Month: August 2017

ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้เลื่อนการพิพากษาคดี “อภิชาต” ชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ

วันที่ 30 สิงหาคม 2560 เวลา10.00 น. ศาลแขวงปทุมวันมีคำสั่งให้เลื่อนการพิพากษาคดีไป เนื่องจากศาลอุทธรณ์พิจารณาคดียังไม่แล้วเสร็จ ในคดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 และคดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559 ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง จากกรณีที่จ่าสิบเอกอภิชาตฯ ชูป้ายคัดค้านการรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร คดีนี้ สืบเนื่องจากกรณีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ ของจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์  ผู้ช่วยนักวิชาการปฎิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย เพื่อคัดค้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องในวันที่ 28เมษายน 2558 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ต่อมาศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559  พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่ากระบวนการสอบสวนไม่ถูกต้อง ซึ่งพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดได้อุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลแขวงปทุมวันขอให้ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาและลงโทษจำเลยตามกฎหมาย โดยคดีนี้ ศาลแขวงปทุมวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันที่ 11 ตุลาคม 2559  เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษาใหม่ วันที่ 19 ธันวาคม 2559 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาใหม่ว่า จำเลยมีความผิดตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 7/2557 ให้พิจารณาโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคแรก แต่เนื่องจากเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท จึงให้ลงโทษตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ให้จำคุก 2 เดือน […]

ภาคประชาสังคมออกแถลงการณ์เนื่องในวันผู้สูญหายสากล เรียกร้องรัฐไทยเร่งดำเนินการป้องกันการบังคับบุคคลสูญหายอย่างจริงจังและคืนความจริงและความยุติธรรมแก่ผู้สูญหาย

การบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นปรากฏการที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้า จากการรวบรวมข้อมูลการร้องเรียนของคณะทำงานว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ ซึ่งเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2523 ถึงปี 2559 ระบุว่าประเทศไทยมีการบังคับสูญหาย 82 กรณี ทั้งหมดยังไม่ได้รับการแก้ไข กลุ่มคนชายขอบ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มที่เห็นต่างกับแนวทางพัฒนาของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของตนเอง ชุมชน และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้อง พวกเขาเหล่านี้ต้องเผชิญกับการข่มขู่ การคุกคามจากอำนาจรัฐที่ไม่ถูกต้อง ทั้งการใช้กำลังทำร้าย การเข็นฆ่า การบังคับสูญหาย หรือแม้แต่ใช้กลไกทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเข้ามาเล่นงาน 19 มิถุนายน 2534 คุณทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงาน ที่ต่อต้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้ถูกทำให้หายไป 12 มีนาคม 2547 ทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ผู้ ถูกชายฉกรรจน์อุ้มขึ้นรถและหายไป การต่อสู้คดีกว่า 12 ปีเพื่อพิสูจน์ความจริงและความยุติธรรม จบลงด้วยศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2558 17 เมษายน 2557 บิลลี่ หรือพอละจี รักจงเจริญ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงแห่งบางกลอย ถูกทำให้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย […]

อยู่ไหนก็หายได้….

ว่ากันว่า ทั่วโลกมีเหยื่อของการบังคับให้สูญหายอย่างน้อย 43,250 ราย ประเทศไทยเองก็ไม่น้อยหน้า จากสถิติที่มีการรวบรวมจากการร้องเรียนโดยคณะทำงานว่าด้วยการบังคับบุคคลให้สูญหายหรือการสูญหายโดยไม่สมัครใจ ที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2523 ถึง 2559 ระบุว่าประเทศไทยมีการบังคับสูญหาย 82 กรณี ซึ่งเป็นข้อมูลเพียงบางส่วนที่มีการร้องเรียนและบันทึกไว้ https://goo.gl/fstVTE นี้เป็นเพียงบางกรณีที่ปรากฎ ยังมีหลายกรณีที่เงียบหายและไม่ปรากฎความคืบหน 19 มิถุนายน 2534 ทนง โพธิ์อ่าน ผู้นำแรงงาน และเป็นผู้ที่ต่อต้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ได้หายไปก่อนวันที่จะเดินทางไปเป็นผู้แทนคนงานไทยในประชุมองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่นครเจนีวา จากวันนั้นจนวันนี้กว่า 26 ปีแล้ว ครอบครัวยังรอคอยความยุติธรรม 12 มีนาคม 2547 ทนายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำงานช่วยเหลือทางคดีความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้เพื่อให้ผู้คนในพื้นที่เข้าถึงความยุติธรรมท่ามกลางสภาวะที่รัฐมีอำนาจล้นเกิน ถูกทำให้หายไป ครอบครัวของทนายสมชาย ได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่เพื่อให้เกิดการค้นหาความจริง แต่ก็น่าผิดหวัง การเดินทางกว่า 12 ปีเพื่อพิสูจน์ความจริงและความยุติธรรม จบลงด้วยศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2558 17 เมษายน 2557 บิลลี่ หรือพอละจี รักจงเจริญ […]

ใบแจ้งข่าว : ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดี “อภิชาต” ชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ

วันที่ 30 สิงหาคม 2560 เวลา 10.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวันมีนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ในคดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 และคดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559  ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง จากกรณีที่จ่าสิบเอกอภิชาตฯ ชูป้ายคัดค้านการรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพมหานคร  จึงขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามวันและเวลาดังกล่าวข้างต้น คดีนี้ สืบเนื่องจากกรณีการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ ของจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์  ผู้ช่วยนักวิชาการปฎิรูปกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการปฎิรูปกฎหมาย เพื่อคัดค้านการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 และพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องในวันที่ 28 เมษายน 2558 ในความผิดต่อพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกและความผิดต่อประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ต่อมาศาลแขวงปทุมวันมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559  พิพากษายกฟ้อง โดยให้เหตุผลว่ากระบวนการสอบสวนไม่ถูกต้อง เนื่องจากคดีนี้เหตุเกิดและจำเลยถูกจับกุมในท้องที่สน.ปทุมวัน แต่ตำรวจจากกองปราบเป็นผู้สอบสวน ซึ่งโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นถึงเขตอำนาจสอบสวน จึงถือว่าไม่มีการสอบสวนอย่างถูกต้อง วันที่ 17 มีนาคม 2559  […]

เพื่อผืนดินแม่ : การต่อสู้เพื่อปกป้องทรัพยากรและชุมชนจากการทำเหมืองหินที่บ้านกลาง อ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ในช่วงที่ผ่านมา หลายคนอาจจะได้ยินชื่อตำบลบ้านกลาง อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญสังหาร 8 ศพ แต่อย่าตกใจไป บทความชิ้นนี้ ไม่ได้จะพาไปสืบสวนค้นหาความจริงอะไรจากเหตุการณ์ดังกล่าว อันนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรมได้ทำงานไป เราก็คงได้แต่ติดตามตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่จากข้างนอก สำหรับสิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้ ผมจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับบ้านกลางในมิติของการต่อสู้ของชาวบ้านเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและชุมชนของพวกเขา จากการพัฒนาที่ถูกยัดเหยียดให้ ก่อนเริ่มเดินทาง ผมจะพาไปแนะนำให้รู้จักกับชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง พวกเขาคือ “กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นบ้านกลาง” ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของชาวบ้านจำนวนหนึ่งในตำบลบ้านกลาง การก่อตั้งกลุ่มแต่เดิม มีวัตถุประสงค์เพียงแค่งานอนุรักษ์แหล่งน้ำและป่าไม้ทั่วไปที่มีในหมู่บ้าน แต่ชีวิตของพวกเขาต้องเปลี่ยนไป เมื่อมีบริษัทเอกชนเข้ามาขอประทานบัตรเหมืองหินในภูเขา 2 ลูกที่อยู่ใกล้ชุมชน  หลังจากนั้นทางกลุ่มก็ได้มีการเคลื่อนไหวต่อสู้คัดค้านกับการทำเหมืองหินมาโดยตลอด อ้าว! แล้วทำไมต้องมาคัดค้านเหมืองหินล่ะ มันไม่ดีตรงไหน มันเป็นการพัฒนาประเทศไม่ใช่หรอ? กิจการเหมืองแร่ เป็นกิจการที่ไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากชุมชนเท่าใดนัก ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าการดำเนินกิจการดังกล่าวขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง และที่สำคัญ กรทำเหมืองแร่ที่ผ่านๆมามันสร้างผลกระทบกับชุมชนมาแล้วมากมายในหลายพื้นที่ ในบรรดาการทำเหมืองแร่ทั้งปวง การทำเหมืองแร่หินปูน เป็นกิจการที่มีจำนวนมากในประเทศไทย ข้อมูลของกลุ่มควบคุมสัมปทานและกำกับการผลิต สำนักเหมืองแร่และสัมปทานกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ณ วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ระบุว่า ปัจจุบันรัฐได้ประกาศกำหนดแหล่งหินอุตสาหกรรมทั่วประเทศ จำนวน 318 แหล่ง  บนพื้นที่ 141,394.00 ไร่  […]

เมื่อ “แม่” เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม…

  …เมื่อ “แม่” เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม… ลูกจะอยู่อย่างไร เมื่อแม่ต้องถูกดำเนินคดี และถูกคุมขังนานกว่า 40 วัน เพราะหาเงินประกันตัวไม่ได้ เรื่องราวต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่เข้าไปสัมผัสกับกระบวนการยุติธรรม เธอเป็นเกษตรกร เป็นคนที่ต่อสู้เรื่องสิทธิในที่ดิน และที่สำคัญเธอเป็น “แม่” เธอคือ วิไลวรรณ กลับนุ้ย หนึ่งในจำเลยคดี “ชุมชนน้ำแดง” จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร วิไลวรรณ กลับนุ้ย ได้ร่วมกับเกษตรกรไร้ที่ดินทำกินจำนวนหนึ่ง ในนามสหพันธ์เกตรกรภาคใต้ เรียกร้องให้มีการตรวจสอบที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่เอกชนครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เกษตรกรไร้ที่ดินเหล่านี้ได้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปที่ดินอย่างเป็นธรรม แต่การปฏิรูปที่ดินก็ดำเนินไปอย่างล้าช้า เกษตรกรแต่ละกลุ่มภายใต้การนำของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้จึงได้เข้าไปก่อตั้งเป็นชุมชนในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า พื้นที่ที่เอกชนครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสร้างรูปแบบการจัดการพื้นที่แบบโฉนดชุมชน วิไลวรรณและเกษตรกรจำนวนกว่าร้อยคน ได้เข้าครอบครองที่ดินที่เอกชนปล่อยทิ้งร้าง และร่วมกันก่อตั้งเป็น “ชุมชนน้ำแดงพัฒนา” ขึ้น ที่ตำบลคลองน้อย อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ ธานี ตั้งแต่ ปี 2552 ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดการพื้นที่ โดยได้ทำการปลูกทั้งพืช เศรษฐกิจ คือปาล์มน้ำมัน และพืชอาหาร […]

นงเยาว์ กลับนุ้ย : บทสะท้อนสิทธิในการปล่อยตัวชั่วคราวของคนจน

“ช่วยไม่ได้ ก็ต้องอยู่ให้ได้” คำพูดทั้งน้ำตา ของป้านงเยาว์ นงเยาว์ กลับนุ้ย อายุ 64 ปี หนึ่งในชาวชุมชนน้ำแดงพัฒนา สมาชิกสหพันธ์เกษตกรภาคใต้ 12 คน (ถูกออกหมายจับ 15 คน) ที่ถูกดำเนินคดีอาญาความผิดฐาน ซ่องโจร ร่วมกันบุกรุกเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนหรือเข้าไปกระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยปกติสุข และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ซึ่งพืชหรือพืชผลของกสิกร (อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ) นงเยาว์ ถูกออกหมายจับพร้อมชาวบ้านชุมชนน้ำแดง 15 คน และถูกตำรวจ สภ. ชัยบุรีเข้าไปจับกุมที่ชุมชนเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560พร้อมชาวบ้านอีก 4 คน หลังจากนั้น วันที่ 21 เมษายน ก็มีชาวบ้านถูกจับเพิ่มอีก 2 ราย หลังจากการจับกุม ญาติของผู้ถูกจับแต่ละรายและทนายความจากเครือข่ายทนายความสิทธิมนุษยชนภาคใต้ ก็พยายามยื่นขอประกันตัวผู้ถูกจับกุม แต่การขอประกันตัวไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีการกำหนดอัตราหลักประกันตามจำนวนข้อหาและคดีที่ค่อนข้างสูง ซึ่งในกรณีนี้มีการแยกดำเนินคดีเป็น 3 คดีตามจำนวนผู้ที่มาร้องทุกข์ และแต่ละคดีจะมีทั้ง 3 ข้อหา ซึ่งแต่เดิมมีการตั้งข้อหา […]

เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ ประเทศไทย : ข้อคิดเห็นต่อการแถลงข่าวการประกาศใช้กฎหมายแร่ฉบับใหม่

๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ เผยแพร่ข้อคิดเห็นต่อการแถลงข่าวการประกาศใช้กฎหมายแร่ฉบับใหม่ โดยมีข้อความดังนี้ ตามที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) จัดให้มีการแถลงข่าวการประกาศใช้กฎหมายแร่ฉบับใหม่  หรือพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๖๐  ณ ห้องประชุมดีบุก ชั้น ๒  อาคาร กพร.  ในเช้าวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๐  นั้น  เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่มีข้อคิดเห็น  ดังนี้ ๑. ย่อหน้าแรกในเอกสารแจกของ กพร. ประกอบการแถลงข่าวในครั้งนี้  อธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับใบอนุญาตที่มีอยู่ก่อนแล้วไม่ครบถ้วน  ความว่า  “บรรดาบรรดาอาชญาบัตร  ประทานบัตร  หรือใบอนุญาตอยู่ก่อนแล้ว  ให้ถือเป็นการได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่นี้จนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน”  นั้น ตามมาตรา ๑๘๙ วรรคแรกของกฎหมายแร่ฉบับใหม่ระบุเนื้อหาที่ครบถ้วนเอาไว้ดังนี้  “บรรดาอาชญาบัตร  ประทานบัตร  หรือใบอนุญาตที่ได้ออกให้ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. ๒๕๑๐  ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ  ให้ถือเป็นอาชญาบัตร  ประทานบัตร  หรือใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้  และให้ยังคงใช้ได้จนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน  โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้  ยกเว้นการจัดทําแนวพื้นที่กันชนการทําเหมืองและการจัดทําข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนตามมาตรา ๓๒  การฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทําเหมือง  การวางหลักประกัน  และการจัดทําประกันภัยตามมาตรา […]