Day: February 13, 2018

การควบคุมดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยศาลปกครองไทย (ตอนที่ 2) โดย สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์

อ่านการควบคุมอำนาจดุลพินิจของฝ่ายปกครองโดยศาลปกครองไทย (ตอนที่1) (ตอนที่3) (ตอนที่4) 2. ความหมายและการแบ่งประเภทของอำนาจดุลพินิจ ตามที่ได้อธิบายไว้ในบทที่ 1 แล้วว่ารัฐเสรีประชาธิปไตยไม่สามารถปฏิเสธการดำรงอยู่ของอำนาจดุลพินิจใน ระบบกฎหมายมหาชนได้ และในปัจจุบันก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าฝ่ายนิติบัญญัติสามารถบัญญัติ กฎหมายให้มีความยืดหยุ่นเพื่อให้ให้ฝ่ายปกครองสามารถใช้ความรู้ความสามารถ สติปัญญาและเหตุผลของฝ่ายปกครองในการปรับใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริงเฉพาะราย ที่ปรากฏเฉพาะหน้าเพื่อออกคำสั่งทางปกครองที่เป็นธรรมกับประชาชนแต่ละรายได้ การบัญญัติกฎหมายอย่างยืดหยุ่นของฝ่ายนิติบัญญัติตามที่กล่าวมาก็คือการ บัญญัติให้ฝ่ายปกครองมีอำนาจดุลพินิจนั่นเอง ปัญหาที่ต้องพิจารณาต่อไปก็คือคำว่า “อำนาจดุลพินิจ” นั้นมีความหมายอย่างไรในทางวิชาการ และสามารถแบ่งประเภทได้กี่ประเภท ด้วยเหตุผลอย่างไร แต่ก่อนจะเข้าสู่เรื่องความหมายและประเภทของอำนาจดุลพินิจ จำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจ ฝ่ายปกครองเพื่อเป็นพื้นฐานในการอธิบายความหมายและประเภทของอำนาจดุลพินิจต่อไป 2.1 โครงสร้างบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจฝ่ายปกครอง โดยทั่วไปบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจฝ่ายปกครองในการกระทำการสามารถแบ่ง ออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดสิทธิหรือก่อให้เกิดอำนาจแก่ฝ่ายปกครอง เรียกส่วนนี้ว่า “องค์ประกอบของกฎหมาย” และส่วนที่เป็นอำนาจของฝ่ายปกครองที่จะสั่งการได้เนื่องจากครบเงื่อนไขต่างๆ ในส่วนองค์ประกอบของกฎหมายเรียกส่วนหลังนี้ว่า”ผลทางกฎหมาย”<1> ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 มาตรา 59 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ปรากฏว่าท้องที่ใดมีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาด เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อ คุณภาพสิ่งแวดล้อมให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอำนาจประกาศในราชกิจจา นุเบกษา กำหนดให้ท้องที่นั้นเป็นเขตควบคุมมลพิษ เพื่อดำเนินการควบคุม ลดและขจัดมลพิษได้? ตามบทบัญญัตินี้บทบัญญัติส่วนที่เป็น “องค์ประกอบของกฎหมาย” ได้แก่ “ท้องที่ใดมีปัญหามลพิษซึ่งมีแนวโน้มที่จะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อ สุขภาพอนามัยของประชาชนหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวด ล้อม” และบทบัญญัติส่วนที่เป็น ?ผลทางกฎหมาย? […]