admin

การคุ้มครองนักต่อสู้ด้านสิทธิมนุษยชนและการฟ้องคดีปิดปากในไทย

ในหัวข้อเสวนาเรื่อง “การเข้าถึงความคุ้มครองทางสังคมและการเข้าถึงความยุติธรรมของแรงงานข้ามชาติและครอบครัว” ของงานประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบายในการนำฉันทามติอาเซียนว่าด้วยแรงงานข้ามชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาและองค์กรภาคี เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562

เปิดคำพิพากษาการดำเนินคดีมาตรา 90 ขอให้ปล่อยตัวบิลลี่ออกจากการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ

สืบเนื่องจากกรณีการหายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือ บิลลี่ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557 ภายหลังจากที่ถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เนื่องจากมีน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครองเป็นจำนวน 6 ขวด และหลังจากวันนั้นก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นบิลลี่อีกเลย

ความเห็นทางกฎหมาย: กรณีการดำเนินคดีกับสฤณี อาชวานันทกุล และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๒ ศาลฎีกาโดยนายฉันทวัธน์ วรทัต ผู้พิพากษา   ได้มีหมายเรียกนางสาวสฤณี อาชวานันทกุล และบรรณาธิการข่าวหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ให้ไปให้การต่อศาลฎีกาในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๐.๓๐ น.

แจ้งข่าว : 16 ก.ย. 62 ศาลนัดพร้อมคดีครอบครัวชัยภูมิ ป่าแส ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกองทัพบก ณ ศาลจังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 16 กันยายน 2562 ศาลกำหนดนัดพร้อมเพื่อสืบพยานประเด็นโจทก์ทั้ง 9 ปาก เวลา 09.00 น. ณ ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ขอเชิญสื่อมวลชน และผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดีในศาลตามวันและเวลาดังกล่าว

ดีเอสไอแถลงพบเบาะแสบิลลี่เสียชีวิต หลังจากหายตัวไปกว่า 5 ปี

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แถลงว่าพบถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร ที่ในถังมีชิ้นส่วนกระดูกมนุษย์ บริเวณใกล้สะพานแขวน ซึ่งคาดว่าจะเป็นชิ้นส่วนของบิลลี่

เบื้องหลังการหายไปมีเรื่องราว : การหายไปของบิลลี่และจิตวิญญาณชาวกะเหรี่ยงแก่งกระจานที่ปลิดปลิว

ในทุกรอบปีของวันที่มีคนหายไป หรือทุกรอบปีของวันคนหายสากล ครอบครัวของคนที่หายไปยังคงเฝ้ารำลึกถึงคนหาย รำลึกถึงอย่างภูมิใจปนทรมานใจในการต่อสู้อย่างกล้าหาญเพื่อสังคมที่ดีขึ้น ทุกคนหวังว่าความเป็นธรรมจะเกิดขึ้น กฎหมายจะปกป้องผู้คนจากเหตุการณ์เหล่านี้ หวังว่าเรื่องแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นกับผู้ใดอีก และหวังว่าหากมีผู้ใดต่อสู้ พวกเขาจะชนะ และไม่หายไปตลอดกาล

แจ้งข่าวคดีนักปกป้องสิทธิแรงงานถูกฟาร์มไก่ฟ้องละเมิดเรียกค่าเสียหาย กรณีรายงานการละเมิดสิทธิแรงงาน ศาลใช้เวลาไกล่เกลี่ย 3 ชม.กว่า ก่อนโจทก์จำเลยตกลงกันได้และโจทก์ยอมถอนฟ้อง  

สืบเนื่องจากกรณีที่บริษัทธรรมเกษตร  จำกัด ได้ฟ้องนางสาวสุธารี วรรณศิริ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในคดีละเมิดตามมาตรา 423 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เรียกค่าเสียหายจำนวน  5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) 

การซ้อมทรมานคดีความมั่นคง ในสามจังหวัดชายแดนใต้: แด่ อับดุลเลาะ อีซอมูซอ ผู้จากไป

  หากพูดถึง “การซ้อมทรมาน” หลายคนที่ได้ยินคำนี้คงเกิดข้อสงสัยว่าการซ้อมทรมานคืออะไร เกี่ยวข้องกับ                                                คดีของนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ อย่างไร

แนวทางปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนผ่านการใช้กฎหมายแร่ฉบับใหม่’ ที่ฝ่าฝืนกฎหมายแร่ฉบับใหม่

เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๒ การจัดทำแนวพื้นที่กันชนการทำเหมือง การจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน มาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยมลพิษ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการทำเหมือง แต่งแร่และประกอบโลหกรรม และหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้ความคุ้มครองแก่คนงานและความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอก ล้วนเป็นเนื้อหาใหม่ที่ถูกบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๒[1] แห่งพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐ หรือ ‘กฎหมายแร่ฉบับใหม่’ ว่าจะต้องถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาอนุมัติ/อนุญาตประทานบัตรสำหรับการทำเหมืองแร่ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (รัฐมนตรี) เป็นผู้ออกประกาศร่วมกัน ซึ่งการออกประกาศดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อของการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำแนวพื้นที่กันชนการทำเหมืองและการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ (คนร.) ก่อนด้วย รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนอย่างน้อยต้องกำหนดให้มีการศึกษาข้อมูลทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับการปนเปื้อนของโลหะหนักหรือสารพิษ และการเจ็บป่วยที่อาจเกิดจากสารเคมีหรือมลพิษที่เกิดจากการทำเหมืองของประชาชนในพื้นที่ก่อนและหลังการทำเหมืองด้วย นับว่าเป็นบทบัญญัติที่ค่อนข้างก้าวหน้าทีเดียวเมื่อเทียบกับกฎหมายแร่ฉบับเก่าหรือพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐ ที่ถูกยกเลิกใช้บังคับไปแล้ว แต่ก็ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรเพราะมีอัตราโทษเบาเกินไปเพียงแค่ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับสำหรับผู้ประกอบการที่ได้กำไรมหาศาลจากการประกอบกิจการเหมืองแร่และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าว ผลของมาตรา ๓๒ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องต้องออกประกาศหลายฉบับ อาทิเช่น (๑) ประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำแนวพื้นที่กันชนการทำเหมืองสำหรับการทำเหมืองแร่ แต่งแร่และประกอบโลหกรรม (๒) ประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนสำหรับการทำเหมืองแร่ แต่งแร่และประกอบโลหกรรม (๓) ประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยมลพิษหรือสิ่งอื่นใดที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการทำเหมือง แต่งแร่และประกอบโลหกรรม (๔) ประกาศกระทรวง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์หรือวิธีการให้ความคุ้มครองแก่คนงานและความปลอดภัยแก่บุคคลภายนอกสำหรับการทำเหมือง […]

1 11 12 13 14 15 32