Month: February 2019

ทนายสุมิตรชัยและชาวบ้านสันตับเต่า จังหวัดลำพูน 2 ราย เข้ารับทราบข้อกล่าวหา “นำสืบพยานหลักฐานเท็จและข้อหาเบิกความเท็จ” สภ.นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดลำพูน

วันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2562) เวลา 10.00 น. ทนายสุมิตรชัย หัตถสาร และชาวบ้านบ้านสันตับเต่า จังหวัดลำพูนอีก  2 ราย จะเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหา ที่สถานีตำรวจภูธรนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดลำพูน โดยทนายสุมิตรชัยถูกแจ้งความในข้อหานำสืบพยานหลักฐานเท็จ ส่วนชาวบ้าน บ้านสันตับเต่า จำนวน 2 ราย  ถูกดำเนิคดีข้อหาเบิกความเท็จต่อศาลทั้งในคดีอาญาและคดีแพ่ง  นายสุมิตรชัย  ถูกดำเนินคดี เนื่องจากเป็นทนายให้ชาวบ้าน บ้านสันตับเต่า จังหวัดลำพูน คือ นางสายทอง เตชะระ และนางสมรัตน์ วรรณภิระ ที่ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาเมื่อปี 2556 และศาลมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์เมื่อปี 2557 และคดีแพ่งที่ถูกฟ้องขับไล่ ในปี 2560  โดยนายทุนได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน สภ.นิคมอุตสาหกรรมลำพูน กล่าวหาว่า นางสายทอง เตชะระ และนางสมรัตน์ วรรณภิระ เบิกความเท็จต่อศาลทั้งในคดีอาญาและคดีแพ่ง และกล่าวหาทนายความสุมิตรชัย หัตถสาร ว่านำสืบพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในคดีอาญา  พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งความไว้และออกหมายเรียกให้นางสายทอง เตชะระ  นางสมรัตน์ วรรณภิระ และนายสุมิตรชัย หัตถสาร […]

จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน An open letter Hakeem Ali al-Araibi should be released and not deported to face grave risks in Bahrain

จดหมายเปิดผนึกขอให้พิจารณาปล่อยตัวนายฮาคีม อัล-อราบี และไม่ส่งกลับไปเผชิญอันตรายยังประเทศบาห์เรน (English below)           สืบเนื่องจากทางการไทยได้จับกุมตัวนายฮาคีม อาลี โมฮัมหมัด อาลี อัล อาไรบี (Mr. Hakeem Ali Mohamed Ali Alaraibi) อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรนไว้ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 หลังจาก ที่นายฮาคีมและภรรยาได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการจับกุมตามหมายแดง (Red Notice) ของตำรวจสากล (INTERPOL) ซึ่งเป็นการออกตามคำขอของทางการบาห์เรน ต่อมาหมายจับดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป เนื่องจากขัดกับ,oนโยบายของตำรวจสากล ที่ห้ามการออกหมายจับของรัฐบาลต่อผู้ลี้ภัย ที่หลบหนีการประหัตประหารมาจากประเทศที่ขอออกหมายจับ           หลังจากการถูกจับกุมนายฮาคีมถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามคำสั่งของศาลอาญา มาตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2561 จนกระทั่งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ศาลอาญาเบิกตัวเขามาสอบถามความยินยอมส่งตัวกลับประเทศบาห์เรนเป็นผู้ร้ายข้ามแดนตามคำร้องของพนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีต่างประเทศ […]

สนส. เปิดรับสมัครงาน ตำแหน่งผู้อำนวยการ 1 อัตรา

ประกาศรับสมัครงาน ตำแหน่งผู้อำนวยการสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน         ตำแหน่งผู้อำนวยการ 1 อัตรา คุณสมบัติ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีความรู้ความเข้าใจ และแรงบันดาลใจในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน และกระบวนการยุติธรรม มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนางาน และพัฒนาองค์กร มีความคิดสร้างสรรค์  ทำงานแบบมีส่วนร่วม ทำงานแบบเต็มเวลาและสามารถเดินทางไปยังพื้นที่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศได้ สามารถสื่อสารและใช้ภาษาอังกฤษได้จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ ผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานบริหารจัดการโครงการหรือองค์กรตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ บทบาทและความรับผิดชอบ ดังนี้ คิดริเริ่ม จัดทำแผนงาน และบริหารโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สนส.และที่ประชุมใหญ่สนส. ส่งเสริมการทำงานอย่างมีส่วนร่วมระหว่างสมาชิกของสมาคม เจ้าหน้าที่ และเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน สื่อสารต่อสาธารณะ และประสานงานกับหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง การสมัคร รับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 โดยส่งรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน/กิจกรรม  มาที่ อีเมล hrla2008@gmail.com รายละเอียดเพิ่มเติม

เสวนาวิชาการวิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด : เสนอการสร้างสังคมที่ตรวจสอบ วิจารณ์คำพิพากษาอย่างสร้างสรรค์

คดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง เป็นหนึ่งในคดีฆาตกรรมอีกนับกว่า 2,500 คดีที่เกิดขึ้นในช่วงนโยบายประกาศสงครามกับยาเสพติดที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2546 แต่คดีส่วนใหญ่กลับไม่มีความคืบหน้าในการสืบสวน สอบสวนหาตัวนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ  คดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ เป็นกรณีเดียวที่สามารถนำคดีเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลได้ ซึ่งก็เกิดจากความพยายามอย่างหนักของญาติและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และต้องเสี่ยงกับการคุกคามมากมาย แม้ในทางคดีจะสิ้นสุดลงแล้วโดยคำพิพากษาศาลฎีกาให้ยกฟ้องจำเลยทั้งหมด ซึ่งได้มีการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในลักษณะที่แตกต่างไปจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จนทำให้ผลของคดีออกมาสวนทางกันอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล  (สรุปคำพิพากษานายเกียรติศักดิ์ ถิตย์บุญครอง) งานเสวนาวิชาการ หัวข้อการวิเคราะห์การรับฟังพยานหลักฐานของศาลในคดีอาญา ผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางวัยรุ่นกาฬสินธุ์ช่วงรัฐบาลประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด ที่จัดขึ้นโดย สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (สนส.)  และสมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.) เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีกล่าวถึงปัญหาในประเด็นการรับฟังและการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล  รวมถึงประเด็นการคุ้มครองพยาน ผ่านกรณีคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ ในงานเสวนานี้ นักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอแนวทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นสอบสวน ชั้นพิจารณาคดี ตลอดจนประเด็นเรื่องการคุ้มครองพยานไว้อย่างน่าสนใจ เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น  มองปัญหากระบวนการยุติธรรมชั้นสอบสวน ถึงชั้นพิจารณาคดี ผ่านคดีฆาตกรรมอำพรางนายเกียรติศักดิ์ฯ   ทนายรัษฎา มนูรัษฎา คณะทำงานจากสภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ นำเสนอเเละชวนตั้งข้อสังเกตในประเด็นศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา “กลับ” คำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ โดยยกฟ้องจำเลยทั้งหมดว่าไม่มีความผิด เนื่องจากศาลเห็นว่าพยานโจทก์และโจทก์ร่วมปาก นางสาว อ. มีพิรุธไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ให้การเเตกต่างไปจากการให้การไว้กับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ประกอบกับจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอด จึงยกประโยชน์เเห่งความสงสัยให้จำเลยทั้งหก ทั้งที่พยานที่สอบไว้จำนวน […]