คดีสิทธิมนุษยชน

เครือข่ายกะเหรี่ยงและองค์กรสิทธิฯ ยื่นหนังสือเรียกร้องกระทรวงทรัพย์ฯ สั่งนายชัยวัฒน์กับพวกให้ออกจากราชการชั่วคราว หลังอัยการสั่งฟ้องคดีอุ้มฆ่าบิลลี่

#9ปีบิลลี่ยังไม่ได้กลับบ้าน เครือข่ายกะเหรี่ยงและองค์กรสิทธิฯ ยื่นหนังสือเรียกร้องกระทรวงทรัพย์ฯ สั่งนายชัยวัฒน์กับพวกให้ออกจากราชการชั่วคราว หลังอัยการสั่งฟ้องคดีอุ้มฆ่าบิลลี่ 21 เม.ย. 2566 ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม “ไก่ – เกรียงไกร ชีช่วง” ผู้ประสานงานเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยพี่น้องชาวบางกลอยและตัวแทนจากเครือข่ายภาคประชาสังคม อาทิ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน เดินทางมายื่นหนังสือเรียกร้องให้ปลัด ทส. มีคำสั่งให้ “ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร” อดีตหัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และเจ้าหน้าที่อุทยานฯ อีก 3 นาย ออกจากราชการชั่วคราวไว้ก่อน ภายหลังทั้งสี่ถูกพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ในข้อหาฆาตกรรม “บิลลี่ – พอละจี รักจงเจริญ” นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกอุ้มหาย เมื่อ 9 ปีก่อน ซึ่งศาลนัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 24 เม.ย. 2566 นี้ เวลา 13.30 น. บริเวณหน้าทางเข้าอาคารกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นอาคารที่ทำการของสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังตกอยู่ภายใต้ความเงียบเหงา ท่ามกลางแสงแดดและอากาศที่ร้อนจัด มีเพียงเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและสื่อมวลชนบางส่วนเท่านั้นที่มารอคอยทำข่าว จนกระทั่งไก่นำขบวนพี่น้องชาวบ้านบางกลอยเดินขบวนถือป้ายแสดงข้อความที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม รอยยิ้มสดใสและมีความหวังของไก่ทำให้บรรยากาศภายในบริเวณนั้นกลับมาครึกครื้นในทันที […]

เมื่อราษฎรลุกขึ้นโต้กลับ : 10 คดีที่ราษฎรฟ้องกลับ ตั้งแต่ตุลาคม 2563 – สิงหาคม 2564

ที่ผ่านมา ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้เข้าให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และใช้มาตรการทางกฎหมายทุกช่องทางโต้กลับการใช้อำนาจมิชอบของรัฐ ภายใต้ชื่อ #ราษฎรฟ้องกลับ โดยในช่วงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 จนถึงเดือนสิงหาคม 2564 ภาคีฯ มีคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบทั้งหมด 26 คดี และได้ดำเนินการฟ้องคดีโต้กลับต่อศาลไปแล้วเป็นจำนวน 10 คดี

เปิดเนื้อหา : หนังสือขอความเป็นธรรมอัยการสูงสุด กรณีฆาตกรรมบิลลี่

จากกรณีพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คน จากเหตุการณ์ที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ หายตัวไปเป็นเวลากว่า 6 ปี จนกระทั่งในปัจจุบันมีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกบริเวณกะโหลกของบิลลี่ ซึ่งสามารถสันนิษฐานได้ว่าบิลลี่เสียชีวิตแล้ว จากคดีคนหาย กลับกลายเป็นคดีฆาตกรรมซึ่งรอให้มีการสะสาง และนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 14.00 น. นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มึนอ ภรรยาของบิลลี่ เดินทางเข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด ขอให้อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คนในคดีฆาตกรรมบิลลี่ โดยนายวรวุฒิ วัฒนอุตถานนท์ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็นตัวแทนมารับหนังสือขอความเป็นธรรม ผู้ร้องเห็นว่า การที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพ เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ถูกต้อง การใช้ดุลพินิจอ้างเหตุผลเช่นนี้ว่าไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าผู้ใดกระทำให้ผู้ตายเสียชีวิตด้วยวิธีการอย่างใดมาใช้เป็นหลักในการพิจารณามีคำสั่งไม่ฟ้องคดีจะยิ่งเป็นการเปิดช่องทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจอิทธิพลกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากสามารถทำลายพยานหลักฐานที่จะบ่งชี้ถึงตัวบุคคลผู้กระทำความผิดก็จะกลายเป็นการรอดพ้นการถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม   ภายในหนังสือขอความเป็นธรรมจึงมีประเด็นสำคัญที่พนักงานอัยการน่าจะได้ทบทวนและวินิจฉัยใหม่ ดังนี้ 1.พยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนรับฟังได้หรือไม่ว่ามีการควบคุมตัวบิลลี่และมีการปล่อยตัวไปตามที่ผู้ต้องหากล่าวอ้าง พยานหลักฐานที่ปรากฎพบว่า ได้ว่ามีการจับกุมและควบคุมตัวบิลลี่ไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจริง ปัญหามีว่าการควบคุมตัวดังกล่าวได้สิ้นสุดลงอย่างไร ผู้ต้องหาอ้างว่า ได้มีการปล่อยตัวบิลลี่ไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 โดยมีประจักษ์พยานอ้างว่ารู้เห็นการปล่อยตัว […]

6 ปี…บิลลี่หาย เรียกร้อง ถม ช่องว่างความยุติธรรม

ครบรอบ 6 ปี พอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 ไม่นานมานี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ แถลงพบชิ้นส่วนที่สันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนกะโหลกของบิลลี่ และได้สรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการ แต่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุดว่าจะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง กรณีบิลลี้เป็นกรณีหนึ่งที่ชี้ให้เห็นช่องว่างของกฎหมายในกรณีบังคับให้บุคคลสูญหาย หรือ การอุ้มหายในประเทศไทย

เรียนรู้กระบวนการทางกฎหมายในกรณีวิสามัญฆาตกรรม ผ่านคดีวิสามัญฆาตกรรมชัยภูมิ ป่าแส

นายชัยภูมิ ป่าแส ถูกเจ้าหน้าที่ทหารที่อ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่ทำให้เสียชีวิตหรือวิสามัญฆาตกรรมไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560 ซึ่งกรณีวิสามัญฆาตกรรมนั้นเป็นกรณีที่มีความซับซ้อน มีขั้นตอนหรือกระบวนการทางกฎหมายมากมายในการพิสูจน์ความจริงของความตาย รวมถึงพิสูจน์ความจริงในความบริสุทธิ์ของเจ้าหน้าที่และผู้ตายด้วย ซึ่งมีหน่วยงานของรัฐหลายส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงนี้ จึงอยากชวนทุกท่านมาเรียนรู้กระบวนการยุติธรรมในกรณีวิสามัญฆาตกรรม ผ่านคดีวิสามัญฆาตกรรมชัยภูมิ ป่าแส