ข่าวสิทธิมนุษยชน

นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีฆาตกรรมนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง อันเนื่องมาจากการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ในช่วงสงครามยาเสพติด

วันที่ 6 กันยายน 2561 เวลา 09.30 น. ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลฎีกา ในคดีหมายเลขดำที่ อ.3252/2552 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2600/2555 ระหว่าง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 โจทก์ กับ ด.ต.อังคาร คำมูลนา ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน จำเลย  คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในฐานความผิดร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ย้ายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย และเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญากระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องรับโทษ สืบเนื่องจากกรณีนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง อายุ 17 ปี เด็กนักเรียน จ.กาฬสินธุ์ เสียชีวิตด้วยการถูกฆ่าแขวนคอที่กระท่อมกลางทุ่งนาใน จ.ร้อยเอ็ด หลังจากได้รับการปล่อยตัวจาก สภ.เมืองกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2547 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลมีนโยบายประกาศทำสงครามกับยาเสพติด โดยญาติของนายเกียรติศักดิ์ ในฐานะผู้เสียหายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการด้วย เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 […]

ประเทศไทยในวันผู้สูญหายสากล บิลลี่และคนอื่นยังคงหาย กฎหมายก็ยังไร้วี่แวว

วันที่ 30 สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันผู้สูญหายสากล (International Day of Disappearance) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อรำลึกถึงบุคคลที่สูญหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ในภาวะสงคราม การปราบปรามจากรัฐ หรือการก่อการร้าย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ยังมีผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างต่อเนื่อง จากสถิติในรายงานของคณะทำงานว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ (Report of the Working Group on Enforced or Involuntary Disappearances) ปี 2560 ระบุว่า นับตั้งแต่เริ่มรับเรื่องร้องเรียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ถึงเดือนพฤษภาคม 2560 คณะทำงานได้ส่งมอบกรณีที่เกิดขึ้นรวม 56,363 ราย ให้แก่ 112 รัฐ และมีกรณีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการอยู่อีก 45,120 ราย ในทั้งหมด 91 รัฐ สำหรับประเทศไทย ในรายงานระบุว่ามี 82 กรณี ทุกกรณียังไม่มีการคลี่คลาย[1] ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงบางส่วนที่มีการร้องเรียนและบันทึกไว้ ตัวอย่างกรณีที่น่าสนใจของประเทศไทย ก็เช่น กรณีคุณทนง […]

ภรรยาบิลลี่เข้าพบ ป.ป.ท. ถามความคืบหน้าคดีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

วันนี้ (21 สิงหาคม 2561) เวลา 09.00 น. ณ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มุนอ ภรรยาของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ เข้าพบเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินคดีกรณีกล่าวหาเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบกรณีการจับกุมตัวนายพอละจีเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 และภายหลังนายพอละจีได้หายตัวไป  ตลอดจนสอบถามเกี่ยวกับการทำงานร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) หลังจากที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับคดีบิลลี่เป็นคดีพิเศษแล้วเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้วันที่ 28 มกราคม 2558 นางสาวพิณนภา ได้ส่งหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบกรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อให้มีการดำเนินคดีกับนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จากกรณีที่มีการจับกุมนายพอละจีไว้เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 แต่ไม่มีการส่งตัวนายพอละจีให้พนักงานสอบสวน  และหลังจากนั้นก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นนายพอละจีอีกเลย ต่อมาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวนการหายตัวไปของนายพอละจีขึ้น นับแต่นั้นเป็นต้นมานางสาวพิณนภาก็ได้ติดตามความคืบหน้าของการสอบสวนดังกล่าวมาโดยตลอด  โดยครั้งล่าสุดวันที่ 19 ธันวาคม 2559 นางสาวพิณนภาพร้อมกับทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้เข้าพบกับประธานคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ […]

กองทัพบกตอบกลับทนายชัยภูมิ ป่าแส ระบุไม่พบภาพข้อมูลใดๆในกล้องวงจรปิดวันเกิดเหตุ

ตามที่เมื่อวันที่  18 มิถุนายน  2561 ทนายความและองค์กรเครือข่ายติดตามความคืบหน้าคดีวิสามัญฆาตกรรม ชัยภูมิ ป่าแส ได้เข้ายื่นหนังสือต่อผู้บัญชาการทหารบก ณ กองบัญชาการกองทัพบก ถนนราชดำเนินนอก เพื่อขอข้อมูลภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวงจรปิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ทหารยิงนายชัยภูมิ ป่าแส เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 นั้น ล่าสุดวันนี้ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก ได้มีหนังสือลงวันที่ 6 สิงหาคม 2561 ส่งถึงนายรัษฎา มนูรัษฎา อุปนายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและหนึ่งในทนายความคดีวิสามัญฆาตกรรมนายชัยภูมิ ป่าแส โดยเนื้อความในหนังสือระบุว่า “วันที่ 24 มีนาคม 2560 กองบัญชาการควบคุมที่ 1 หน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารม้าที่ 5 (บก.ควบคุมที่ 1 ฉก.ม.5) ได้ถอดเครื่องบันทึกข้อมูลกล้องวงจรปิดออกจากจุดตรวจบ้านรินหลวง เพื่อเตรียมการส่งให้สถานีตำรวจภูธรนาหวาย และเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2560 กองกำลังผาเมือง ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปร่วมดำเนินการเปิดดูข้อมูลภาพเหตุการณ์ของวันที่ 17 มีนาคม 2560 แต่ภาพในเครื่องบันทึกข้อมูลเป็นภาพของวันที่ 20 – […]

หนังสือ แม่อมกิ : ชีวิตแห่งผืนป่ากับมายาคติในกระบวนการยุติธรรม

[pdfjs-viewer url=”http%3A%2F%2Fnaksit.net%2Fwp-content%2Fuploads%2F2018%2F06%2FOmkiDraft3.pdf” viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true print=true] ดาวโหลดหนังสือ (ภาษาไทย) [pdfjs-viewer url=”http%3A%2F%2Fnaksit.net%2Fwp-content%2Fuploads%2F2018%2F06%2FOmkiEng.pdf” viewer_width=100% viewer_height=1360px fullscreen=true download=true print=true] ดาวโหลดหนังสือ (English Version) หนังสือแม่อมกิ บอกเล่าเรื่องราวของชาวชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านแม่อมกิ 2 คน  คือ นายดิ๊แปะโพ (ไม่มีนามสกุล) กับนางหน่อแฮหมุ่ย เวียงวิชชา  ซึ่งถูกเจ้าพนักงานป่าไม้ประจำหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ตก.14(แม่เงา) เข้าจับกุมขณะกำลังทำไร่ ต่อมาทั้งสองได้ถูกดำเนินคดีในข้อหาทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ โดยการยึดถือ ครอบครอง ที่ดิน ตัด โค่น ก่อสร้าง แผ้วถางต้นไม้ เผาป่า ป่าท่าสองยาง (ห้วยแม่คาซึ่งจำแนกเป็นป่าอนุรักษ์และป่าต้นน้ำลำธาร) ซึ่งอยู่ภายในแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ด้วยการตัดฟันต้นไม้ เผาป่า ปรับพื้นที่ แล้วยึดถือครอบครองป่าเพื่อตนเอง ชาวบ้านในลุ่มแม่น้ำเงาอย่างน้อยสองอำเภอในสองจังหวัด ล้วนเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่กันมาเป็นชุมชนดั้งเดิม มีจารีตประเพณีวัฒนธรรมเฉพาะชนเผ่าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ชาวบ้านกว่า 95 เปอร์เซ็นในลุ่มแม่น้ำแห่งนี้  ดำรงชีวิตด้วยการทำไร่หมุนเวียน และพึ่งพาอาศัยป่าเป็นแหล่งอาหารมาเป็นเวลาช้านาน โดยเฉพาะการเก็บหาของป่ามาเป็นอาหาร นำไม้และใบไม้จากป่ามาสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย […]

สนส. จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 กำหนดประเด็น SLAPP และสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเป็นวาระสำคัญในการขับเคลื่อนงานขององค์กร

วันที่ 9 – 10 มิถุนายน 2561 ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 ขึ้นเพื่อทบทวนการทำงานที่ผ่านมาและกำหนดทิศทางการทำงานในอนาคต การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 นอกจากจะเป็นการประชุมประจำปีตามปกติแล้ว ยังถือเป็นการพบกันของบรรดาสมาชิกในโอกาสครบรอบ 10 ปีของการก่อเกิดองค์กรอีกด้วย สนส. จึงได้ถือโอกาสนี้ในการทบทวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมจากบรรดาสมาชิก ซึ่งโดยสรุปแม้จะพบว่าตลอดระยะเวลา 10 ปีผ่านมา  จะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ สนส. ยังทำไม่สำเร็จหรือทำแล้วล้มเหลว แต่อย่างน้อยๆ สิ่งที่เราเห็นร่วมกันก็คือ การค่อยๆเติบโตขึ้นของพื้นที่นักกฎหมาย/ทนายความด้านสิทธิมนุษยชนที่มุ่งมั่นทำงานเพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนในที่ต่างๆและในประเด็นต่างๆ ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นถือเป็นแรงผลักสำคัญที่จะช่วยให้กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายและการตีความกฎหมายค่อยๆขยับไปอยู่บนพื้นฐานของหลักการสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรมและความเป็นธรรมทางสังคม ในส่วนของความล่มเหลวที่ไม่อาจทำงานให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ สนส. เองก็ได้ทบทวนบทเรียนการทำงาน พร้อมทั้งได้มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์การทำงานใหม่ และกำหนดประเด็นการทำงานให้ชัดเจนและสอดคล้องกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศมากขึ้น  โดยที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2561 ได้มีความเห็นร่วมกันว่าประเด็นหลักที่ สนส. ต้องขับเคลื่อนในปีหน้า คือ การยับยั้งการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือเพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ (SLAPP) หรือ judicial harassment การส่งเสริมสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม เช่น สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว สิทธิของทนายความในกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น […]

12 มิถุนายนนี้ ศาลปกครองสูงสุดนัดฟังคำพิพากษาคดีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเผาบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยบน

ภาพ : กลุ่มดินสอสี พรุ่งนี้ (12 มิถุนายน 2561) เวลา 10.30 น. ศาลปกครองสูงสุดนัดฟังคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ ส.58/2555 หมายเลขแดงที่ ส.660/2559 ระหว่าง นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ ที่1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี กับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี จากกรณีเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเผาบ้านเรือนและรื้อทำลายทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีทั้งหก ณ ศาลปกครองกลาง ชั้น 3 ห้องพิจารณาคดีที่ 1 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ กับพวกรวม 6 คน ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ […]

ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีอภิชาติชู้ป้ายต้านรัฐประหาร ระบุประกาศ คสช. ชอบตาม “ระบอบแห่งการรัฐประหาร” แต่ด้วยจำเลยชุมนุมโดยสงบ จึงให้ยกฟ้องข้อหามั่วสุมฯก่อความวุ่นวาย

ศาลอุทธรณ์เห็นว่าประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 ถือเป็นกฎหมายตาม “ระบอบแห่งการรัฐประหาร” แล้ว ไม่จำเป็นต้องอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 มารองรับอีก และม่จำเป็นต้องมีการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน ส่วนผลของคำพิพากษานั้น ศาลเห็นว่าจำเลยชุมนุมโดยสงบ ไม่เข้าข่ายเป็นการมั่วสุมฯ ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง จึงให้ยกฟ้องในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคแรก จึงยังคงให้ลงโทษตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ  ข้อ 12  แต่ด้วยพฤติการณ์แห่งคดีไม่ร้ายแรง จึงยกโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้คงไว้เพียงโทษปรับ 6,000 บาท อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับเต็ม วันนี้ (31 พฤษภาคม 2561) เวลาประมาณ 09.30 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลอุทธรณ์อ่านคำพิพากษาคดีนายอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ เมื่อปี 2557 หลังจากเลื่อนอ่านคำพิพากษามาแล้ว 3 ครั้ง สำหรับบรรยากาศที่ศาลแขวงปทุมวันในช่วงเช้าวันนี้ มีความเข็มงวดเป็นพิเศษ เจ้าหน้าที่ศาลมายืนต้อนรับผู้คนที่เข้าออกประตูเครื่องตรวจ มีการสอบถามผู้เดินผ่านประตูตามปกติว่ามาติดต่อเรื่องอะไร แต่เมื่อมีการแจ้งว่ามาฟังคำพิพากษาคดีนายอภิชาต เจ้าหน้าที่จะแสดงท่าทีให้ความสนใจสอบถามเป็นพิเศษว่ามีความเกี่ยวข้องกับคดีอย่างไร เจ้าหน้าที่บางคนก็คาดเดาว่าเราเป็นนักข่าวหรือไม่ หลังจากนั้นจะมีการขอตรวจกระเป๋าตามปกติ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ หากเจ้าหน้าที่พบว่าในกระเป๋ามีคอมพิวเตอร์พกพามาด้วย เขาจะไม่อนุญาตให้เข้าไปในห้องพิจารณา […]

31 พฤษภาคมนี้ ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษาคดีอภิชาตชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 2557 อีกครั้งหลังเลื่อนมาสามครั้ง

ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนายอภิชาต ชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 2557 ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 เวลา 09.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ศาลอุทธรณ์ได้เลื่อนฟังคำพิพากษามาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งแรกเลื่อนมาจากวันที่ 30 สิงหาคม 2560 ครั้งที่สองเลื่อนมาจากวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 และครั้งที่สามเลื่อนมาจากวันที่ 31 มกราคม 2561 คดีนี้เกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐประหารคดีแรกๆ ย้อนกลับเมื่อ 4 ปีที่แล้ว วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 ภายหลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงหนึ่งวัน กลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งได้ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร  ซึ่งจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมในครั้งนั้น  กลุ่มประชาชนที่ออกมาคัดค้านรัฐประหารในวันนั้นได้แสดงสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการคัดค้านรัฐประหาร ส่วนใหญ่จะเป็นป้ายข้อความในกระดาษ A 4 ที่เตรียมกันมาเอง ในส่วนของนายอภิชาตได้มีการชูป้ายข้อความว่า “ไม่ยอมรับอำนาจเถื่อน”  และในช่วงค่ำของวันนั้นเอง เจ้าหน้าที่ทหารได้เข้าเคลียร์พื้นที่และสลายกลุ่มประชาชน  นายอภิชาตถูกทหารจับกุมและถูกนำตัวไปควบคุมไว้ภายใต้อำนาจของกฎอัยการศึก 7 […]

ดีเอสไอ รับจะนำเสนอคดีบิลลี่ให้คณะกรรมการคดีพิเศษพิจารณาในอีก 2 เดือนข้างหน้า

วันนี้ 27 เมษายน 2561 นางสาวพิณภา พฤกษาพรรณ หรือมึนอภรรยาบิลลี่ ลูกสาว และชาวบ้านบางกลอย พร้อมตัวแทนจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNOHCHR) มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เข้าพบผู้แทนกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ เพื่อสอบถามความคืบหน้าและหารือเกี่ยวกับคดีบังคับสูญหายนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงที่หายไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน การเข้าพบกรมสอบสวนคดีพิเศษครั้งนี้ เกิดจากความไม่คืบหน้าและความไม่ชัดเจนในการดำเนินคดีบิลลี่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพราะช่วงต้นปี 2560 กรมสอบสวนคดีพิเศษได้มีหนังสือแจ้งมายังมึนอว่าว่าคณะกรรมการคดีพิเศษมีมติไม่รับกรณีการหายตัวไปของบิลลี่เป็นคดีพิเศษ โดยมติดังกล่าวเป็นมติที่ประชุมวันที่ 10 มิถุนายน 2559 หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันครบรอบ 4 ปีบิลลี่ คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือ ICJ ได้ออกแถลงการณ์เรื่อง ประเทศไทย: ยังคงไม่มีความคืบหน้าใดๆในวันครบรอบ 4 ปี ที่“บิลลี่”ถูกบังคับให้สูญหาย ระบุว่าการสืบสวนสอบสวนคดีบิลลี่ไม่มีความคืบหน้าและและดีเอสไอปฏิเสธไม่รับคดีดังกล่าวเป็นคดีพิเศษ  ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษก็ออกมาชี้แจงอย่างรวดเร็วว่าคดีบิลลี่ยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย ไม่ใช่มีมติไม่รับเป็นคดีพิเศษแล้วตามที่ปรากฏเป็นข่าวแต่อย่างใด การเข้าพบครั้งนี้ มีพ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร […]

1 7 8 9 10 11 14