รายงานสัมมนา

ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มไหม? ความสมดุลของการใช้อำนาจในสถานการณ์โควิด19

ประชาชนทั่วโลก รวมถึงประชาชนชาวไทยต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด19 ระบาดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยในประเทศไทย ได้ประกาศให้สถานการณ์ดังกล่าวเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาเป็นระยะเวลากว่า 2 เดือนแล้ว จากเดิมทีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะต้องสิ้นสุดลงในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 แต่ได้มีการพิจารณาต่ออายุการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไปอีก 2 ครั้ง กระทั่งในปัจจุบัน การบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะไปสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 การต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในภาวะที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อน้อยลง หรือในบางวันไม่มียอดผู้ติดเชื้อเลย และประชาชนต่างเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตในแง่มุมที่แตกต่างกันไป จึงเกิดการตั้งคำถามว่า “ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มไหม?” ในภาวะที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนต้องถูกจำกัดลง มันคุ้มค่า หรือมากเกินความจำเป็น?   การใช้กฎหมายในสถานการณ์พิเศษจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนต้องเป็นการใช้อำนาจเพียงชั่วคราว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวถึงภาวะที่ประชาชนมีความจำเป็นที่จะต้องถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพไว้ว่า “สิทธิเสรีภาพของประชาชนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 สถานการณ์คือ ในภาวะปกติกับในภาวะที่มีสถานการณ์พิเศษเกิดขึ้น ถ้าเราอยู่ในภาวะปกติ ประชาชนสามารถใช้สิทธิเสรีภาได้อย่างเต็มที่ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่หากอยู่ในสถานการณ์พิเศษหรือฉุกเฉิน เช่น มีจลาจล ภัยสงคราม หรือมีการแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้น สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็จะถูกจำกัดมากยิ่งขึ้น […]

สรุปประเด็นงานเสวนาทางกฎหมายในหัวข้อ “คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา คืนความยุติธรรมให้ประชาชน”

วันที่ 11 ตุลาคม 2562 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF) และ iLaw จัดงานเสวนาทางกฎหมายในหัวข้อ “คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา คืนความยุติธรรมให้ประชาชน” โดยสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์เผยแพร่คำแถลงการณ์ของนายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา ที่มีประเด็นหลักพูดถึงความเป็นอิสระในการพิพากษาคดีของผู้พิพากษา การใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ รวมไปถึงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลจากพยานหลักฐานที่ได้มาโดยกฎหมายพิเศษด้วย

วงเสวนาคดีปกครองแก่งกระจานระบุคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดหลีกเลี่ยงรับรองสิทธิชุมชน เสนอใช้ มติ ครม. 3 สิงหา 53 แก้ปัญหาคนกะเหรี่ยงกับป่า

 สิทธิชุมชนเป็นประเด็นที่คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดยังไม่ได้รับรองอย่างเต็มที่   และศาลยังไม่เข้าใจอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเท่าที่ควร  แต่ความก้าวหน้าของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีนี้คือการวางมาตรฐานในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ  และได้ช่วยเน้นย้ำสถานะของมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2553 แม้จะประเด็นเล็กๆในคำพิพากษา แต่ก็น่าจะเป็นความหวังในการแก้ไขปัญหาคนกะเหรี่ยงกับป่าอนุรักษ์ได้พอสมควร วันที่ 8 มกราคม 2562 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร่วมกับสภาทนายความ  สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  และเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี จัดงานเสวนาวิชาการหัวข้อ “สิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงบางกลอย-ใจแผ่นดินกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด”  ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (ดูคลิปเต็มการถ่ายทอดสดการเสวนา) เวทีเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาคดีที่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยบน/ใจแผ่นดินจำนวน 6 คนได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้ทำการรื้อถอนเผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เมื่อปี 2554 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ ประเด็นที่ศาลบอกว่าชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงดังกล่าวเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม แต่เหตุใดพวกเขาถึงไม่ได้รับการคุ้มครองในฐานะสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ และจะทำอย่างไรให้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง  และอื่นๆ ประเด็นเหล่านี้ ล้วนเป็นประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐที่ปกป้อง คุ้มครอง เคารพสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมต่อไป อ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม […]

เก็บประเด็นวงเสวนาป่าแหว่ง นักกฎหมายสิทธิชี้ช่องรื้อถอนบ้านพักตุลาการตีนดอยสุเทพ

วันที่ 28 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ศูนย์ศึกษาสันติวิธีและความขัดแย้ง และเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ได้ร่วมกันจัดงานเสวนาวิชาการ เรื่อง ความคิดเห็นของนักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน “กรณีป่าแหว่ง” ณ ศูนย์ศึกษาสันติวิธีและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานเสวนาดังกล่าวสืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวของเครือข่ายทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ เพื่อขอให้รื้อถอนบ้านพักตุลาการในพื้นที่ดอยสุเทพ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรับปากว่าจะย้ายสิ่งปลูกสร้างออก แต่จนบัดนี้ยังไม่ได้มีการดำเนินการใดที่เป็นรูปธรรม แม้ที่ผ่านมาจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด คือคณะกรรมการระดับจังหวัด และคณะกรรมการส่วนกลาง เพื่อแก้ปัญหานี้ คณะกรรมการระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีมติไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 ให้รื้อย้าย 45 หลังที่ยังไม่มีผู้เข้าอยู่ ส่วนที่มีคนอยู่ ก็ให้รื้อย้ายโดยให้เอาคนที่เข้าไปอยู่แล้วลงด้านล่างนอกเขตป่าและจึงให้รื้อย้าย  ได้มีการส่งเรื่องมายังคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ (นายสุวพันธ์) เป็นประธานแล้ว แต่ยังไม่มีการเปิดประชุมเลย ประเด็นข้อถกเถียงประการสำคัญของการพิจารณารื้อถอนบ้านพักตุลาการดังกล่าวคือ การจะใช้อำนาจทางกฎหมายใดในการรื้อถอน นี้จึงเป็นที่มาที่เครือข่ายภาคประชาชนจัดการเสวนาระดมความคิดเห็นขึ้นในครั้ง ความเป็นมาของพื้นที่ ปี 2483 มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน ในท้องที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พุทธศักราช 2483 ตามพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2479 (เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร) รายละเอียดกฎหมาย ปี 2492 […]

“บ้าน” ในความเชื่อและวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง โดย ดร.ชยันต์ วรรณธนภูติ ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สืบเนื่องจากวันที่ 27 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ครอบครัวนายพอละจี (บิลลี่) รักจงเจริญ เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี และกลุ่มดินสอสี ได้ร่วมกันจัดเวทีวิชาการ ในหัวข้อ จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเพื่อความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งสืบหาตัวบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่สูญหายไปหลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจากตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 งานครั้งนี้ มีทั้งนักวิชาการ นักกฎหมาย นักกิจกรรม ตัวแทนภาครัฐ ชาวบ้านบางกลอย เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน และผู้สนใจอื่นๆ เข้าร่วมงานผู้เข้าร่วมกว่า 60 คน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เห็นว่าเนื้อหาของการเสวนาครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจประเด็นปัญหาความเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชนร่วมสมัยหลายเรื่อง โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร จึงได้ถอดความจากงานเสวนาในแต่ละช่วงมาเผยแพร่ให้คนที่สนใจและไม่ได้เข้าร่วมงานได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป ตอกแรก คำกล่าวเปิดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” โดย คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม  ตอนที่สอง ปาฐกถา […]

บ้านในมุมมองของกะเหรี่ยง : เก็บความเวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย”

สืบเนื่องจากวันที่ 27 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ครอบครัวนายพอละจี (บิลลี่) รักจงเจริญ เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี และกลุ่มดินสอสี ได้ร่วมกันจัดเวทีวิชาการ ในหัวข้อ จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเพื่อความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งสืบหาตัวบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่สูญหายไปหลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจากตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 งานครั้งนี้ มีทั้งนักวิชาการ นักกฎหมาย นักกิจกรรม ตัวแทนภาครัฐ ชาวบ้านบางกลอย เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน และผู้สนใจอื่นๆ เข้าร่วมงานผู้เข้าร่วมกว่า 60 คน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เห็นว่าเนื้อหาของการเสวนาครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจประเด็นปัญหาความเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชนร่วมสมัยหลายเรื่อง โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร จึงได้ถอดความจากงานเสวนาในแต่ละช่วงมาเผยแพร่ให้คนที่สนใจและไม่ได้เข้าร่วมงานได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป ตอกแรก คำกล่าวเปิดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” โดย คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม  […]

เสียงจากพื้นที่ : จากปู่คออี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย

สืบเนื่องจากวันที่ 27 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ครอบครัวนายพอละจี (บิลลี่) รักจงเจริญ เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี และกลุ่มดินสอสี ได้ร่วมกันจัดเวทีวิชาการ ในหัวข้อ จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเพื่อความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งสืบหาตัวบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่สูญหายไปหลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจากตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 งานครั้งนี้ มีทั้งนักวิชาการ นักกฎหมาย นักกิจกรรม ตัวแทนภาครัฐ ชาวบ้านบางกลอย เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน และผู้สนใจอื่นๆ เข้าร่วมงานผู้เข้าร่วมกว่า 60 คน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เห็นว่าเนื้อหาของการเสวนาครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจประเด็นปัญหาความเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชนร่วมสมัยหลายเรื่อง โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร จึงได้ถอดความจากงานเสวนาในแต่ละช่วงมาเผยแพร่ให้คนที่สนใจและไม่ได้เข้าร่วมงานได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป ตอกแรก คำกล่าวเปิดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” โดย คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม  […]

ปาฐกถา ความสำคัญของ “ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ….” โดย รศ. ดร. ปกป้อง ศรีสนิท

สืบเนื่องจากวันที่ 27 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ครอบครัวนายพอละจี (บิลลี่) รักจงเจริญ เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เขตงานตะนาวศรี และกลุ่มดินสอสี ได้ร่วมกันจัดเวทีวิชาการ ในหัวข้อ จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นเพื่อความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาติพันธุ์กะเหรี่ยง และกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งสืบหาตัวบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิชุมชนของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่สูญหายไปหลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจากตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 งานครั้งนี้ มีทั้งนักวิชาการ นักกฎหมาย นักกิจกรรม ตัวแทนภาครัฐ ชาวบ้านบางกลอย เครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม สื่อมวลชน และผู้สนใจอื่นๆ เข้าร่วมงานผู้เข้าร่วมกว่า 60 คน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เห็นว่าเนื้อหาของการเสวนาครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจประเด็นปัญหาความเป็นธรรมและสิทธิมนุษยชนร่วมสมัยหลายเรื่อง โดยเฉพาะสิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร จึงได้ถอดความจากงานเสวนาในแต่ละช่วงมาเผยแพร่ให้คนที่สนใจและไม่ได้เข้าร่วมงานได้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป โปรดดู ตอนแรก คำกล่าวเปิดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” โดย คุณสุรพงษ์ […]

คำกล่าวเปิดงาน เวทีเสวนาวิชาการ “จากปู่โคอี้ ถึงบิลลี่ : การเรียกร้องสิทธิ ชุมชนในป่าและความเป็นธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย” โดย คุณสุรพงษ์ กองจันทึก ประธานมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

ครบ 4 ปีที่บิลลี่หายตัวไป และ 7 ปีที่ปู่คออี้ และชุมชนกะเหรี่ยงได้หายจากพื้นที่ “ใจแผ่นดิน” ทั้งบุคคลและชุมชนสูญหายไปในพื้นที่ป่าแก่งกระจาน ที่เรามาคุยกันในวันนี้เพื่อจะบอกว่าสิ่งที่หายไป จริงๆแล้วไม่ได้หาย  สิ่งนี้ยังอยู่ในความทรงจำของเรา  ยังอยู่ในจิตสำนึกของพวกเรา  และยังอยู่ในปรากฎการณ์จริงของสังคมไทย ไม่ว่าจะ 7 ปีกรณีชุมชนกะเหรี่ยงถูกเผาก็ดี หรือ 4 ปีกรณีที่บิลลี่ถูกทำให้หายตัวไปก็ดี เราจะให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองกรณีนี้ได้อย่างไร ปู่คออี้และบิลลี่เป็นตัวแทนของชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิม ซึ่งอยู่ในชุมชนที่เรียกว่า “ใจแผ่นดิน” มาเนิ่นนานแล้ว เรามีแผนที่บ้านใจแผ่นดิน เป็นแผนที่ที่พิมพ์เมื่อปี 2503 เอามาจากต้นฉบับเดิมปี 2484 มีการสำรวจโดยกรมแผนที่ทหารบกในปี 2455 หรือกว่า 100 ปีมาแล้ว นอกจากแผนที่ฉบับนี้ แผนที่ฉบับหลังจากนั้นก็ปรากฏชุมชนใจแผ่นดินตลอดมาในทุกแผนที่ของรัฐ ชุมชนเก่าแก่แห่งนี้ได้ถูกเผา ได้ถูกทำให้หายไปจากแผนที่ ผมเองได้มีโอกาสร่วมกับกรณีนี้เมื่อปี 2554 จากกรณีที่มีการเผาชุมชนของชาวกะเหรี่ยงบริเวณบ้านใจแผ่นดิน หรือว่าบ้านบางกลอยบน หลังจากเรา (สภาทนายความ) ได้ทราบเรื่องและได้รับการร้องเรียนจากเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม เราก็ได้มีการลงพื้นที่ ครั้งนั้นมีอาจารย์ทัศน์กมล โอบอ้อม เป็นผู้ประสานงานพาปู่คออี้ พาบิลลี่และชาวบ้านมาพบกับเรา ชาวบ้านให้ข้อมูลว่าพวกเขาได้อยู่มาเนินนานอย่างไรบ้าง มีการเผาบ้านชาวบ้านอย่างไรบ้าง และภาพที่สื่อมวลชนนนำเสนอไปว่าเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของฮีโร่ ที่ได้ทำลายชนกลุ่มน้อย […]

3 ปีบิลลี่ กับ 3 ประเด็นสิทธิที่ยังค้างคา

วันนี้ (17 เมษายน 2560) เครือข่ายภาคประชาชนชาติพันธุ์กระเหรี่ยง ได้ร่วมกันจัดงาน 3 ปีบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ ณ ห้วยกระซู่ ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี โดยมีชาวบ้านชาต้พันธุ์กระเหรี่ยงเจ้าร่วมงานจากหลายพื้นที่ อาทิ บ้านลิ้นช้าง บ้านพุน้ำร้อน บ้านสาลิกา บ้านห้วยกระซู่ บ้านบางกลอย บ้านตากแดด ฯลฯ 17 เมษายน 2560 เป็นวันครบรอบ 3 ปีที่บิลลี่หายไป หลังถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บิลลี่ถือเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและเป็นตัวแทนชุมชนบางกลอย ในการประสานงานดำเนินการเรื่องสิทธิชุมชนของคนกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ต้นน้ำเพชรบุรี ในงานมีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและรำลึกถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่จากไป อาทิ นายทัศกมล โอบอ้อม หรืออาจารย์ป๊อด ผู้ที่ช่วยเหลือชาวบ้านบางกลอยเรียกร้องสิทธิหลังถูกเผาบ้านไล่รื้อจากแผ่นดินเดิม ณ ใจแผ่นดิน อาจารย์ป๊อดถูกยิงในวันที่ 10 กันยายน 2554 กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ นักปกป้องสิทธิชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบางกลอย เขาหายตัวไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน […]

1 2