นักปกป้องสิทธิฯ

เปิดเนื้อหา : หนังสือขอความเป็นธรรมอัยการสูงสุด กรณีฆาตกรรมบิลลี่

จากกรณีพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คน จากเหตุการณ์ที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ หายตัวไปเป็นเวลากว่า 6 ปี จนกระทั่งในปัจจุบันมีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกบริเวณกะโหลกของบิลลี่ ซึ่งสามารถสันนิษฐานได้ว่าบิลลี่เสียชีวิตแล้ว จากคดีคนหาย กลับกลายเป็นคดีฆาตกรรมซึ่งรอให้มีการสะสาง และนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 14.00 น. นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มึนอ ภรรยาของบิลลี่ เดินทางเข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด ขอให้อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คนในคดีฆาตกรรมบิลลี่ โดยนายวรวุฒิ วัฒนอุตถานนท์ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็นตัวแทนมารับหนังสือขอความเป็นธรรม ผู้ร้องเห็นว่า การที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพ เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ถูกต้อง การใช้ดุลพินิจอ้างเหตุผลเช่นนี้ว่าไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าผู้ใดกระทำให้ผู้ตายเสียชีวิตด้วยวิธีการอย่างใดมาใช้เป็นหลักในการพิจารณามีคำสั่งไม่ฟ้องคดีจะยิ่งเป็นการเปิดช่องทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจอิทธิพลกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากสามารถทำลายพยานหลักฐานที่จะบ่งชี้ถึงตัวบุคคลผู้กระทำความผิดก็จะกลายเป็นการรอดพ้นการถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม   ภายในหนังสือขอความเป็นธรรมจึงมีประเด็นสำคัญที่พนักงานอัยการน่าจะได้ทบทวนและวินิจฉัยใหม่ ดังนี้ 1.พยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนรับฟังได้หรือไม่ว่ามีการควบคุมตัวบิลลี่และมีการปล่อยตัวไปตามที่ผู้ต้องหากล่าวอ้าง พยานหลักฐานที่ปรากฎพบว่า ได้ว่ามีการจับกุมและควบคุมตัวบิลลี่ไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจริง ปัญหามีว่าการควบคุมตัวดังกล่าวได้สิ้นสุดลงอย่างไร ผู้ต้องหาอ้างว่า ได้มีการปล่อยตัวบิลลี่ไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 โดยมีประจักษ์พยานอ้างว่ารู้เห็นการปล่อยตัว […]

6 ปี…บิลลี่หาย เรียกร้อง ถม ช่องว่างความยุติธรรม

ครบรอบ 6 ปี พอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 ไม่นานมานี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ แถลงพบชิ้นส่วนที่สันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนกะโหลกของบิลลี่ และได้สรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการ แต่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุดว่าจะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง กรณีบิลลี้เป็นกรณีหนึ่งที่ชี้ให้เห็นช่องว่างของกฎหมายในกรณีบังคับให้บุคคลสูญหาย หรือ การอุ้มหายในประเทศไทย

เรียนรู้กระบวนการทางกฎหมายในกรณีวิสามัญฆาตกรรม ผ่านคดีวิสามัญฆาตกรรมชัยภูมิ ป่าแส

นายชัยภูมิ ป่าแส ถูกเจ้าหน้าที่ทหารที่อ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ทำให้เสียชีวิตหรือวิสามัญฆาตกรรมไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 ซึ่งกรณีวิสามัญฆาตกรรมนั้นเป็นกรณีที่มีความซับซ้อน มีขั้นตอนหรือกระบวนการทางกฎหมายมากมายในการพิสูจน์ความจริงของความตาย รวมถึงพิสูจน์ความจริงในความบริสุทธิ์ของเจ้าหน้าที่และผู้ตายด้วย ซึ่งมีหน่วยงานของรัฐหลายส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนี้ จึงอยากชวนทุกท่านมาเรียนรู้กระบวนการยุติธรรมในกรณีวิสามัญฆาตกรรม ผ่านคดีวิสามัญฆาตกรรมชัยภูมิ ป่าแส

กรณีนายกฤษกร ศิลารักษ์ หรือ ป้าย ปากมูล นักปกป้องสิทธิมนุษยชนถูกฟ้องหมิ่นประมาท

ที่ปรึกษาสมัชชาคนจนเขื่อนปากมูล ถูกดำเนินคดีทั้งสิ้น 2 คดี ณ ศาลจังหวัดอุบลราชธานี จากการตรวจสอบและปกป้องพื้นที่สาธารณะ “ดอนคำพวง” และการเรียกร้องให้แก้ไขปัญหากรณีเขื่อนปากมูลที่เรื้อรังมานาน คดีแรกเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2445/2561 ในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์,หมิ่นประมาท และคดีที่สองเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 99/2562 ในข้อหาหมิ่นประมาท

โอบกอดมึนอร่วมใจส่งพอละจี

การจัดงานครั้งนี้สืบเนื่องมาจาก การที่บิลลี่ แกนนำชาวบ้านที่เรียกร้องเพื่อสิทธิชาวกะเหรี่ยง หายตัวไปหลังจากที่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานฯ
ควบคุมตัว เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 จนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว และเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ได้แถลงความคืบหน้าคดีนายพอละจี รักจงเจริญ พบว่าเสียชีวิตแล้ว โดยพบชิ้นส่วนกระดูกถูกเผา และถ่วงน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน แต่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุการเสียชีวิต และนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้

เมื่อการมีส่วนร่วมสาธารณะผ่านช่องทางรัฐมีปัญหา ประชาชนจึงออกมาร้องเรียนผ่านโลกออนไลน์

ปัจจุบันจะพบว่าพื้นที่สนทนาหลักของสังคมกลายเป็นการสื่อสารกันผ่านโลกออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งในพื้นที่ออนไลน์นี้ไม่ได้เต็มไปด้วยข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่ที่ถูกนำมาใช้ในการร้องเรียน กรณีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ หรือโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของเอกชนที่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียน ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนออกมาเรียกร้องผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเพราะการพัฒนาของเทคโนโลยีทางการสื่อสารเท่านั้นจริงหรือ?

ฝันสุดท้ายของปู่คออี้และบิลลี่คือการต่อสู้เพื่อผืนแผ่นดินเกิด : งานเสวนาฆาตกรรมอำพรางบิลลี่ ใครต้องรับผิดชอบ

จากวันที่ 17 เมษายน 2557 วันที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ภายหลังจากที่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นำโดยนายชัยวัฒน์ ลิ้มลำขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น ควบคุมตัวเนื่องจากมีน้ำผึ้งป่า 6 ขวดไว้ในครอบครอง และอ้างว่าได้ปล่อยตัวบิลลี่ไปแล้วนั้น แต่ก็ไม่มีผู้ใดพบเจอหรือทราบชะตากรรมบิลลี่ตั้งแต่วันนั้นมา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 เหตุการณ์ของกรณีการหายตัวไปของบิลลี่ก็ได้เปลี่ยนไป เป็นกรณีการฆาตกรรมบิลลี่

การคุ้มครองนักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชนและการฟ้องคดีปิดปากในไทย

ในหัวข้อเสวนาเรื่อง “การเข้าถึงความคุ้มครองทางสังคมและการเข้าถึงความยุติธรรมของแรงงานข้ามชาติและครอบครัว” ของงานประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบายในการนำฉันทามติอาเซียนว่าด้วยแรงงานข้ามชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาและองค์กรภาคี เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562

เปิดคำพิพากษาการดำเนินคดีมาตรา 90 ขอให้ปล่อยตัวบิลลี่ออกจากการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ

สืบเนื่องจากกรณีการหายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ภายหลังจากที่ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เนื่องจากมีน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครองเป็นจำนวน 6 ขวด และหลังจากวันนั้นก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นบิลลี่อีกเลย

ดีเอสไอแถลงพบเบาะแสบิลลี่เสียชีวิต หลังจากหายตัวไปกว่า 5 ปี

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แถลงว่าพบถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร ที่ในถังมีชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ บริเวณใกล้สะพานแขวน ซึ่งคาดว่าจะเป็นชิ้นส่วนของบิลลี่

1 2