ความเห็นทางกฎหมาย

หมายเรียก หมายจับ กฎหมายไม่อนุญาตให้ออกพลาดบ่อย

พนักงานตำรวจออกหมายเรียกผู้รับหมายมาให้ถ้อยคำหรือเอกสาร ถือเป็นเรื่องปกติเพราะกฎหมายได้ให้อำนาจพนักงานสอบสวนไว้ อย่างไรก็ตาม ยังมีกฎหมายและระเบียบต่างๆ ควบคุมการดำเนินการออกหมายเรียกและหมายจับของเจ้าหน้าที่ ให้การปฏิบัติตามหน้าที่เป็นไปตามหลักการและความยุติธรรม ไม่ “พลาด”หรือเผลอไปละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน

ถกถามเรื่องการปฏิรูปศาลในฐานะเสาหลักอันศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรม

บันทึกเสวนาวิชาการ “เสาหลักต้องเป็นหลักอันศักดิ์สิทธิ์ : บทบาทศาลท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน”   ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน เมื่อมีผู้คนมากมายแสดงออกทางการเมือง ออกมาชุมนุมบนท้องถนนหรือสถานที่ต่างๆ และการชุมนุมทางการเมืองกลายมาเป็นความผิดทางกฎหมาย หรือในสถานการณ์ที่มีการออกหมายจับหรือหมายค้นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในกรณีต่างๆ และการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมการแสดงออกบริเวณศาล หากฝ่าฝืนจะมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนั้น ทำให้ตุลาการหรือศาลเข้ามามีบทบาทในสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดการถกเถียงกันโดยทั่วไปว่า ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองนี้ ศาลควรจะมีบทบาทอย่างไร ในฐานะเสาหลักอันศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรม   สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) จัดงานเสวนาวิชาการ “เสาหลักต้องเป็นหลักอันศักดิ์สิทธิ์ : บทบาทศาลท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน” เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 เพื่อวิเคราะห์ แลกเปลี่ยน และทบทวนบทบาทของอำนาจตุลาการในฐานะเป็นเสาหลักอันศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมในสถานการณ์ปัจจุบัน และขอบเขตของฐานความผิดละเมิดอำนาจศาล ผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองของ ผศ.สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สัณหวรรณ ศรีสด คณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (ICJ) และรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน   คอรีเยาะ มานุแช นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวเปิดงาน พร้อมตั้งคำถามถึงบทบาทของสถาบันตุลาการท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน “ในปัจจุบัน ประชาชนมีความตื่นตัวในการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อเรียกร้องและคุ้มครองสิทธิของประชาชน ถ้านับช่วงอายุของตนเอง (30+) ช่วงระหว่างปี […]

บทสรุป ปัญหาและข้อเสนอแนะกองทุนยุติธรรม

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน อาศัยการมีส่วนร่วมตาม มาตรา 77 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้รวบรวมประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม จากกลุ่มทนายความและกลุ่มชาวบ้านซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้เกี่ยวข้องหรืออยู่ในฐานะ “ผู้ขอรับความช่วยเหลือ” เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล เผยแพร่ต่อสาธารณะ ตลอดจนนำไปสู่การจัดทำเป็นข้อเสนอแนะ สำหรับการแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

โครงสร้างคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดของกองทุนยุติธรรม

จากองค์ประกอบโครงสร้างคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด ของกองทุนยุติธรรม ไม่ได้ยึดโยงภาคประชาชนทำให้มุมมองการพิจารณาถึงที่มาปัญหาการที่ชาวบ้านต้องถูกฟ้องคดี จนนำมาสู่การขอความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมนั้น ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนยุติธรรมได้อย่างแท้จริง

ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มไหม? ความสมดุลของการใช้อำนาจในสถานการณ์โควิด19

ประชาชนทั่วโลก รวมถึงประชาชนชาวไทยต้องใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด19 ระบาดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว โดยในประเทศไทย ได้ประกาศให้สถานการณ์ดังกล่าวเป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน และประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ มาเป็นระยะเวลากว่า 2 เดือนแล้ว จากเดิมทีการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะต้องสิ้นสุดลงในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 แต่ได้มีการพิจารณาต่ออายุการบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไปอีก 2 ครั้ง กระทั่งในปัจจุบัน การบังคับใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะไปสิ้นสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2563 การต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในภาวะที่ประเทศไทยมีจำนวนผู้ติดเชื้อน้อยลง หรือในบางวันไม่มียอดผู้ติดเชื้อเลย และประชาชนต่างเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตในแง่มุมที่แตกต่างกันไป จึงเกิดการตั้งคำถามว่า “ต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คุ้มไหม?” ในภาวะที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนต้องถูกจำกัดลง มันคุ้มค่า หรือมากเกินความจำเป็น?   การใช้กฎหมายในสถานการณ์พิเศษจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนต้องเป็นการใช้อำนาจเพียงชั่วคราว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวถึงภาวะที่ประชาชนมีความจำเป็นที่จะต้องถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพไว้ว่า “สิทธิเสรีภาพของประชาชนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 สถานการณ์คือ ในภาวะปกติกับในภาวะที่มีสถานการณ์พิเศษเกิดขึ้น ถ้าเราอยู่ในภาวะปกติ ประชาชนสามารถใช้สิทธิเสรีภาได้อย่างเต็มที่ตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่หากอยู่ในสถานการณ์พิเศษหรือฉุกเฉิน เช่น มีจลาจล ภัยสงคราม หรือมีการแพร่ระบาดของโรคเกิดขึ้น สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็จะถูกจำกัดมากยิ่งขึ้น […]

สถานการณ์โควิด-19 แว่นขยายฉายภาพปัญหา “คนจนมักติดคุก” ที่เรื้อรังมานาน

สถานการณ์โควิด-19 แว่นขยายฉายภาพปัญหา “คนจนมักติดคุก” ที่เรื้อรังมานาน ท่ามกลางสภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทั่วทั้งโลกต่างต้องออกมาตรการเพื่อยับยั้งการระบาดของโลก และปกป้องชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนอย่างดีที่สุด ทางด้านประเทศไทย ได้มีการรณรงค์ให้ทุกคนร่วมมือกันเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing อีกทั้งรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563 โดยรายละเอียดของมาตรการยับยั้งโรคระบาดนั้นจะเป็นไปตามข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 ซึ่งมีข้อกำหนดในการจำกัดพื้นที่ ปิดสถานที่เสี่ยง การห้ามกักตุนสินค้า ห้ามชุมนุมหรือการนำเสนอข่าวต่างๆ และล่าสุดมีคำสั่งห้ามออกจากเคหสถานตั้งแต่เวลา 22.00- 04.00 น. ยกเว้นผู้ที่มีความจำเป็นหรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้ระบุไว้ หรือถ้าหากในพื้นที่ใดมีมาตรการที่มากกว่านี้ ให้ปฏิบัติตามมาตรการในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป จากมาตรการทั้งหมดที่ได้นำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ให้เว้นระยะห่างทางสังคม หรือแม้กระทั่งมาตรการทางกฎหมายล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์ให้เกิดการตัดตอนการระบาดของโรคจากการที่ประชาชนพบปะกันน้อยลง ซึ่งมาตรการเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนทั่วไป ทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน […]

ยาแรงยับยั้งโควิด-19 ของปอท. อาจเป็นมาตรการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ครั้งแรกของการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 หรือ ศบค. โดยมีพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานศูนย์ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ได้เสนอประเด็นทางกฎหมายเพิ่มเติมจากการออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อ 6 ซึ่งเป็นเรื่องของ “การนำเสนอข่าว”

สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด : กรณีจับ-ดำเนินคดีพ.ร.บ.คอมฯ ผู้กลับจากสเปน โพสต์เล่า ไม่มีมาตรการตรวจโควิดที่สนามบิน

กรณีดนัย อุศมา โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นบน Facebook ในเชิงการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบุว่า “ตนเดินทางจากบาเซโลน่า ที่สนามบินบาเซโลน่า ตนและคนอื่นๆถูกตรวจร่างกายอย่างเข้มงวดก่อนจะขึ้นเครื่อง มาต่อเครื่องที่อาบูดาบี ต้องเดินผ่าน 3 ขั้นตอนในการตรวจร่างกายก่อนขึ้นเครื่อง จนบินมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิไม่ได้รับการตรวจสุขภาพใดๆ” และถูกเข้าจับกุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 ในข้อหา “นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ซึ่งเป็นการถูกจับกุมในระหว่างที่นายดนัยกำลังกักกันตัวเองตามนโยบายของภาครัฐที่ให้กักตัว 14 วันหลังจากกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และเป็นการจับโดยที่ไม่มีการออกหมายเรียกมาก่อน

ความเห็นทางกฎหมาย: กรณีการดำเนินคดีกับสฤณี อาชวานันทกุล และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๒ ศาลฎีกาโดยนายฉันทวัธน์ วรทัต ผู้พิพากษา   ได้มีหมายเรียกนางสาวสฤณี อาชวานันทกุล และบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ให้ไปให้การต่อศาลฎีกาในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๓๐ น.

1 2