admin

ทนายสุมิตรชัยและชาวบ้านสันตับเต่า จังหวัดลำพูน 2 ราย เข้ารับทราบข้อกล่าวหา “นำสืบพยานหลักฐานเท็จและข้อหาเบิกความเท็จ” สภ.นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดลำพูน

วันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2562) เวลา 10.00 น. ทนายสุมิตรชัย หัตถสาร และชาวบ้านบ้านสันตับเต่า จังหวัดลำพูนอีก  2 ราย จะเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหา ที่สถานีตำรวจภูธรนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดลำพูน โดยทนายสุมิตรชัยถูกแจ้งความในข้อหานำสืบพยานหลักฐานเท็จ ส่วนชาวบ้าน บ้านสันตับเต่า จำนวน 2 ราย  ถูกดำเนิคดีข้อหาเบิกความเท็จต่อศาลทั้งในคดีอาญาและคดีแพ่ง  นายสุมิตรชัย  ถูกดำเนินคดี เนื่องจากเป็นทนายให้ชาวบ้าน บ้านสันตับเต่า จังหวัดลำพูน คือ นางสายทอง เตชะระ และนางสมรัตน์ วรรณภิระ ที่ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาเมื่อปี 2556 และศาลมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์เมื่อปี 2557 และคดีแพ่งที่ถูกฟ้องขับไล่ ในปี 2560  โดยนายทุนได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สภ.นิคมอุตสาหกรรมลำพูน กล่าวหาว่า นางสายทอง เตชะระ และนางสมรัตน์ วรรณภิระ เบิกความเท็จต่อศาลทั้งในคดีอาญาและคดีแพ่ง และกล่าวหาทนายความสุมิตรชัย หัตถสาร ว่านำสืบพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในคดีอาญา  พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งความไว้และออกหมายเรียกให้นางสายทอง เตชะระ  นางสมรัตน์ วรรณภิระ และนายสุมิตรชัย หัตถสาร […]

จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน An open letter Hakeem Ali al-Araibi should be released and not deported to face grave risks in Bahrain

จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน (English below)           สืบเนื่องจากทางการไทยได้จับกุมตัวนายฮาคีม อาลี โมฮัมหมัด อาลี อัล อาไรบี (Mr. Hakeem Ali Mohamed Ali Alaraibi) อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรนไว้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 หลังจาก ที่นายฮาคีมและภรรยาได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการจับกุมตามหมายแดง (Red Notice) ของตำรวจสากล (INTERPOL) ซึ่งเป็นการออกตามคำขอของทางการบาห์เรน ต่อมาหมายจับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากขัดกับ,oนโยบายของตำรวจสากล ที่ห้ามการออกหมายจับของรัฐบาลต่อผู้ลี้ภัย ที่หลบหนีการประหัตประหารมาจากประเทศที่ขอออกหมายจับ           หลังจากการถูกจับกุมนายฮาคีมถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามคำสั่งของศาลอาญา มาตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2561 จนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ศาลอาญาเบิกตัวเขามาสอบถามความยินยอมส่งตัวกลับประเทศบาห์เรนเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามคำร้องของพนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีต่างประเทศ […]

สนส. เปิดรับสมัครงาน ตำแหน่งผู้อำนวยการ 1 อัตรา

ประกาศรับสมัครงาน ตำแหน่งผู้อำนวยการสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน         ตำแหน่งผู้อำนวยการ 1 อัตรา คุณสมบัติ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความรู้ความเข้าใจ และแรงบันดาลใจในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และกระบวนการยุติธรรม มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนางาน และพัฒนาองค์กร มีความคิดสร้างสรรค์  ทำงานแบบมีส่วนร่วม ทำงานแบบเต็มเวลาและสามารถเดินทางไปยังพื้นที่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศได้ สามารถสื่อสารและใช้ภาษาอังกฤษได้จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานบริหารจัดการโครงการหรือองค์กรตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ บทบาทและความรับผิดชอบ ดังนี้ คิดริเริ่ม จัดทำแผนงาน และบริหารโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สนส.และที่ประชุมใหญ่สนส. ส่งเสริมการทำงานอย่างมีส่วนร่วมระหว่างสมาชิกของสมาคม เจ้าหน้าที่ และเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน สื่อสารต่อสาธารณะ และประสานงานกับหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง การสมัคร รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 โดยส่งรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน/กิจกรรม  มาที่ อีเมล hrla2008@gmail.com รายละเอียดเพิ่มเติม

เสวนาวิชาการวิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด : เสนอการสร้างสังคมที่ตรวจสอบ วิจารณ์คำพิพากษาอย่างสร้างสรรค์

คดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง เป็นหนึ่งในคดีฆาตกรรมอีกนับกว่า 2,500 คดีที่เกิดขึ้นในช่วงนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติดที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2546 แต่คดีส่วนใหญ่กลับไม่มีความคืบหน้าในการสืบสวน สอบสวนหาตัวนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ  คดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ เป็นกรณีเดียวที่สามารถนำคดีเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลได้ ซึ่งก็เกิดจากความพยายามอย่างหนักของญาติและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และต้องเสี่ยงกับการคุกคามมากมาย แม้ในทางคดีจะสิ้นสุดลงแล้วโดยคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกฟ้องจำเลยทั้งหมด ซึ่งได้มีการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในลักษณะที่แตกต่างไปจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จนทำให้ผลของคดีออกมาสวนทางกันอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล  (สรุปคำพิพากษานายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง) งานเสวนาวิชาการ หัวข้อการวิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลในคดีอาญา ผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด ที่จัดขึ้นโดย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)  และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีกล่าวถึงปัญหาในประเด็นการรับฟังและการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล  รวมถึงประเด็นการคุ้มครองพยาน ผ่านกรณีคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ ในงานเสวนานี้ นักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอแนวทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นสอบสวน ชั้นพิจารณาคดี ตลอดจนประเด็นเรื่องการคุ้มครองพยานไว้อย่างน่าสนใจ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น  มองปัญหากระบวนการยุติธรรมชั้นสอบสวน ถึงชั้นพิจารณาคดี ผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ   ทนายรัษฎา มนูรัษฎา คณะทำงานจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ นำเสนอเเละชวนตั้งข้อสังเกตในประเด็นศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา “กลับ” คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยยกฟ้องจำเลยทั้งหมดว่าไม่มีความผิด เนื่องจากศาลเห็นว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมปาก นางสาว อ. มีพิรุธไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ให้การเเตกต่างไปจากการให้การไว้กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด จึงยกประโยชน์เเห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งหก ทั้งที่พยานที่สอบไว้จำนวน […]

การแย่งยึดที่ดินเพื่อเพิ่มพื้นที่ปล่อยฝุ่น PM 2.5

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 26 มกราคม 2562 ถ้าตัดเรื่องการเลือกตั้งที่มีความสำคัญมากต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตบ้านเมืองออกไป  เหตุเพราะมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งประกาศออกมาแล้ว  และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ได้ประกาศให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 แล้ว  ปัญหาเร่งด่วนอันดับแรกคือปัญหาเรื่องมลภาวะในอากาศที่เผชิญกับฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐานอยู่ในขณะนี้ จนถึงวันนี้ค่าฝุ่น PM 2.5 ยังพุ่งสูงเกินค่ามาตรฐานกระจายไปทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑลไม่หยุด  ขนาดเกิดวิกฤติถึงขั้นที่ค่าฝุ่น PM 2.5 สูงกว่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ถึง 2-3 เท่า  และมีค่าเกินมาตรฐานต่อเนื่องตลอดเดือนมกราคม  อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ยังไม่เสนอให้รัฐบาลประกาศใช้มาตรา 9 ของกฎหมายสิ่งแวดล้อมเพื่อประกาศให้กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นเขตควบคุมมลพิษเพราะ “คำนึงถึงภาพลักษณ์ของประเทศ” คงกลัวความเสียหายเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวจนอาจส่งผลกระทบทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP ตก ขณะที่หลายหน่วยงานขององค์กรภาครัฐและเอกชนต้องปรับเวลาทำงานใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงการออกมาเผชิญผลกระทบจากภาวะมลพิษในอากาศช่วงเช้ากันแล้ว  และมีลูกจ้างจำนวนไม่น้อยต้องลาป่วยไม่สามารถออกไปทำงานได้จากโรคทางเดินหายใจและภูมิแพ้  แต่อธิบดี คพ. ยังออกมาให้สัมภาษณ์ว่าจะยังไม่ประกาศให้กรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นเขตควบคุมมลพิษเพราะกลัวกระทบภาพลักษณ์ของประเทศ นี่แหละสมองของระบบราชการในองคาพยพรัฐเผด็จการ  ที่หน่วยงานหนึ่งคือ […]

เชิญร่วมงาน เสวนาวิชาการวิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลในคดีอาญาผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-12.30 น.

กำหนดการโครงการเสวนาวิชาการ “วิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลในคดีอาญาผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด” วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-12.30 น ณ ห้อง 211 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 08.00 น.                   ลงทะเบียน 08.30 – 08.45 น.      กล่าวเปิดงานและชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน                                โดย นายรัษฏา มนูรัษฏา อุปนายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน             […]

สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด”

สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด” ศาลชั้นต้น 2600/2555 วิเคราะห์พยานหลักฐานของคู่ความในคดี ข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 นายเกียรติศักดิ์  ถิตย์บุญครอง ผู้ตาย ถูกเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ จับกุมในข้อหาลักทรัพย์ หรือรับของโจร และถูกคุมตัวไว้ในห้องขังของสภ.เมืองกาฬสินธุ์ ต่อมา วันที่ 22 กรกฎาคม 2547 นายสุรศักดิ์  เรืองศรีมั่น สมาชิกสภาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องฯ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 มีผู้พบศพผู้ตายในสภาพศพถูกแขวนคออยู่ที่กระท่อมนา บ้านบึงโดน ต.แสนชาติ อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการแรกว่า การเสียชีวิตของผู้ตายเกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์หรือไม่ ? จากการนำสืบของฝ่ายโจทก์เบิกความว่า ตามเหตุการณ์ทั้งหมดประกอบกับสถิติคดีอุกฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นปลายปี 2546 ถึงปี 2547 พบว่าผู้เสียชีวิตล้วนมีประวัติเคยก่ออาชญากรรมมาก่อนและก่อนเสียชีวิตได้มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานตำรวจ ช่วงเวลาของการเสียชีวิตอยู่ในช่วงของระยะเวลาของการมีนโยบายปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากผิดปกติเป็นจำนวนถึง 2,500 ศพ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดกาฬสินธุ์ […]

สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด”

  สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา “คดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบาย ทำสงครามกับยาเสพติด” ศาลชั้นต้น 2600/2555 วิเคราะห์พยานหลักฐานของคู่ความในคดี ข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า วันที่ 16 กรกฎาคม 2547 นายเกียรติศักดิ์  ถิตย์บุญครอง ผู้ตาย ถูกเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์ จับกุมในข้อหาลักทรัพย์ หรือรับของโจร และถูกคุมตัวไว้ในห้องขังของสภ.เมืองกาฬสินธุ์ ต่อมา วันที่ 22 กรกฎาคม 2547 นายสุรศักดิ์  เรืองศรีมั่น สมาชิกสภาเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องฯ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 มีผู้พบศพผู้ตายในสภาพศพถูกแขวนคออยู่ที่กระท่อมนา บ้านบึงโดน ต.แสนชาติ อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด   คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการแรกว่า การเสียชีวิตของผู้ตายเกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจ สภ.เมืองกาฬสินธุ์หรือไม่ ? จากการนำสืบของฝ่ายโจทก์เบิกความว่า ตามเหตุการณ์ทั้งหมดประกอบกับสถิติคดีอุกฉกรรจ์ที่เกิดขึ้นปลายปี 2546 ถึงปี 2547 พบว่าผู้เสียชีวิตล้วนมีประวัติเคยก่ออาชญากรรมมาก่อนและก่อนเสียชีวิตได้มีความเกี่ยวข้องกับเจ้าพนักงานตำรวจ ช่วงเวลาของการเสียชีวิตอยู่ในช่วงของระยะเวลาของการมีนโยบายปราบปรามยาเสพติด ซึ่งมีจำนวนผู้เสียชีวิตมากผิดปกติเป็นจำนวนถึง 2,500 ศพ […]

วงเสวนาคดีปกครองแก่งกระจานระบุคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดหลีกเลี่ยงรับรองสิทธิชุมชน เสนอใช้ มติ ครม. 3 สิงหา 53 แก้ปัญหาคนกะเหรี่ยงกับป่า

 สิทธิชุมชนเป็นประเด็นที่คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดยังไม่ได้รับรองอย่างเต็มที่   และศาลยังไม่เข้าใจอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติพันธุ์กะเหรี่ยงเท่าที่ควร  แต่ความก้าวหน้าของคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีนี้คือการวางมาตรฐานในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ  และได้ช่วยเน้นย้ำสถานะของมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 3 สิงหาคม 2553 แม้จะประเด็นเล็กๆในคำพิพากษา แต่ก็น่าจะเป็นความหวังในการแก้ไขปัญหาคนกะเหรี่ยงกับป่าอนุรักษ์ได้พอสมควร วันที่ 8 มกราคม 2562 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ร่วมกับสภาทนายความ  สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  และเครือข่ายกะเหรี่ยงเพื่อวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเขตงานตะนาวศรี จัดงานเสวนาวิชาการหัวข้อ “สิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงบางกลอย-ใจแผ่นดินกับคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด”  ณ ห้องประชุมจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (ดูคลิปเต็มการถ่ายทอดสดการเสวนา) เวทีเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2561 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาคดีที่กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอยบน/ใจแผ่นดินจำนวน 6 คนได้ยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้ทำการรื้อถอนเผาทำลายสิ่งปลูกสร้างและทรัพย์สินของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เมื่อปี 2554 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ ประเด็นที่ศาลบอกว่าชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงดังกล่าวเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม แต่เหตุใดพวกเขาถึงไม่ได้รับการคุ้มครองในฐานะสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ และจะทำอย่างไรให้มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 เรื่อง แนวนโยบายในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง  และอื่นๆ ประเด็นเหล่านี้ ล้วนเป็นประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องนำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายรัฐที่ปกป้อง คุ้มครอง เคารพสิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมต่อไป อ่านคำพิพากษาฉบับเต็ม […]

ทนายยื่นคำร้องให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินการควบคุมตัวหญิงชาวซาอุฯโดยมิชอบ แต่ศาลยกฟ้องอ้างเหตุไม่มีหลักฐานทั้งที่ยังไม่ได้ไต่สวน

วันที่ 7 มกราคม 2562 ทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและ NSP Legal Office ได้เข้าช่วยเหลือหญิงชาวซาอุดีอาระเบียถูกควบคุมตัวในประเทศไทย โดยได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา เพื่อขอให้ศาลไต่สวนการควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 กรณีสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา ได้มีบุคคลอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากสถานทูตราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ประจำประเทศไทย พร้อมบุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่สายการบินคูเวตแอร์ไลน์ทำการควบคุมตัวนางสาวราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูน (Mr. Rahaf Mohammed Alqunun) หญิงอายุ 18 ปี ชาวซาอุดีอาระเบีย ซึ่งได้หลบหนีจากครอบครัว เพราะการถูกบังคับให้แต่งงานและถูกทำร้ายอย่างหนัก โดยเธอได้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อต่อเครื่องจากสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อลี้ภัยไปยังประเทศออสเตรเลีย แต่ระหว่างรอเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิปรากฎว่าเธอได้ถูกควบคุมตัวไปกักขังไว้ที่ห้องพักในโรงแรมมิราเคิลทรานซิท อาคารระหว่างประเทศขาออก สนามบินสุวรรณภูมิ รวมทั้งถูกยืดเอกสารหนังสือเดินทาง ตั๋วเครื่องบิน และเอกสารประจำตัวไปแล้วนำตัวไป ขณะนี้เธอยังถูกกักขังอยู่ในห้องพักโรงแรมดังกล่าว นางสาวราฮาฟ โมฮาเหม็ด แอล-เคนูนได้แจ้งแก่ทนายความว่า เธอไม่ต้องการเดินทางไปยังประเทศคูเวตและประเทศซาอุดิอาระเบีย เนื่องจากหากถูกส่งตัวกลับไปจะมีภัยอันตรายถึงแก่ชีวิต จากเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องความเชื่อทางศาสนา อย่างไรก็ดีบุคคลที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ที่เข้ามาควบคุมตัวเธอยืนยันจะดำเนินการส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทาง นอกจากนี้ผู้นำในคณะรัฐบาลไทยได้ให้สัมภาษณ์ย้ำถึงการต้องส่งตัวกลับไปยังประเทศต้นทาง  ทนายความได้ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาล เพราะเห็นว่าพฤติการณ์การกักขังดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการขังโดยกรณีอื่นใดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่จะส่งตัวเธอกลับไปยังประเทศต้นทาง อาจขัดต่อหลักการตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ รวมถึงหลักการห้ามผลักดันกลับหากบุคคลนั้นเสี่ยงที่จะได้รับอันตราย […]

1 14 15 16 17 18 32