nchoomalaiwong

นัดสืบพยานคดีนักวิจัยประเด็นแรงงานถูกบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาท

นัดสืบพยานคดีนักวิจัยประเด็นแรงงานถูกบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาท เผยแพร่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562 วันที่ 26-30 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นัดสืบพยานโจทก์และจำเลยในคดี บริษัทธรรมเกษตร จำกัด ฟ้องคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณากับ นางสาวสุธารี วรรณศิริ นักวิจัยประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2562 Summary bullet point ● ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นัดสืบพยานโจทก์และจำเลย คดีนางสาวสุธารี วรรณศิริ นักวิจัยประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ถูกบริษัทธรรมเกษตร จำกัด ฟ้องคดีละเมิดเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ● มูลเหตุคดีสืบเนื่องจาก นางสาวสุธารีได้เผยแพร่คลิปจากยูทูปซึ่งเป็นคลิปสัมภาษณ์อดีตลูกจ้างของบริษัทธรรมเกษตรฯซึ่งเป็นแรงงานข้ามชาติ สัญชาติเมียนมาร์ในประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิแรงงาน ● บริษัทธรรมเกษตร จำกัด เป็นโจทก์ฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ต่อ อดีตลูกจ้างของตนเอง แรงงานข้ามชาติ รวมถึงบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักข่าว ที่สื่อสารประเด็นการละเมิดสิทธิต่อสาธารณะมาตั้งแต่ปี […]

แถลงการณ์ร่วมภาคประชาสังคมขอให้ตรวจสอบกรณี เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เวียงแหง วิสามัญฆาตกรรมนายจะจือ จะอ่อ

แถลงการณ์ร่วม ภาคประชาสังคมขอให้ตรวจสอบกรณี เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เวียงแหง วิสามัญฆาตกรรมนายจะจือ จะอ่อ           ตามที่ได้ปรากฏข่าวจากสื่อมวลชนว่า เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562 เวลาประมาณ 17.30 นาฬิกา เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เวียงแหง ได้ออกตรวจพื้นที่บริเวณบ้านห้วยไคร้ใหม่และพบชายต้องสงสัยสองคนขับรถจักรยานยนต์มา เมื่อเจ้าหน้าที่ขอให้หยุดเพื่อตรวจสอบ ชายต้องสงสัยกลับใช้ปืนยาวยิงเจ้าหน้าที่จนเกิดการต่อสู้กันขึ้น และนายจะจือ จะอ่อ อายุ 26 ปี ชาวบ้านห้วยไคร้ใหม่ ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ได้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ หลังเกิดเหตุมีประชาชนจากชุมชนชาวห้วยไคร้ใหม่ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า หลังเกิดเหตุแม่ของผู้เสียชีวิตได้พยายามเข้าไปกอดร่างลูกชาย แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้าย ทำให้ประชาชนที่เห็นเหตุการณ์ไม่พอใจ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2562  มีประชาชนจากชุมชนชาวห้วยไคร้ใหม่ได้ออกแถลงการณ์ขอความเป็นธรรม และแสดงความวิตกต่อการวิสามัญฆาตกรรมดังกล่าว โดยได้อ้างว่า นายจะจือ จะอ่อ ไม่ได้ค้ายาเสพติดและไม่มียาเสพติดไว้ในครอบครอง และมีพยานเห็นเหตุการณ์ว่าในระหว่างการจับกุมนายจะจือ จะอ่อ ไม่ได้มีอาวุธปืน แต่อาวุธปืนนั้นถูกนำมาวางหลังจากนายจะจือ จะอ่อ ได้เสียชีวิตแล้ว จากกรณีดังกล่าว เมื่อเกิดกรณีการที่เจ้าหน้าที่รัฐสังหารบุคคลโดยไม่ผ่านการพิจารณาพิพากษาของศาล หรือเรียกว่าการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม (Extra-judicial Killing) […]

แถลงการณ์องค์กรสิทธิมนุษยชน เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการนำตัวผู้กระทำความรุนแรงกับนักกิจกรรมทางการเมืองมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างจริงจัง

จากเหตุการณ์ที่นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว นักกิจกรรมด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ถูกคนร้ายจำนวน ๔ คน ลอบทำร้ายเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๒ จนได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องเข้ารับการรักษาตัวในห้องไอซียู

รายงานข้อเสนอแนะต่อการคุ้มครองผู้ใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อการมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะจากการถูกฟ้องคดี

บทนำ การมีส่วนร่วมสาธารณะ (Public Participation) ถือเป็นหลักการและแนวปฏิบัติทางการเมือง ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของสังคมประชาธิปไตย ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ได้รับรองสิทธิในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะได้ เช่น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม เสรีภาพในการสมาคมสิทธิในการเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ สิทธิชุมชน สิทธิการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร เป็นต้น อย่างไรก็ดี ประชาชนที่ใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในการเข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะ มักจะถูกคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ อยู่เสมอ ทั้งการใส่ร้ายป้ายสี การทำลายภาพลักษณ์ การเยี่ยมบ้าน การทำร้ายร่างกาย การใช้กองทัพหรือตำรวจปราบปราม การลอบสังหาร การบังคับให้สูญหาย เป็นต้น และอีกรูปแบบหนึ่งที่พบมากในปัจจุบันคือ “การคุกคามด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม” การคุกคามการด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ในลักษณะการฟ้องคดีต่อบุคคลที่เข้าไปมีส่วนร่วมสาธารณะนั้น มักถูกเรียกว่า “การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ” (Strategic Lawsuits Against Public Participation หรือ SLAPPs) บางครั้งอาจเรียกว่า “การฟ้องปิดปาก” SLAPPs มักถูกนำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่บริษัทเอกชนและรัฐฟ้องคดีต่อนักกิจกรรม นักเคลื่อนไหว แกนนำหรือสมาชิกชุมชนที่ออกมาใช้เสรีภาพในการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น […]

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกับการถูกฟ้องคดีเมื่อปกป้องประโยชน์สาธารณะ: กรณี นายกฤษกร ศิลารักษ์ หรือ ป้าย ปากมูล

นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหลายคนถูกแจ้งความดำเนินคดีและตั้งข้อหาอย่างไม่เป็นธรรมเพียงเพราะเรียกร้องให้รัฐคุ้มครองสิทธิของประชาชน การดำเนินคดีเช่นนี้ เรียกว่าการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของสาธารณชน(SLAPPs)

ประชาสัมพันธ์งาน “เสวนาสถานการณ์การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย”

“คดี SLAPPs คือการดำเนินคดีที่มีลักษณะเป็นยุทธศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหยุด ลงโทษ หรือการต่อต้านการใช้สิทธิทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นเสรีภาพในการพูด การร้องเรียน เสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) ในการชุมนุม (freedom of assembly) และการสมาคม (freedom of association) เกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ โดยผู้ฟ้องคดีไม่ได้มุ่งเอาชนะ แต่มุ่งลดทอนทรัพยากร และข่มขู่ให้ผู้ถูกฟ้องยอมยุติบทบาท …” — ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงาน “เสวนาสถานการณ์การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย” ในวันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน 2562 เวลา 10.00-14.00 น. ณ สํานักกลางนักเรียนคริสเตียน #กำหนดการ 10.00-10.30 น. ลงทะเบียน 10.30-10.45 น. กล่าวเปิดงาน โดยไพโรจน์ พลเพชร ที่ปรึกษาสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) 10.45-12.00 น. เสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและผลกระทบที่ได้รับเกี่ยวกับการตกเป็นเป้าหมายในการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อระงับการมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ (การฟ้องคดีปิดปาก) ร่วมเสวนาโดย – ชลธิชา […]

“ป้าย ปากมูล” นักปกป้องสิทธิมนุษยชน กับข้อหา นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงฯ และคดีหมิ่นประมาทฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี

นายกฤษกร ศิลารักษ์ หรือ ป้าย ปากมูลได้ถูกฟ้องดำเนินคดีในเวลาไล่เลี่ยกันเป็นจำนวน 2 คดี โดยคดีแรกเป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2445/2561 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี โจทก์ โดยนายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้กล่าวหาและร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีกับจำเลย และนายกฤษกร ศิลารักษ์ จำเลย ในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงฯ และวันที่ 4 มิถุนายน – 5 มิถุนายน 2562 นายกฤษกรและทนายความ จะเดินทางไปศาลจังหวัดอุบลราชธานี โดยศาลนัดสืบพยานโจทก์และสืบพยานจำเลย

นัดไต่สวนมูลฟ้องคดีนักข่าว Voice TV ถูกบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาท ปมแรงงานฟาร์มไก่ 14 คน

วันที่ 3 มิถุนายน 2562 เวลา 09.00 น. ณ ศาลจังหวัดลพบุรีคดีที่ 14 แล้ว ที่บริษัท ธรรมเกษตร ฟ้องผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบอกเล่า หรือพูดถึงกรณีการละเมิดสิทธิแรงงานต่อแรงงานชาวพม่า 14 คนที่ทำงานเป็นลูกจ้างอยู่ในฟาร์มไก่ของบริษัท ธรรมเกษตร โดยในปัจจุบัน บริษัท ธรรมเกษตร ได้ฟ้องคดีไปแล้วทั้งหมด 17 คดี โดยฟ้องคดีทั้งต่อตัวแรงงานเอง นักวิชาการที่แชร์หรือโพสต์เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว หรือแม้กระทั่งนักเคลื่อนไหวในประเด็นสิทธิมนุษยชนด้วย