Month: May 2017

แถลงการณ์ ประนามเหตุระเบิดในโรงพยาบาล และเรียกร้องให้มีการค้นหาความจริงอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม

ตามที่ปรากฎข่าวตามสื่อมวลชนหลายสำนักว่าเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม เวลาประมาณ 10.00 น. ได้เกิดเหตุระเบิดบริเวณห้องตรวจโรคนายทหารชั้นยศนายพล และที่ช่องจ่ายยา ช่องการเงิน ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 ปี รพ.พระมงกุฎเกล้า ส่งผลให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการได้รับบาดเจ็บ 24 ราย และมีการยื่นยันจากเจ้าหน้าที่ที่เข้าตรวจสอบที่เกิดเหตุเบื้องต้นพบแผงวงจรไอซีทามเมอร์ เศษสายไฟ และเศษถ่านไฟฉายตกอยู่ในพื้นที่ คาดว่าเป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของระเบิด สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มีความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ความรุนแรงดังกล่าว และมีความเห็นว่า สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายเป็นสิทธิมนุษยชนที่สัมบูรณ์ ซึ่งถูกรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 28 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ดังนั้น ไม่ว่ารัฐหรือบุคคลอื่นใดก็ไม่อาจล่วงละเมิดสิทธิดังกล่าวได้ การใช้โรงพยาบาลเป็นเป้าหมายของการก่อเหตุรุนแรง เป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ อันเป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับในทางสากล โดยเฉพาะอนุสัญญาเจนีวาที่กำหนดหลักการมูลฐานสำคัญให้โรงพยาบาลเป็นเขตปลอดภัย การห้ามใช้โรงพยาบาล หรือสถานที่ที่มีเครื่องหมายกาชาดในทางที่ผิด หรือเพื่อประโยชน์แก่คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แม้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศดังกล่าวจะเป็นกติกาที่กำหนดไว้เพื่อใช้ในสภาวะสงคราม แต่ในความขัดแย้งรุนแรงโดยทั่วไปก็ควรเคารพหลักการดังกล่าวด้วยเช่นกัน ในเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าว รัฐจำเป็นต้องเร่งค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ในกระบวนการค้นหา จับกุมหรือควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดจำเป็นต้องเคารพหลักการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม ที่ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง ซึ่งกำหนดให้ห้ามจับกุมหรือควบคุมตัวบุคคลโดยอำเภอใจ ผู้ถูกจับกุมจะต้องได้รับแจ้งถึงเหตุผลในการจับกุม ได้รับแจ้งถึงข้อหาโดยพลัน และบุคคลที่ต้องหาว่ากระทำความผิดต้องได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในการติดต่อกับทนายความและญาติ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน จึงมีข้อเรียกร้องต่อสถานการณ์ดังกล่าวดังต่อไปนี้ 1.ขอประนามการก่อความรุนแรงในพื้นที่โรงพยาบาล […]

แถลงการณ์ คัดค้านร่างกฎหมายควบคุมเสรีภาพสื่อมวลชน

ตามที่ร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ….. ซึ่งกำลังพิจารณาอยู่ในสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างกว้างขวางว่าร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมิได้เป็นการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนแต่กลับเป็นการแทรกแซงและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน โดยในร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวระบุให้ “ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน” ต้องได้รับใบอนุญาตโดยคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ มาจากกลุ่มบุคคล ซึ่งมีตัวแทนภาครัฐเข้าร่วมด้วย ซึ่งคณะกรรมการมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตวิชาชีพสื่อมวลชนได้อันเถือได้ว่าเป็นการเปิดทางให้มีการแทรกแซงสื่อได้นั้น สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)และองค์กรข้างท้ายขอแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการจัดทำกฎหมายเพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ดังต่อไปนี้ ๑. “เสรีภาพของประชาชน” หมายความเชื่อมโยงถึง “เสรีภาพของสื่อมวลชน”ด้วย ถือเป็นหลักการสำคัญของสิทธิเสรีภาพที่สำคัญประการหนึ่งในสังคมประชาธิปไตย ในแง่ที่ว่าหากจะมีการจำกัดเสรีภาพสื่อมวลชนจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน ดังนั้นการส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวล จักต้องคำนึงถึงหลักการเรื่องสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนด้วยอย่างเคร่งครัด ๒. แนวคิดในการจัดทำกฎหมายเพื่อคุ้มครองเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนนั้นจักต้องอยู่บนพื้นฐานร่วมกันว่า สื่อมวลชนมีเสรีภาพควบคู่ไปกับ หรือถูกกำกับภายใต้ความรับผิดชอบที่สื่อมวลชนพึงมีต่อประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ ซึ่งประชาชนหรือผู้บริโภคสื่อย่อมสามารถใช้วิจารณญาณในฐานะวิญญูชนที่จะวินิจฉัยได้ด้วยตนเอง อันเป็นประเด็นหนึ่งที่ต้องได้รับการพัฒนาเรียนรู้และสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมร่วมกันในสังคมนั้นๆเอง ๓.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ มีบทบัญญัติคุ้มครองเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในการเสนอข่าวสาร หรือแสดงความเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเรื่องเสรีภาพในการรับ แสวงหาและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็น โดยต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบต่อการแสดงความคิดเห็น หรือการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารนั้นๆ โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมของสังคม ซึ่งสื่อมวลชนยังต้องได้รับการกำกับภายใต้กฎหมายหลายฉบับ ทั้งประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการหมิ่นประมาท กฎหมายเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณา กฎหมายเกี่ยวกับวัฒนธรรม กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา กฎหมายเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจาร กฎหมายว่าด้วยคอมพิวเตอร์ กฎหมายด้านการจดแจ้งการพิมพ์ ฯลฯ โดยกฎหมายแต่ละฉบับก็มีเจ้าพนักงานของรัฐกำกับดูแลและควบคุมให้สื่อมวลชนมีความรับผิดชอบต่อบุคคลและต่อสังคมอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องมีกฎหมายเฉพาะในการคุ้มครองและส่งเสริมจริยธรรมสื่อมวลชนอีก ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สสส.และองค์กรท้ายแถลงการณ์นี้ จึงมีข้อเสนอและข้อเรียกร้อง […]

3 ปีบิลลี่ กับ 3 ประเด็นสิทธิที่ยังค้างคา

วันนี้ (17 เมษายน 2560) เครือข่ายภาคประชาชนชาติพันธุ์กระเหรี่ยง ได้ร่วมกันจัดงาน 3 ปีบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ ณ ห้วยกระซู่ ต.ยางน้ำกลัดเหนือ อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี โดยมีชาวบ้านชาต้พันธุ์กระเหรี่ยงเจ้าร่วมงานจากหลายพื้นที่ อาทิ บ้านลิ้นช้าง บ้านพุน้ำร้อน บ้านสาลิกา บ้านห้วยกระซู่ บ้านบางกลอย บ้านตากแดด ฯลฯ 17 เมษายน 2560 เป็นวันครบรอบ 3 ปีที่บิลลี่หายไป หลังถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน บิลลี่ถือเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและเป็นตัวแทนชุมชนบางกลอย ในการประสานงานดำเนินการเรื่องสิทธิชุมชนของคนกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ต้นน้ำเพชรบุรี ในงานมีการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและรำลึกถึงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่จากไป อาทิ นายทัศกมล โอบอ้อม หรืออาจารย์ป๊อด ผู้ที่ช่วยเหลือชาวบ้านบางกลอยเรียกร้องสิทธิหลังถูกเผาบ้านไล่รื้อจากแผ่นดินเดิม ณ ใจแผ่นดิน อาจารย์ป๊อดถูกยิงในวันที่ 10 กันยายน 2554 กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถลงโทษผู้กระทำความผิดได้ บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ นักปกป้องสิทธิชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบางกลอย เขาหายตัวไปเมื่อวันที่ 17 เมษายน […]

ศาลฎีกาพิพากษาคดีสองชาวชาติพันธุ์กระเหรี่ยงบ้านแม่อมกิ ไม่ผิดฐานบุกรุกป่าสงวน เพราะอยู่มาก่อน แต่ต้องออกจากพื้นที่

วันที่ 21 มีนาคม 2560 ศาลจังหวัดแม่สอด จังหวัดตาก อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดี 2 ชาวกระเหรี่ยงบ้านแม่อมกิ คือ นางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายดิแปะโปหรือดิ๊แปะโพ ถูกดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ โดยศาลฎีกามีคำพิพากษาสรุปความได้ว่า จำเลยทั้งสองไม่มีความผิด เพราะขาดเจตนาบุกรุก เนื่องจากเป็นคนดั้งเดิมอยู่อาศัยทำกินมาก่อนประกาศเขตป่าสงวน แต่อย่างไรก็ดี ศาลฎีกายังคงยืนยันให้จำเลยทั้งสองและบริวารต้องออกจากพื้นที่ เดินในวันนี้ (22 มีนาคม 2560) ศาลนัดอ่านคำพิพากษาเฉพาะคดีของนางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา คดีหมายเลขดำที่ อ.1770/2551 หมายเลขแดงที่ 1737/2551 คดีความผิดต่อพ.ร.บ ป่าไม้ และพ.ร.บ ป่าสงวนแห่งชาติ แต่ทนายความได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลอ่านคำพิพากษาฎีกาในคดีของนายดิแปะโปหรือดิ๊แปะโพ หมายเลขดำที่ อ.1771/2551 หมายเลขแดงที่ 1738/2551 ด้วยในวันเดียวกันนี้ จากเดิมที่ศาลนัดอ่านในวันที่ 23 มีนาคม 2560 คดีนี้สืบเนื่องจากชาวกระเหรี่ยง 2 คนคือ นางน่อเฮมุ้ย เวียงวิชชา และนายดิแปะโป ที่มีอาชีพทำไร่หมุนเวียนเพื่อเลี้ยงชีพ ในชุมชนบ้านแม่อมกิ ตำบลแม่ว่าหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก […]