Month: March 2018

กฎหมายห้ามชุมนุมในรัฐทหาร (ตอนที่ 2) โดย เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์

  ภาพจาก เพจ People GO network เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ 28 มีนาคม 2561 อ่านบทความกฎหมายห้ามชุมนุมในรัฐทหาร ตอนที่ 1 องค์ประกอบหลักของการชุมนุมสาธารณะตามพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558  หรือ ‘กฎหมายชุมนุมสาธารณะ’ เกี่ยวข้องอยู่สองเรื่อง  เรื่องแรกเกี่ยวข้องกับลักษณะหรือประเภทของ ‘กิจกรรม’ ตามมาตรา 3[[1]] ที่กำหนดว่ากิจกรรมประเภทใดบ้างอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ที่ต้องแจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งหรือเจ้าพนักงานเสียก่อนจึงจะได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกให้เกิดการชุมนุมได้  ส่วนลักษณะหรือประเภทของกิจกรรมใดที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ก็สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งการชุมนุมก่อน  เรื่องที่สองเกี่ยวข้องกับ ‘สถานที่’ ตามมาตรา 7[[2]] ที่ห้ามไม่ให้มีการชุมนุมในสถานที่บางประเภท  ส่วนการชุมนุมในสถานที่อื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 7 ให้ถือว่าอยู่ในบังคับที่ต้องได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกตามกฎหมายฉบับนี้  โดยมีเงื่อนไขไม่กีดขวางทางเข้าออก หรือรบกวนการปฎิบัติงานหรือการใช้บริการสถานที่สำหรับสถานที่บางประเภทตามมาตรา 8[[3]]  แต่ไม่ได้ห้ามการชุมนุมในสถานที่บางประเภทตามที่ระบุไว้ในมาตรา 8 แต่อย่างใด ดังนั้น  ถ้าการชุมนุมใดไม่ใช่กิจกรรมและสถานที่ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 3 และมาตรา 7 ก็ควรได้รับความคุ้มครองและอำนวยความสะดวกให้ชุมนุมได้ภายใต้กฎหมายฉบับนี้  โดยเฉพาะกิจกรรมที่ถูกยกเว้นให้ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้ตามมาตรา 3 ยิ่งสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องแจ้งการชุมนุมตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ ประเด็นสำคัญต่อเนื่องมา  นั่นคือ  เมื่อพิจารณาในแง่ของ ‘กิจกรรม’ และ ‘สถานที่’ อันเป็นองค์ประกอบหลักตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว […]

ศาลระนองเลื่อนอ่านคำพิพากษาคดี 4 แรงงานเมียนมาร์ตกเป็นจำเลยข้อหาร่วมกันฆ่านางสาวอรวี (แอปเปิ้ล) ไป 19 เมษา

วันนี้ (29 มีนาคม 2561) เวลาประมาณ 09.30 น. ตามที่ศาลจังหวัดระนอง และศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง ได้นัดฟังคำพิพากษาคดีที่ชาวเมียนม่า 4 คน ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดฐานฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง หรือน้องแอปเปิ้ล โดยศาลจังหวัดระนองให้เลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 19 เมษายน 2561  เนื่องจากอธิบดีผู้พิพากษาภาคยังตรวจร่างคำพิพากษาของศาลจังหวัดระนองยังไม่แล้วเสร็จ  ส่วนศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนองก็ให้เลื่อนไปเพื่อรออ่านคำพิพากษาพร้อมกับศาลจังหวัดระนอง ทนายความจำเลยได้แถลงคัดค้านไม่เห็นด้วยที่ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนองจะเลื่อนอ่านคำพิพากษาออกไป เนื่องจากทนายจำเลยเห็นว่าในส่วนคำพิพากษาของศาลเยาวชนฯนั้น อธิบดีผู้พิพากษาภาคได้ตรวจร่างคำพิพากษาเสร็จแล้ว  ศาลเยาวชนฯมีความอิสระในฐานะเจ้าของสำนวน จึงควรอ่านคำพิพากษาไปเลย เพราะการเลื่อนออกไปย่อมส่งผลต่ออิสรภาพของจำเลย  อย่างไรก็ดี ศาลเยาวชนฯได้ชี้แจงว่าต้องทำตามคำแนะนำของอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 ที่ได้มีคำแนะนำให้รออ่านพร้อมศาลจังหวัดระนอง คดีนี้เป็นคดีสะเทือนขวัญที่เกิดขึ้นในช่วงหัวค่ำของวันที่ 8 กันยายน 2558 โดยนางสาวอรวี สำเภาทอง หรือน้องแอปเปิ้ล ผู้ตายได้ถูกคนร้ายแทงด้วยอาวุธแหลมคมถึง 17 แผล เสียชีวิต ขณะกำลังเดินเข้าซอยสำนักสงฆ์สะพานปลา ข้างโรงเจ หมู่ 5 ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง ตำรวจได้มีการสืบสวนสอบสวน ต่อมาได้มีการจับกุมและดำเนินคดีกับจำเลยทั้ง 4 ซึ่งเป็นแรงงานชาวเมียนมาร์ ซึ่งการจับกุมดังกล่าวทำให้สังคมตั้งคำถามพอสมควรว่าทั้ง 4 […]

บ้านตระ เสียงสะท้อนถึงผู้บังคับใช้กฎหมาย ทัศนะที่ต้องเปลี่ยนแปลง (ตอน 1)  โดย กฤษดา ขุนณรงค์ 

ด้วยวันที่ 27 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา ศาลจังหวัดตรังได้พิพากษาคดี หมายเลขดำที่ 1171, 1172, 1173/2559 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดตรัง โจทก์ กับ นายเรวัตร หรือ วัตร อินทร์ช่วย จำเลยที่ 1 นายอัมมร หรือ ชาย บรรถะ จำเลยที่ 2 และนายสมพร หรือ มิตร อินทร์ช่วย จำเลยที่ 3 เกี่ยวกับการกระทำความผิดต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บุกรุกป่าสงวน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด) โดยศาลจังหวัดตรังมีคำพิพากษาโดยสรุปคือให้จำเลยที่ 1 จำคุก 7 ปี ปรับ 90,000 บาท จำเลยที่ 2 จำคุก 6 ปี ปรับ 60,000 บาท และจำเลยที่ 3 จำคุก 1 ปี ปรับ 15,000 […]

บทสัมภาษณ์นคร ชมพูชาติ : ประสบการณ์จากทนายความรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง บทบาททนายความเพื่อประชาชน

สัมภาษณ์ :ธนาธร ทนานนท์, อัครยา สองสมุทร, ผรัณดา ปานแก้ว เรียบเรียง: ธนาธร ทนานนท์ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้มีโอกาสได้เข้ามาคุยกับทนายนคร ชมพูชาติ ทนายรุ่นพี่ ที่ถือได้ว่ามีความอาวุโสในการทำงานด้านวิชาชีพทนายมานานหลายปี เป็นพี่ที่คอยสร้างน้องทนายให้มีความพร้อมทั้งทางทักษะวิชาชีพและมุมมองในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสังคม ที่ผ่านมาได้ทำงานคดีช่วยเหลือในคดีสำคัญหลายคดี เช่น คดีกบฏไอทีวี , คดีบิ๊กขี้หลี พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ ,คดีชินคอร์ปฟ้องคุณสุภิญญา,คดีเกี่ยวกับสิทธิบัตรยา กรณียาต้าเชื้อเอชไอวี เป็นต้น จนกลายเป็นแบบอย่างให้กับทนายรุ่นน้องอีกหลายคน ประเด็นที่ทางทีมสมาคมฯเข้ามาคุย นอกจากจะได้มาทำความรู้จักกับทนายรุ่นพี่คนนี้มากขึ้น ถือเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ทำงานให้กับน้องๆช่วยลดระยะเวลาแห่งการเรียนรู้ผ่านการตกผลึกทางความคิดและการทำงานอย่างมืออาชีพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานให้กับนักกฎหมาย ทนายความที่เพิ่งเข้ามาทำงานและข้อคิด ข้อระวัง ในการทำงานอีกมากมายที่จะได้รับจากทนายผู้นี้ ความรู้จากการทำงานเคลื่อนไหว กลายมาเป็นทักษะพื้นฐานในการเป็นทนายความ ทนายนคร : วงสมัยเป็นนักศึกษา ภารกิจการเคลื่อนไหว คือ การทำงานจัดตั้งทางความคิดให้แก่ประชาชน  โดยกระบวนการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษา  จะมีการทำงานความคิดทั้งในด้านกว้างและด้านลึก การทำงานด้านกว้าง คือ การเคลื่อนไหวที่สร้างผลกระทบทางความคิดด้านการจัดการปัญหาสังคม  ให้ประชาชนทั่วๆ ไปมาสนใจกับปัญหาของตนเองและหาทางแก้ไข  ส่วนนักศึกษาด้วยกันเองทำให้เกิดความตระหนักในการรับผิดชอบต่อสังคม  จนเกิดสามประสาน คือ นักศึกษา กรรมกร ชาวนา ให้เกิดการรวมตัวที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมได้ […]

ใบแจ้งข่าว : ขอเชิญเข้าร่วมรับฟังการพิพากษา คดี 4 แรงงานชาวเมียนมาร์ถูกกล่าวหาร่วมกันฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง (น้องแอปเปิ้ล)

เผยแพร่วันที่ 28 มีนาคม 2561 วันที่ 29 มีนาคม 2561 เวลา 09.30 น. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง และศาลจังหวัดระนองนัดฟังคำพิพากษาในคดีที่ชาวเมียนม่า 4 คน ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดฐานฆ่านางสาวอรวี สำเภาทอง หรือน้องแอปเปิ้ล เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2558 เหตุเกิดในซอยสำนักสงฆ์สะพานปลา ข้างโรงเจ หมู่ที่ 5 ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง โดยแรงงานชาวเมียนม่าทั้ง 4 คน ถูกแยกฟ้องคดีอาญาเป็น 2 ศาล เนื่องจาก 2 ใน 4 คน ยังมีฐานะเป็นเยาวชน ดังต่อไปนี้ 1. ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง คดีหมายเลขดำที่ 7/2559 ระหว่างพนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระนอง โจทก์ นางมาริษา สำเภาทอง (มารดาผู้ตาย) โจทก์ร่วม นายโมซินอ่าว ที่ 1 […]

การควบคุมดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยศาลปกครองไทย (ตอนที่ 4) โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

อ่านการควบคุมอำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยศาลปกครองไทย (ตอนที่1) (ตอนที่2) (ตอนที่3) 3. การควบคุมการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยองค์กรตุลาการในระบบกฎหมายต่างประเทศ ตามที่ได้อธิบายไว้ในบทที่ 1 ว่าในรัฐเสรีประชาธิปไตยที่ยึดมั่นในหลักนิติรัฐนั้นมีหลักกฎหมายที่สำคัญ ประการหนึ่งที่รัฐต่างๆได้ยอมรับและยึดถือนั่นคือ หลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย โดยหลักการกระทำทางปกครองต้องชอบด้วยกฎหมายนี้เรียกร้องให้ฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องบัญญัติกฎหมายให้มีความชัดเจนแน่นอนเพื่อประกันความมั่นคงแห่งนิติฐานะ (Legal Security) ของประชาชน แต่ในปัจจุบันก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าหลักการกรทำทางปกครองต้องชอบด้วย กฎหมายไม่อาจตีความอย่างเคร่งครัดถึงขนาดปฏิเสธอำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครอง ได้ การบัญญัติกฎหมายอย่างยืดหยุ่นให้ฝ่ายปกครองมีอำนาจดุลพินิจจึงเป็นที่ยอม รับเป็นที่ยุติว่าสามารถทำได้ อย่างไรก็ตามแม้ฝ่ายนิติบัญญัติจะบัญญัติกฎหมายให้ฝ่ายปกครองมีอำนาจ ดุลพินิจ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าฝ่ายปกครองจะสามารถใช้อำนาจดุลพินิจได้ตามอำเภอใจ “ระบบกฎหมายปกครองไม่ยอมรับดุลพินิจอย่างเสรี ยอมรับแต่ดุลพินิจที่สมเหตุสมผล หรือดุลพินิจที่ผูกพันอยู่กับกฎหมายเท่านั้น ในการแสดงออกซึ่งอำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครององค์กรฝ่ายปกครองจึงต้องคำนึง ถึงวัตถุประสงค์ในการมอบอำนาจดุลพินิจและกรอบของการใช้อำนาจดุลพินิจตาม กฎหมายเสมอ”(1) เพื่อให้หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองบังคับได้จริงในการควบ คุมการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเป็นต้องมีองค์กรมาควบคุมตรวจสอบการใช้กฎหมายของฝ่ายปกครองมิให้การใช้ อำนาจของฝ่ายปกครองสร้างความไม่เป็นธรรมหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพ ของประชาชนโดยปราศจากเหตุผลทางกฎหมาย และหากมีการใช้อำนาจดังกล่าวไปแล้วองค์กรนั้นจะต้องมีอำนาจแก้ไขเยียวยาความ เสียหายที่เกิดขึ้นด้วย โดยทั่วไปผู้ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้กฎหมายของฝ่ายปกครองว่ามีการใช้และ ตีความถูกต้องหรือไม่ก็คือองค์กรตุลาการ (2) หลักนิติรัฐจึงมีข้อเรียกร้องว่าในกรณีที่มีการใช้อำนาจของฝ่ายปกครองไปกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชน การใช้อำนาจนั้นย่อมต้องถูกควบคุมตรวจสอบได้โดยองค์กรตุลาการ(3) ซึ่งในประเด็นนี้ก็มีปัญหาที่ต้องพิจารณาว่าองค์กรตุลาการจะมีอำนาจควบคุม ตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองได้มากน้อยเพียงใด ในบทนี้จะได้ศึกษาประสบการณ์การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่าย ปกครองโดยองค์กรตุลาการในระบบกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศเยอรมัน ประเทศฝรั่งเศส และประเทศอังกฤษ โดยในตอนที่ 4 นี้ขอนำเสนอแนวทางของศาลปคกรองประเทศเยอรมัน ดังนี้ 3.1 การควบคุมการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยศาลปกครองเยอรมัน การควบคุมการใช้อำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน […]

ปัญหาของเอกสาร (ศักดิ์)สิทธิ์ ใน ” กระบวนการยุติธรรม ” โดย กฤษดา ขุนณรงค์

“ถ้าจะพูดกันตรง ๆ วันนี้ เรายังยืนอยู่กับกฎหมายที่ยังล้าหลังมากๆ ในการจัดการทางด้านคดีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เพราะระหว่างความถูกต้อง ถูกกฎหมายของชั้นศาลหรือกระบวนการยุติธรรมกับความเป็นธรรมของคนจนมันไปด้วย กันไม่ได้ มันเหมือนเหรียญคนละด้านที่อยู่ด้วยกัน ยกตัวอย่างว่าวันนี้มีที่ดินแปลงใหญ่หลายแปลงที่กลุ่มนายทุนเข้าครอบ ครองอยู่ แต่ได้มีการตรวจสอบจากหน่วยงานหรือองค์กรภาคประชาชนร่วมกับภาครัฐและองค์กร อิสระตามรัฐธรรมนูญ พบว่าการเข้าครอบครองที่ดินของบริษัทหรือเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่นายทุนถือ ครองอยู่มันไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่กลายเป็นว่าในทางกระบวนการยุติธรรมหรือศาลยังไปยอมรับ รับรอง ปล่อยให้กลุ่มนายทุนเอาความไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นมาฟ้องร้องประชาชนโดยที่ไม่ ได้มีการตรวจสอบก่อน ” ( บุญฤทธิ์ ภิรมย์ : ตุลาคม ๒๕๕๓ สัมภาษณ์ ) ผมขอยกเอาความคิดเห็นต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างตรงไปตรงมาของคุณบุญฤทธิ์ ภิรมย์ สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยข้างต้น ขึ้นมาแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมกันในที่นี้อีกครั้ง หลังเมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาจำคุก คุณบุญฤทธิ์ และเพื่อนบ้านอีกแปดคน เป็นเวลา ๑ ปี ๖ เดือน โดยไม่รอลงอาญา ในความผิดฐานบุกรุกที่ดินของเอกชน จากกรณีการเข้าตรวจสอบและรวมตัวจัดตั้งชุมชนเพื่อเข้าปฏิรูปที่ดินทำการ เกษตรบนพื้นที่ที่กลุ่มบริษัทเอกชนครอบครองปลูกสร้างสวนปาล์มขนาดใหญ่ในเขต จังหวัดสุราษฎรธานี หลังได้มีการตรวจสอบจากภาคประชาชนและองค์กรอิสระหลายหน่วยงานพบว่าบริษัท เอกชนเข้าครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งมีการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยความเคารพในคำพิพากษาของศาลเนื่องจากการพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ยังไม่ […]

ความเป็นไปได้ทางกฎหมายในการฟ้องเพิกถอนเขตอุทยานและเขตป่าสงวนแห่งชาติ : ศึกษาจากแนวคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด โดย นายสงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

ปัญหาการประกาศเขตป่าสงวนและเขตอุทยานทับที่อยู่อาศัยและที่ทำทำกินของประชาชนในประเทศไทย เป็นปัญหาที่มีการกล่าวถึงมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเฉพาะในช่วงที่มีการรณรงค์เพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนของภาคประชาชนเมื่อหลายปีที่ผ่านมา โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญก็เพื่อแก้ไขปัญหานี้ อย่างไรก็ตามเมื่อร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนฉบับดังกล่าวไม่ได้ถูกประกาศใช้เป็นกฎหมาย ปัญหาที่คาดว่าจะได้รับการแก้ไขก็ไม่ได้รับการแก้ไข ประชาชนจำนวนมากที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนกับเขตป่าสงวนและเขตอุทยานแห่งชาติ ยังคงมีฐานะเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายและมีความเสี่ยงที่จะถูกดำเนินคดีจากรัฐได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชและกรมป่าไม้ ได้มีการดำเนินคดีกับประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ซ้อนทับกับเขตอุทยานแห่งชาติและเขตป่างสงวนแหงชาติ ทั้งทางอาญาและทางแพ่งอย่างต่อเนื่อง โดยในทางแพ่งนั้นมีการเรียกร้องค่าเสียหายที่รวมถึงความเสียหายที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น อันเป็นที่มาของคดีโลกร้อนซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังได้รับความสนใจของสาธารณชนในปัจจุบัน ผู้เขียนในฐานะนักกฎหมายจึงเกิดคำถามว่าในทางกฎหมายแล้วเราจะมีทางออกให้กับปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่ อย่างไร บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางกฎหมายในฟ้องให้มีการเพิกถอนเขตอุทยานและเขตป่าสงวน ที่ประกาศใช้บังคับซ้อนทับกับที่ดินที่มีชุมชนอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์มาก่อน อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยหวังว่าผลของการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาคนกับป่าต่อไป 1. สถานะทางกฎหมายของประกาศเขตอุทยานและเขตป่าสงวนแห่งชาติ 1.1 สถานะทางกฎหมายของประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2505 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง กำหนดให้การประกาศกำหนดบริเวณใดเป็น อุทยานแห่งชาติ ให้ทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ซึ่งพระราชกฤษฎีกานั้นในทางกฎหมายมีฐานะเป็นกฎที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ มีฐานะทางกฎหมายเป็นกฎที่ออกที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งหากประสงค์จะฟ้องคดีต่อศาลปกครองจำเป็นต้องนำคดีไปฟ้องยังศาลปกครองสูงสุด 1.2 สถานะทางกฎหมายของประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 6 วรรคสอง กำหนดให้การประกาศกำหนดบริเวณใดเป็น ป่าสงวนแห่งชาติ ให้ทำโดยตราเป็นกฎกระทรวง ซึ่งกฎกระทรวงนั้นในทางกฎหมายมีฐานะเป็นกฎที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ […]

ความไม่ชัดเจนของสิทธิชุมชนในคดีกะเหรี่ยงแก่งกระจาน โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 ศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ ส.660/2559 (คำพิพากษาฯ) ระหว่างนายโคอิหรือโคอี้ มิมิ กับพวกรวม 6 คน ผู้ฟ้องคดี  กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กับพวกรวม 2 คน เป็นผู้ถูกฟ้อง คำพิพากษาคดีนี้ได้รับความสนใจจากสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง  เพราะคดีนี้เป็นผลต่อเนื่องจากการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในการผลักดันชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ให้ออกจากพื้นที่ดังกล่าว  ด้วยมาตรการที่รุนแรงที่สุดเท่าที่หน่วยงานเคยใช้มาก่อนหน้านี้ คือ การเผาทำลายบ้านพัก และทรัพย์สินของชาวกะเหรี่ยงที่ถูกกล่าวหาว่าเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่อุทยานโดยผิดกฎหมาย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2559 ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ได้จัดเสวนาวิชาการในหัวข้อ วิถีชาติพันธุ์และ “ความยุติธรรมทางสังคม?” ผู้เขียนในฐานะนักกฎหมายได้รับเกียรติจากผู้จัดให้เป็นหนึ่งในวิทยากรเพื่อให้แง่มุมต่อคำพิพากษาฯ บทความสั้นชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่ได้พูดคุยในเวทีดังกล่าวในประเด็นสิทธิชุมชน   โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการวางบรรทัดฐานในการรับรองสิทธิชุมชนในสังคมไทยต่อไป 1. คำพิพากษาฯ กับ สิทธิชุมชนตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ประเด็นหลักสำคัญที่สุดและส่งผลต่อการวินิจฉัยประเด็นอื่น ๆ ตามมา คือ […]

12 มีนาคม ศาลจังหวัดเชียงใหม่นัดไต่สวนการชันสูตรพลิกศพนายชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมชาติพันธุ์ที่ถูกเจ้าหน้าที่ยิงเสียชีวิต

วันที่ 13 ถึง 16 และ 20 มีนาคม 2561 ตั้งแต่เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องพิจารณาคดีที่ 10 ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ขอเรียนเชิญผู้สื่อข่าวและผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการพิจารณาไต่สวนการชันสูตรพลิกศพกรณีนายชัยภูมิ ป่าแส นักกิจกรรมชาติพันธุ์ลาหู่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารยิงเสียชีวิต เหตุการณ์อันเป็นที่มาของการไต่สวนสำนวนการชันสูตรพลิกศพในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2560  เจ้าหน้าที่ทหารได้ยิงนายชัยภูมิ ป่าแส  จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าได้ขอเข้าตรวจค้นรถยนต์นายชัยภูมิ ป่าแส และพบยาเสพติดประเภทยาบ้าเป็นจำนวนมากบรรจุซองพลาสติกซุกซ่อนอยู่ภายในบริเวณส่วนกรองอากาศของรถ อีกทั้งยังอ้างว่านายชัยภูมิฯ มีพฤติการณ์ขัดขืนต่อสู้ และจะใช้อาวุธระเบิดที่มีไว้ในครอบครองขว้างใส่เจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ทหารจึงจำเป็นต้องใช้อาวุธปืนยิงนายชัยภูมิ หลักจากนั้น ก็มีกระแสเกิดขึ้นมากมายเรียกร้องให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าเจ้าหน้าที่กระทำถูกต้องหรือไม่ ซึ่งการขอให้เปิดเผยหลักฐานจากกล้องวงจรปิดในบริเวณที่เกิดเหตุก็เป็นข้อเรียกร้องหนึ่งของสังคมในช่วงเวลานั้น  ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูงท่านหนึ่งได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดในวันเกิดเหตุแล้ว และยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ทหารยิงนายชัยภูมิ ป่าแสเพียงนัดเดียว การกระทำดังกล่าวไม่ได้เป็นการทำเกินกว่าเหตุ ซึ่งจากบทสัมภาษณ์ดังกล่าว ทำให้สังคมยิ่งเรียกร้องให้มีการเปิดเผยภาพจากกล้องวงจรปิดมากขึ้น แต่ก็ไม่มีการเปิดเผยแต่อย่างไร คดีนี้ พนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ได้ยื่นคำร้องขอไต่สวนชันสูตรพลิกศพ (ไต่สวนการตาย) ต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้ทราบว่า ผู้ตายคือใคร ตายที่ไหน อย่างไร และทราบถึงเหตุ และพฤติการณ์แห่งการตาย […]

1 2