บทความน่าสนใจ

ทางกลับบ้าน

ในช่วงเย็นย่ำของวันหนึ่ง พอรถขับเข้ามาสู่เขตโป่งลึก-บางกลอย ป่าที่เป็นสีเหลืองแห้งแล้ง แปรเปลี่ยนเป็นป่าที่เขียวชอุ่ม ทั้งสองข้างทางมีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นเรียงราย เราใช้เวลาขับรถมาที่แห่งนี้เป็นเวลากว่าชั่วโมงเศษๆ และหายเหนื่อยล้าในทันทีเมื่อได้เห็นความงดงามของผืนป่าแห่งนี้ เราแวะจอดข้างทางเพื่อพักชมบรรยากาศรอบกาย ถ้ามองจากทางที่มาถึงทำให้เห็นสะพาน สะพานที่เป็นจุดที่มองแล้วทำให้นึกถึงชายคนหนึ่ง ซึ่งเขาคือ “บิลลี่” พอละจี รักจงเจริญ “ชายคนหนึ่งที่รักบ้านเกิดของเขาเหนือสิ่งอื่นใด ชายผู้ซึ่งพลีกายใจทำงานเพื่อมวลชน เพียงแค่เขาต้องการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่บ้านของเขา ผืนป่าของเขา พี่น้องของเขา แต่เขากลับต้องมาตายด้วยน้ำมือปีศาจ มันคุ้มค่าแล้วหรือ”

ฟังเขาหน่อย…ก่อนที่จะไม่มีเขา

กี่เขาเอาไปแล้ว กี่แถวป่าสูญพันธุ์ เนื้อร้องท่อนหนึ่งจากบทเพลง “ป่าตะโกน” ของ สุรชัย จันทิมาธร (หงา คาราวาน) ยังคงเป็นเสียงตะโกนจากธรรมชาติ ที่มนุษย์ผู้โลภมากพยายามจะไม่ได้ยินมัน โรงโม่หิน เขาโต๊ะกรัง อ.ควนกาหลง จ.สตูล นี่คงเป็นอีกหนึ่งประเด็นในอีกหลายร้อยประเด็น ที่กำลังเกิดการต่อสู้กันอยู่ ระหว่างกลุ่มนายทุนผู้มุ่งหวังการพัฒนาหรือความโลภกำลังต่อสู้หรือรังแกชาวบ้าน

เมื่อผีเจ้าป่าเจ้าเขา ไม่น่ากลัวเท่าผีอุทยานผีเขตห้ามล่า

ลมบนยอดเขาสูงเย็นชื่นหัวใจในยามสาย ม่านหมอกขาวนวลเริ่มเลื่อนลาง มวลแสงสีทองสาดส่องเป็นเส้นลำแสงมองเห็นไกลสุดลูกตาคน ตัดกันกับสีเขียวอ่อนแก่สลับซับซ้อนไกลสุดตางคนเตวถึง มองเห็นรอยวิถีชีวิต ไร่เหล่าบางแปลงกลายเป็นป่าเขียวเข้มแก่ บางแปลงไม่ไกลกันเป็นสีเขียวนวลอ่อน หนึ่งแปลงสะดุดตา

“ถ้าไม่ให้อยู่ป่า ให้ตายเสียยังจะดีกว่า”

ในสายของวันหนึ่งที่แดดแรงและแผดเผาไปทุกอณูบนร่างกาย เป็นสายของอีกวันที่ต้องออกเดินทางไปหมู่บ้านที่แสนไกลในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ลึกเข้าไปกลางภูเขาและแมกไม้นานาพันธุ์ที่ขึ้นสลับซับซ้อน มี หมู่บ้านสบลาน

สรุปประเด็นงานเสวนาทางกฎหมายในหัวข้อ “คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา คืนความยุติธรรมให้ประชาชน”

วันที่ 11 ตุลาคม 2562 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ร่วมกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (CrCF) และ iLaw จัดงานเสวนาทางกฎหมายในหัวข้อ “คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา คืนความยุติธรรมให้ประชาชน” โดยสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์เผยแพร่คำแถลงการณ์ของนายคณากร เพียรชนะ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะชั้นต้นในศาลจังหวัดยะลา ที่มีประเด็นหลักพูดถึงความเป็นอิสระในการพิพากษาคดีของผู้พิพากษา การใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ รวมไปถึงการรับฟังพยานหลักฐานของศาลจากพยานหลักฐานที่ได้มาโดยกฎหมายพิเศษด้วย

โอบกอดมึนอร่วมใจส่งพอละจี

การจัดงานครั้งนี้สืบเนื่องมาจาก การที่บิลลี่ แกนนำชาวบ้านที่เรียกร้องเพื่อสิทธิชาวกะเหรี่ยง หายตัวไปหลังจากที่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานฯ
ควบคุมตัว เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 จนกระทั่งปัจจุบันเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว และเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ได้แถลงความคืบหน้าคดีนายพอละจี รักจงเจริญ พบว่าเสียชีวิตแล้ว โดยพบชิ้นส่วนกระดูกถูกเผา และถ่วงน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน แต่ยังไม่สามารถระบุสาเหตุการเสียชีวิต และนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้

เมื่อการมีส่วนร่วมสาธารณะผ่านช่องทางรัฐมีปัญหา ประชาชนจึงออกมาร้องเรียนผ่านโลกออนไลน์

ปัจจุบันจะพบว่าพื้นที่สนทนาหลักของสังคมกลายเป็นการสื่อสารกันผ่านโลกออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งในพื้นที่ออนไลน์นี้ไม่ได้เต็มไปด้วยข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่ที่ถูกนำมาใช้ในการร้องเรียน กรณีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การดำเนินงานของหน่วยงานรัฐ หรือโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของเอกชนที่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียน ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้ประชาชนออกมาเรียกร้องผ่านช่องทางออนไลน์เป็นเพราะการพัฒนาของเทคโนโลยีทางการสื่อสารเท่านั้นจริงหรือ?

ฝันสุดท้ายของปู่คออี้และบิลลี่คือการต่อสู้เพื่อผืนแผ่นดินเกิด : งานเสวนาฆาตกรรมอำพรางบิลลี่ ใครต้องรับผิดชอบ

จากวันที่ 17 เมษายน 2557 วันที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ภายหลังจากที่ถูกเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน นำโดยนายชัยวัฒน์ ลิ้มลำขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานในขณะนั้น ควบคุมตัวเนื่องจากมีน้ำผึ้งป่า 6 ขวดไว้ในครอบครอง และอ้างว่าได้ปล่อยตัวบิลลี่ไปแล้วนั้น แต่ก็ไม่มีผู้ใดพบเจอหรือทราบชะตากรรมบิลลี่ตั้งแต่วันนั้นมา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2562 เหตุการณ์ของกรณีการหายตัวไปของบิลลี่ก็ได้เปลี่ยนไป เป็นกรณีการฆาตกรรมบิลลี่

เปิดคำพิพากษาการดำเนินคดีมาตรา 90 ขอให้ปล่อยตัวบิลลี่ออกจากการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ

สืบเนื่องจากกรณีการหายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ภายหลังจากที่ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เนื่องจากมีน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครองเป็นจำนวน 6 ขวด และหลังจากวันนั้นก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นบิลลี่อีกเลย

ความเห็นทางกฎหมาย: กรณีการดำเนินคดีกับสฤณี อาชวานันทกุล และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๒ ศาลฎีกาโดยนายฉันทวัธน์ วรทัต ผู้พิพากษา   ได้มีหมายเรียกนางสาวสฤณี อาชวานันทกุล และบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ให้ไปให้การต่อศาลฎีกาในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๓๐ น.

1 2 3 4 7