admin

6 ปี…บิลลี่หาย เรียกร้อง ถม ช่องว่างความยุติธรรม

ครบรอบ 6 ปี พอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ หายตัวไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 ไม่นานมานี้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ แถลงพบชิ้นส่วนที่สันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนกะโหลกของบิลลี่ และได้สรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการ แต่พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ปัจจุบัน อยู่ระหว่างการพิจารณาของอัยการสูงสุดว่าจะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง กรณีบิลลี้เป็นกรณีหนึ่งที่ชี้ให้เห็นช่องว่างของกฎหมายในกรณีบังคับให้บุคคลสูญหาย หรือ การอุ้มหายในประเทศไทย

ลำดับเหตุการณ์กรณีการหายไปของบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ

นายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ เกิดที่บางกลอยบน หรือ ใจแผ่นดิน เป็นหลานชายของปู่คออี้ แกนนำกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวบ้านบางกลอย เขาเข้ามาทำงานในด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อปกป้องชุมชนที่ตนเองเกิด และอยู่อาศัย จนกระทั่งมีเหตุการณ์การรื้อเผาบ้านชาวกระเหรี่ยงที่หมู่บ้านบางกลอยบน บิลลี่ได้เข้ามาเป็นปากเป็นเสียงสำคัญของชาวกะเหรี่ยง เขาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยทนายความ และเป็นพยานปากสำคัญในคดีที่ชาวบ้านกระเหรี่ยงยื่นฟ้อง และวันหนึ่งเขาก็ถูกบังคับให้สูญหายไป

รัฐควรมีมาตรการเชิงรุกตรวจสอบและเยียวยาลูกจ้างที่ตกหล่นจากการคุ้มครองของรัฐ ในภาวะโควิด19ระบาด : คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ เครือข่ายทนายสิทธิแรงงาน

สถานการณ์ไวรัสโควิด19 ระบาด ส่งผลกระทบมากมายต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ มีหลายกิจการต้องผิดตัวลง เนื่องจากผลประกอบการที่ลดลง และได้รับผลการทบจากการที่รัฐบาลประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมและยับยั้งการแพร่กระจายของโรค มีบางกิจการที่ถูกประกาศให้ปิดตัวโดยรัฐ แต่ก็มีบางกิจการที่ต้องปิดตัวลงเอง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการจ้างงานของผู้ประกอบการ และผู้ประกอบการบางรายใช้ช่องทางนี้ในการเอาเปรียบลูกจ้าง ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ของทนายคุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ผู้คลุกคลีกับเครือข่ายแรงงานมานาน กับมาตรการที่อยากให้รัฐลงมาดูแลเยียวยาลูกจ้างที่ถูกเอาเปรียบในภาวะเช่นนี้

จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาปล่อยตัวผู้ต้องขังโดยเร็วและให้ความมั่นใจว่าทุกคนที่อยู่ในสถานที่คุมขังมีสุขภาพและปลอดภัยดี โดยเฉพาะจากไวรัสโคโรนา 2019

องค์กรสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและองค์การระหว่างประเทศดังมีชื่อข้างท้ายนี้ เป็นห่วงอย่างยิ่งต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 ที่อาจจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในหมู่ผู้ต้องขังในเรือนจำและเจ้าหน้าที่ในเรือนจำของประเทศไทย

ปัญหาที่ผู้ถูกฟ้องคดีปิดปากเผชิญในชั้นก่อนการพิจารณา

จากการรวบรวมข้อมูลของสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พบว่า โดยส่วนมากของคดีปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะในประเทศไทยเกิดจากการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน โดยข้อกล่าวหาที่ถูกนำมาใช้ดำเนินคดี จำนวนมากเป็นความผิดเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย ซึ่งรัฐเป็นผู้เสียหาย ทำให้คดีจำนวนมากถูกดำเนินคดีผ่านช่องทางอัยการ

การ “ทบทวน” คำสั่งไม่อนุมัติคำขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม

การทบทวนคำสั่งไม่อนุมัติคำขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนผู้ขอรับความช่วยเหลือได้ เนื่องจากเป็นการทบทวนโดยคณะอนุกรรมการชุดเดิม ซึ่งได้มีคำสั่งไม่อนุมัติไปก่อนหน้านั้นแล้ว

การตีความ “ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม”

การตีความ ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม ปัจจุบันยังเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคในการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม

การใช้ดุลพินิจของคณอนุกรรมการ ตัดสินความถูกผิดการกระทำของ “ผู้ขอรับความช่วยเหลือ”

การใช้ดุลพินิจของคณะอนุกรรมการในการพิจารณาไปถึงความถูกผิดการกระทำของ ผู้ขอรับความช่วยเหลือ เป็นการพิจารณาที่มีลักษณะซ้อนกับหลักเกณฑ์ที่ศาล พนักงานอัยการ หรือพนักงานสอบสวน จะต้องวินิจฉัยคำร้องขอปล่อยชั่วคราวตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอยู่แล้ว

อุปสรรคการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม

การบังคับใช้พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559 ปรากฏมีประเด็นและอุปสรรคในการเข้าถึงกองทุนยุติธรรม จากกลุ่มทนายความและกลุ่มชาวบ้านซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้เกี่ยวข้องหรืออยู่ในฐานะ “ผู้ขอรับความช่วยเหลือ”

สถานการณ์โควิด-19 แว่นขยายฉายภาพปัญหา “คนจนมักติดคุก” ที่เรื้อรังมานาน

สถานการณ์โควิด-19 แว่นขยายฉายภาพปัญหา “คนจนมักติดคุก” ที่เรื้อรังมานาน ท่ามกลางสภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทั่วทั้งโลกต่างต้องออกมาตรการเพื่อยับยั้งการระบาดของโลก และปกป้องชีวิตและความปลอดภัยของประชาชนอย่างดีที่สุด ทางด้านประเทศไทย ได้มีการรณรงค์ให้ทุกคนร่วมมือกันเว้นระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing อีกทั้งรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ถึง 30 เมษายน 2563 โดยรายละเอียดของมาตรการยับยั้งโรคระบาดนั้นจะเป็นไปตามข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 ซึ่งมีข้อกำหนดในการจำกัดพื้นที่ ปิดสถานที่เสี่ยง การห้ามกักตุนสินค้า ห้ามชุมนุมหรือการนำเสนอข่าวต่างๆ และล่าสุดมีคำสั่งห้ามออกจากเคหสถานตั้งแต่เวลา 22.00- 04.00 น. ยกเว้นผู้ที่มีความจำเป็นหรือผู้ที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้ระบุไว้ หรือถ้าหากในพื้นที่ใดมีมาตรการที่มากกว่านี้ ให้ปฏิบัติตามมาตรการในพื้นที่ดังกล่าว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นไป จากมาตรการทั้งหมดที่ได้นำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ให้เว้นระยะห่างทางสังคม หรือแม้กระทั่งมาตรการทางกฎหมายล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์ให้เกิดการตัดตอนการระบาดของโรคจากการที่ประชาชนพบปะกันน้อยลง ซึ่งมาตรการเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อวิถีชีวิตของประชาชนทั่วไป ทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน […]

1 6 7 8 9 10 32