SLAPPs

ทำไมสถิติคดีฟ้องปิดปาก (SLAPP) ถึงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง:ปัญหาของกลไกกลั่นกรองคดีชั้นอัยการ

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 กระทรวงยุติธรรมมีความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยประจำปี 2562 ที่จัดทำโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยความเห็นตอนหนึ่งระบุว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีกลไก หลายชั้นที่สามารถป้องกันกลั่นกรองคดีฟ้องปิดปากได้  หนึ่งในนั้นคือ ชั้นอัยการ โดยพนักงานอัยการสามารถใช้ช่องทางตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาตรา 21 สั่งไม่ฟ้องคดีเพื่อป้องกันการฟ้องร้องคดีที่ไม่สุจริตได้ ถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าการฟ้องคดีอาญาจะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชาติ หรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศให้เสนอต่ออัยการสูงสุดเพื่อสั่งไม่ฟ้องได้

อัยการสั่งไม่ฟ้องสมาชิกเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ

ภายหลังจากที่พนักงานสอบสวน สน.พหลโยธิน ผู้รับผิดชอบได้มีความเห็นส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมส่งตัวนายธีระศักดิ์ รูปสุวรรณและนายเรืองยศ  สินธิโพธิ์ สมาชิกเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ต่อพนักงานอัยการ ที่สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา 7 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562

แจ้งข่าวนัดฟังคำพิพากษาป้ายปากมูลและชวนบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการต่อสู้คดี

วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 นี้ ศาลจังหวัดอุบลราชธานี มีนัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 99/2562 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี โจทก์ กับ นายกฤษกร ศิลารักษ์ (ป้ายปากมูล) ในฐานความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และหมิ่นประมาทศาล จากกรณีที่นายกฤษกรได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับกรณีที่ศาลจังหวัดอุบลราชธานี พิจารณาคดีของนายดวงเด่น สุทธาคง ที่ถูกดำเนินคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกาะดอนคำพวง ตำบลกุดชมพู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งมีการตัดโค่นต้นไม้เป็นจำนวนมากและไม้ที่ถูกตัดนั้นมีไม้ยางนาซึ่งเป็นไม้ต้องห้ามรวมอยู่ด้วยหลายต้น ทั้งนี้ เมื่อนายกฤษกรติดตามการพิจารณาคดีแล้วพบว่ายังมีข้อมูลที่ขาดไป ด้วยความหวงแหนต่อทรัพยากรธรรมติในพื้นที่ จึงได้โพสต์ข้อความซึ่งเป็นข้อมูลลงเฟซบุ๊คของตนเองโดยตั้งค่าเป็นสาธารณะ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เห็นว่าตกหล่นและไม่ได้ถูกนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณา นอกจากการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับการพิจารราคดีของศาลจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว นายกฤษกรยังได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการบุกรุกเกาะและการตัดไม้ต้องห้ามในพื้นที่อย่างต่อเนื่องหลายข้อความ จึงเป็นเหตุให้นายจักรกฤช วิเศษชลธาร ข้าราชการบำนาญกรมสวบสวนคดีพิเศษ ผู้เสียหายที่ 1 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดอุบล ผู้เสียหายที่ 2  และศาลจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เสียหายที่ 3 แจ้งความดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและหมิ่นศาล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 , 326 และมาตรา 328 นอกจากคดีข้างต้นแล้ว นายกฤษกร  ยังถูกฟ้องหมิ่นประมาทในคดี “ปิดเขื่อนปากมูล” ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี […]

ปัญหาที่ผู้ถูกฟ้องคดีปิดปากเผชิญในชั้นก่อนการพิจารณา

จากการรวบรวมข้อมูลของสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พบว่า โดยส่วนมากของคดีปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะในประเทศไทยเกิดจากการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน โดยข้อกล่าวหาที่ถูกนำมาใช้ดำเนินคดี จำนวนมากเป็นความผิดเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย ซึ่งรัฐเป็นผู้เสียหาย ทำให้คดีจำนวนมากถูกดำเนินคดีผ่านช่องทางอัยการ

สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด : กรณีจับ-ดำเนินคดีพ.ร.บ.คอมฯ ผู้กลับจากสเปน โพสต์เล่า ไม่มีมาตรการตรวจโควิดที่สนามบิน

กรณีดนัย อุศมา โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นบน Facebook ในเชิงการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบุว่า “ตนเดินทางจากบาเซโลน่า ที่สนามบินบาเซโลน่า ตนและคนอื่นๆถูกตรวจร่างกายอย่างเข้มงวดก่อนจะขึ้นเครื่อง มาต่อเครื่องที่อาบูดาบี ต้องเดินผ่าน 3 ขั้นตอนในการตรวจร่างกายก่อนขึ้นเครื่อง จนบินมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิไม่ได้รับการตรวจสุขภาพใดๆ” และถูกเข้าจับกุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 ในข้อหา “นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ซึ่งเป็นการถูกจับกุมในระหว่างที่นายดนัยกำลังกักกันตัวเองตามนโยบายของภาครัฐที่ให้กักตัว 14 วันหลังจากกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และเป็นการจับโดยที่ไม่มีการออกหมายเรียกมาก่อน

ข้อเสนอถึง ประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ประเด็นเรื่องการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ(SLAPPs)

วันนี้ (16 มกราคม 2562) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เข้ายื่นข้อเสนอประเด็นเรื่องการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ (SLAPPs) ต่อประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เนื่องจากในปัจจุบันประชาชนซึ่งใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ เพื่อเรียกร้องการปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเองหรือผู้อื่น ต้องเผชิญกับการถูกฟ้องคดีทั้งคดีแพ่งและอาญาต่อศาล

คดีป่าแหว่ง: สำนักงานศาลยุติธรรมฟ้องหมิ่นประมาทแกนนำและสมาชิกเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 เวลา 11.00 น.นายธีรศักดิ์ รูปสุวรรณ นายเรืองยศ สินธิโพธิ์ 2 ผู้ถูกกล่าวหาและทนายความจากสมาคมสิทธิเสรีภาพและสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้เดินทางไปที่สำนักงานอัยการพิเศษ

ศาลพิพากษายกฟ้องนักวิชาการกะเหรี่ยง กรณีชัยวัฒน์ฟ้องหมิ่นประมาท หลังโพสต์ข้อความเกี่ยวกับการครอบครองพื้นที่ในป่าสงวน

18 พฤศจิกายน 2562 ศาลจังหวัดมีนบุรี อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.6246/2561 ซึ่งเป็นคดีระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานสูงสุด โจทก์ นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

Protecting Public Protest: The case of SLAPP Lawsuit

SLAPP cases in Thailand are typically employed by government officials and the private sector utilising both civil and criminal cases. Criminal defamation can result in punishment of 2 years imprisonment and a 100,000 baht fine. Sedition cases caring a punishment of 6 years imprisonment and a 200,000 baht fine. Other SLAPP charges including disrupting public order, trespassing, falsifying information and perjury have also has been used. 

นัดสืบพยานโจทก์คดีฟ้องนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งเเวดล้อมฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและหมิ่นศาล

คดีนี้เป็นคดีหมายเลขดำที่ 99/2562 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี โจทก์ กับ นายกฤษกร ศิลารักษ์ จำเลย ในฐานความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และหมิ่นประมาทศาล

1 2 3 4