Year: 2020

เสวนา “SLAPP:เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกใช้ปิดปากประชาชน”

บันทึกเสวนาวิชาการเรื่อง “SLAPP :เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกใช้ปิดปากประชาชน” เมื่อวัน 22 ธ.ค. ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน  จัดงานเสวนาทางวิชาการเรื่อง SLAPP: เมื่อกระบวนการยุติธรรมถูกใช้ปิดปากประชาชน “ ณ ห้อง จี๊ด เศรษฐบุตร (ห้องLT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมี ทนายพูนสุข พูนสุขเจริญ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, ดร.มาร์ค เจริญวงศ์ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด, นงภรณ์ รุ่งเพ็ชรวงศ์ ที่ปรึกษาด้านส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ(กฎหมาย) กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และ พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ ตัวแทนจากองค์กร ARTICLE 19 เป็นวิทยากร และ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ผู้สื่อข่าว voice TV เป็นผู้ดำเนินรายการ  โดยสาระสำคัญในวงเสนา สรุปได้ดังนี้ 101 SLAPP: ฟ้องปิดปากคืออะไร การดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองจำนวนมากใช้ฟ้องปิดปากหรือไม่? พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน อธิบายที่มาและลักษณะของการฟ้องปิดปาก […]

ภาคีนักกฎหมายสิทธิฯ เรียกร้องให้รัฐบาลหยุดคุกคามประชาชนโดยการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือทางการเมือง

แถลงการณ์ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน สืบเนื่องจากแถลงการณ์นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 ถึงกรณีการชุมนุมของประชาชนว่าเป็นสถานการณ์ที่ยังไม่คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีและมีแนวโน้มจะพัฒนาไปสู่ความขัดแย้ง นำไปสู่ความรุนแรงมากยิ่งขึ้นและรัฐบาลมีความจำเป็นต้องเพิ่มความเข้มข้นในการปฏิบัติการโดยจะบังคับใช้กฎหมายทุกฉบับ ทุกมาตราที่มีอยู่ต่อผู้ชุมนุม แถลงการณ์นายกรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นการตอกย้ำว่ารัฐบาลมองประชาชนผู้ชุมนุมเป็นคู่ขัดแย้งหรือศัตรูของรัฐบาล ไม่ใช่ในฐานะประชาชนผู้ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองตามที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้ ตลอดสองเดือนที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะว่ารัฐบาลไม่เพียงแต่จะไม่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกต่อผู้ใช้เสรีภาพในการชุมนุมอย่างเสมอภาค รัฐบาลยังมีพฤติการณ์ใช้กระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจับกุมแกนนำผู้ชุมนุมและการตั้งข้อหาที่ร้ายแรงเกินกว่าพฤติกรรมการกระทำความผิดของผู้ต้องหาด้วยรัฐบาลมีเจตนาซ่อนเร้นเพื่อปรามและกลั่นแกล้งผู้ชุมนุมที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออกวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในทางลบ ในทางตรงกันข้าม ผู้ชุมนุมที่ออกมาสนับสนุนรัฐบาลแม้ว่าจะมีพฤติกรรมคล้ายกันแต่ก็กลับไม่ถูกดำเนินคดีในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีออกแถลงการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่รัฐยิ่งใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือดำเนินคดีที่เป็นการกลั่นแกล้งเพื่อปิดปากประชาชนให้หวาดกลัวที่จะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล การกระทำเช่นนี้ แทนที่จะเป็นการคลี่คลายสถานการณ์กลับเป็นการโหมกระแสแห่งความขัดแย้งให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนยืนยันว่ากฎหมายต้องมีไว้เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญไม่ใช่เครื่องมือของรัฐที่จะใช้ในการคุกคามหรือลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและเพื่อแสดงความจริงใจในการแก้ไขความขัดแย้ง รัฐบาลต้องยุติการดำเนินคดีที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายกับผู้ชุมนุม การบังคับใช้กฎหมายต้องกระทำอย่างเสมอภาคและสอดคล้องกับกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี อีกทั้งรัฐบาลต้องไม่ดำเนินคดีไปในทางที่จะนำไปสู่ความเสื่อมศรัทธาหรือลดทอนพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์โดยการบังคับใช้กฎหมายอาญามาตรา 112 ต่อประชาชน ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทุกคนอย่างเสมอภาค รับฟังปัญหาและแก้ไขปัญหาด้วยความจริงใจ โดยรัฐบาลต้องไม่กระทำการอันเป็นการมองประชาชนที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพเป็นศัตรูและต้องหยุดคุกคามประชาชนโดยการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือทางการเมือง ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน วันที่ 19 พฤศจิกายน 2563

[แถลงการณ์] ขอให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบโดยทันที และให้รัฐสภารับร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับ เพื่อเปิดพื้นที่สันติวิธีที่ประชาชนทุกคนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม

แถลงการณ์ขอให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบโดยทันที และให้รัฐสภารับร่างรัฐธรรมนูญทุกฉบับ เพื่อเปิดพื้นที่สันติวิธีที่ประชาชนทุกคนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม   จากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำกำลังเข้าปิดกั้น สกัดและฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาใส่ประชาชนที่ไปร่วมชุมนุมติดตามว่าร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน จะผ่านการพิจารณาของสภาหรือไม่ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 ข้อเรียกร้องของประชาชนมาตลอด ได้แก่ 1.ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และองคาพยพ ลาออก 2. รัฐสภาต้องเปิดประชุมวิสามัญทันทีเพื่อรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และ 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย  โดย นอกจากมีการฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาใส่ประชาชนที่ไปร่วมชุมนุมแล้ว เจ้าหน้าที่ยังมีการเตรียมใช้กระสุนเพื่อยกระดับมาตรการควบคุมฝูงชนด้วยนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มีความเห็นว่า การใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องและติดตามการลงมติต่อร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนได้ร่วมกันเสนอ ที่บริเวณหน้ารัฐสภานั้น ยังถือเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ อันเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่พึงกระทำได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 44 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อบทที่ 21 ที่รัฐไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งการจำกัดใช้เสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวย่อมกระทำไม่ได้ การอาศัยเพียงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภายในประเทศเกี่ยวกับการชุมนุมบางประการ ไม่อาจทำให้การชุมนุมนั้นกลายเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบจนเป็นเหตุให้รัฐใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมได้ การที่เจ้าหน้าที่รัฐฉีดน้ำแรงดันสูงและแก็สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุมที่เพียงต้องการเข้าไปชุมนุมโดยสงบบริเวณหน้ารัฐสภานั้น ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ละเมิดต่อเสรีภาพในการชุมนุมตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายระหว่างประเทศรับรองไว้ ทั้งยังไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเรื่องการสลายการชุมนุมตามหลักสากล เนื่องจากตามหลักการแล้ว ก่อนใช้กำลังเจ้าหน้าที่ควรต้องพิจารณา (1) หลักความถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมั่นใจว่ากำลังที่จะใช้ เป็นไปตามข้อกำหนดของตำรวจ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ (2) […]

[Press Release] Government urged to stop using violence against people who exercise their right to freedom of peaceful assembly

Press Release Government urged to stop using violence against people who exercise their right to freedom of peaceful assembly     As the police have deployed forces to block and fired water cannon at the people who exercised their right to freedom of assembly to demand the monarchical reform in front of the Supreme Court […]

แถลงการณ์ขอให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ

แถลงการณ์ขอให้รัฐบาลยุติการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่ออกมาใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ   จากกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจได้นำกำลังเข้าปิดกั้น สกัดและใช้รถฉีดน้ำแรงดังสูงฉีดใส่ประชาชน ที่ออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ณ บริเวณหน้าศาลฎีกา เวลาประมาณ 18 นาฬิกาเศษของวันที่ 8 พฤศจิกายน 2563 รวมถึงก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 เจ้าหน้าที่ได้ทำการฉีดน้ำที่มีแรงดันสูงและมีสารเคมีใส่ผู้ชุมนุมที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย โดยอาศัยอำนาจตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่กรุงเทพมหานคร เพื่อสลายการชุมนุมของประชาชนที่เรียกตนเองว่าคณะราษฎร ซึ่งได้มีรายงานว่าการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ ทั้งสองเหตุการณ์ทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมากนั้น สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มีความเห็นว่า การใช้เสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนเพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ โดยมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การอ่านแถลงการณ์ การส่งจดหมายถึงพระมหากษัตริย์ การปราศรัยย่อย และการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้น ยังถือเป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ จึงเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่ประชาชนพึงกระทำได้ตามที่ถูกรับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 44 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อบทที่ 21 ที่รัฐไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งการจำกัดใช้เสรีภาพในการชุมนุมดังกล่าวย่อมกระทำไม่ได้ การอาศัยเพียงข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภายในประเทศเกี่ยวกับการชุมนุมบางประการ ไม่อาจทำให้การชุมนุมนั้นกลายเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบจนเป็นเหตุให้รัฐใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมได้ หากรัฐต้องการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุม รัฐพึงต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความชอบธรรมทางกฎหมาย และความจำเป็นและได้สัดส่วนในการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมภายใต้บริบทของสังคมประชาธิปไตย และต้องอธิบายได้อย่างชัดแจ้งว่าการจำกัดนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงของชาติ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย […]

“แค่ไหนถึงฉีดน้ำ?” ความเห็นจากผู้ชุมนุม นักวิชาการ องค์กรระหว่างประเทศและตำรวจ

เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) ได้จัดเสวนาวิชาการเรื่อง “แค่ไหนถึงฉีดน้ำ “หลักสากล” เรื่องการควบคุมดูแลและสลายการชุมนุม” ณ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 63 เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อำนาจตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในท้องที่กรุงเทพมหานคร ทำการสลายการชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งประกอบด้วยนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนที่มาร่วมชุมนุมสลายการชุมนุมบริเวณแยกปทุมวัน รวมถึงเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 8 พ.ย. 63 เจ้าหน้าที่ได้ทำการฉีดน้ำความแรงสูงเพื่อสลายการชุมนุมของประชาชน หรือที่เรียกว่า #ม๊อบ8พฤศจิกา #ราษฎรสาส์น ที่บริเวณสนามหลวงอีกครั้ง ซึ่งการชุมนุมทั้ง 2 ครั้งนี้ ถือเป็นการชุมนุมที่จัดขึ้นโดยสงบและปราศจากอาวุธและยังไม่ปรากฏว่าผู้ชุมนุมมีการใช้ความรุนแรง ในการนี้ สนส. ขอนำเสนอความเห็นเกี่ยวกับหน้าที่ในการควบคุมดูแลและสลายการชุมนุมของรัฐ จากมุมของนักศึกษาซึ่งเข้าร่วมการชุมนุมและอยู่ในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563, อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์, ตัวแทนจากคณะกรรมการนิติศาสตร์สากล (ICJ), ตัวแทนตัวแทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตัวแทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติที่มาร่วมเสวนาในงานดังกล่าว เพื่อให้คนในสังคมได้นำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ถึงขอบเขตในการชุมนุมสาธารณะของประชาชน และบทบาทหน้าที่ของรัฐในการดูแลชุมนุมให้เป็นไปโดยสงบต่อไป มุมมองและประสบการณ์จากผู้เข้าร่วมชุมนุม 16 ตุลาคม #ชุมนุมแยกปทุมวัน หนึ่งฤทัย […]

สนส. เปิดตัววารสารออนไลน์ภายใต้ชื่อ “The Naksit Letter” สรุปกิจกรรม 3 เดือน 

“เพราะการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาองค์กร”  สืบเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.) มีการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่มากขึ้น และมีบทบาทที่ชัดเจนยิ่งขึ้น สนส. จึงเปิดตัววารสารราย 3 เดือน ฉบับใหม่ ภายใต้ชื่อ “The Naksit Letter” เพื่อให้สมาชิกและผู้ที่สนใจได้ติดตามข่าวสาร กิจกรรม และการทำงานของ สนส. โดยจัดทำเป็นวารสารออนไลน์ที่ทุกคนสามารถเปิดอ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ วารสารดังกล่าว ยังเปิดเป็นพื้นที่ในการรับสมัครสมาชิก สนส. อีกด้วย หากท่านใดเป็นผู้ที่สนใจหรือทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และสิทธิในกระบวนการยุติธรรม สามารถสมัครเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งได้เช่นกัน   [pdf-embedder url=”https://naksit.net/wp-content/uploads/2020/11/the-naksit-letter-vol1_compressed-2.pdf” title=”the-naksit-letter-vol1_compressed”]        

ทนายความสิทธิ เข้ายื่นหนังสือและนำเสนอทางออกต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

Highlight ทนายความสิทธิเห็นว่า การดำเนินคดีต่อผู้ชุมนุมทางการเมืองเเละผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม การตั้งข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงการคัดค้านการปล่อยตัวและการอายัดตัวซ้ำๆ ฯลฯ ของตำรวจ เป็นการละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ กติกาสากลระหว่างประเทศ และหลักนิติรัฐ นิติธรรม เจ้าหน้าที่ตำรวจ ชี้แนวปฏิบัติของตำรวจปัจจุบันแตกต่างจากในอดีต เพราะปฏิบัติตามที่กฎหมายให้อำนาจและเลือกใช้วิธีที่เบาที่สุดเท่านั้น เมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2563 คอรีเยาะ มานุแช นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พร้อมตัวแทนองค์กรเครือข่าย ได้แก่ สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม ได้เข้ายื่นหนังสือ ต่อ พ.ต.อ.ดนุ กล่ำสุ่ม รองผู้บังคับการกองกฎหมาย และ พ.ต.อ.ศุภกร ผิวอ่อนรองผู้บังคับการกองอัตรากำลัง ซึ่งเป็นเวรอำนวยการเป็นผู้แทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในการรับเรื่อง โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย โดยในการพูดคุยหารือเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางในการแก้ไข ณ ห้องรับรอง กองรักษาการณ์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีตัวแทนจากคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (ICJ) เข้าร่วมสังเกตการณ์ด้วย คอรีเยาะ มานุแช ได้นำเสนอสถานการณ์ปัญหาและข้อห่วงกังวลที่ทนายความพบหลังจากที่ทนายความได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมจากการออกมาใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ ดังนี้ 1) การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การควบคุมตัว จับกุม […]

[หนังสือถึง ผบ.ตร.] การละเมิดกฎหมายและสิทธิมนุษยชนในการดำเนินคดีต่อเยาวชนและนักกิจกรรมประชาธิปไตย

(English file click) สนส. 34/2563 วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563   เรื่อง      การละเมิดกฎหมายและสิทธิมนุษยชนในการดำเนินคดีนักเรียนนิสิตนักศึกษาและนักกิจกรรมประชาธิปไตย เรียน       ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ   สืบเนื่องจากการที่มีนักเรียน นิสิตนักศึกษา ประชาชน และนักกิจกรรมประชาธิปไตย (“นักกิจกรรม”)  ได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมือง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ชุมนุม วิพากษ์วิจารณ์ เรียกร้องให้รัฐบาลลาออกและเสนอให้มีการปฏิรูปสถาบันต่างๆ ทางการเมือง นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 เป็นต้นมา และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้กล่าวหาและจับกุมคุมขังดำเนินคดีบุคคลดังกล่าวนับร้อยคน ในข้อหาต่างๆ รวมทั้งข้อหาฝ่าฝืนประกาศตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้น เครือข่ายองค์กรและทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ดังมีรายนามข้างท้ายนี้ มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างยิ่ง จึงใคร่ขอเสนอความคิดเห็นต่อบทบาทของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในการปฏิบัติต่อนักกิจกรรมประชาธิปไตยดังกล่าวดังต่อไปนี้ นักกิจกรรมมีและใช้สิทธิเสรีภาพ โดยเฉพาะสิทธิในความเชื่อและความคิดเห็นทางการเมือง การแสดงออก และการชุมนุมสาธารณะ บนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชนที่รับรองไว้ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และสิทธิเสรีภาพที่ได้รับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ และได้พยายามป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความรุนแรงตลอดมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในฐานะกลไกของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ควรปฏิบัติหน้าที่เพื่อการดังกล่าว แต่กลับปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้มาตรการกล่าวหา ดำเนินคดีต่อนักกิจกรรมในข้อหาต่างๆ […]

ศาลอุทธรณ์ “ยกฟ้อง” คดีบริษัทธรรมเกษตรฟ้องหมิ่นประมาทนักข่าว Voice TV

ศาลอุทธรณ์พิพากษา “ยกฟ้อง” คดีบริษัทธรรมเกษตร ฟ้องหมิ่นประมาทนักข่าว Voice TV กรณีทวิตและเผยแพร่ข้อความต่อจากนักวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน เกี่ยวกับคำพิพากษาคดีแรงงานข้ามชาติ 14 คน ซึ่งมีคำว่า “กรณีใช้แรงงานทาส” อยู่ในข้อความที่ทวิต   27 ต.ค. 2563 ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ อ.1407/2563 ระหว่าง บริษัทธรรมเกษตรโดยนายชาญชัย เพิ่มผล ผู้รับมอบอำนาจ (โจทก์) และ นางสาวสุชาณี รุ่งเหมือนพร หรือ นางสุชาณี คลัวเทรอ (จำเลย) ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และมาตรา 328 จากกรณีที่สุชาณี ซึ่งขณะที่ถูกฟ้องได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนักข่าวอยู่สำนักข่าว Voice TV และติดตามรายงานข่าวเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติในภาคการเกษตร ได้เผยแพร่ข้อมูลผ่านทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2560 ว่า “ศาลสูงสุดมีคำสั่งให้เจ้าของฟาร์มเลี้ยงไก่ จ.ลพบุรี อดีตหนึ่งในฟาร์มส่งไก่ให้บริษัทเบทาโกร จ่ายเงินชดเชยคนงานพม่า 14 คน 1.7 […]

1 2 3 7