admin

แถลงการณ์ขอให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ

แถลงการณ์ขอให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ   จากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำกำลังเข้าปิดกั้น สกัดและใช้รถฉีดน้ำแรงดังสูงฉีดใส่ประชาชน ที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ณ บริเวณหน้าศาลฎีกา เวลาประมาณ 18 นาฬิกาเศษของวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 รวมถึงก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 เจ้าหน้าที่ได้ทำการฉีดน้ำที่มีแรงดันสูงและมีสารเคมีใส่ผู้ชุมนุมที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย โดยอาศัยอำนาจตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่กรุงเทพมหานคร เพื่อสลายการชุมนุมของประชาชนที่เรียกตนเองว่าคณะราษฎร ซึ่งได้มีรายงานว่าการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ ทั้งสองเหตุการณ์ทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมากนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มีความเห็นว่า การใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การอ่านแถลงการณ์ การส่งจดหมายถึงพระมหากษัตริย์ การปราศรัยย่อย และการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น ยังถือเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ จึงเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ประชาชนพึงกระทำได้ตามที่ถูกรับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 44 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อบทที่ 21 ที่รัฐไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งการจำกัดใช้เสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวย่อมกระทำไม่ได้ การอาศัยเพียงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภายในประเทศเกี่ยวกับการชุมนุมบางประการ ไม่อาจทำให้การชุมนุมนั้นกลายเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบจนเป็นเหตุให้รัฐใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมได้ หากรัฐต้องการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม รัฐพึงต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความชอบธรรมทางกฎหมาย และความจำเป็นและได้สัดส่วนในการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมภายใต้บริบทของสังคมประชาธิปไตย และต้องอธิบายได้อย่างชัดแจ้งว่าการจำกัดนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย […]

“แค่ไหนถึงฉีดน้ำ?” ความเห็นจากผู้ชุมนุม นักวิชาการ องค์กรระหว่างประเทศและตำรวจ

เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ได้จัดเสวนาวิชาการเรื่อง “แค่ไหนถึงฉีดน้ำ “หลักสากล” เรื่องการควบคุมดูแลและสลายการชุมนุม” ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 63 เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อำนาจตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่กรุงเทพมหานคร ทำการสลายการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วยนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่มาร่วมชุมนุมสลายการชุมนุมบริเวณแยกปทุมวัน รวมถึงเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 8 พ.ย. 63 เจ้าหน้าที่ได้ทำการฉีดน้ำความแรงสูงเพื่อสลายการชุมนุมของประชาชน หรือที่เรียกว่า #ม๊อบ8พฤศจิกา #ราษฎรสาส์น ที่บริเวณสนามหลวงอีกครั้ง ซึ่งการชุมนุมทั้ง 2 ครั้งนี้ ถือเป็นการชุมนุมที่จัดขึ้นโดยสงบและปราศจากอาวุธและยังไม่ปรากฏว่าผู้ชุมนุมมีการใช้ความรุนแรง ในการนี้ สนส. ขอนำเสนอความเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ในการควบคุมดูแลและสลายการชุมนุมของรัฐ จากมุมของนักศึกษาซึ่งเข้าร่วมการชุมนุมและอยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563, อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์, ตัวแทนจากคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (ICJ), ตัวแทนตัวแทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตัวแทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติที่มาร่วมเสวนาในงานดังกล่าว เพื่อให้คนในสังคมได้นำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ถึงขอบเขตในการชุมนุมสาธารณะของประชาชน และบทบาทหน้าที่ของรัฐในการดูแลชุมนุมให้เป็นไปโดยสงบต่อไป มุมมองและประสบการณ์จากผู้เข้าร่วมชุมนุม 16 ตุลาคม #ชุมนุมแยกปทุมวัน หนึ่งฤทัย […]

สนส. เปิดตัววารสารออนไลน์ภายใต้ชื่อ “The Naksit Letter” สรุปกิจกรรม 3 เดือน 

“เพราะการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาองค์กร”  สืบเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มีการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่มากขึ้น และมีบทบาทที่ชัดเจนยิ่งขึ้น สนส. จึงเปิดตัววารสารราย 3 เดือน ฉบับใหม่ ภายใต้ชื่อ “The Naksit Letter” เพื่อให้สมาชิกและผู้ที่สนใจได้ติดตามข่าวสาร กิจกรรม และการทำงานของ สนส. โดยจัดทำเป็นวารสารออนไลน์ที่ทุกคนสามารถเปิดอ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ วารสารดังกล่าว ยังเปิดเป็นพื้นที่ในการรับสมัครสมาชิก สนส. อีกด้วย หากท่านใดเป็นผู้ที่สนใจหรือทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สามารถสมัครเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งได้เช่นกัน   [pdf-embedder url=”https://naksit.net/wp-content/uploads/2020/11/the-naksit-letter-vol1_compressed-2.pdf” title=”the-naksit-letter-vol1_compressed”]        

ทนายความสิทธิ เข้ายื่นหนังสือและนำเสนอทางออกต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

Highlight ทนายความสิทธิเห็นว่า การดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองเเละผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม การตั้งข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงการคัดค้านการปล่อยตัวและการอายัดตัวซ้ำๆ ฯลฯ ของตำรวจ เป็นการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ กติกาสากลระหว่างประเทศ และหลักนิติรัฐ นิติธรรม เจ้าหน้าที่ตำรวจ ชี้แนวปฏิบัติของตำรวจปัจจุบันแตกต่างจากในอดีต เพราะปฏิบัติตามที่กฎหมายให้อำนาจและเลือกใช้วิธีที่เบาที่สุดเท่านั้น เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2563 คอรีเยาะ มานุแช นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พร้อมตัวแทนองค์กรเครือข่าย ได้แก่ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม ได้เข้ายื่นหนังสือ ต่อ พ.ต.อ.ดนุ กล่ำสุ่ม รองผู้บังคับการกองกฎหมาย และ พ.ต.อ.ศุภกร ผิวอ่อนรองผู้บังคับการกองอัตรากำลัง ซึ่งเป็นเวรอำนวยการเป็นผู้แทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในการรับเรื่อง โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย โดยในการพูดคุยหารือเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางในการแก้ไข ณ ห้องรับรอง กองรักษาการณ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีตัวแทนจากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย คอรีเยาะ มานุแช ได้นำเสนอสถานการณ์ปัญหาและข้อห่วงกังวลที่ทนายความพบหลังจากที่ทนายความได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมจากการออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ ดังนี้ 1) การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การควบคุมตัว จับกุม […]

[หนังสือถึง ผบ.ตร.] การละเมิดกฎหมายและสิทธิมนุษยชนในการดำเนินคดีต่อเยาวชนและนักกิจกรรมประชาธิปไตย

(English file click) สนส. 34/2563 วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563   เรื่อง      การละเมิดกฎหมายและสิทธิมนุษยชนในการดำเนินคดีนักเรียนนิสิตนักศึกษาและนักกิจกรรมประชาธิปไตย เรียน       ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ   สืบเนื่องจากการที่มีนักเรียน นิสิตนักศึกษา ประชาชน และนักกิจกรรมประชาธิปไตย (“นักกิจกรรม”)  ได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ชุมนุม วิพากษ์วิจารณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและเสนอให้มีการปฏิรูปสถาบันต่างๆ ทางการเมือง นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นมา และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้กล่าวหาและจับกุมคุมขังดำเนินคดีบุคคลดังกล่าวนับร้อยคน ในข้อหาต่างๆ รวมทั้งข้อหาฝ่าฝืนประกาศตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้น เครือข่ายองค์กรและทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ดังมีรายนามข้างท้ายนี้ มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างยิ่ง จึงใคร่ขอเสนอความคิดเห็นต่อบทบาทของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการปฏิบัติต่อนักกิจกรรมประชาธิปไตยดังกล่าวดังต่อไปนี้ นักกิจกรรมมีและใช้สิทธิเสรีภาพ โดยเฉพาะสิทธิในความเชื่อและความคิดเห็นทางการเมือง การแสดงออก และการชุมนุมสาธารณะ บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนที่รับรองไว้ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และสิทธิเสรีภาพที่ได้รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ และได้พยายามป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความรุนแรงตลอดมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในฐานะกลไกของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ควรปฏิบัติหน้าที่เพื่อการดังกล่าว แต่กลับปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้มาตรการกล่าวหา ดำเนินคดีต่อนักกิจกรรมในข้อหาต่างๆ […]

ศาลอุทธรณ์ “ยกฟ้อง” คดีบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาทนักข่าว Voice TV

ศาลอุทธรณ์พิพากษา “ยกฟ้อง” คดีบริษัทธรรมเกษตร ฟ้องหมิ่นประมาทนักข่าว Voice TV กรณีทวิตและเผยแพร่ข้อความต่อจากนักวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับคำพิพากษาคดีแรงงานข้ามชาติ 14 คน ซึ่งมีคำว่า “กรณีใช้แรงงานทาส” อยู่ในข้อความที่ทวิต   27 ต.ค. 2563 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.1407/2563 ระหว่าง บริษัทธรรมเกษตรโดยนายชาญชัย เพิ่มผล ผู้รับมอบอำนาจ (โจทก์) และ นางสาวสุชาณี รุ่งเหมือนพร หรือ นางสุชาณี คลัวเทรอ (จำเลย) ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328 จากกรณีที่สุชาณี ซึ่งขณะที่ถูกฟ้องได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนักข่าวอยู่สำนักข่าว Voice TV และติดตามรายงานข่าวเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติในภาคการเกษตร ได้เผยแพร่ข้อมูลผ่านทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2560 ว่า “ศาลสูงสุดมีคำสั่งให้เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่ จ.ลพบุรี อดีตหนึ่งในฟาร์มส่งไก่ให้บริษัทเบทาโกร จ่ายเงินชดเชยคนงานพม่า 14 คน 1.7 […]

แถลงการณ์ร่วม: ขอให้หยุดการคุกคามต่อสุชาณี คลัวเทรอ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

แถลงการณ์ร่วม หยุดการคุกคามต่อสุชาณี คลัวเทรอ, นักปกป้องสิทธิมนุษยชน การฟ้องคดีไม่มีมูลทำให้การปกป้องสิทธิแรงงานเป็นไปได้ยากขึ้น   26 ตุลาคม 2563 เรา, องค์กรสิทธิมนุษยชนสิบองค์กรที่ลงชื่อใต้แถลงการณ์นี้, เรียกร้องให้รัฐบาลไทยหยุดการคุกคามทางกฎหมายผ่านกระบวนการยุติธรรมต่อนักข่าว สุชาณี คลัวเทรอ และมีมาตรการที่ชัดเจนในการปกป้องนักข่าวและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากกระบวนการทางอาญาที่การฟ้องคดีที่ไม่มีน้ำหนัก ในวันที่ 27 ตุลาคมนี้ ศาลจังหวัดลพบุรีจะอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์ในคดีของสุชาณี ซึ่งถูกศาลชั้นต้นตัดสินลงโทษในคดีที่ริเริ่มโดยบริษัทธรรมเกษตร คดีนี้เน้นย้ำความจำเป็นในการยกเลิกข้อกฎหมายหมิ่นประมาททางอาญาซึ่งถูกใช้บ่อยครั้งโดยบริษัทธุรกิจและปัจเจกบุคคลที่มีอำนาจในการปิดปากคนวิพากษ์วิจารณ์   การฟ้องคดีต่อสุชาณีเกิดจากการทวีตเกี่ยวกับข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานในฟาร์มไก่ของบริษัทธรรมเกษตรในจังหวัดลพบุรี จากข้อร้องเรียนของแรงงานที่ส่งให้ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพบว่าบริษัทไม่ได้จ่ายค่าแรงขั้นต่ำและค่าแรงล่วงเวลา ไม่ได้จัดหาเวลาพักและวันหยุดอย่างพอเพียง และมีการยึดเอกสารประจำตัวของคนงาน ในปี 2559 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในจังหวัดลพบุรีได้มีคำสั่งให้บริษัทธรรมเกษตรจ่ายค่าชดเชย 1.7 ล้านบาทให้กับแรงงาน ซึ่งเป็นบทลงโทษที่ศาลฎีกาได้พิพากษายืน   สุชาณีเป็นนักข่าววอยซ์ทีวีในปี 2560 ซึ่งเป็นเวลาที่เธอทวีตข้อความดังกล่าวและรายงานข้อกล่าวหาที่ว่า ในเดือนมีนาคมปี 2562 ธรรมเกษตรได้ฟ้องคดีอาญาต่อสุชาณีภายใต้มาตรา 326 และ 328 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยการหมิ่นประมาทและหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาตามลำดับ ในเดือนธันวาคมปี 2562 ศาลจังหวัดลพบุรีได้ตัดสินจำคุกสุชาณีสองปีโดยไม่รอลงอาญา   สุชาณีเป็นหนึ่งในผู้คนจำนวนมากที่ตกเป็นเป้าหมายของธรรมเกษตร ตั้งแต่ปี 2559, ธรรมเกษตรได้ริเริ่มคดีอาญาและคดีแพ่งต่อประชาชน 22 คนและวอยซ์ทีวี จากการที่ประชาชนและวอยซ์ทีวีพูดถึงการละเมิดสิทธิแรงงานของบริษัท […]

ข้อหาและกฎหมายที่รัฐนำมาใช้กับผู้ชุมนุมตั้งเเต่เดือนมิ.ย. จนถึง คืนวันสลายการชุมนุม

    ปรากฏการณ์การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร การจับกุม การดำเนินคดีต่อแกนนำ ผู้เข้าร่วมชุมนุมโดยเฉพาะที่เป็นเยาวชน และสื่อมวลชนเป็นวงกว้างของเจ้าหน้าที่รัฐนั้น สะท้อนให้เห็นว่ารัฐพยายามนำกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาเป็นเครื่องมือในการปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชน (Judicial Harassment) เพื่อให้ผู้ชุมนุม และคนในสังคมเกิดความกลัวไม่กล้าเคลื่อนไหว จากข้อมูลของ สนส. (SLAPP DATABASE CENTERR) ในระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมานี้ นับตั้งแต่การจัดกิจกรรม “ผูกโบขาว” ของนิสิตนักศึกษา สนท.  ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย หน้ากระทรวงกลาโหม หน้ากองทัพบก และหน้ากองทัพภาคที่ 1 เพื่อเรียกร้องความยุติธรรมให้ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ลี้ภัยชาวไทย ที่ถูกอุ้มหายในประเทศกัมพูชาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน จนถึงการชุมนุมของคณะราษฎร 2563 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม เพื่อเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ให้มีการเปิดการประชุมวิสามัญรับร่างแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน และให้มีการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นั้น พบว่า มีการใช้ข้อหาความผิดลหุโทษ หรือความผิดอาญาที่ไม่มีโทษจำคุกกับผู้ที่เห็นต่างทางการเมืองมากขึ้น  อีกทั้งยังมีการนำกฎหมายพิเศษ อย่างพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548  หรือ พ.ร.ก ฉุกเฉินฯ […]

ถกถามเรื่องการปฏิรูปศาลในฐานะเสาหลักอันศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรม

บันทึกเสวนาวิชาการ “เสาหลักต้องเป็นหลักอันศักดิ์สิทธิ์ : บทบาทศาลท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน”   ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน เมื่อมีผู้คนมากมายแสดงออกทางการเมือง ออกมาชุมนุมบนท้องถนนหรือสถานที่ต่างๆ และการชุมนุมทางการเมืองกลายมาเป็นความผิดทางกฎหมาย หรือในสถานการณ์ที่มีการออกหมายจับหรือหมายค้นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองในกรณีต่างๆ และการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมการแสดงออกบริเวณศาล หากฝ่าฝืนจะมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลนั้น ทำให้ตุลาการหรือศาลเข้ามามีบทบาทในสถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดการถกเถียงกันโดยทั่วไปว่า ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองนี้ ศาลควรจะมีบทบาทอย่างไร ในฐานะเสาหลักอันศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรม   สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) จัดงานเสวนาวิชาการ “เสาหลักต้องเป็นหลักอันศักดิ์สิทธิ์ : บทบาทศาลท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน” เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 เพื่อวิเคราะห์ แลกเปลี่ยน และทบทวนบทบาทของอำนาจตุลาการในฐานะเป็นเสาหลักอันศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมในสถานการณ์ปัจจุบัน และขอบเขตของฐานความผิดละเมิดอำนาจศาล ผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองของ ผศ.สาวตรี สุขศรี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สัณหวรรณ ศรีสด คณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (ICJ) และรัษฎา มนูรัษฎา ทนายความสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน   คอรีเยาะ มานุแช นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวเปิดงาน พร้อมตั้งคำถามถึงบทบาทของสถาบันตุลาการท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน “ในปัจจุบัน ประชาชนมีความตื่นตัวในการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อเรียกร้องและคุ้มครองสิทธิของประชาชน ถ้านับช่วงอายุของตนเอง (30+) ช่วงระหว่างปี […]

ประกาศเปิดรับสมัครผู้อำนวยการสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 31 ตุลาคม 2563 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) หรือ HRLA เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2551 จากการรวมตัวกันของกลุ่มนักกฎหมาย ทนายความและคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงาน เพื่อส่งเสริมหลักนิติธรรม ความเป็นธรรมในสังคม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งในทางวิชาการและการใช้มาตรฐานทางกฎหมาย โดยเฉพาะการดำเนินคดียุทธศาสตร์ เพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายและนโยบายให้สอดคล้องกับหลักนิติธรรม สิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมในสังคม และปัจจุบันสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้จดทะเบียนเป็นองค์กรตามกฎหมายเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2556 เพื่อให้การดำเนินงานของ สนส. บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจ สนส. จึงเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อคัดเลือกดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน 1 อัตรา โดยพิจารณาจากราละเอียดดังนี้ คุณสมบัติทั่วไป 1. จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป 2. มีความรู้ ความเข้าใจและแรงบันดาลใจในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และกระบวนการยุติธรรม 3. สามารถทำงานได้เต็มเวลา และสามารถเดินทางไปทำงานในพื้นที่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศได้ 4. สามารถพูด ฟัง อ่านเขียน และสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในระดับดีมาก 5. หากมีประสบการณ์การทำงานบริหารจัดการองค์กรตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป […]

1 2 3 4 5 6 32