สิทธิของทนายความ

สนส. ร่วมนิติฮับ เข้าพบนายกสภาทนายความฯ ขอให้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส. หรือ HRLA) และตัวแทนจากนิติฮับ (Nitihub) เข้าพบนายกสภาทนายความฯ ขอให้ดำเนินการตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ วันที่ 17 มกราคม 2566 เวลา 10.00 น.  นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) นางณัฐาศิริ เบิร์กแมน ตัวแทนจากนิติฮับ (Nitihub) นางสาวพริม มณีโชติ และทนายความที่ได้รับความเสียหายจากข้อบังคับสภาทนายความเรื่องการแต่งกายของทนายความ เข้าพบนายกสภาทนายความฯ ดร. วิเชียร ชุบไธสง ขอให้สภาทนายความฯ แก้ไขข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529  หมวด 5 มรรยาทในการแต่งกายข้อ 20 (2) ซึ่งกำหนดให้ “ทนายความหญิงแต่งตามแบบสากลนิยม กระโปรงและเสื้อสีสุภาพไม่ฉูดฉาด รองเท้าหุ้มส้น” โดยขอให้แก้ไขให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ  นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ที่ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความมีผลใช้บังคับ ทนายความหญิงถูกกำหนดให้ต้องแต่งกายด้วยกระโปรง ส่งผลให้ทนายความหญิงที่สวมใส่กางเกงว่าความ ต้องถูกผู้พิพากษาตักเตือน ตำหนิ ติเตียน ซึ่งการฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าว ยังเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความ มีความผิดตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 […]

มหากาพย์ ไม่ห้าม แต่ไม่คุ้มครอง ทนายความหญิงสวมกางเกง

กฎหมายหรือข้อบังคับ ต้องพัฒนาตาม​ความจำเป็นแห่งสภาพของสังคม ทว่าจวบจนปัจจุบัน ทนายความหญิงยังคงต้องสวมกระโปรงว่าความตามข้อบังคับเมื่อ 35 ปีก่อนเท่านั้น เนื่องจากสภาทนายความฯ ได้ตีความแล้วว่า ตามข้อบังคับไม่ได้ห้ามทนายความหญิงสวมกางเกง ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอันสมควรแต่ประการใด ต้องแก้ไขข้อบังคับดังกล่าว?

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ยื่นรายชื่อทนายความแก้ไขข้อบังคับสภาทนายความ

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเข้าพบสภาทนายความ ยื่นรายชื่อทนายความจำนวน 126 รายชื่อ เพื่อเสนอแก้ไขข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการแต่งการของทนายความหญิง และเข้าหารือปัญหาสิทธิในการเข้าถึงทนายความ

ขยายเวลา: ร่วมลงชื่อเพื่อเสนอแก้ไขข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการแต่งกายของทนายความหญิง

เนื่องด้วยพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528  มาตรา 51 บัญญัติว่า “ทนายความต้องประพฤติตนตามข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ การกำหนดมรรยาททนายความให้สภาทนายความตราเป็นข้อบังคับมรรยาททนายความ…”