ข่าวสิทธิมนุษยชน

[แถลงการณ์] ขอให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบโดยทันที และให้รัฐสภารับร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับ เพื่อเปิดพื้นที่สันติวิธีที่ประชาชนทุกคนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม

แถลงการณ์ขอให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบโดยทันที และให้รัฐสภารับร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับ เพื่อเปิดพื้นที่สันติวิธีที่ประชาชนทุกคนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม   จากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำกำลังเข้าปิดกั้น สกัดและฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาใส่ประชาชนที่ไปร่วมชุมนุมติดตามว่าร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน จะผ่านการพิจารณาของสภาหรือไม่ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 ข้อเรียกร้องของประชาชนมาตลอด ได้แก่ 1.ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และองคาพยพ ลาออก 2. รัฐสภาต้องเปิดประชุมวิสามัญทันทีเพื่อรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และ 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย  โดย นอกจากมีการฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาใส่ประชาชนที่ไปร่วมชุมนุมแล้ว เจ้าหน้าที่ยังมีการเตรียมใช้กระสุนเพื่อยกระดับมาตรการควบคุมฝูงชนด้วยนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มีความเห็นว่า การใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องและติดตามการลงมติต่อร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนได้ร่วมกันเสนอ ที่บริเวณหน้ารัฐสภานั้น ยังถือเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ อันเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่พึงกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 44 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อบทที่ 21 ที่รัฐไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งการจำกัดใช้เสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวย่อมกระทำไม่ได้ การอาศัยเพียงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภายในประเทศเกี่ยวกับการชุมนุมบางประการ ไม่อาจทำให้การชุมนุมนั้นกลายเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบจนเป็นเหตุให้รัฐใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมได้ การที่เจ้าหน้าที่รัฐฉีดน้ำแรงดันสูงและแก็สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมที่เพียงต้องการเข้าไปชุมนุมโดยสงบบริเวณหน้ารัฐสภานั้น ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ละเมิดต่อเสรีภาพในการชุมนุมตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศรับรองไว้ ทั้งยังไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเรื่องการสลายการชุมนุมตามหลักสากล เนื่องจากตามหลักการแล้ว ก่อนใช้กำลังเจ้าหน้าที่ควรต้องพิจารณา (1) หลักความถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมั่นใจว่ากำลังที่จะใช้ เป็นไปตามข้อกำหนดของตำรวจ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ (2) […]

[Press Release] Government urged to stop using violence against people who exercise their right to freedom of peaceful assembly

Press Release Government urged to stop using violence against people who exercise their right to freedom of peaceful assembly     As the police have deployed forces to block and fired water cannon at the people who exercised their right to freedom of assembly to demand the monarchical reform in front of the Supreme Court […]

แถลงการณ์ขอให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ

แถลงการณ์ขอให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ   จากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำกำลังเข้าปิดกั้น สกัดและใช้รถฉีดน้ำแรงดังสูงฉีดใส่ประชาชน ที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ณ บริเวณหน้าศาลฎีกา เวลาประมาณ 18 นาฬิกาเศษของวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 รวมถึงก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 เจ้าหน้าที่ได้ทำการฉีดน้ำที่มีแรงดันสูงและมีสารเคมีใส่ผู้ชุมนุมที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย โดยอาศัยอำนาจตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่กรุงเทพมหานคร เพื่อสลายการชุมนุมของประชาชนที่เรียกตนเองว่าคณะราษฎร ซึ่งได้มีรายงานว่าการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ ทั้งสองเหตุการณ์ทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมากนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มีความเห็นว่า การใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การอ่านแถลงการณ์ การส่งจดหมายถึงพระมหากษัตริย์ การปราศรัยย่อย และการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น ยังถือเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ จึงเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ประชาชนพึงกระทำได้ตามที่ถูกรับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 44 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อบทที่ 21 ที่รัฐไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งการจำกัดใช้เสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวย่อมกระทำไม่ได้ การอาศัยเพียงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภายในประเทศเกี่ยวกับการชุมนุมบางประการ ไม่อาจทำให้การชุมนุมนั้นกลายเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบจนเป็นเหตุให้รัฐใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมได้ หากรัฐต้องการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม รัฐพึงต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความชอบธรรมทางกฎหมาย และความจำเป็นและได้สัดส่วนในการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมภายใต้บริบทของสังคมประชาธิปไตย และต้องอธิบายได้อย่างชัดแจ้งว่าการจำกัดนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย […]

“แค่ไหนถึงฉีดน้ำ?” ความเห็นจากผู้ชุมนุม นักวิชาการ องค์กรระหว่างประเทศและตำรวจ

เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ได้จัดเสวนาวิชาการเรื่อง “แค่ไหนถึงฉีดน้ำ “หลักสากล” เรื่องการควบคุมดูแลและสลายการชุมนุม” ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 63 เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อำนาจตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่กรุงเทพมหานคร ทำการสลายการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วยนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่มาร่วมชุมนุมสลายการชุมนุมบริเวณแยกปทุมวัน รวมถึงเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 8 พ.ย. 63 เจ้าหน้าที่ได้ทำการฉีดน้ำความแรงสูงเพื่อสลายการชุมนุมของประชาชน หรือที่เรียกว่า #ม๊อบ8พฤศจิกา #ราษฎรสาส์น ที่บริเวณสนามหลวงอีกครั้ง ซึ่งการชุมนุมทั้ง 2 ครั้งนี้ ถือเป็นการชุมนุมที่จัดขึ้นโดยสงบและปราศจากอาวุธและยังไม่ปรากฏว่าผู้ชุมนุมมีการใช้ความรุนแรง ในการนี้ สนส. ขอนำเสนอความเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ในการควบคุมดูแลและสลายการชุมนุมของรัฐ จากมุมของนักศึกษาซึ่งเข้าร่วมการชุมนุมและอยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563, อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์, ตัวแทนจากคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (ICJ), ตัวแทนตัวแทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตัวแทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติที่มาร่วมเสวนาในงานดังกล่าว เพื่อให้คนในสังคมได้นำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ถึงขอบเขตในการชุมนุมสาธารณะของประชาชน และบทบาทหน้าที่ของรัฐในการดูแลชุมนุมให้เป็นไปโดยสงบต่อไป มุมมองและประสบการณ์จากผู้เข้าร่วมชุมนุม 16 ตุลาคม #ชุมนุมแยกปทุมวัน หนึ่งฤทัย […]

ทนายความสิทธิ เข้ายื่นหนังสือและนำเสนอทางออกต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

Highlight ทนายความสิทธิเห็นว่า การดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองเเละผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม การตั้งข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงการคัดค้านการปล่อยตัวและการอายัดตัวซ้ำๆ ฯลฯ ของตำรวจ เป็นการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ กติกาสากลระหว่างประเทศ และหลักนิติรัฐ นิติธรรม เจ้าหน้าที่ตำรวจ ชี้แนวปฏิบัติของตำรวจปัจจุบันแตกต่างจากในอดีต เพราะปฏิบัติตามที่กฎหมายให้อำนาจและเลือกใช้วิธีที่เบาที่สุดเท่านั้น เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2563 คอรีเยาะ มานุแช นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พร้อมตัวแทนองค์กรเครือข่าย ได้แก่ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม ได้เข้ายื่นหนังสือ ต่อ พ.ต.อ.ดนุ กล่ำสุ่ม รองผู้บังคับการกองกฎหมาย และ พ.ต.อ.ศุภกร ผิวอ่อนรองผู้บังคับการกองอัตรากำลัง ซึ่งเป็นเวรอำนวยการเป็นผู้แทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในการรับเรื่อง โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย โดยในการพูดคุยหารือเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางในการแก้ไข ณ ห้องรับรอง กองรักษาการณ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีตัวแทนจากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย คอรีเยาะ มานุแช ได้นำเสนอสถานการณ์ปัญหาและข้อห่วงกังวลที่ทนายความพบหลังจากที่ทนายความได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมจากการออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ ดังนี้ 1) การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การควบคุมตัว จับกุม […]

[หนังสือถึง ผบ.ตร.] การละเมิดกฎหมายและสิทธิมนุษยชนในการดำเนินคดีต่อเยาวชนและนักกิจกรรมประชาธิปไตย

(English file click) สนส. 34/2563 วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563   เรื่อง      การละเมิดกฎหมายและสิทธิมนุษยชนในการดำเนินคดีนักเรียนนิสิตนักศึกษาและนักกิจกรรมประชาธิปไตย เรียน       ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ   สืบเนื่องจากการที่มีนักเรียน นิสิตนักศึกษา ประชาชน และนักกิจกรรมประชาธิปไตย (“นักกิจกรรม”)  ได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ชุมนุม วิพากษ์วิจารณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและเสนอให้มีการปฏิรูปสถาบันต่างๆ ทางการเมือง นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นมา และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้กล่าวหาและจับกุมคุมขังดำเนินคดีบุคคลดังกล่าวนับร้อยคน ในข้อหาต่างๆ รวมทั้งข้อหาฝ่าฝืนประกาศตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้น เครือข่ายองค์กรและทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ดังมีรายนามข้างท้ายนี้ มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างยิ่ง จึงใคร่ขอเสนอความคิดเห็นต่อบทบาทของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการปฏิบัติต่อนักกิจกรรมประชาธิปไตยดังกล่าวดังต่อไปนี้ นักกิจกรรมมีและใช้สิทธิเสรีภาพ โดยเฉพาะสิทธิในความเชื่อและความคิดเห็นทางการเมือง การแสดงออก และการชุมนุมสาธารณะ บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนที่รับรองไว้ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และสิทธิเสรีภาพที่ได้รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ และได้พยายามป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความรุนแรงตลอดมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในฐานะกลไกของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ควรปฏิบัติหน้าที่เพื่อการดังกล่าว แต่กลับปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้มาตรการกล่าวหา ดำเนินคดีต่อนักกิจกรรมในข้อหาต่างๆ […]

ข้อหาและกฎหมายที่รัฐนำมาใช้กับผู้ชุมนุมตั้งเเต่เดือนมิ.ย. จนถึง คืนวันสลายการชุมนุม

    ปรากฏการณ์การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร การจับกุม การดำเนินคดีต่อแกนนำ ผู้เข้าร่วมชุมนุมโดยเฉพาะที่เป็นเยาวชน และสื่อมวลชนเป็นวงกว้างของเจ้าหน้าที่รัฐนั้น สะท้อนให้เห็นว่ารัฐพยายามนำกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน (Judicial Harassment) เพื่อให้ผู้ชุมนุม และคนในสังคมเกิดความกลัวไม่กล้าเคลื่อนไหว จากข้อมูลของ สนส. (SLAPP DATABASE CENTERR) ในระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมานี้ นับตั้งแต่การจัดกิจกรรม “ผูกโบขาว” ของนิสิตนักศึกษา สนท.  ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หน้ากระทรวงกลาโหม หน้ากองทัพบก และหน้ากองทัพภาคที่ 1 เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยชาวไทย ที่ถูกอุ้มหายในประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน จนถึงการชุมนุมของคณะราษฎร 2563 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม เพื่อเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ให้มีการเปิดการประชุมวิสามัญรับร่างแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน และให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นั้น พบว่า มีการใช้ข้อหาความผิดลหุโทษ หรือความผิดอาญาที่ไม่มีโทษจำคุกกับผู้ที่เห็นต่างทางการเมืองมากขึ้น  อีกทั้งยังมีการนำกฎหมายพิเศษ อย่างพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  หรือ พ.ร.ก ฉุกเฉินฯ […]

ขอให้รัฐบาลทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบและปกป้องคุ้มครองผู้ร่วมชุมนุมจากการถูกคุกคามทุกรูปแบบ

จดหมายเปิดผนึก ขอให้รัฐบาลทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบและปกป้องคุ้มครองผู้ร่วมชุมนุมจากการถูกคุกคามทุกรูปแบบ นับตั้งแต่ที่กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้จัดชุมนุม เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ยุบสภา หยุดคุกคามประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนและหลักการสิทธิมนุษยชน ทำให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ภายใต้การออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องของนักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชนดังกล่าว เจ้าหน้าที่รัฐ ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือน และโดยเฉพาะเจ้าหน้าตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ ได้มีการพยายามปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของนักเรียน นิสิตนักศึกษาในรูปแบบต่างๆ เป็นจำนวนกว่า 63 กรณี สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ในฐานะองค์กรกฎหมายที่ทำงานปกป้องและส่งเสริมการรับรองคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทย มีความเห็นว่าการดำเนินกิจกรรมของนักเรียน นักศึกษาและประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ โดยมิได้ยุยงหรือสนับสนุนให้เกิดความรุนแรง เป็นเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ถือเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่รับรองสิทธิในการมีส่วนร่วมของเด็ก เสรีภาพในการแสดงออกรวมถึงการชุมนุมอย่างสันติ และมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับปิดกั้นและคุกคามการสิทธิเสรีภาพ ในการชุมนุมโดยสงบของผู้ร่วมชุมนุมในวันที่ 19 กันยายน 2563 ที่จะจัดขึ้นที่สนามหลวง และการชุมนุมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในการนี้ สมาคมฯ ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหน้าที่ในการเอื้ออำนวยและดูแลให้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบและปกป้องคุ้มครองผู้ร่วมชุมนุม จากการถูกคุมคาม โดยเฉพาะผู้ชุมนุมที่เป็นเด็กและเยาวชน ดังนี้ ขอให้ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนในโรงเรียน […]

เปิดเนื้อหา : หนังสือจากกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแก่งกระจานถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 11.00 น. กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมในพื้นที่แก่งกระจานจำนวนประมาณกว่า 50 คน และนางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มึนอ ภรรยาของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ พร้อมทั้งคณะทำงานทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เข้ายื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   เนื้อหาภายในหนังสือ [pdf-embedder url=”https://naksit.net/wp-content/uploads/2020/08/หนังสือถึง-รมต.-27-08-2563.pdf” title=”หนังสือถึง รมต. 27-08-2563″]

เปิดหนังสือถึงประธานศาลฎีกา : “ศาล” บทบาทสำคัญ แก้ไขวิกฤติศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม

วันที่ 24 สิงหาคม 2563 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้ส่งหนังสือถึงประธานศาลฎีกา ขอให้สถาบันตุลาการดำรงไว้ซึ่งบทบาทในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน เสริมสร้างนิติธรรมให้เข้มแข็ง การออกจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว สืบเนื่องมาจากกรณีการชุมนุมสาธารณะของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563  โดยมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล 3 ประการ คือ 1. ประกาศยุบสภา 2. รัฐหยุดคุกคามประชาชน 3. ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งในวันดังกล่าวมีประชาชนเข้าร่วมการชุมนุมเป็นจำนวนมาก โดยต่อมาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำหมายจับเข้าจับกุม นายอานนท์ นำภา และ นายภานุพงศ์ จาดนอก ผู้ที่เข้าร่วมปราศรัยในการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก โดยไม่มีการออกหมายเรียกบุคคลดังกล่าวมาก่อน ด้วยอ้างเหตุว่าโทษสูงสุดของความผิดที่ระบุในหมายจับ คือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งมีโทษเกินกว่า 3 ปี อันสามารถเป็นเหตุให้ออกหมายจับได้โดยที่ไม่ต้องออกหมายเรียกก่อน ต่อมานายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ก็ถูกจับกุมตามหมายจับ จากการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอกเช่นเดียวกัน และภายหลังยังมีการจับกุมนักกิจกรรมประชาธิปไตยอีกหลายคนจากการชุมนุมสาธารณะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ อีกทั้งในกรณีการออกหมายจับนายอานนท์ นายภานุพงศ์ […]

1 2 3 4 14