเนินคดีตามความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116  และศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยหรือผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น คดีมีอัตราโทษสูงเกรงว่าจะหลบหนีและเกรงว่าถ้าปล่อยตัวไปแล้วจำเลยจะไปกระทำผิดซ้ำกับความผิดที่ได้ถูกฟ้อง เป็นต้น แม้ทนายความและนักวิชาการได้พยายามยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราว รวมทั้งอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปหลายครั้ง แต่ศาลอาญามีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวผู้ถูกกล่าวหา โดยให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง ทำให้จำเลยที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี โดยปัจจุบันเป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้ว และยังมีจำเลยรายอื่น ๆ ที่ทยอยถูกส่งฟ้องและศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวเช่นเดียวกัน วันนี้สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ในฐานะองค์กรต้นสังกัดที่นายอานนท์ นำภาเป็นสมาชิก ร่วมกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในฐานะสำนักงานที่นายอานนท์ นำภาสังกัดอยู่ พร้อมกับรายชื่อทนายความจำนวน 187 คนที่ร่วมลงชื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์ นำภาและจำเลยในคดีความผิดลักษณะเดียวกันอีกครั้ง เพื่อยืนยันหลักการตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติรับรองไว้ว่าก่อนที่จะมีคำพิพากษาจำเลยจะถูกปฏิบัติเหมือนผู้กระทำผิดไม่ได้ ประกอบกับมาตรา 107 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติให้สิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตในการปล่อยชั่วคราวเป็นหลัก มิใช่ให้นำข้อยกเว้นมาถือเป็นปฏิบัติเป็นสรณะและใช้หลักในข้อยกเว้นนั้นละเมิดต่อสิทธิของจำเลยและเมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นมิให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยหรือผู้ต้องหาตามมาตรา 108/1 พบว่า ไม่มีเหตุที่ควรเชื่อได้ว่าจำเลยจะมีพฤติการณ์ที่เข้าองค์ประกอบที่ศาลจะสามารถยกหลักข้อยกเว้นดังกล่าวมาบังคับใช้ ซึ่งข้อยกเว้นดังกล่าว คือ (1) ผู้ต้องหา หรือ จำเลย จะหลบหนี (2) ผู้ต้องหา หรือ จำเลย จะไปยุ่งเหยิง […]

แถลงการณ์ร่วม: ขอให้หยุดการคุกคามต่อสุชาณี คลัวเทรอ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

แถลงการณ์ร่วม หยุดการคุกคามต่อสุชาณี คลัวเทรอ, นักปกป้องสิทธิมนุษยชน การฟ้องคดีไม่มีมูลทำให้การปกป้องสิทธิแรงงานเป็นไปได้ยากขึ้น   26 ตุลาคม 2563 เรา, องค์กรสิทธิมนุษยชนสิบองค์กรที่ลงชื่อใต้แถลงการณ์นี้, เรียกร้องให้รัฐบาลไทยหยุดการคุกคามทางกฎหมายผ่านกระบวนการยุติธรรมต่อนักข่าว สุชาณี คลัวเทรอ และมีมาตรการที่ชัดเจนในการปกป้องนักข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากกระบวนการทางอาญาที่การฟ้องคดีที่ไม่มีน้ำหนัก ในวันที่ 27 ตุลาคมนี้ ศาลจังหวัดลพบุรีจะอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์ในคดีของสุชาณี ซึ่งถูกศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษในคดีที่ริเริ่มโดยบริษัทธรรมเกษตร คดีนี้เน้นย้ำความจำเป็นในการยกเลิกข้อกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาซึ่งถูกใช้บ่อยครั้งโดยบริษัทธุรกิจและปัจเจกบุคคลที่มีอำนาจในการปิดปากคนวิพากษ์วิจารณ์   การฟ้องคดีต่อสุชาณีเกิดจากการทวีตเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานในฟาร์มไก่ของบริษัทธรรมเกษตรในจังหวัดลพบุรี จากข้อร้องเรียนของแรงงานที่ส่งให้ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพบว่าบริษัทไม่ได้จ่ายค่าแรงขั้นต่ำและค่าแรงล่วงเวลา ไม่ได้จัดหาเวลาพักและวันหยุดอย่างพอเพียง และมีการยึดเอกสารประจำตัวของคนงาน ในปี 2559 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในจังหวัดลพบุรีได้มีคำสั่งให้บริษัทธรรมเกษตรจ่ายค่าชดเชย 1.7 ล้านบาทให้กับแรงงาน ซึ่งเป็นบทลงโทษที่ศาลฎีกาได้พิพากษายืน   สุชาณีเป็นนักข่าววอยซ์ทีวีในปี 2560 ซึ่งเป็นเวลาที่เธอทวีตข้อความดังกล่าวและรายงานข้อกล่าวหาที่ว่า ในเดือนมีนาคมปี 2562 ธรรมเกษตรได้ฟ้องคดีอาญาต่อสุชาณีภายใต้มาตรา 326 และ 328 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยการหมิ่นประมาทและหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามลำดับ ในเดือนธันวาคมปี 2562 ศาลจังหวัดลพบุรีได้ตัดสินจำคุกสุชาณีสองปีโดยไม่รอลงอาญา   สุชาณีเป็นหนึ่งในผู้คนจำนวนมากที่ตกเป็นเป้าหมายของธรรมเกษตร ตั้งแต่ปี 2559, ธรรมเกษตรได้ริเริ่มคดีอาญาและคดีแพ่งต่อประชาชน 22 คนและวอยซ์ทีวี จากการที่ประชาชนและวอยซ์ทีวีพูดถึงการละเมิดสิทธิแรงงานของบริษัท […]

จดหมายเปิดผนึก ขอให้พิจารณายกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และรับฟังประชาชน เพื่อแก้ปัญหาโควิด 19

สถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19 ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้คนในทุกประเทศทั่วโลก และมีผลกระทบต่อสังคมในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ หรือความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพของประชาชน เหตุการณ์นี้มอบโจทย์ความท้าทายให้แก่ผู้บริหารและประชาชนของแต่ละประเทศว่าจะผ่านพ้นสถานการณ์ไปได้อย่างไร โดยไม่ทิ้งผู้ใด หรือคนกลุ่มใดไว้ข้างหลัง โดยที่ผ่านมาองค์กรสหประชาชาติได้ออกคำแนะนำให้แต่ละประเทศมีมาตรการที่สามารถควบคุมการระบาดของโรค และยังเคารพต่อสิทธิมนุษยชนสำหรับกลุ่มคนที่หลากหลาย เพราะพื้นฐานของการก้าวผ่านสถานการณ์โรคระบาดนี้อย่างยั่งยืน ภาครัฐต้องเคารพสิทธิของประชาชนและได้รับความร่วมมือที่ดีของประชาชนทุกคน ในประเทศไทยก็ใช้ทั้งมาตรการที่ออกมาควบคุมการใช้ชีวิตและการสร้างความตระหนักให้เกิดในหมู่ประชาชน คณะรัฐบาล นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและออกข้อกำหนดมาเพื่อควบคุมสถานการณ์โรคระบาด โดยรายละเอียดของมาตรการยับยั้งโรคระบาดนั้นจะเป็นไปตามข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 ฉบับที่ 1-7 ซึ่งมีข้อจำกัดการใช้พื้นที่ ปิดสถานที่เสี่ยง การห้ามกักตุนสินค้า ห้ามชุมนุมหรือการนำเสนอข่าวต่างๆ อีกทั้งมีคำสั่งห้ามออกจากเคหสถานตั้งแต่เวลา 23.00 – 04.00 น. ซึ่งจากเดิมเป็นเวลา 22.00 – 04.00 น. ยกเว้นผู้ที่มีความจำเป็น และได้มีการต่ออายุออกไปถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ได้รับเสียงสะท้อนจากสมาชิก และเครือข่ายผู้ที่ทำงานผลักดันประเด็นทางสังคม ถึงผลกระทบและความไม่เหมาะสมของการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และมาตรการบางประการ ถึงแม้จะมีการผ่อนมาตรการบางประการในปัจจุบัน แต่ยังไม่ตอบสนองถึงปัญหาของกลุ่มคนที่หลากหลาย อีกทั้งมาตรการเยียวยาต่อสถานการณ์ที่ไม่ทั่วถึง จึงส่งผลให้ผู้คนยิ่งได้รับผลกระทบและความยากลำบากในการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น […]

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาปล่อยตัวผู้ต้องขังโดยเร็วและให้ความมั่นใจว่าทุกคนที่อยู่ในสถานที่คุมขังมีสุขภาพและปลอดภัยดี โดยเฉพาะจากไวรัสโคโรนา 2019

องค์กรสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและองค์การระหว่างประเทศดังมีชื่อข้างท้ายนี้ เป็นห่วงอย่างยิ่งต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ที่อาจจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในหมู่ผู้ต้องขังในเรือนจำและเจ้าหน้าที่ในเรือนจำของประเทศไทย

ข้อเรียกร้องต่อกรณีการจากไปของผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ

สืบเนื่องจากกรณีการเสียชีวิตของผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ โดยก่อนหน้านั้นมีการเผยแพร่แถลงการณ์ของนายคณากร ที่มีสาระสำคัญกล่าวถึงการแทรกแซงผลคำพิพากษาโดยอธิบดีผู้พิพากษาภาค

ข้อเสนอถึง ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ประเด็นเรื่องการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ(SLAPPs)

วันนี้ (16 มกราคม 2562) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เข้ายื่นข้อเสนอประเด็นเรื่องการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ (SLAPPs) ต่อประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เนื่องจากในปัจจุบันประชาชนซึ่งใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ เพื่อเรียกร้องการปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเองหรือผู้อื่น ต้องเผชิญกับการถูกฟ้องคดีทั้งคดีแพ่งและอาญาต่อศาล

แถลงการณ์ร่วมภาคประชาสังคมขอให้ตรวจสอบกรณี เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เวียงแหง วิสามัญฆาตกรรมนายจะจือ จะอ่อ

แถลงการณ์ร่วม ภาคประชาสังคมขอให้ตรวจสอบกรณี เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เวียงแหง วิสามัญฆาตกรรมนายจะจือ จะอ่อ           ตามที่ได้ปรากฏข่าวจากสื่อมวลชนว่า เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562 เวลาประมาณ 17.30 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เวียงแหง ได้ออกตรวจพื้นที่บริเวณบ้านห้วยไคร้ใหม่และพบชายต้องสงสัยสองคนขับรถจักรยานยนต์มา เมื่อเจ้าหน้าที่ขอให้หยุดเพื่อตรวจสอบ ชายต้องสงสัยกลับใช้ปืนยาวยิงเจ้าหน้าที่จนเกิดการต่อสู้กันขึ้น และนายจะจือ จะอ่อ อายุ 26 ปี ชาวบ้านห้วยไคร้ใหม่ ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ได้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ หลังเกิดเหตุมีประชาชนจากชุมชนชาวห้วยไคร้ใหม่ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า หลังเกิดเหตุแม่ของผู้เสียชีวิตได้พยายามเข้าไปกอดร่างลูกชาย แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้าย ทำให้ประชาชนที่เห็นเหตุการณ์ไม่พอใจ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2562  มีประชาชนจากชุมชนชาวห้วยไคร้ใหม่ได้ออกแถลงการณ์ขอความเป็นธรรม และแสดงความวิตกต่อการวิสามัญฆาตกรรมดังกล่าว โดยได้อ้างว่า นายจะจือ จะอ่อ ไม่ได้ค้ายาเสพติดและไม่มียาเสพติดไว้ในครอบครอง และมีพยานเห็นเหตุการณ์ว่าในระหว่างการจับกุมนายจะจือ จะอ่อ ไม่ได้มีอาวุธปืน แต่อาวุธปืนนั้นถูกนำมาวางหลังจากนายจะจือ จะอ่อ ได้เสียชีวิตแล้ว จากกรณีดังกล่าว เมื่อเกิดกรณีการที่เจ้าหน้าที่รัฐสังหารบุคคลโดยไม่ผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาล หรือเรียกว่าการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม (Extra-judicial Killing) […]

แถลงการณ์องค์กรสิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการนำตัวผู้กระทำความรุนแรงกับนักกิจกรรมทางการเมืองมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างจริงจัง

จากเหตุการณ์ที่นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว นักกิจกรรมด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ถูกคนร้ายจำนวน ๔ คน ลอบทำร้ายเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒ จนได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องเข้ารับการรักษาตัวในห้องไอซียู

1 2 3 4