บทความน่าสนใจ

ประชาสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ประชาสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 9 กันยายน 2564     จากความพยายามผลักดัน ‘ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. ….’ หรือ ‘ร่างฯองค์กรภาคประชาสังคม’  ของเอ็นจีโอและประชาสังคมจำนวนหนึ่ง  ทำให้ได้ทบทวนความรู้สึกนึกคิดว่าที่ทาง  นิยาม  ความหมายของ ‘ประชาสังคม’ ในสังคมไทยเป็นอย่างไรบ้างแล้วในปัจจุบันที่คาดว่าจะส่งผลต่อไปในอนาคต   ในความแตกต่างและหลากหลายของสภาพแวดล้อมของสังคมและการเมืองไทยได้ก่อให้เกิดประชาสังคมที่แตกต่างและหลากหลายประเภทอยู่ร่วมกัน  และแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ความแตกต่างและหลากหลายของสภาพแวดล้อมของสังคมและการเมืองไทยจะทำให้เกิดประชาสังคมเพียงประเภทเดียวขึ้นมาโดยไม่สามารถก่อให้เกิดประชาสังคมประเภทอื่น ๆ ได้  ถ้าสังคมและการเมืองไทยมีประชาสังคมอยู่เพียงประเภทเดียวก็ไม่น่าจะเรียกองคาพยพนั้นว่าเป็นประชาสังคมได้  ซึ่งก็คล้าย ๆ กับความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของวิวัฒนาการทางธรรมชาติ  ประชาสังคมที่แตกต่างและหลากหลายประเภทก็เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งของวิวัฒนาการทางสังคมและการเมืองไทย   ในความแตกต่างและหลากหลายประเภทนั้นก็มีทั้งความแตกต่างและหลากหลายใน ‘แนวราบ’ และ ‘ซ้อนเป็นชั้น’ คละเคล้าอยู่ร่วมกัน  ซึ่งก็มีทั้งรูปแบบ  แนวทาง  ความชอบ  ความถนัด  วิธีการและอุดมการณ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความแตกต่างและหลากหลายในแนวราบขึ้น  เช่น  บางประชาสังคมก็ทำงานหรือสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับเด็ก  เยาวชน  นักเรียนนักศึกษาในระบบและนอกระบบ  คนจนเมือง  คนจนชนบท  ผู้ยากไร้  คนไร้บ้าน  ผู้ด้อยโอกาส  กลุ่มเปราะบาง  คนชรา  คนพิการ  ผู้หญิง  […]

การเลือกปฏิบัติ : ภัยคุกคามความมั่นคงของระบอบประชาธิปไตย

ถ้าผู้มีอำนาจไม่เลือกปฏิบัติ ทำไม? รมว.กระทรวงยุติธรรมจัดปาร์ตี้แล้วเกิดคลัสเตอร์โควิด-19 #ไม่พบการดำเนินคดี แต่ผู้เข้าร่วมการชุมนุมเชิงสัญลักษณ์กลับถูกดำเนินคดี

ชุมนุมสาธารณะ คุ้มครองเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ?

ในการชุมนุมสาธารณะ เจ้าหน้าที่รัฐมีหน้าที่ให้ความสะดวกแก่การชุมนุมสาธารณะตั้งแต่ระยะก่อนมีการชุมนุมไปจนถึงระยะหลังการชุมนุมเสร็จสิ้นลง เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปได้อย่างราบรื่นและสอดคล้องกับพันธกรณีของรัฐที่มีหน้าที่ต้องคุ้มครองและประกันเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบตามกติการะหว่างประเทศ ทั้งนี้ แม้การจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมและการสลายการชุมนุมจะสามารถกระทำได้ภายใต้กรอบของกฎหมาย การกระทำดังกล่าว ก็ย่อมต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ในกติการะหว่างประเทศและแนวปฏิบัติของสหประชาชาติด้วย

ส่องร่างแก้รัฐธรรมนูญ 60 จุดยืนแต่ละร่างในเรื่องกระบวนการยุติธรรม

การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ในครั้งนี้พบว่า ร่างเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งจากกลุ่มนายไพบูลย์ นิติตะวัน กลุ่มนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ และกลุ่มนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฐ์ ได้มีการให้ความสนใจกับการเสนอให้แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรมพอสมควร โดยเฉพาะในร่างเสนอโดยกลุ่มนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ซึ่งนับว่าเป็นประเด็นที่น่าจับตามองอีกประการหนึ่งในการเปิดวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญพิเศษเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญและมีการลงมติ ในวันที่ 23-24 มิถุนายน 2564 ที่จะถึงนี้ 

สิทธิของเยาวชน บทกฎหมายที่รัฐละเลย

จากกรณีที่เยาวชนออกมาร่วมชุมนุมและแสดงออกทางการเมือง พบว่าเจ้าหน้าที่รัฐได้มีการละเมิดบทบัญญัติของกฎหมาย ทั้งกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมจนเกินจำเป็น การละเมิดสิทธิของเยาวชนที่ตกเป็นผู้ต้องหา และการดำเนินคดีต่อเยาวชนในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติ

บทสรุป ปัญหาและข้อเสนอแนะกองทุนยุติธรรม

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน อาศัยการมีส่วนร่วมตาม มาตรา 77 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้รวบรวมประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม จากกลุ่มทนายความและกลุ่มชาวบ้านซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้เกี่ยวข้องหรืออยู่ในฐานะ “ผู้ขอรับความช่วยเหลือ” เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล เผยแพร่ต่อสาธารณะ ตลอดจนนำไปสู่การจัดทำเป็นข้อเสนอแนะ สำหรับการแก้ไขปัญหาให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

โครงสร้างคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดของกองทุนยุติธรรม

จากองค์ประกอบโครงสร้างคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด ของกองทุนยุติธรรม ไม่ได้ยึดโยงภาคประชาชนทำให้มุมมองการพิจารณาถึงที่มาปัญหาการที่ชาวบ้านต้องถูกฟ้องคดี จนนำมาสู่การขอความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรมนั้น ไม่สามารถเข้าถึงกองทุนยุติธรรมได้อย่างแท้จริง

ในสถานการณ์โควิด 19  สิทธิและเสรีภาพไม่ควรหายไปจากการพัฒนา

  เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 13 พฤษภาคม 2563     องค์ประกอบของการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย  เพราะมีเงื่อนไข  หลักเกณฑ์  คุณสมบัติของผู้ลงทุน  ตามกฎหมายใหม่ ๆ เข้ามาร่วมเป็นองค์ประกอบอยู่เสมอ  โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ  เพื่อให้สอดคล้องต่อความต้องการ  ความปรารถนา  ที่เป็นไปในแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตส่วนบุคคลและสังคมให้ดีขึ้น   ในโลกสมัยใหม่ที่กำลังดำเนินอยู่นี้  รัฐบาลส่วนกลาง  ภูมิภาคและท้องถิ่นที่ใช้อำนาจรัฐแทนประชาชนไม่สามารถดำริและผลักดันการพัฒนาเพียงฝ่ายเดียวได้อีกต่อไป  กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อนำเสนอ  แสดงความเห็น  ตรวจสอบและคัดค้านการพัฒนาต่าง ๆ  มีความสำคัญในแง่ที่จะทำให้บ้านเมืองตั้งอยู่บนครรลองของการใช้กฎหมายตามหลักนิติธรรม  ซึ่งตรงกันข้ามกับการตั้งอยู่บนครรลองของการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือและข้ออ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมที่ขัดต่อหลักนิติธรรม   อย่างน้อยที่สุด  หลักนิติธรรมก็ได้สร้างพันธะสัญญาต่อกัน  ระหว่างรัฐกับประชาชน  เพื่อให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งประกันซึ่งสิทธิและเสรีภาพของประชาชน  ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมบริหารจัดการและพัฒนาบ้านเมือง  จึงเป็นความเหมาะสมที่หลักนิติธรรมจะเป็นตัวชี้วัดสำคัญของการพัฒนาในโลกสมัยใหม่  หากปราศจากหลักนี้แล้วก็เป็นการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องเหมาะสม  ไม่ถูกทำนองคลองธรรม  เท่าที่ควร   การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.​ 2548  หรือ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน  เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโรคโควิด 19  มีอำนาจที่ล้นเกินไปกว่าการควบคุมโรคปรากฎออกมาให้เห็น  นั่นคือ  มาตรการต่าง ๆ ที่จะทำให้ประชาชนไม่รวมตัวกันและเว้นระยะห่างทางสังคม  ไม่ว่าจะเป็นการขอให้กักตัวอยู่กับบ้านหรือที่พักอาศัยในเวลาปกติ  […]

สถานการณ์โควิด-19 แว่นขยายฉายภาพปัญหา “คนจนมักติดคุก” ที่เรื้อรังมานาน

สถานการณ์โควิด-19 แว่นขยายฉายภาพปัญหา “คนจนมักติดคุก” ที่เรื้อรังมานาน ท่ามกลางสภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทั่วทั้งโลกต่างต้องออกมาตรการเพื่อยับยั้งการระบาดของโลก และปกป้องชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนอย่างดีที่สุด ทางด้านประเทศไทย ได้มีการรณรงค์ให้ทุกคนร่วมมือกันเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing อีกทั้งรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563 โดยรายละเอียดของมาตรการยับยั้งโรคระบาดนั้นจะเป็นไปตามข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 ซึ่งมีข้อกำหนดในการจำกัดพื้นที่ ปิดสถานที่เสี่ยง การห้ามกักตุนสินค้า ห้ามชุมนุมหรือการนำเสนอข่าวต่างๆ และล่าสุดมีคำสั่งห้ามออกจากเคหสถานตั้งแต่เวลา 22.00- 04.00 น. ยกเว้นผู้ที่มีความจำเป็นหรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้ระบุไว้ หรือถ้าหากในพื้นที่ใดมีมาตรการที่มากกว่านี้ ให้ปฏิบัติตามมาตรการในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป จากมาตรการทั้งหมดที่ได้นำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ให้เว้นระยะห่างทางสังคม หรือแม้กระทั่งมาตรการทางกฎหมายล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์ให้เกิดการตัดตอนการระบาดของโรคจากการที่ประชาชนพบปะกันน้อยลง ซึ่งมาตรการเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนทั่วไป ทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน […]

‘ค่าน้ำ’ ในกฎหมายน้ำ จะทำให้เกิดอภิสิทธิ์และความเหลื่อมล้ำ

ปีกว่า ๆ ของการประกาศใช้บังคับกฎหมายน้ำ หรือพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561  ที่จำแลงคําสั่งหัวหน้า คสช. 3 ฉบับ  ได้แก่  46/2560, 52/2560 และ 2/2561 มาเป็นกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ  โดยประสงค์จะรวมศูนย์การบริหารจัดการน้ำ  เพราะเห็นว่าที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาด้านน้ำกระทำโดยหลายหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจแตกต่างกันไปตามกฎหมายหลายฉบับ

1 2 3 7