ข่าวสิทธิมนุษยชน

ข้อสังเกตต่อการลงมติเลือก กสม. ชุดที่ 4 ของ สนช.

หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. สภาที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลทหาร คสช. ได้ “ดอง” การพิจารณารับรอง กสม.ชุดใหม่ไว้เกือบ 4 เดือน นับแต่ที่ประชุม สนช. แต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญตรวจสอบประวัติ ความพฤติกรรม และพฤติกรรมทางจริยธรรม ของผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือ กสม. จำนวน 7คน ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2561 โดยมีกรอบระยะเวลาการทำงาน 60 วัน เพื่อส่งให้ที่ประชุม สนช.พิจารณาต่อไป แต่อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการสามัญฯ ได้ขอขยายเวลาการตรวจสอบประวัติฯ ออกไปถึง ๒ ครั้ง ทำให้การพิจารณารับรอง กสม. ชุดใหม่ล่าช้ากว่ากำหนด อ่าน จดหมายเปิดผนึกภาคประชาชนถึงประธาน สนช. กรณีคณะกรรมาธิการสามัญฯ ตรวจสอบประวัติผู้ถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กสม. ล่าช้า ในที่สุดเมื่อวานนี้ วันที่ 27 ธันวาคม 2561 สนช. ก็ได้ลงมติรับรองผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อให้เป็นคณะกรรมการสิทธิมนุษยแห่งชาติชุดที่ 4 […]

ปลดล็อคการเมือง แต่ไม่ปลดล็อค ”ดอง” กสม.ชุดใหม่

คสช.ปลดล็อคการเมืองเข้าสู่การเลือกตั้งอย่างจริงจังแล้ว ด้วยการประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา แต่สนช.ยังไม่ปลดล็อค “ดอง” กสม.ชุดใหม่ ที่ดองไว้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๖๑ ถึงปัจจุบันกว่า ๑๐๐ วันแล้ว ยังไม่นำเข้าสู่การพิจารณาว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่ตามอำนาจหน้าที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๖๐ กำหนดให้มีคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระ .ให้ทำหน้าที่ดูแลด้านงานสิทธิมนุษยชนให้เป็นไปตามหลักสากลและกฎหมายภายในประเทศ โดยในวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ คณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่ ซึ่งมีนายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน และมีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติ เป็นกรรมการ ได้มีมติเลือกกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติชุดใหม่ จำนวน ๗ คน จากนั้นนำรายชื่อทั้ง ๗ เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อพิจารณาให้การรับรอง จนปัจจุบันสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกสม. ที่มีพลเอกอู๊ด เบื้องบน เป็นประธาน ยังดองและยื้อการพิจารณาไปเรื่อยๆอย่างไม่มีทีท่าจะสิ้นสุดการพิจารณา กินเวลากว่า ๑๐๐ วันแล้ว ทั้งๆที่ในกรณีรับรองกรรมการการเลือกตั้งเพิ่มอีก ๒ คน ซึ่งเสนอเข้าสนช.หลังกสม. […]

แจ้งข่าว : 6 ธันวานี้ ชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยง 6 ราย นัดรับเงินชดเชยเยียวยากรณีถูกไล่รื้อและเผาบ้านเมื่อปี 2554  

วันที่ 6 ธันวาคม 2561 เวลา 13.00 น. ณ ศาลปกครองกลาง ผู้ฟ้องคดีหรือทายาทของผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 ราย จะเดินทางมารับชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด  ในคดีหมายเลขดำที่ ส.58/2555 หมายเลขแดงที่ ส.660/2559 ระหว่าง นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ซึ่งศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ให้กรมอุทยานแห่งชาติฯชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 ราย เป็นเงินเฉลี่ยรายละประมาณ 50,000 บาท ซึ่งในขณะนี้ผู้ถูกฟ้องคดีได้นำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางไว้ที่ศาลแล้ว มูลเหตุของคดีนี้มีที่มาจากการที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ปฏิบัติการตามโครงการขยายผลการอพยพผลักดัน จับกุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ครั้งที่ 4 บริเวณบ้านบางกลอยบนและบ้านใจแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 9 […]

เก็บประเด็นวงเสวนาป่าแหว่ง นักกฎหมายสิทธิชี้ช่องรื้อถอนบ้านพักตุลาการตีนดอยสุเทพ

วันที่ 28 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน(สสส.) ศูนย์ศึกษาสันติวิธีและความขัดแย้ง และเครือข่ายขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพ ได้ร่วมกันจัดงานเสวนาวิชาการ เรื่อง ความคิดเห็นของนักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชน “กรณีป่าแหว่ง” ณ ศูนย์ศึกษาสันติวิธีและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย งานเสวนาดังกล่าวสืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวของเครือข่ายทวงคืนผืนป่าดอยสุเทพ เพื่อขอให้รื้อถอนบ้านพักตุลาการในพื้นที่ดอยสุเทพ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรับปากว่าจะย้ายสิ่งปลูกสร้างออก แต่จนบัดนี้ยังไม่ได้มีการดำเนินการใดที่เป็นรูปธรรม แม้ที่ผ่านมาจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด คือคณะกรรมการระดับจังหวัด และคณะกรรมการส่วนกลาง เพื่อแก้ปัญหานี้ คณะกรรมการระดับจังหวัดมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีมติไปแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 ให้รื้อย้าย 45 หลังที่ยังไม่มีผู้เข้าอยู่ ส่วนที่มีคนอยู่ ก็ให้รื้อย้ายโดยให้เอาคนที่เข้าไปอยู่แล้วลงด้านล่างนอกเขตป่าและจึงให้รื้อย้าย  ได้มีการส่งเรื่องมายังคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ (นายสุวพันธ์) เป็นประธานแล้ว แต่ยังไม่มีการเปิดประชุมเลย ประเด็นข้อถกเถียงประการสำคัญของการพิจารณารื้อถอนบ้านพักตุลาการดังกล่าวคือ การจะใช้อำนาจทางกฎหมายใดในการรื้อถอน นี้จึงเป็นที่มาที่เครือข่ายภาคประชาชนจัดการเสวนาระดมความคิดเห็นขึ้นในครั้ง ความเป็นมาของพื้นที่ ปี 2483 มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดิน ในท้องที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พุทธศักราช 2483 ตามพระราชบัญญัติหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2479 (เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร) รายละเอียดกฎหมาย ปี 2492 […]

ศาลฎีกายกฟ้องตำรวจ 6 นายคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงสงครามยาเสพติด ทนายย้ำยังอยู่ในอายุความ เร่งหาผู้กระทำความผิดที่แท้จริงมาลงโทษ

วันนี้ (11 ตุลาคม 2561) ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง วัยรุ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์ คดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.3252/2552 และคดีหมายเลขแดงที่ อ.2600/2555 ระหว่าง พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 โจทก์ กับ ด.ต.อังคาร ที่ 1 กับพวกรวม 6 คน จำเลย ในฐานความผิดร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ย้ายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย และเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญากระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อช่วยเหลือบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องรับโทษ ในห้องพิจารณาคดีที่ 902 มีผู้สนใจมาร่วมฟังคำพิพากษาจำนวนมากจนเกินความจุของที่นั่งในห้องพิจารณา คนที่มาฟังส่วนใหญ่เป็นญาติฝ่ายจำเลย มีสื่อมวลชนจำนวนหนึ่งเข้าร่วมฟังด้วย  ในส่วนของคู่ความในคดีนั้น มีผู้รับมอบอำนาจโจทก์ร่วม  ทนายโจทก์ร่วม จำเลยที่ 1 – 4 และจำเลยที่ 6 ทนายจำเลยที่ 4 ที่ 5 ที่ 6  นายประกันจำเลยที่ 5 และที่ 6 มาศาล  […]

สนส. รับสมัครเพื่อนร่วมงาน 1 ตำแหน่ง

รู้จักเราก่อน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) หรือชื่อภาษาอังกฤษ Human Rights Lawyers Association (HRLA) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำลัง ไม่ใช่องค์กรสังกัดรัฐ  องค์กรของเราก่อกำหนดขึ้นด้วยความต้องการร่วมกันของนักกฎหมาย/ทนายความ รวมถึงคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่มหนึ่ง ที่ต้องการให้มีพื้นที่เชื่อมประสานและสนับสนุนการทำงานเพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม ความเป็นธรรมในสังคม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน องค์กรของเราก่อตั้งขึ้นในปี 2551 โดยจดทะเบียนเป็นองค์กรตามกฎหมายในปี 2556 สำหรับภารกิจของเรา เราให้ทำงานอยู่ 3 ด้านหลักๆ คือ 1) งานเสริมสร้างศักยภาพและเครือข่าย เพราะเราเชื่อว่าหากมีการร่วมมือกัน  จะช่วยให้มีพลังในการสร้างการเปลี่ยนแปลงได้  คล้ายกับคำกล่าวที่ว่าคนเดียวหัวหาย หลายคนเพื่อนตายนั้นแหละ  2) งานคดียุทธศาสตร์  เป็นการใช้มาตรฐานทางกฎหมายและการดำเนินคดีเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านทัศนคติของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม แนวปฏิบัติ กฎหมายและนโยบายในภาพรวมที่สอดคล้องกับหลักนิติธรรม และหลักการด้านสิทธิมนุษยชน 3) งานข้อมูล วิชาการและงานสื่อสาร ซึ่งเป็นงานที่จำเป็นในการสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบัน เราให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับปัญหาในการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการละเมิดสิทธิมนุษยชน  บางคนอาจจะเรียกสิ่งนี้ว่าการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPPs) แต่บางคนอาจจะเรียกว่าการใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อคุกคาม (Judicial Harassment)  และอีกเรื่องที่เราให้ความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องสิทธิในกระบวยการยุติธรรมทางอาญา โดยเฉพาะประเด็นการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม (Fair Trial) ซึ่งสำหรับประเทศไทย แม้กฎหมายจะค่อนข้างดูดี แต่ในทางปฏิบัติค่อนข้างจะถอยหลังเข้าคลอง […]

สมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ ออกจดหมายเปิดผนึกถึงสถาบันตุลาการขอให้ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและตรวจสอบการใช้อำนาจตามประกาศ/ คำสั่ง คสช.

จดหมายเปิดผนึก วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๑ เรื่อง     ขอให้สถาบันตุลาการทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตรวจสอบการใช้อำนาจตามประกาศ/ คำสั่ง คสช. เรียน    ประธานศาลฎีกา           ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมทั่วประเทศ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม ความเป็นธรรมในสังคม และปกป้องสิทธิมนุษยชน  ผ่านการใช้มาตรการทางกฎหมายและการดำเนินคดี รวมถึงการผลักดันนโยบายต่างๆเพื่อให้บรรทัดฐานทางกฎหมายสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม  โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Right to Fair Trial) สมาคมฯเห็นว่า สถาบันตุลาการเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยและเป็นกลไกสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  และช่วยสร้างหลักประกันว่าทุกคนที่ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดจะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมตามมาตรฐานสากล  ฝ่ายตุลาการยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้มีหลักประกันว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายบริหารได้ดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมตามที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญและพันธกรณีระหว่างประเทศหรือไม่ ตลอดระยะเวลา ๔ ปีที่ผ่านมานับแต่มีรัฐประหาร คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีการออกประกาศและคำสั่งที่จำกัดและละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง โดยอ้างว่ามีฐานะเป็นกฎหมาย หากจะยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวได้จะต้องออกเป็นพระราชบัญญัติ  ตลอดเวลาที่ผ่านมา คสช. ไม่ได้มีท่าทีว่าจะยกเลิกประกาศหรือคำสั่งเหล่านั้นไปแต่อย่างใด และได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือจำกัดและคุกคามสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่เห็นต่างจากรัฐอยู่เสมอ อันเป็นการละเมิดหลักการพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐไทยเข้าเป็นภาคี โดยเฉพาะกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ […]

เลื่อนฟังคำพิพากษาศาลฏีกาคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ปี 2547 เหตุจำเลยที่ 5 ไม่มาศาล

วันนี้ ( 6 กันยายน 2561)​ เวลา 09.30 น. ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดื์ ถิตย์บุญครอง ช่วงสงครามยาเสพติด คดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.3252/2552 คดีหมายเลขแดงที่ อ.2600/2555 อย่างไรก็ดี วันนี้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นอดีต ผกก.สภ.เมืองกาฬสินธุ์ ไม่มาศาลเพื่อฟังคำพิพากษา ศาลได้สอบถามทนายจำเลยที่ 5 ทนายแจ้งว่าไม่สามารถติดต่อจำเลยที่ 5 ได้ ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยที่ 5 ทราบนัดโดยชอบแล้ว แต่ไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องหรือร้องขอเลื่อนคดี จึงถือว่ามีพฤติการณ์หลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษาศาลฎีกา จึงให้ออกหมายจับจำเลยที่ 5 และให้เลื่อนไปฟังคำพิพากษา วันที่ 11 ตุลาคม 2561 เวลา 9 นาฬิกา คดีดีนี้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ และมีบิดาผู้เสียชีวิตเป็นโจทก์ร่วม โดยมีทนายความจากสภาทนายความและสมาคมนักกฏหมายสิทธิมนุษยชนใก้การช่วยเหลือ โจทก์ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจ 6 นาย ในฐานความผิดร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ย้ายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย […]

คดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ ในช่วงสงครามยาเสพติด

ผ่านมากว่า 14 ปีแล้วสำหรับคดีฆาตกรรมนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง วัยรุ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ถูกตำรวจฆาตกรรมอำพราง ย้อนไปเมื่อปี 2546 รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายปราบปรามยาเสพติดแบบเด็ดขาด ชนิดที่เรียกว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” มีการกำหนดให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด ต้องปราบปรามผู้ค้ายาและผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้ได้ร้อยละ 25 จากจำนวนเป้าหมายที่ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดจังหวัด (ศตส.จ.) กำหนดไว้ (บัญชีรายชื่อผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด หรือบัญชีดำ) โดยใช้หลักเกณฑ์วัดผลเชิงปริมาณ 3 ประการ คือ 1. การจับกุมดำเนินคดีจนถึงขั้นอัยการส่งฟ้องศาล  2. การวิสามัญฆาตกรรมในกรณีที่ผู้ค้ายาเสพติดต่อสู้ 3. การที่ผู้ค้ายาเสพติดเสียชีวิตไม่ว่าด้วยกรณีใดก็ตาม หากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ก็อาจจะต้องพิจารณาโทษ[1] แม้สาธารณะชนจำนวนมากจะชื่นชอบกับนโยบายที่เด็ดขาดดังกล่าว แต่การใช้มาตรการแบบแข็งกร้าว เร่งรัดกดดันการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่  รวมทั้งการกำหนดนโยบายการให้รางวัลตอบแทนและการลงโทษเพื่อให้มีการปฏิบัตินโยบายดังกล่าว  เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเร่งรีบเพื่อตอบสนองเจตนารมณ์ของรัฐบาล ประกอบกับไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการดำเนินการต่างๆให้ชัดเจนรัดกุม  ทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้ดุลพินิจได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด (บัญชีดำ) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตัวชี้วัดผลสำเร็จที่มุ่งเน้นการลดจำนวนผู้ค้าและผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ด้วยเหตุนี้ การดำเนินนโยบายดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความสูญเสียต่อผู้เสียหายและครอบครัวผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก[2] จากรายงานเบื้องต้นของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ ศึกษา และวิเคราะห์ การกำหนดนโยบายปราบปรามยาเสพติดให้โทษและการนำนโยบายไปปฏิบัติจนเกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และทรัพย์สินของประชาชน หรือ คตน. […]

2557 – 2561 นักต่อสู้ด้านที่ดินถูกคุกคามด้วยความรุนแรงเฉลี่ยปีละราย

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาและกลางดึกของเมื่อวาน (3 กันยายน 2561) มีข่าวการลอบยิงในพื้นที่ภาคเหนือถึง 2 เหตุการณ์ เหตุการณ์แรกเป็นการยิงอดีตกำนันเสียชีวิต อีกเหตุการณ์เป็นการลอบยิงกุฏิพระสงฆ์ แต่โชคดีที่ท่านไม่เป็นอะไร ซึ่งความน่าสนใจของทั้งสองเหตุการณ์คือ ผู้ที่ตกเป็นเป้ามีประวัติด้านการทำงานพัฒนาและการเคลื่อนไหวเรื่องที่ดินในพื้นที่ภาคเหนือ การลอบสังหารและการอุ้มหายนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกินไม่ใช่เรื่องที่พึ่งเกิด แต่เป็นสิ่งที่ปรากฎมานานแล้ว โดยเฉพาะในช่วงปี 2517 ถึง  2522  มีข้อมูลว่าผู้นำชาวนาชาวไร่ถูกสังหารมากถึง 33 คน บาดเจ็บสาหัส 8 คน และหายสาบสูญ 5 คน[1]  แม้ในระยะหลังสถานการณ์การคุกคามต่อนักต่อสู้ด้านที่ดินด้วยความรุนแรงดังกล่าวจะคลี่คลายลงไปบ้าง และพึงมาปรากฏชัดอีกครั้งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหารที่อ้างเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยอยู่ตลอดเวลา แต่กลับพบว่ามีการคุกคามด้วยความรุนแรงทั้งการสังหารและการอุ้มหายต่อคนที่ทำงานเกี่ยวกับประเด็นด้านที่ดินเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยแล้วปีละ 1 ราย และที่สำคัญยังไม่สามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้เลยสักคดีเดียว   ปี 2557 แกนนำกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอยถูกบังคับให้สูญหาย วันที่ 17 เมษายน 2557 นายบิลลี่ หรือพอละจี รักจงเจริญ นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย ได้ถูกทำให้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ปัจจุบันผ่านไป 4 ปี การค้นหาความจริงยังไม่คืบหน้ามากนัก  กรมสอบสวนคดีพิเศษพึ่งมีมติรับเป็นคดีพิเศษไปเมื่อเดือนมิถุนายน […]

1 6 7 8 9 10 14