admin

กลไกและกระบวนการยุติธรรมปกติไม่อาจยับยั้งคดีSLAPPได้: ต่างประเทศจึงมีAnti-SLAPP Law

หากติดตามสถานการณ์การใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการปิดกั้น ข่มขู่หรือกดดันประชาชนที่สนใจและอยากลุกขึ้นมามีส่วนร่วมทางการเมือง หรือที่เรียกว่า SLAPP ในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นว่าการฟ้องคดีในลักษณะดังกล่าวนั้น ทำให้ผู้ที่ตกเป็นเป้าหมายของการถูกฟ้องต้องเผชิญการคุกคาม เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการสู้คดี และทำให้กิจกรรมหรือประเด็นที่เคลื่อนไหว เรียกร้องต้องหยุดชะงักลง

ขอให้รัฐบาลทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบและปกป้องคุ้มครองผู้ร่วมชุมนุมจากการถูกคุกคามทุกรูปแบบ

จดหมายเปิดผนึก ขอให้รัฐบาลทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบและปกป้องคุ้มครองผู้ร่วมชุมนุมจากการถูกคุกคามทุกรูปแบบ นับตั้งแต่ที่กลุ่มเยาวชนปลดแอกได้จัดชุมนุม เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ยุบสภา หยุดคุกคามประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตย และร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนและหลักการสิทธิมนุษยชน ทำให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม ภายใต้การออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องของนักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชนดังกล่าว เจ้าหน้าที่รัฐ ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือน และโดยเฉพาะเจ้าหน้าตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบ ได้มีการพยายามปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของนักเรียน นิสิตนักศึกษาในรูปแบบต่างๆ เป็นจำนวนกว่า 63 กรณี สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ในฐานะองค์กรกฎหมายที่ทำงานปกป้องและส่งเสริมการรับรองคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมในสังคมไทย มีความเห็นว่าการดำเนินกิจกรรมของนักเรียน นักศึกษาและประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ โดยมิได้ยุยงหรือสนับสนุนให้เกิดความรุนแรง เป็นเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ถือเป็นสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่รับรองสิทธิในการมีส่วนร่วมของเด็ก เสรีภาพในการแสดงออกรวมถึงการชุมนุมอย่างสันติ และมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับปิดกั้นและคุกคามการสิทธิเสรีภาพ ในการชุมนุมโดยสงบของผู้ร่วมชุมนุมในวันที่ 19 กันยายน 2563 ที่จะจัดขึ้นที่สนามหลวง และการชุมนุมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในการนี้ สมาคมฯ ขอเรียกร้องต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหน้าที่ในการเอื้ออำนวยและดูแลให้การชุมนุมเป็นไปโดยสงบและปกป้องคุ้มครองผู้ร่วมชุมนุม จากการถูกคุมคาม โดยเฉพาะผู้ชุมนุมที่เป็นเด็กและเยาวชน ดังนี้ ขอให้ข้าราชการครู ข้าราชการพลเรือนในโรงเรียน […]

รัฐธรรมนูญไทยกับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม  : “สิทธิ” VS “แนวนโยบายแห่งรัฐ”

ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมาเกิดกระแสเรียกร้องให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2560 ซึ่งหลายฝ่ายในสังคมต่างเห็นร่วมกันว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ที่ใช้ในปัจจุบัน ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม ด้วยรัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ

คดีฟ้องปิดปากสูงขึ้น ในขณะที่เพดานการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนกลับต่ำลง

กรณีการดำเนินคดีในหลายข้อหาต่อนักศึกษาและนักกิจกรรมที่ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมือง จากการจัดหรือเข้าร่วมการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

เปิดเนื้อหา : หนังสือขอความเป็นธรรมอัยการสูงสุด กรณีฆาตกรรมบิลลี่

จากกรณีพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คน จากเหตุการณ์ที่นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ หายตัวไปเป็นเวลากว่า 6 ปี จนกระทั่งในปัจจุบันมีการค้นพบชิ้นส่วนกระดูกบริเวณกะโหลกของบิลลี่ ซึ่งสามารถสันนิษฐานได้ว่าบิลลี่เสียชีวิตแล้ว จากคดีคนหาย กลับกลายเป็นคดีฆาตกรรมซึ่งรอให้มีการสะสาง และนำผู้กระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 14.00 น. นางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มึนอ ภรรยาของบิลลี่ เดินทางเข้ายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด ขอให้อัยการสูงสุดมีคำสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 4 คนในคดีฆาตกรรมบิลลี่ โดยนายวรวุฒิ วัฒนอุตถานนท์ อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการอัยการ เป็นตัวแทนมารับหนังสือขอความเป็นธรรม ผู้ร้องเห็นว่า การที่พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพ เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ถูกต้อง การใช้ดุลพินิจอ้างเหตุผลเช่นนี้ว่าไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าผู้ใดกระทำให้ผู้ตายเสียชีวิตด้วยวิธีการอย่างใดมาใช้เป็นหลักในการพิจารณามีคำสั่งไม่ฟ้องคดีจะยิ่งเป็นการเปิดช่องทางให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ใช้อำนาจอิทธิพลกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากสามารถทำลายพยานหลักฐานที่จะบ่งชี้ถึงตัวบุคคลผู้กระทำความผิดก็จะกลายเป็นการรอดพ้นการถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม   ภายในหนังสือขอความเป็นธรรมจึงมีประเด็นสำคัญที่พนักงานอัยการน่าจะได้ทบทวนและวินิจฉัยใหม่ ดังนี้ 1.พยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนรับฟังได้หรือไม่ว่ามีการควบคุมตัวบิลลี่และมีการปล่อยตัวไปตามที่ผู้ต้องหากล่าวอ้าง พยานหลักฐานที่ปรากฎพบว่า ได้ว่ามีการจับกุมและควบคุมตัวบิลลี่ไปที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานจริง ปัญหามีว่าการควบคุมตัวดังกล่าวได้สิ้นสุดลงอย่างไร ผู้ต้องหาอ้างว่า ได้มีการปล่อยตัวบิลลี่ไปตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน 2557 โดยมีประจักษ์พยานอ้างว่ารู้เห็นการปล่อยตัว […]

เปิดเนื้อหา : หนังสือจากกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแก่งกระจานถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 11.00 น. กลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมในพื้นที่แก่งกระจานจำนวนประมาณกว่า 50 คน และนางสาวพิณนภา พฤกษาพรรณ หรือ มึนอ ภรรยาของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ พร้อมทั้งคณะทำงานทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เข้ายื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   เนื้อหาภายในหนังสือ [pdf-embedder url=”https://naksit.net/wp-content/uploads/2020/08/หนังสือถึง-รมต.-27-08-2563.pdf” title=”หนังสือถึง รมต. 27-08-2563″]

เปิดหนังสือถึงประธานศาลฎีกา : “ศาล” บทบาทสำคัญ แก้ไขวิกฤติศรัทธาในกระบวนการยุติธรรม

วันที่ 24 สิงหาคม 2563 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้ส่งหนังสือถึงประธานศาลฎีกา ขอให้สถาบันตุลาการดำรงไว้ซึ่งบทบาทในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน เสริมสร้างนิติธรรมให้เข้มแข็ง การออกจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว สืบเนื่องมาจากกรณีการชุมนุมสาธารณะของกลุ่มเยาวชนปลดแอก ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2563  โดยมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล 3 ประการ คือ 1. ประกาศยุบสภา 2. รัฐหยุดคุกคามประชาชน 3. ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งในวันดังกล่าวมีประชาชนเข้าร่วมการชุมนุมเป็นจำนวนมาก โดยต่อมาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2563 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำหมายจับเข้าจับกุม นายอานนท์ นำภา และ นายภานุพงศ์ จาดนอก ผู้ที่เข้าร่วมปราศรัยในการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอก โดยไม่มีการออกหมายเรียกบุคคลดังกล่าวมาก่อน ด้วยอ้างเหตุว่าโทษสูงสุดของความผิดที่ระบุในหมายจับ คือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งมีโทษเกินกว่า 3 ปี อันสามารถเป็นเหตุให้ออกหมายจับได้โดยที่ไม่ต้องออกหมายเรียกก่อน ต่อมานายพริษฐ์ ชิวารักษ์ ก็ถูกจับกุมตามหมายจับ จากการชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอกเช่นเดียวกัน และภายหลังยังมีการจับกุมนักกิจกรรมประชาธิปไตยอีกหลายคนจากการชุมนุมสาธารณะที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ อีกทั้งในกรณีการออกหมายจับนายอานนท์ นายภานุพงศ์ […]

จดหมายเปิดผนึกขอให้สภาทนายความยกคำกล่าวหาของนายอภิวัฒน์ กรณีขอให้ลบชื่อนายอานนท์ นำภา ออกจากทะเบียนทนายความ

นักกฎหมาย ทนายความ และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน 240 นาม ได้ร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดผนึกขอให้สภาทนายความยกคำกล่าวหาของนายอภิวัฒน์ ขันทอง กรณีขอให้ลบชื่อนายอานนท์ นำภาออกจากทะเบียนทนายความ

สนส. ร่วมกิจกรรมแถลงข่าวรณรงค์ “เข้าชื่อ 50000 ชื่อ ร่วมรื้อ ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ” กับ iLaw และภาคประชาสังคม

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ “เข้าชื่อ 50000 ชื่อ ร่วมรื้อ ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ” จัดตั้งโดย iLaw ร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม

1 3 4 5 6 7 32