ข่าวสิทธิมนุษยชน

เครือข่ายกะเหรี่ยงและองค์กรสิทธิฯ ยื่นหนังสือเรียกร้องกระทรวงทรัพย์ฯ สั่งนายชัยวัฒน์กับพวกให้ออกจากราชการชั่วคราว หลังอัยการสั่งฟ้องคดีอุ้มฆ่าบิลลี่

#9ปีบิลลี่ยังไม่ได้กลับบ้าน เครือข่ายกะเหรี่ยงและองค์กรสิทธิฯ ยื่นหนังสือเรียกร้องกระทรวงทรัพย์ฯ สั่งนายชัยวัฒน์กับพวกให้ออกจากราชการชั่วคราว หลังอัยการสั่งฟ้องคดีอุ้มฆ่าบิลลี่ 21 เม.ย. 2566 ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “ไก่ – เกรียงไกร ชีช่วง” ผู้ประสานงานเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยพี่น้องชาวบางกลอยและตัวแทนจากเครือข่ายภาคประชาสังคม อาทิ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เดินทางมายื่นหนังสือเรียกร้องให้ปลัด ทส. มีคำสั่งให้ “ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร” อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และเจ้าหน้าที่อุทยานฯ อีก 3 นาย ออกจากราชการชั่วคราวไว้ก่อน ภายหลังทั้งสี่ถูกพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในข้อหาฆาตกรรม “บิลลี่ – พอละจี รักจงเจริญ” นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกอุ้มหาย เมื่อ 9 ปีก่อน ซึ่งศาลนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 24 เม.ย. 2566 นี้ เวลา 13.30 น. บริเวณหน้าทางเข้าอาคารกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นอาคารที่ทำการของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังตกอยู่ภายใต้ความเงียบเหงา ท่ามกลางแสงแดดและอากาศที่ร้อนจัด มีเพียงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและสื่อมวลชนบางส่วนเท่านั้นที่มารอคอยทำข่าว จนกระทั่งไก่นำขบวนพี่น้องชาวบ้านบางกลอยเดินขบวนถือป้ายแสดงข้อความที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม รอยยิ้มสดใสและมีความหวังของไก่ทำให้บรรยากาศภายในบริเวณนั้นกลับมาครึกครื้นในทันที […]

สนส. ร่วมนิติฮับ เข้าพบนายกสภาทนายความฯ ขอให้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส. หรือ HRLA) และตัวแทนจากนิติฮับ (Nitihub) เข้าพบนายกสภาทนายความฯ ขอให้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ วันที่ 17 มกราคม 2566 เวลา 10.00 น.  นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) นางณัฐาศิริ เบิร์กแมน ตัวแทนจากนิติฮับ (Nitihub) นางสาวพริม มณีโชติ และทนายความที่ได้รับความเสียหายจากข้อบังคับสภาทนายความเรื่องการแต่งกายของทนายความ เข้าพบนายกสภาทนายความฯ ดร. วิเชียร ชุบไธสง ขอให้สภาทนายความฯ แก้ไขข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529  หมวด 5 มรรยาทในการแต่งกายข้อ 20 (2) ซึ่งกำหนดให้ “ทนายความหญิงแต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและเสื้อสีสุภาพไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น” โดยขอให้แก้ไขให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ  นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความมีผลใช้บังคับ ทนายความหญิงถูกกำหนดให้ต้องแต่งกายด้วยกระโปรง ส่งผลให้ทนายความหญิงที่สวมใส่กางเกงว่าความ ต้องถูกผู้พิพากษาตักเตือน ตำหนิ ติเตียน ซึ่งการฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว ยังเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ มีความผิดตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 […]

วลพ. ให้สภาทนายความและเนติบัณฑิตฯ แก้ไขระเบียบข้อบังคับการแต่งกายทนายหญิง

นับตั้งแต่ปี 2529 ที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความในเรื่องการแต่งกายระบุไว้ในข้อที่ 20 ที่ให้ทนายความหญิงต้อง “แต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและเสื้อสีไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น” รวมทั้งข้อบังคับเนติบัณฑิตยสภาฯ หมวด 3 สิทธิของสมาชิก ข้อ 17 ที่กำหนดให้ทนายความหญิงต้องแต่งกายด้วยกระโปรง โดยถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ สำหรับทนายหญิงในการว่าความ ส่งผลให้ทนายความหญิงซึ่งเป็นสมาชิกเนติบัณฑิตยสภาและสภาทนายความ ถูกผู้พิพากษาตักเตือน ถูกตำหนิติเตียน ถูกเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจากเหตุแห่งการแต่งกาย หรือถูกห้ามว่าความ เนื่องจากสวมใส่กางเกงไปศาล เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจนของสภาทนายความ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน และ Nitihub ได้นำรายชื่อของนักกฎหมายและประชาชนกว่า 16,500 รายชื่อที่ร่วมลงชื่อสนับสนุนแคมเปญ “ทนายความหญิงมีสิทธิสวมใส่กางเกงไปศาล” ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะ อาทิ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกา สภาทนายความฯ และเนติบัณฑิตยสภา ต่อมาทนายความหญิงที่เป็นผู้เสียหาย ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมทางระหว่างเพศ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2565 เพื่อให้วินิจฉัยว่า ข้อบังคับของสภาทนายความและเนติบัณฑิตยสภา ทั้ง 2 ฉบับ เป็นการเลือกปฏิบัติไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ โดยเรียกร้องให้แก้ไขข้อบังคับดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 […]

มหากาพย์ ไม่ห้าม แต่ไม่คุ้มครอง ทนายความหญิงสวมกางเกง

กฎหมายหรือข้อบังคับ ต้องพัฒนาตาม​ความจำเป็นแห่งสภาพของสังคม ทว่าจวบจนปัจจุบัน ทนายความหญิงยังคงต้องสวมกระโปรงว่าความตามข้อบังคับเมื่อ 35 ปีก่อนเท่านั้น เนื่องจากสภาทนายความฯ ได้ตีความแล้วว่า ตามข้อบังคับไม่ได้ห้ามทนายความหญิงสวมกางเกง ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอันสมควรแต่ประการใด ต้องแก้ไขข้อบังคับดังกล่าว?

ฟังความเห็นของคอรีเยาะ ในเวที “จากบางกลอย ถึงกระบวนการยุติธรรม”

  เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564  เครือข่ายภาคี #SAVEบางกลอย ร่วมกับขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ได้จัดเวทีเสวนาข้างทำเนียบรัฐบาล หัวข้อ “จากบางกลอย ถึงกระบวนการยุติธรรม”  ภายในงานเสวนาครั้งนี้ คอรีเยาะ มานุแช นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นต่อกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มชาติพันธุ์ โป่งลึก บางกลอยไว้ดังนี้ “จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้จับกุมกลุ่มชาติพันธ์ุ ที่อาศัยอยู่ที่แก่งกระจาน ต้องยอมรับว่าในฐานะคนธรรมดาเราสะเทือนใจมาก ที่ประชาชนคนที่อยากอยู่บ้านตัวเองต้องถูกรัฐกระทำรุนแรงขนาดนี้ และเป็นความรุนแรงในนามกฎหมายที่พวกเขาอ้างว่ามีความชอบธรรมที่จะกระทำกับประชาชน เป็นการกระทำที่เราในฐานะนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนไม่สามารถยอมรับได้เลยว่านี่เป็นกระบวนการความยุติธรรม หรือกระบวนการตามกฎหมายที่มีทั้งกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศที่บัญญัติชัดเจน เรื่องรับรองสิทธิของพลเมือง สิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมถึงสิทธิของชนเผ่า ชนกลุ่มน้อยที่จะสามารถอยู่ในพื้นที่ตนเอง รักษาวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมของตนเอง ถูกกระทำเช่นนี้ อย่างแรกเลยที่เราเห็น รัฐมีการใช้ทรัพยากรจำนวนมาก เกินสัดส่วนไปมากมายเหลือเกิน เอา เฮลิครอปเตอร์ขึ้นไปบนใจแผ่นดิน มีการบินวน เป็นลักษณะของการข่มขู่คุกคาม โดยใช้อำนาจรัฐ ใช้ทรัพยากรที่มาจากภาษีประชาชนในการไปคุกคามคนที่อยู่บ้านของเขาเอง  มีการจับกุมผู้ต้องหาแม้ว่าจะแจ้งข้อหาที่มีอัตราโทษร้ายแรง 4-20 ปี ตามพ.ร.บ.ใหม่ ที่กฎหมายอาญาทั่วไปบอกว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจถ้าจะจับสามารถออกหมายเรียกหรือหมายจับก็ได้ กรณีหมายจับ ถ้าอัตราโทษสูงเกิน 3 ปี เขาขอให้ออกหมายจับได้ แต่แม้จะขอให้ออกหมายจับได้ก็ไม่ได้แปลว่าชอบธรรมที่จะออกหมายจับโดยทันทีทันใดโดยที่ไม่คำนึงถึงความเปราะบาง ความแตกต่างทางเชื้อชาติ […]

[หนังสือ] ร้องเรียนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ที่ สนส.33/2564 17 มีนาคม 2564 เรื่อง ร้องเรียนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เรียน     1. ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สิ่งที่ส่งมาด้วย      สำเนาหนังสือของนายอานนท์ นำภา ฉบับลงวันที่ 16 มีนาคม 2564   ตามที่ปรากฏข้อความของนายอานนท์ นำภา จำเลยของศาลอาญา ซึ่งถูกขังไว้ตามหมายขังของศาลอาญาระหว่างการพิจารณาคดี โดยถูกขังไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครรายละเอียดปรากฏตามหนังสือดังกล่าวที่ส่งมาด้วย เนื่องจากตามหนังสือที่ส่งมาพร้อมหนังสือนี้ได้มีเนื้อหาข้อความโดยสรุปว่า ระหว่างเวลา 21.30 น. ของวันที่ 15 มีนาคม 2564 ถึงเวลา 02.30 น. ของวันที่ 16 มีนาคม 2564 ในระหว่างที่นายอานนท์ นำภา กับพวกถูกต้องขังตามหมายขังระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอาญาอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร มีกลุ่มบุคคลไม่ทราบชื่อแต่งกายเป็นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้บุกเข้าไปในห้องขังเพื่อนำตัวนายอานนท์กับพวกออกไปจากห้องคุมขังโดยอ้างว่าจะนำไปตรวจโรคโควิด 19รายละเอียดปรากฏตามหนังสือดังกล่าวที่ส่งมาด้วยแล้ว สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมารดาของผู้ต้องขังที่ถูกอ้างถึงตามหนังสือดังกล่าวมีความกังวลใจในข้อเท็จจริงดังกล่าวอย่างยิ่ง จึงได้ทำหนังสือฉบับนี้มาถึงท่านในฐานะผู้รับผิดชอบเพื่อได้โปรดพิจารณาดำเนินการตรวจสอบ  หาข้อมูลข้อเท็จจริง และพิจารณาดำเนินการตามอำนาจตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความถูกต้องและเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของบรรดาผู้ต้องขังที่ถูกระบุไว้ตามหนังสือดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อให้เป็นไปตามหลักการคุ้มครองของสิทธิผู้ถูกกล่าวหา ที่ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์รวมทั้งเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยทั่วไปที่อาจจะต้องประสพกับการดำเนินการในกรณีเช่นเดียวกับกรณีดังกล่าว ซึ่งหากข้อความตามหนังสือที่ส่งมาด้วยเป็นความจริง ย่อมถือได้ว่าเจ้าพนักงานของรัฐได้ดำเนินการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง ผิดต่อหลักรัฐธรรมนูญ […]

เสวนา “SLAPP:เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกใช้ปิดปากประชาชน”

บันทึกเสวนาวิชาการเรื่อง “SLAPP :เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกใช้ปิดปากประชาชน” เมื่อวัน 22 ธ.ค. ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  จัดงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง SLAPP: เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกใช้ปิดปากประชาชน “ ณ ห้อง จี๊ด เศรษฐบุตร (ห้องLT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมี ทนายพูนสุข พูนสุขเจริญ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, ดร.มาร์ค เจริญวงศ์ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด, นงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ ที่ปรึกษาด้านส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ(กฎหมาย) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และ พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ ตัวแทนจากองค์กร ARTICLE 19 เป็นวิทยากร และ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ผู้สื่อข่าว voice TV เป็นผู้ดำเนินรายการ  โดยสาระสำคัญในวงเสนา สรุปได้ดังนี้ 101 SLAPP: ฟ้องปิดปากคืออะไร การดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองจำนวนมากใช้ฟ้องปิดปากหรือไม่? พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน อธิบายที่มาและลักษณะของการฟ้องปิดปาก […]

ภาคีนักกฎหมายสิทธิฯ เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดคุกคามประชาชนโดยการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือทางการเมือง

แถลงการณ์ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สืบเนื่องจากแถลงการณ์นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 ถึงกรณีการชุมนุมของประชาชนว่าเป็นสถานการณ์ที่ยังไม่คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีและมีแนวโน้มจะพัฒนาไปสู่ความขัดแย้ง นำไปสู่ความรุนแรงมากยิ่งขึ้นและรัฐบาลมีความจำเป็นต้องเพิ่มความเข้มข้นในการปฏิบัติการโดยจะบังคับใช้กฎหมายทุกฉบับ ทุกมาตราที่มีอยู่ต่อผู้ชุมนุม แถลงการณ์นายกรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นการตอกย้ำว่ารัฐบาลมองประชาชนผู้ชุมนุมเป็นคู่ขัดแย้งหรือศัตรูของรัฐบาล ไม่ใช่ในฐานะประชาชนผู้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้ ตลอดสองเดือนที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะว่ารัฐบาลไม่เพียงแต่จะไม่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้เสรีภาพในการชุมนุมอย่างเสมอภาค รัฐบาลยังมีพฤติการณ์ใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจับกุมแกนนำผู้ชุมนุมและการตั้งข้อหาที่ร้ายแรงเกินกว่าพฤติกรรมการกระทำความผิดของผู้ต้องหาด้วยรัฐบาลมีเจตนาซ่อนเร้นเพื่อปรามและกลั่นแกล้งผู้ชุมนุมที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในทางลบ ในทางตรงกันข้าม ผู้ชุมนุมที่ออกมาสนับสนุนรัฐบาลแม้ว่าจะมีพฤติกรรมคล้ายกันแต่ก็กลับไม่ถูกดำเนินคดีในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีออกแถลงการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่รัฐยิ่งใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือดำเนินคดีที่เป็นการกลั่นแกล้งเพื่อปิดปากประชาชนให้หวาดกลัวที่จะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล การกระทำเช่นนี้ แทนที่จะเป็นการคลี่คลายสถานการณ์กลับเป็นการโหมกระแสแห่งความขัดแย้งให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนยืนยันว่ากฎหมายต้องมีไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญไม่ใช่เครื่องมือของรัฐที่จะใช้ในการคุกคามหรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและเพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ไขความขัดแย้ง รัฐบาลต้องยุติการดำเนินคดีที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายกับผู้ชุมนุม การบังคับใช้กฎหมายต้องกระทำอย่างเสมอภาคและสอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี อีกทั้งรัฐบาลต้องไม่ดำเนินคดีไปในทางที่จะนำไปสู่ความเสื่อมศรัทธาหรือลดทอนพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์โดยการบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ต่อประชาชน ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาค รับฟังปัญหาและแก้ไขปัญหาด้วยความจริงใจ โดยรัฐบาลต้องไม่กระทำการอันเป็นการมองประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพเป็นศัตรูและต้องหยุดคุกคามประชาชนโดยการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือทางการเมือง ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน วันที่ 19 พฤศจิกายน 2563

1 2 3 14