ข่าวสิทธิมนุษยชน

จดหมายเปิดผนึกขอให้สภาทนายความยกคำกล่าวหาของนายอภิวัฒน์ กรณีขอให้ลบชื่อนายอานนท์ นำภา ออกจากทะเบียนทนายความ

นักกฎหมาย ทนายความ และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน 240 นาม ได้ร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกขอให้สภาทนายความยกคำกล่าวหาของนายอภิวัฒน์ ขันทอง กรณีขอให้ลบชื่อนายอานนท์ นำภาออกจากทะเบียนทนายความ

สนส. ร่วมกิจกรรมแถลงข่าวรณรงค์ “เข้าชื่อ 50000 ชื่อ ร่วมรื้อ ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ” กับ iLaw และภาคประชาสังคม

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ “เข้าชื่อ 50000 ชื่อ ร่วมรื้อ ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ” จัดตั้งโดย iLaw ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาท งามศุกร์ รัตนเสถียรอาจารย์ประจำสถาบันสิทธิฯ

16 กรกฎาคม 2563 ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีบริษัทธรรมเกษตร โดยนายชาญชัย เพิ่มพล เป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน ฟ้องดำเนินคดีต่องามศุกร์ รัตนเสถียร อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ในข้อหาหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ยื่นรายชื่อทนายความแก้ไขข้อบังคับสภาทนายความ

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเข้าพบสภาทนายความ ยื่นรายชื่อทนายความจำนวน 126 รายชื่อ เพื่อเสนอแก้ไขข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการแต่งการของทนายความหญิง และเข้าหารือปัญหาสิทธิในการเข้าถึงทนายความ

แจ้งข่าวนัดฟังคำพิพากษาป้ายปากมูลและชวนบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการต่อสู้คดี

วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 นี้ ศาลจังหวัดอุบลราชธานี มีนัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 99/2562 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี โจทก์ กับ นายกฤษกร ศิลารักษ์ (ป้ายปากมูล) ในฐานความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และหมิ่นประมาทศาล จากกรณีที่นายกฤษกรได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับกรณีที่ศาลจังหวัดอุบลราชธานี พิจารณาคดีของนายดวงเด่น สุทธาคง ที่ถูกดำเนินคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกาะดอนคำพวง ตำบลกุดชมพู อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  ซึ่งมีการตัดโค่นต้นไม้เป็นจำนวนมากและไม้ที่ถูกตัดนั้นมีไม้ยางนาซึ่งเป็นไม้ต้องห้ามรวมอยู่ด้วยหลายต้น ทั้งนี้ เมื่อนายกฤษกรติดตามการพิจารณาคดีแล้วพบว่ายังมีข้อมูลที่ขาดไป ด้วยความหวงแหนต่อทรัพยากรธรรมติในพื้นที่ จึงได้โพสต์ข้อความซึ่งเป็นข้อมูลลงเฟซบุ๊คของตนเองโดยตั้งค่าเป็นสาธารณะ เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เห็นว่าตกหล่นและไม่ได้ถูกนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณา นอกจากการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับการพิจารราคดีของศาลจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว นายกฤษกรยังได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการบุกรุกเกาะและการตัดไม้ต้องห้ามในพื้นที่อย่างต่อเนื่องหลายข้อความ จึงเป็นเหตุให้นายจักรกฤช วิเศษชลธาร ข้าราชการบำนาญกรมสวบสวนคดีพิเศษ ผู้เสียหายที่ 1 ผู้พิพากษาศาลจังหวัดอุบล ผู้เสียหายที่ 2  และศาลจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เสียหายที่ 3 แจ้งความดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและหมิ่นศาล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 198 , 326 และมาตรา 328 นอกจากคดีข้างต้นแล้ว นายกฤษกร  ยังถูกฟ้องหมิ่นประมาทในคดี “ปิดเขื่อนปากมูล” ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี […]

ลำดับเหตุการณ์กรณีการหายไปของบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ

นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ เกิดที่บางกลอยบน หรือ ใจแผ่นดิน เป็นหลานชายของปู่คออี้ แกนนำกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวบ้านบางกลอย เขาเข้ามาทำงานในด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อปกป้องชุมชนที่ตนเองเกิด และอยู่อาศัย จนกระทั่งมีเหตุการณ์การรื้อเผาบ้านชาวกระเหรี่ยงที่หมู่บ้านบางกลอยบน บิลลี่ได้เข้ามาเป็นปากเป็นเสียงสำคัญของชาวกะเหรี่ยง เขาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความ และเป็นพยานปากสำคัญในคดีที่ชาวบ้านกระเหรี่ยงยื่นฟ้อง และวันหนึ่งเขาก็ถูกบังคับให้สูญหายไป

ยาแรงยับยั้งโควิด-19 ของปอท. อาจเป็นมาตรการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

ครั้งแรกของการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ โควิด-19 หรือ ศบค. โดยมีพล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานศูนย์ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ได้เสนอประเด็นทางกฎหมายเพิ่มเติมจากการออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อ 6 ซึ่งเป็นเรื่องของ “การนำเสนอข่าว”

สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกท่ามกลางสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาด : กรณีจับ-ดำเนินคดีพ.ร.บ.คอมฯ ผู้กลับจากสเปน โพสต์เล่า ไม่มีมาตรการตรวจโควิดที่สนามบิน

กรณีดนัย อุศมา โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นบน Facebook ในเชิงการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยระบุว่า “ตนเดินทางจากบาเซโลน่า ที่สนามบินบาเซโลน่า ตนและคนอื่นๆถูกตรวจร่างกายอย่างเข้มงวดก่อนจะขึ้นเครื่อง มาต่อเครื่องที่อาบูดาบี ต้องเดินผ่าน 3 ขั้นตอนในการตรวจร่างกายก่อนขึ้นเครื่อง จนบินมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิไม่ได้รับการตรวจสุขภาพใดๆ” และถูกเข้าจับกุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2563 ในข้อหา “นำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ซึ่งเป็นการถูกจับกุมในระหว่างที่นายดนัยกำลังกักกันตัวเองตามนโยบายของภาครัฐที่ให้กักตัว 14 วันหลังจากกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และเป็นการจับโดยที่ไม่มีการออกหมายเรียกมาก่อน

ส.ส.รังสิมันต์ ถูกฟ้องหมิ่นประมาทหลังอภิปรายเรื่อง #ป่ารอยต่อ

จากกรณีที่นายรังสิมันต์ โรม ส.ส. บัญชีรายชื่อและรองโฆษกพรรคก้าวไกล ได้รับหมายเรียกจากสน.บางขุนนนท์ ลงวันที่ 12 มีนาคม 2563 ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา เนื่องจาก มูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอย 5 จังหวัด โดยพ.อ.ภิญโญ บุญทรงสันติกุล ได้รับมอบอำนาจให้แจ้งความกล่าวหานายรังสิมันต์ จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2563 เกี่ยวกับมูลนิธิอนุรักษ์ป่ารอยต่อ 5 จังหวัด

1 2 3 4 5 14