รายงานสถานการณ์สิทธิฯ

รายงาน 1 ปี ยืน หยัด หยุุดรัฐ ทําลายสิทธิ โดยภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

“สิทธิในการชุมนุมโดยสงบ” เป็นสิทธิเสรีภาพที่พัฒนามาจากเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยรัฐที่ปกครองในระบอบดังกล่าวจะให้ความสําคัญกับการส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองการปกครอง สําหรับประเทศไทยนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรก จนมาถึงฉบับปี 2560 ได้รับรองและคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะไว้เช่นกัน สะท้อนว่ารัฐไทยให้ความสําคัญต่อการสนับสนุน ส่งเสริมและคุ้มครองการใช้เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะของประชาชนมาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม ในช่วงการชุมนุมสาธารณะ โดยเยาวชน นิสิตนักศึกษาและประชาชนกลับมาเติบโตอีกครั้งในปี 2563 รัฐไทยมีการรับมือกับการชุมนุมดังกล่าวที่ไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งอาญาจักรไทยและกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เห็นได้จากการที่รัฐไทยใช้วิธีการตอบโต้ “การชุมนุมที่จัดขึ้นโดยสงบและปราศจากอาวุธ” ผ่านการคุกคาม ข่มขู่เพื่อขัดขวางไม่ให้การชุมนุมดังกล่าวสามารถดําเนินการได้อย่างราบรื่น เริ่มตั้งแต่ใช้ “การติดตาม คุกคาม ข่มขู่” ทั้งต่อผู้ที่จัดการชุมนุมหรือผู้ที่สนับสนุนการชุมนุม โดยการเยี่ยมที่บ้าน การเชิญผู้ปกครองมาพบเจ้าหน้าที่ตํารวจเพื่อทําข้อตกลงไม่ให้นักเรียน นักศึกษาเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมือง เป็นต้น “การแจ้งความดำเนินคดี” เพื่อสร้างความกลัวและลดทอนศักยภาพ ประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหว ซึ่งข้อกล่าวหานั้น มีตั้งแต่ความผิดฐานลหุโทษ ไปจนถึงข้อหาหมิ่นพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นโทษที่รุนแรง ไม่เท่านั้น การถูกจับกุมดำเนินคดียังส่งผลทำให้ผู้ที่ถูกดําเนินคดีต้องเผชิญต่อ “การจํากัดเสรีภาพสิทธิในกระบวนการยุติธรรม” อาทิ อุุปสรรคในการเข้าถึงทนายความและการจํากัดสิทธิในการปล่อยชั่วคราวเพื่อต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ เป็นต้น และการใช้กําลังในการ “การสลายการชุมนุม” ของเจ้าหน้าที่ตํารวจหลายครั้งติดต่อกัน ทําให้ทั้งผู้ที่ชุมนุม สื่อมวลชนและผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการชุมนุมต่างได้รับบาดเจ็บ โดยบางรายถึงขั้นพิการ และทรัพย์สินของประชาชนเสียหาย ด้วยเหตุนี้ นักกฎหมาย […]

ยาแรงยับยั้งโควิด-19 ของปอท. อาจเป็นมาตรการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ครั้งแรกของการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 หรือ ศบค. โดยมีพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานศูนย์ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ได้เสนอประเด็นทางกฎหมายเพิ่มเติมจากการออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อ 6 ซึ่งเป็นเรื่องของ “การนำเสนอข่าว”

รายงานสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน2562 : 10 สิทธิก้าวหน้าและ10 สิทธิถดถอย

สถานการณ์การฟ้องปิดปาก (SLAPPs) ต่อชาวบ้าน และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนมีเเนวโน้มที่เพิ่มขึ้น นับเป็น 1 จาก 10 ในประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ถดถอยในช่วง1ปีที่ผ่านมา เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล สนส.ชวนทุกท่านติดตามประเด็นการฟ้องคดีปิดปากและประเด็นสิทธิมนุษยชนด้านอื่นๆ ที่มีความก้าวหน้าเเละถดถอยลงไปในรอบ 1 ปี

ชวนจับตามอง 5 เรื่องกระบวนการยุติธรรมไทย

วันที่ 10 ธันวาคม เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนขอเสนอ 5 เรื่องเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไทย ที่อยากชวนทุกคนมาร่วมกันจับตามอง และย้ำเตือนให้คิดถึงสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในประเทศไทย

รายงานข้อเสนอแนะต่อการคุ้มครองผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะจากการถูกฟ้องคดี

บทนำ การมีส่วนร่วมสาธารณะ (Public Participation) ถือเป็นหลักการและแนวปฏิบัติทางการเมือง ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของสังคมประชาธิปไตย ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ได้รับรองสิทธิในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะได้ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการสมาคมสิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ สิทธิชุมชน สิทธิการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร เป็นต้น อย่างไรก็ดี ประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในการเข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะ มักจะถูกคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ อยู่เสมอ ทั้งการใส่ร้ายป้ายสี การทำลายภาพลักษณ์ การเยี่ยมบ้าน การทำร้ายร่างกาย การใช้กองทัพหรือตำรวจปราบปราม การลอบสังหาร การบังคับให้สูญหาย เป็นต้น และอีกรูปแบบหนึ่งที่พบมากในปัจจุบันคือ “การคุกคามด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม” การคุกคามการด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ในลักษณะการฟ้องคดีต่อบุคคลที่เข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะนั้น มักถูกเรียกว่า “การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ” (Strategic Lawsuits Against Public Participation หรือ SLAPPs) บางครั้งอาจเรียกว่า “การฟ้องปิดปาก” SLAPPs มักถูกนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่บริษัทเอกชนและรัฐฟ้องคดีต่อนักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว แกนนำหรือสมาชิกชุมชนที่ออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น […]

แม่”ชัยภูมิ-อะเบ” ยื่นฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายกองทัพบก หลังถูกวิสามัญฆาตกรรม ทนายความจี้ ให้เปิดภาพวงจรปิดสู้กันเชื่อมั่นจะได้รับความยุติธรรมจากศาล

แม่”ชัยภูมิ-อะเบ” ยื่นฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายกองทัพบก หลังถูกวิสามัญฆาตกรรม ทนายความจี้ ให้เปิดภาพวงจรปิดสู้กันเชื่อมั่นจะได้รับความยุติธรรมจากศาล ถามหาความคืบหน้าขั้นตอนส่งฟ้องศาลทหารถึงไหนแล้ว เตือนทำผิดต้องยอมรับ ก่อนที่จะกลายเป็นบ่อเกิดความรุนแรงเหมือนใน 3 จว.ชายแดนใต้ ย้ำ คนทุกคนเสมอเหมือนกันไม่ว่าชาติพนธุ์ไหน ด้านครอบครัวป่าแส ตัดพ้อ หมาตายยังระดมทุนช่วยทำศพ แต่คนตายพร้อมเงื่อนงำทำเมิน ลั่น จะต่อสู้จนสุดทาง จนกว่าความจริงจะปรากฎ เมื่อเวลา 09.00น. วันที่ 22 พฤษภาคม 2562 ที่ศาลแพ่ง รัชดาภิเษก แม่และครอบครัวนายอะเบ แซ่หมู่ และแม่และครอบครัวนายชัยภูมิ ป่าแส ที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารวิสามัญฆาตกรรม โดยอ้างว่าผู้ตายจะใช้ระเบิดด้ามขว้างใส่เจ้าหน้าที่ทหาร ทำให้ถูกวิสามัญเมื่อต้นปี 2561 พร้อมทนายความ ยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย จากกองทัพบก ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ทหารทั้งสอง นายรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ กล่าวว่า หลังจากศาลจังหวัดเชียงใหม่ มีคำสั่งไต่สวนการเสียชีวิตของทั้ง 2 คน และพบว่าเสียชีวิตจากการถูกพลทหารใช้ปืนเอ็ม 16 ยิง โดยทั้งสองเหตุการณ์มีความคล้ายคลึงกันและเกิดเหตุในระยะเวลาห่างกันเพียง 1เดือน ซึ่งผู้เสียหายซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิที่จะฟ้องร้องทางแพ่ง เรียกค่าเสียหายฐานละเมิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแลจะต้องรับผิดชอบ […]

5 คดีสิทธิปี 2561 กับประเด็นที่กระบวนการยุติธรรมต้องทบทวนปี 2562

ในปี 2561 ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ได้ติดตามคดีด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญอย่างน้อย 5 คดี  โดยคดีเหล่านี้มีประเด็นที่สะท้อนถึงปัญหาบางประการของกระบวนการยุติธรรมไทยได้เป็นอย่างดี เริ่มจากเดือนเมษายน 2561 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดี 4 แรงงานชาวเมียนมาร์ที่ตกเป็นจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น คดีนี้มีการตั้งข้อสงสัยว่าจำเลยทั้ง 4 ใช่ผู้กระทำความผิดที่แท้จริงหรือไม่ และในคำพิพากษาของศาลก็ยังไม่กระจ่างเท่าใดนัก เพราะศาลให้น้ำหนักกับคำรับสารภาพของจำเลยเป็นสำคัญ ถัดมาปลายเดือนพฤษภาคม 2561 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาคดีอภิชาต ชูป้ายต้านรัฐประหารของ คสช. หน้าหอศิลป์เมื่อปี 2557 โดยศาลยังคงรับรองว่า คสช. มีอำนาจตามระบอบแห่งการรัฐประหาร และประกาศห้ามชุมนุมไม่ขัด ICCPR เดือนมิถุนายน 2561 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำสั่งไต่สวนการชันสูตรพลิกศพหรือไต่สวนการตายกรณีเจ้าหน้าที่ทหารที่ด่านรินหลวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ยิงนายชัยภูมิ ป่าแส  หลังจากนั้นคำถามถึงภาพจากกล้องวงจรปิดก็ดังขึ้นอีก พร้อมคำตอบกลับของกองทัพว่าข้อมูลภาพจากกล้องวงจรปิดถูกบันทึกทับไปแล้ว เดือนเดียวกันนั้น 12 มิถุนายน 2561 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาคดีเจ้าหน้าที่เผาบ้านและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยบน/ใจแผ่นดิน  โดยศาลพิพากษารับรองว่าบ้านบางกลอยบนและใจแผ่นดินคือชุมชนดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงกลุ่มดังกล่าว แต่ก็ไม่สามารถจะให้กลับไปอยู่ที่เดิมได้ เพราะมีการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติแล้ว อีกทั้ง ศาลยังบอกว่ากระปฏิบัติการเผาบ้านและทำลายทรัพย์สินโดยเจ้าหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการละเมิด จึงให้กรมอุทยานฯชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี 6 คน เฉลี่ยรายละประมาณ 50,000 บาท […]

รายงาน 4 ปีการบังคับสูญหายบิลลี่ ความยุติธรรมที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ

โดย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแม่เพรียง มีฐานะเป็นหลานของปู่โคอี้ หรือคออี้ มีมิ ผู้เฒ่าวัย 107 ปี ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาติพันธ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน หนึ่งในผู้ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ออกจากถิ่นฐานที่บรรพบุรุษชาติพันธุ์กะเหรี่ยงอยู่อาศัยทำกินมานับร้อยปี บิลลี่เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย-ใจแผ่นดิน ที่ถูกเผาบ้านและบังคับให้ต้องจากแผ่นดินเกิด เพราะนโยบายการอนุรักษ์ที่มองไม่เห็นชีวิตของผู้คน  บิลลี่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความในคดีที่ปู่คออี้ และชาวกะเหรี่ยงบางกลอยอีก 5 คน ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ต่อศาลปกครองกลาง จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่บ้านบางกลอยบน-ใจแผ่นดินเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ภายใต้ปฏิบัติการ “ยุทธการตะนาวศรี หรือโครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม     ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน” ซึ่งเป็นโครงการที่มีขึ้นเพื่อผลักดันให้ชาวกะเหรี่ยงดั้งเดิมออกจากพื้นที่ แม้พวกเขาจะเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลากว่า 100 ปีแล้วก็ตาม ในช่วงที่บิลลี่หายตัวไป เป็นช่วงที่กำลังมีการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว และอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรม “วันที่ 17 เมษายน 2557 เวลาประมาณ 16.00 น. ผมได้รับโทรศัพท์จากพี่ชายของบิลลี่ บอกว่า บิลลี่ถูกจับเรื่องน้ำผึ้งที่ด่านมะเร็ว ให้ช่วยไปดูที่โรงพักหน่อย แต่ด้วยเห็นว่าวันนี้ค่ำแล้ว […]

ทบทวนการใช้กลไกทางกฎหมายกรณีการหายตัวไปของบิลลี่ 2 ปีการหายไปของบิลลี่ กับความยุติธรรมที่ยังมาไม่ถึง

นับตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2557 ที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ที่ด่านเขามะเร็ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าบิลลี่มีรังผึ้งและน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นบิลลี่ก็หายตัวไปโดยไม่ทราบชะตากรรมจนกระทั่งบัดนี้  แม้ภายหลังนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจะอ้างว่าได้ทำการตักเตือนและปล่อยตัวบิลลี่ไปแล้ว อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏหลักฐานที่อ้างเกี่ยวกับการจับกุมและหลักฐานการปล่อยตัวแต่อย่างใด บิลลี่เป็นแกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย  นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ช่วยทนายความในคดีที่ชาวบ้านบางกลอยยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่อศาลปกครองกลาง จากกรณีที่นายชัยวัฒน์  ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว  ที่บ้านบางกลอยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ตาม“โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตามแนวชายแดนไทยพม่า”  หรือ“ยุทธการตะนาวศรี”  เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แม้จะปรากฏผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า100ปีแล้วขณะที่บิลลี่หายตัวไปนั้นอยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว นอกจากนี้ บิลลี่ยังอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ทั้งนี้ เรายังเชื่อด้วยว่านายบิลลี่มีพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีและกรณีร้องเรียนดังกล่าวอยู่กับตัวด้วยในขณะที่หายไป หลังจากที่บิลลี่ถูกบังคับให้หายตัวไป ครอบครัวของเขา รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนทั้งในและระหว่างประเทศหลายองค์กร ได้พยายามเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องให้มีการสืบสวนสอบสวนหาตัวบิลลี่และนำตัวผู้กระทำมาลงโทษ ผ่านการใช้กลไกทางกฎหมายหลากหลายช่องทาง แต่ 2 ปีผ่านไป การดำเนินการเหล่านั้นกลับไม่ประสบความสำเร็จมากนัก การสืบสวนสอบสวนคดีอาญา การดำเนินคดีอาญาถือเป็นกลไกหลักที่สำคัญในการที่จะสืบหาตัวบิลลี่ที่สูญหายไปและนำผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำให้เขาหายไปมารับโทษอย่างเหมาะสม การสืบสวนสอบสวนเริ่มต้นขึ้น เมื่อนางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ ภรรยาของบิลลี่  […]