วิเคราะห์คำพิพากษา

ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษยกฟ้องคดีฆ่าน้องแอปเปิ้ล นายโม่ ซิน อ่าว และนายจอ โซ วินพ้นผิด

กรณีนางสาวอรวี สำเภาทอง หรือ น้องแอปเปิ้ลถูกฆาตกรรม โดยแรงงานชาวเมียนมาร์ 4 คนถูกดำเนินคดี ตกเป็นผู้ต้องสงสัยฆ่าน้องแอปเปิ้ล โดยเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2562 ที่ผ่านมาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษยกฟ้องคดีดังกล่าว

ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้อง 2 จำเลยแรงงานชาวเมียนมาไร้ความผิด ปมฆ่านางสาวอรวี สำเภอทอง หรือ น้องแอปเปิ้ล

คดีนี้สืบเนื่องจากกรณีแรงงานชาวเมียนมา 4 คนคือ นายโมซินอ่าว นายไซกะเดา นายจอโซวิน และนายซอเล ตกเป็นจำเลย ถูกอ้างว่าฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง หรือ น้องแอปเปิ้ล
กรณีนี้ถูกแยกฟ้องคดีอาญาเป็น 2 ศาล เนื่องจากมีจำเลย 2 คนมีฐานะเป็นเยาวชนอยู่ โดยแบ่งเป็นคดีศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง คดีหมายเลขดำที่ 7/2559 จำเลยคือ นายโมซินอ่าว และนายจอโซวิน และคดีศาลจังหวัดระนอง คดีหมายเลขดำที่ 115/2559 จำเลยคือนายเมาเซ้น หรือเซกะดอ และนายซอเล

คดีชาวบ้านกะเหรี่ยงดั้งเดิม ถูกจับกุมข้อหาบุกรุกในพื้นที่อุทยาน อำเภอแก่งกระจาน

วันที่ 31 มกราคม 2561 ศาลจังหวัดเพชรบุรีพิพากษาคดี โดยนางแอะนอ พุกาด จำเลย ให้การรับสารภาพ จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 54, 72 ตรี วรรคหนึ่ง, พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรค 1, พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 มาตรา 16 (1),(13),(15), 24, 27 , พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7, 72 วรรค 1, พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 16, 19, 47  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 20 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรม ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป โดยมีรายละเอียดความผิด ดังนี้ […]

เสวนาวิชาการวิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด : เสนอการสร้างสังคมที่ตรวจสอบ วิจารณ์คำพิพากษาอย่างสร้างสรรค์

คดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง เป็นหนึ่งในคดีฆาตกรรมอีกนับกว่า 2,500 คดีที่เกิดขึ้นในช่วงนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติดที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2546 แต่คดีส่วนใหญ่กลับไม่มีความคืบหน้าในการสืบสวน สอบสวนหาตัวนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ  คดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ เป็นกรณีเดียวที่สามารถนำคดีเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลได้ ซึ่งก็เกิดจากความพยายามอย่างหนักของญาติและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และต้องเสี่ยงกับการคุกคามมากมาย แม้ในทางคดีจะสิ้นสุดลงแล้วโดยคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกฟ้องจำเลยทั้งหมด ซึ่งได้มีการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในลักษณะที่แตกต่างไปจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จนทำให้ผลของคดีออกมาสวนทางกันอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล  (สรุปคำพิพากษานายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง) งานเสวนาวิชาการ หัวข้อการวิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลในคดีอาญา ผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด ที่จัดขึ้นโดย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)  และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีกล่าวถึงปัญหาในประเด็นการรับฟังและการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล  รวมถึงประเด็นการคุ้มครองพยาน ผ่านกรณีคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ ในงานเสวนานี้ นักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอแนวทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นสอบสวน ชั้นพิจารณาคดี ตลอดจนประเด็นเรื่องการคุ้มครองพยานไว้อย่างน่าสนใจ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น  มองปัญหากระบวนการยุติธรรมชั้นสอบสวน ถึงชั้นพิจารณาคดี ผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ   ทนายรัษฎา มนูรัษฎา คณะทำงานจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ นำเสนอเเละชวนตั้งข้อสังเกตในประเด็นศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา “กลับ” คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยยกฟ้องจำเลยทั้งหมดว่าไม่มีความผิด เนื่องจากศาลเห็นว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมปาก นางสาว อ. มีพิรุธไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ให้การเเตกต่างไปจากการให้การไว้กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด จึงยกประโยชน์เเห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งหก ทั้งที่พยานที่สอบไว้จำนวน […]

สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด”

สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด” ศาลชั้นต้น 2600/2555 วิเคราะห์พยานหลักฐานของคู่ความในคดี ข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 นายเกียรติศักดิ์  ถิตย์บุญครอง ผู้ตาย ถูกเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ จับกุมในข้อหาลักทรัพย์ หรือรับของโจร และถูกคุมตัวไว้ในห้องขังของสภ.เมืองกาฬสินธุ์ ต่อมา วันที่ 22 กรกฎาคม 2547 นายสุรศักดิ์  เรืองศรีมั่น สมาชิกสภาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องฯ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 มีผู้พบศพผู้ตายในสภาพศพถูกแขวนคออยู่ที่กระท่อมนา บ้านบึงโดน ต.แสนชาติ อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการแรกว่า การเสียชีวิตของผู้ตายเกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์หรือไม่ ? จากการนำสืบของฝ่ายโจทก์เบิกความว่า ตามเหตุการณ์ทั้งหมดประกอบกับสถิติคดีอุกฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นปลายปี 2546 ถึงปี 2547 พบว่าผู้เสียชีวิตล้วนมีประวัติเคยก่ออาชญากรรมมาก่อนและก่อนเสียชีวิตได้มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานตำรวจ ช่วงเวลาของการเสียชีวิตอยู่ในช่วงของระยะเวลาของการมีนโยบายปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากผิดปกติเป็นจำนวนถึง 2,500 ศพ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ […]

วงเสวนาคดีปกครองแก่งกระจานระบุคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดหลีกเลี่ยงรับรองสิทธิชุมชน เสนอใช้ มติ ครม. 3 สิงหา 53 แก้ปัญหาคนกะเหรี่ยงกับป่า

 สิทธิชุมชนเป็นประเด็นที่คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดยังไม่ได้รับรองอย่างเต็มที่   และศาลยังไม่เข้าใจอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเท่าที่ควร  แต่ความก้าวหน้าของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีนี้คือการวางมาตรฐานในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ  และได้ช่วยเน้นย้ำสถานะของมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2553 แม้จะประเด็นเล็กๆในคำพิพากษา แต่ก็น่าจะเป็นความหวังในการแก้ไขปัญหาคนกะเหรี่ยงกับป่าอนุรักษ์ได้พอสมควร วันที่ 8 มกราคม 2562 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร่วมกับสภาทนายความ  สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  และเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี จัดงานเสวนาวิชาการหัวข้อ “สิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงบางกลอย-ใจแผ่นดินกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด”  ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (ดูคลิปเต็มการถ่ายทอดสดการเสวนา) เวทีเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาคดีที่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยบน/ใจแผ่นดินจำนวน 6 คนได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้ทำการรื้อถอนเผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เมื่อปี 2554 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ ประเด็นที่ศาลบอกว่าชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงดังกล่าวเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม แต่เหตุใดพวกเขาถึงไม่ได้รับการคุ้มครองในฐานะสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ และจะทำอย่างไรให้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง  และอื่นๆ ประเด็นเหล่านี้ ล้วนเป็นประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐที่ปกป้อง คุ้มครอง เคารพสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมต่อไป อ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม […]

มองคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีเผาบ้านกะเหรี่ยงแก่งกระจาน 4 ประเด็นที่ดีขึ้น 1 ประเด็นที่ต้องผลักดันต่อ

วันนี้ (12 มิถุนายน 2561) เวลาประมาณ 10.45 น. ณ ศาลปกครองกลาง ชั้น 3 ห้องพิจารณาคดีที่ 1 ศาลปกครองสูงสุด ได้อ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ ส.58/2555 หมายเลขแดงที่ ส.660/2559  ระหว่าง นายโคอิ หรือคออี้ มีมิ ที่1 กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ผู้ถูกฟ้องคดี มูลเหตุของคดีนี้มีที่มาจากการที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ปฏิบัติการตามโครงการขยายผลการอพยพผลักดัน จับกุมชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่ตามแนวชายแดนไทย-สหภาพเมียนมาร์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ครั้งที่ 4 บริเวณบ้านบางกลอยบนและบ้านใจแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม 2554  โดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นำโดยนายชัยวัฒน์  ลิ้มลิขิตอักษร  หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น  ได้ทำการรื้อถอนเผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง รวมถึงของผู้ฟ้องคดีทั้งหกด้วย รวมแล้วมีบ้านพักอาศัย และยุ้งฉางถูกจุดไฟเผาจำนวน 98 หลัง ปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ครั้งนั้น เป็นเหตุให้เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2555 นายโคอิ หรือคออี้  มีมิ กับพวกรวม 6 คน โดยได้รับความช่วยเหลือจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 […]

บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ 1812/2553 (คดีปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไท) โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553 ศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 1812/2553 ในคดีที่มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชนเจ้าของเว็บไซต์ข่าวประชาไทได้ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและกระทรวงการคลังเพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไท (www.prachatai.com) และเรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 45 ศาลแพ่งใช้เวลาพิจารณาคดีนี้ประมาณ 5 ชั่วโมง และได้มีคำพิพากษาในเย็นวันที่ 23 เมษายน 2553วันเดียวกับที่ยื่นฟ้อง โดยพิพากษายกฟ้องและไม่สั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลให้แก่โจทก์ ทั้งนี้ในการดำเนินกระบวนพิจารณาจนพิพากษาคดี ศาลไม่ได้ดำเนินการไต่สวนพยานโจทก์ตามที่โจทก์ร้องขอ และไม่ได้ส่งสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยทั้ง 5 บทความนี้ผู้เขียนประสงค์จะวิเคราะห์คำพิพากษาของศาลแพ่ง โดยใช้หลักกฎหมายปกครองที่สำคัญ คือ หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย เป็นฐานในการวิเคราะห์ เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีปกครองที่แม้จะถูกบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลแพ่ง แต่เมื่อเป็นคดีปกครองหลักในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายก็ต้องเป็นการตรวจสอบตาม หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย 1. สรุปคำฟ้องและคำพิพากษา เพื่อให้เข้าใจประเด็นในคำพิพากษาอย่างครบถ้วนผู้เขียนขอสรุปประเด็นในคำฟ้องไว้เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณาประกอบคำพิพากษา ดังนี้ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่http://www.prachatai.info/journal/2010/04/29095) 1.1 สรุปคำฟ้อง โจทก์ตั้งประเด็นในคำฟ้องถึงเหตุแห่งความไม่ชอบด้วยกฎหมายของการใช้อำนาจของจำเลยที่ 1 ถึง 4 ในการปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไทของโจทก์เป็นสามประเด็นคือ 1) การใช้อำนาจปิดเว็บไซต์ข่าวประชาไทของเป็นการใช้อำนาจและดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายเพื่อลิดรอน จำกัด หรือละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพสื่อสารมวลชนของโจทก์อันเป็นสิทธิเสรีภาพที่มีความสำคัญในสังคมประชาธิปไตย ทั้งยังขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และการเมือง (International […]