admin

ภาคีฯ ออกหนังสือถึงรมต.กระทรวงยุติธรรมให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเรือนจำ

ตามที่ปรากฏว่านายชูเกียรติ แสงวงค์ หรือจัสติน และนายอานนท์ นำภา ติดเชื้อไวรัสโรโรนา ๒๐๑๙ เนื่องจากไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยชั่วคราวและถูกคุมขังอยู่ ณ เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ตามที่ท่านทราบดีอยู่แล้วนั้น 

[แถลงการณ์] เรียกร้องให้ผู้พิพากษาปล่อยตัวชั่วคราวนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อยืนยันเจตจำนงค์แห่งรัฐธรรมนูญ

แถลงการณ์สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  เรียกร้องให้ผู้พิพากษาปล่อยตัวชั่วคราวนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อยืนยันเจตจำนงค์แห่งรัฐธรรมนูญ [English Below]   จากกรณีที่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกจับกุมดำเนินคดีตามความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และมาตรา 116  และศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยหรือผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น คดีมีอัตราโทษสูงเกรงว่าจะหลบหนีและเกรงว่าถ้าปล่อยตัวไปแล้วจำเลยจะไปกระทำผิดซ้ำกับความผิดที่ได้ถูกฟ้อง เป็นต้น แม้ทนายความและนักวิชาการได้พยายามยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราว รวมทั้งอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปหลายครั้ง แต่ศาลอาญามีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวผู้ถูกกล่าวหา โดยให้เหตุผลว่าไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่ง ทำให้จำเลยที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี โดยปัจจุบันเป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้ว และยังมีจำเลยรายอื่น ๆ ที่ทยอยถูกส่งฟ้องและศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวเช่นเดียวกัน วันนี้สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ในฐานะองค์กรต้นสังกัดที่นายอานนท์ นำภาเป็นสมาชิก ร่วมกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในฐานะสำนักงานที่นายอานนท์ นำภาสังกัดอยู่ พร้อมกับรายชื่อทนายความจำนวน 187 คนที่ร่วมลงชื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์ นำภาและจำเลยในคดีความผิดลักษณะเดียวกันอีกครั้ง เพื่อยืนยันหลักการตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติรับรองไว้ว่าก่อนที่จะมีคำพิพากษาจำเลยจะถูกปฏิบัติเหมือนผู้กระทำผิดไม่ได้ ประกอบกับมาตรา 107 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติให้สิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับอนุญาตในการปล่อยชั่วคราวเป็นหลัก มิใช่ให้นำข้อยกเว้นมาถือเป็นปฏิบัติเป็นสรณะและใช้หลักในข้อยกเว้นนั้นละเมิดต่อสิทธิของจำเลยและเมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ข้อยกเว้นมิให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยหรือผู้ต้องหาตามมาตรา 108/1 พบว่า ไม่มีเหตุที่ควรเชื่อได้ว่าจำเลยจะมีพฤติการณ์ที่เข้าองค์ประกอบที่ศาลจะสามารถยกหลักข้อยกเว้นดังกล่าวมาบังคับใช้ ซึ่งข้อยกเว้นดังกล่าว คือ (1) ผู้ต้องหา หรือ จำเลย จะหลบหนี (2) ผู้ต้องหา หรือ จำเลย จะไปยุ่งเหยิง […]

คอรีเยาะ: กระบวนการยุติธรรมไทยเปราะบางถึงขนาดไม่กล้ายืนยันสิทธิในการปล่อยชั่วคราว

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้จัดวงพูดคุยเเลกเปลี่ยนปัญหาในกระบวนการยุติธรรมที่ทนายความและญาติของผู้ที่ถูกดำเนินคดีทางการเมืองต้องเผชิญ ในหัวข้อ #ปล่อยเพื่อนเรา ยืนยันสิทธิในการปล่อยชั่วคราวนักโทษทางความคิด

ฟังความเห็นของคอรีเยาะ ในเวที “จากบางกลอย ถึงกระบวนการยุติธรรม”

  เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564  เครือข่ายภาคี #SAVEบางกลอย ร่วมกับขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ได้จัดเวทีเสวนาข้างทำเนียบรัฐบาล หัวข้อ “จากบางกลอย ถึงกระบวนการยุติธรรม”  ภายในงานเสวนาครั้งนี้ คอรีเยาะ มานุแช นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นต่อกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการทางกฎหมายกับกลุ่มชาติพันธุ์ โป่งลึก บางกลอยไว้ดังนี้ “จากกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้จับกุมกลุ่มชาติพันธ์ุ ที่อาศัยอยู่ที่แก่งกระจาน ต้องยอมรับว่าในฐานะคนธรรมดาเราสะเทือนใจมาก ที่ประชาชนคนที่อยากอยู่บ้านตัวเองต้องถูกรัฐกระทำรุนแรงขนาดนี้ และเป็นความรุนแรงในนามกฎหมายที่พวกเขาอ้างว่ามีความชอบธรรมที่จะกระทำกับประชาชน เป็นการกระทำที่เราในฐานะนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนไม่สามารถยอมรับได้เลยว่านี่เป็นกระบวนการความยุติธรรม หรือกระบวนการตามกฎหมายที่มีทั้งกฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศที่บัญญัติชัดเจน เรื่องรับรองสิทธิของพลเมือง สิทธิเสรีภาพของประชาชน รวมถึงสิทธิของชนเผ่า ชนกลุ่มน้อยที่จะสามารถอยู่ในพื้นที่ตนเอง รักษาวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมของตนเอง ถูกกระทำเช่นนี้ อย่างแรกเลยที่เราเห็น รัฐมีการใช้ทรัพยากรจำนวนมาก เกินสัดส่วนไปมากมายเหลือเกิน เอา เฮลิครอปเตอร์ขึ้นไปบนใจแผ่นดิน มีการบินวน เป็นลักษณะของการข่มขู่คุกคาม โดยใช้อำนาจรัฐ ใช้ทรัพยากรที่มาจากภาษีประชาชนในการไปคุกคามคนที่อยู่บ้านของเขาเอง  มีการจับกุมผู้ต้องหาแม้ว่าจะแจ้งข้อหาที่มีอัตราโทษร้ายแรง 4-20 ปี ตามพ.ร.บ.ใหม่ ที่กฎหมายอาญาทั่วไปบอกว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจถ้าจะจับสามารถออกหมายเรียกหรือหมายจับก็ได้ กรณีหมายจับ ถ้าอัตราโทษสูงเกิน 3 ปี เขาขอให้ออกหมายจับได้ แต่แม้จะขอให้ออกหมายจับได้ก็ไม่ได้แปลว่าชอบธรรมที่จะออกหมายจับโดยทันทีทันใดโดยที่ไม่คำนึงถึงความเปราะบาง ความแตกต่างทางเชื้อชาติ […]

[หนังสือ] ร้องเรียนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน

ที่ สนส.33/2564 17 มีนาคม 2564 เรื่อง ร้องเรียนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เรียน     1. ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สิ่งที่ส่งมาด้วย      สำเนาหนังสือของนายอานนท์ นำภา ฉบับลงวันที่ 16 มีนาคม 2564   ตามที่ปรากฏข้อความของนายอานนท์ นำภา จำเลยของศาลอาญา ซึ่งถูกขังไว้ตามหมายขังของศาลอาญาระหว่างการพิจารณาคดี โดยถูกขังไว้ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครรายละเอียดปรากฏตามหนังสือดังกล่าวที่ส่งมาด้วย เนื่องจากตามหนังสือที่ส่งมาพร้อมหนังสือนี้ได้มีเนื้อหาข้อความโดยสรุปว่า ระหว่างเวลา 21.30 น. ของวันที่ 15 มีนาคม 2564 ถึงเวลา 02.30 น. ของวันที่ 16 มีนาคม 2564 ในระหว่างที่นายอานนท์ นำภา กับพวกถูกต้องขังตามหมายขังระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอาญาอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร มีกลุ่มบุคคลไม่ทราบชื่อแต่งกายเป็นเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้บุกเข้าไปในห้องขังเพื่อนำตัวนายอานนท์กับพวกออกไปจากห้องคุมขังโดยอ้างว่าจะนำไปตรวจโรคโควิด 19รายละเอียดปรากฏตามหนังสือดังกล่าวที่ส่งมาด้วยแล้ว สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและมารดาของผู้ต้องขังที่ถูกอ้างถึงตามหนังสือดังกล่าวมีความกังวลใจในข้อเท็จจริงดังกล่าวอย่างยิ่ง จึงได้ทำหนังสือฉบับนี้มาถึงท่านในฐานะผู้รับผิดชอบเพื่อได้โปรดพิจารณาดำเนินการตรวจสอบ  หาข้อมูลข้อเท็จจริง และพิจารณาดำเนินการตามอำนาจตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความถูกต้องและเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของบรรดาผู้ต้องขังที่ถูกระบุไว้ตามหนังสือดังกล่าวโดยเร็ว เพื่อให้เป็นไปตามหลักการคุ้มครองของสิทธิผู้ถูกกล่าวหา ที่ยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์รวมทั้งเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยทั่วไปที่อาจจะต้องประสพกับการดำเนินการในกรณีเช่นเดียวกับกรณีดังกล่าว ซึ่งหากข้อความตามหนังสือที่ส่งมาด้วยเป็นความจริง ย่อมถือได้ว่าเจ้าพนักงานของรัฐได้ดำเนินการอันเป็นความผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง ผิดต่อหลักรัฐธรรมนูญ […]

รายงาน “สถานการณ์การฟ้องคดีปิดปากในประเทศไทย: มีกลไกกลั่นกรองแล้วแต่ทำไมแนวโน้มคดียังสูงขึ้นต่อเนื่อง”

รายงานสถานการณ์การฟ้องคดีปีปากในประเทศไทย ปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐไทยอธิบายต่อสังคมว่ามีกลไกกลั่นกรองคดีฟ้องปิดปากที่มีประสิทธิภาพอยู่เเล้ว อาทิ ประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 และมาตรา 165/2 พ.ร.บ.อัยการ มาตรา 21 และระเบียบว่าด้วยการสั่งคดีอาญาที่จะไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะชน หรือจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ รวมถึงภาครัฐ โดยกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ผลักดันแผนว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ซึ่งบรรจุประเด็นเรื่องการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ) จากการถูกฟ้องคดี

เสวนา “SLAPP:เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกใช้ปิดปากประชาชน”

บันทึกเสวนาวิชาการเรื่อง “SLAPP :เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกใช้ปิดปากประชาชน” เมื่อวัน 22 ธ.ค. ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  จัดงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง SLAPP: เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกใช้ปิดปากประชาชน “ ณ ห้อง จี๊ด เศรษฐบุตร (ห้องLT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมี ทนายพูนสุข พูนสุขเจริญ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, ดร.มาร์ค เจริญวงศ์ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด, นงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ ที่ปรึกษาด้านส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ(กฎหมาย) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และ พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ ตัวแทนจากองค์กร ARTICLE 19 เป็นวิทยากร และ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ผู้สื่อข่าว voice TV เป็นผู้ดำเนินรายการ  โดยสาระสำคัญในวงเสนา สรุปได้ดังนี้ 101 SLAPP: ฟ้องปิดปากคืออะไร การดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองจำนวนมากใช้ฟ้องปิดปากหรือไม่? พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน อธิบายที่มาและลักษณะของการฟ้องปิดปาก […]

ภาคีนักกฎหมายสิทธิฯ เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดคุกคามประชาชนโดยการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือทางการเมือง

แถลงการณ์ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สืบเนื่องจากแถลงการณ์นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 ถึงกรณีการชุมนุมของประชาชนว่าเป็นสถานการณ์ที่ยังไม่คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีและมีแนวโน้มจะพัฒนาไปสู่ความขัดแย้ง นำไปสู่ความรุนแรงมากยิ่งขึ้นและรัฐบาลมีความจำเป็นต้องเพิ่มความเข้มข้นในการปฏิบัติการโดยจะบังคับใช้กฎหมายทุกฉบับ ทุกมาตราที่มีอยู่ต่อผู้ชุมนุม แถลงการณ์นายกรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นการตอกย้ำว่ารัฐบาลมองประชาชนผู้ชุมนุมเป็นคู่ขัดแย้งหรือศัตรูของรัฐบาล ไม่ใช่ในฐานะประชาชนผู้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้ ตลอดสองเดือนที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะว่ารัฐบาลไม่เพียงแต่จะไม่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้เสรีภาพในการชุมนุมอย่างเสมอภาค รัฐบาลยังมีพฤติการณ์ใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจับกุมแกนนำผู้ชุมนุมและการตั้งข้อหาที่ร้ายแรงเกินกว่าพฤติกรรมการกระทำความผิดของผู้ต้องหาด้วยรัฐบาลมีเจตนาซ่อนเร้นเพื่อปรามและกลั่นแกล้งผู้ชุมนุมที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในทางลบ ในทางตรงกันข้าม ผู้ชุมนุมที่ออกมาสนับสนุนรัฐบาลแม้ว่าจะมีพฤติกรรมคล้ายกันแต่ก็กลับไม่ถูกดำเนินคดีในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีออกแถลงการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่รัฐยิ่งใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือดำเนินคดีที่เป็นการกลั่นแกล้งเพื่อปิดปากประชาชนให้หวาดกลัวที่จะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล การกระทำเช่นนี้ แทนที่จะเป็นการคลี่คลายสถานการณ์กลับเป็นการโหมกระแสแห่งความขัดแย้งให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนยืนยันว่ากฎหมายต้องมีไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญไม่ใช่เครื่องมือของรัฐที่จะใช้ในการคุกคามหรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและเพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ไขความขัดแย้ง รัฐบาลต้องยุติการดำเนินคดีที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายกับผู้ชุมนุม การบังคับใช้กฎหมายต้องกระทำอย่างเสมอภาคและสอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี อีกทั้งรัฐบาลต้องไม่ดำเนินคดีไปในทางที่จะนำไปสู่ความเสื่อมศรัทธาหรือลดทอนพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์โดยการบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ต่อประชาชน ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาค รับฟังปัญหาและแก้ไขปัญหาด้วยความจริงใจ โดยรัฐบาลต้องไม่กระทำการอันเป็นการมองประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพเป็นศัตรูและต้องหยุดคุกคามประชาชนโดยการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือทางการเมือง ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน วันที่ 19 พฤศจิกายน 2563

[แถลงการณ์] ขอให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบโดยทันที และให้รัฐสภารับร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับ เพื่อเปิดพื้นที่สันติวิธีที่ประชาชนทุกคนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม

แถลงการณ์ขอให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบโดยทันที และให้รัฐสภารับร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับ เพื่อเปิดพื้นที่สันติวิธีที่ประชาชนทุกคนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม   จากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำกำลังเข้าปิดกั้น สกัดและฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาใส่ประชาชนที่ไปร่วมชุมนุมติดตามว่าร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน จะผ่านการพิจารณาของสภาหรือไม่ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 ข้อเรียกร้องของประชาชนมาตลอด ได้แก่ 1.ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และองคาพยพ ลาออก 2. รัฐสภาต้องเปิดประชุมวิสามัญทันทีเพื่อรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และ 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย  โดย นอกจากมีการฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาใส่ประชาชนที่ไปร่วมชุมนุมแล้ว เจ้าหน้าที่ยังมีการเตรียมใช้กระสุนเพื่อยกระดับมาตรการควบคุมฝูงชนด้วยนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มีความเห็นว่า การใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องและติดตามการลงมติต่อร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนได้ร่วมกันเสนอ ที่บริเวณหน้ารัฐสภานั้น ยังถือเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ อันเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่พึงกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 44 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อบทที่ 21 ที่รัฐไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งการจำกัดใช้เสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวย่อมกระทำไม่ได้ การอาศัยเพียงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภายในประเทศเกี่ยวกับการชุมนุมบางประการ ไม่อาจทำให้การชุมนุมนั้นกลายเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบจนเป็นเหตุให้รัฐใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมได้ การที่เจ้าหน้าที่รัฐฉีดน้ำแรงดันสูงและแก็สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมที่เพียงต้องการเข้าไปชุมนุมโดยสงบบริเวณหน้ารัฐสภานั้น ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ละเมิดต่อเสรีภาพในการชุมนุมตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศรับรองไว้ ทั้งยังไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเรื่องการสลายการชุมนุมตามหลักสากล เนื่องจากตามหลักการแล้ว ก่อนใช้กำลังเจ้าหน้าที่ควรต้องพิจารณา (1) หลักความถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมั่นใจว่ากำลังที่จะใช้ เป็นไปตามข้อกำหนดของตำรวจ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ (2) […]

[Press Release] Government urged to stop using violence against people who exercise their right to freedom of peaceful assembly

Press Release Government urged to stop using violence against people who exercise their right to freedom of peaceful assembly     As the police have deployed forces to block and fired water cannon at the people who exercised their right to freedom of assembly to demand the monarchical reform in front of the Supreme Court […]

1 2 3 4 5 32