รายงานสัมมนา

รายงานเสวนาวิชาการ “เสรีภาพออนไลน์ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์”

เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2559 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สนับสนุนโดยสมาคมเครือข่ายผู้สื่อข่าวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีป้า) ได้จัดเสวนาวิชาการ “เสรีภาพออนไลน์ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” ณ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย โดยภายในงานเสวนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนและหลายหน่วยงานที่ส่งตัวแทนเข้ารับฟังเป็นอย่างมาก นำเสนอการเสวนาโดยผู้ดำเนินรายการ คุณกรรณิการ์ กิจติเวชกุล กล่าวถึงความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชนจำนวนมากที่มีต่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กำลังมีการพิจารณาอยู่ในขณะนี้ รวมถึงข้อแตกต่างระหว่างฉบับเดิมและฉบับแก้ไขที่จะทำให้ดีขึ้น แย่ลงหรือกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์อย่างไร ทางด้าน พ.ต.อ.ดร.นิติพัฒน์ วุฒิบุณยสิทธิ์ ผู้กำกับสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กล่าวถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย พ.ร.บ. คอมฯ ไว้ว่า “เป็นกฎหมายใหม่ ยังไม่มีฎีกาให้ทางพนักงานสอบสวนได้ใช้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ ที่สำคัญคือยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญที่จะบอกได้ถึงความถูกต้องชัดเจนในเรื่องของการปฏิบัติงาน ฉะนั้นพนักงานสวบสวนจึงจะต้องใช้ดุลพินิจหลายๆอย่างประกอบรวมทั้งดุลพินิจของพนักงานสอบสวนเองในการทำงาน ประสบการณ์จากการทำงานหลายๆภาคส่วนมาประกอบในการรับเรื่องร้องเรียน โดยแบ่งเป็นหลายๆส่วน อาทิ ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ เป็นต้น โดยจะไม่มีการแบ่งพื้นที่กันสามารถรับเรื่องร้องทุกข์ได้ทั่วประเทศ แต่ทั้งนี้พนักงานสอบสวนจะต้องมีการพิจารณาถึงลักษณะในการกระทำความผิด พฤติการณ์ในการกระทำความผิดเสียก่อน หากมีผู้กระทำความผิดตามพรบ.นี้ พนักงานสอบสวนต้องใช้ดุลพินิจในหลักฐานและพยานตามข้อเท็จจริง พร้อมย้ำว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นปลายเหตุ ดังนั้นประชาชนที่ใช้โลกโซเชียลจะต้องอย่าหลงเชื่อใครง่ายๆ พร้อมยืนยันหากมีการร้องทุกข์จริง ตำรวจปอท. พร้องผดุงความยุติธรรมในหลักฐานและพยานตามข้อเท็จจริง” คุณสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อธิบายว่า กฎหมายฉบับนี้มีปัญหาเรื่องการบังคับใช้พอสมควร เพราะบางส่วนคิดว่าตัวกฎหมายละเมิดสิทธิประชาชนมาก โดยเฉพาะมาตรา […]

เสวนา 2 ปีบิลลี่ ญาติและองค์กรสิทธิเรียกร้องให้เร่งสืบสวนสอบสวนคดีจนทราชะตากรรมของบิลลี่และเด่น คำแหล้ รวมทั้งเรียกร้องให้รัฐเร่งสร้างกลไกเพื่อป้องกันการบังคับสูญหาย

วันที่ 10 พฤษภาคม2559 ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน และมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร่วมกันจัดเวทีเสวนาวิชาการ 2 ปีบิลลี่ : อุ้มหายคน อุ้มหายความยุติธรรม อุ้มหายสิทธิเสรีภาพ เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนและวิเคราะห์สถานการณ์การบังคับสูญหาย รวมทั้งจัดทำข้อเสนอของภาคประชาสังคมต่อกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับให้สูญหาย ตลอดจนร่วมผลักดันให้มีการออกกฎหมายดังกล่าวโดยเร่งด่วนเพื่อที่จะยกระดับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและผลักดันกลไกในการป้องกันการบังคับสูญหายและมีกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในงานมีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 50 คน คุณพิณภา พฤกษาพรรณ หรือมึนอ ภรรยาของบิลลี่ กล่าวถึงการหายตัวไปของบิลลี่ วันสุดท้ายที่เขาพบบิลลี่อยู่บ้านก็คือวันที่ 15 เมษายน 2557 และได้ข่าวจากน้องชายของบิลลี่ ว่าเจ้าหน้าที่อุทยานควบคุมตัวเขาไว้ที่ด่านมะเร็ว เหล่าแล้วเขาก็หายตัวไป มึนอยังกล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวพันกับการหายตัวไปของบิลลี่และถูกร้องขอให้ตรวจสอบและขอให้ย้ายออกจากพื้นที่ แต่ปัจจุบันกลับได้รับผิดชอบหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เหมือนคนๆนี้มีอำนาจเหนือกฎหมาย ทำไมคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำบิลลี่และคดียังไม่ถึงที่สุด กลับได้รับตำแหน่งที่ดูจะใหญ่โตขึ้น นอกจากนี้ มึนอยังกล่าวถึงการยื่นคำร้องให้ศาลตรวจสอบการควบคุมตัวบิลลี่โดยมิชอบ ตามมาตรา 90 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แต่ก็ปรากฎว่าทั้งสามศาลต่างยกฟ้องไปแล้ว คุณวราภรณ์ อุทัยรังสี ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีบทบาทเข้าไปช่วยเหลือทางกฎหมายในการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยตัวบิลลี่โดยมิชอบ สะท้อนปัญหาว่าการใช้เครื่องมือทางกฎหมายผ่านกลไกมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น พบว่าศาลไม่ได้เข้าไปค้นหาความจริงอย่างเต็มที่ ในศาลฎีกานั้นพบว่าศาลเน้นวินิจฉัยในข้อกฎหมายจนตัดข้อเท็จจริงออกไปแทบทั้งหมด กล่าวคือศาลฎีกาเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ศาลไม่สามารถรับฟังพยานปากของชัยวัฒน์และเจ้าหน้าที่ได้ ส่วนพยานฝ่ายของผู้ร้องก็เป็นเพียงพยานบอกเล่า เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงให้ฟังได้ ข้อเท็จจริงที่จะรับฟังว่าบิลลี่ถูกควบคุมตัวไว้โดยมิชอบจริงหรือไม่จึงไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ศาลก็เลยยกฟ้อง มีคำถามว่า กรณีเช่นนี้ที่กระบวนการพิจารณาที่กระทำโดยมิชอบตั้งแต่ศาลชั้นต้น จนนำมาสู่การตัดพยานและการยกฟ้อง […]

1 2