Day: March 13, 2017

ปัญหาการพิจารณาค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา โดยสมชาย หอมลออ

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ (“พระราชบัญญัติ”) มี ผลบังคับใช้มาเกือบจะสิบปีแล้ว ในระหว่างเวลาดังกล่าวมีคดีอาญาที่ (๑) จำเลยถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการและ (๒) ถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี ที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องนับหมื่นคดี แต่มีจำเลยจำนวนน้อยนักที่ได้รับค่าทดแทนที่ต้องถูกคุมขังระหว่างการพิจารณา คดีและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่ตนต้องเสียไป จำเลยบางคนจะต้องข้อหาร้ายแรงและศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการ พิจารณาคดี หรือจำเลยบางคนแม้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในข้อหาไม่ร้ายแรง แต่เนื่องจากเป็นคนยากจน ไร้ญาติขาดมิตร จึงไม่สามารถหาหลักประกันเพื่อขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการพิจารณา คดีได้ บางคนศาลชั้นต้นแม้มีคำพิพากษายกฟ้อง แต่กลับต้องถูกคุมขังระหว่างการอุทธรณ์ เสมือนหนึ่งว่าศาลเองก็ไม่เชื่อมั่นว่าคำพิพากษาของศาลเองที่ให้ยกฟ้องถูก ต้องแล้ว จำเลยเหล่านี้จำนวนไม่น้อยต้องถูกจองจำอยู่ในคุกนานนับปีกว่าที่ศาลจะมีคำ พิพากษาถึงที่สุดยกฟ้อง ถูกรัฐลิดรอนสิทธิเสรีภาพโดยการคุมขัง บางคนกระทั่งเสียชีวิตในคุก ใช่แต่เพียงเท่านั้น การที่จำเลยคนหนึ่งถูกจองจำอยู่เป็นระยะยาวนานย่อมมีผลกระทบต่อครอบครัวและ บุคคลใกล้ชิด ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบทางด้านจิตใจ หลายครอบครัวต้องแตกสลายเนื่องจากหัวหน้าครอบครัว หรือสมาชิกที่เป็นหลักของครอบครัวต้องถูกจองจำระหว่างการพิจารณาคดีเป็นเวลา นาน กลายเป็นปัญหาและภาระของสังคมในที่สุด ปัญหา หลักของการที่อดีตจำเลยในคดีอาญานับพันๆคนไม่มีโอกาสได้รับค่าทดแทนและค่า ใช้จ่ายในการต่อสู้คดีคือการวินิจฉัยตีความกฎหมายของคณะกรรมการพิจารณาค่า ตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย ในคดีอาญา ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และการวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ยื่นคำขอของศาลอุทธรณ์ตามอำนาจที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๒๕ แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว […]

ใบแจ้งข่าว นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หลังรัฐประหาร 2549

วันพุธที่ 15 มีนาคม 2560 เวลา 09.30 น. ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก บัลลังก์ 710 มีนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำที่ อ.4383/2553 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1092/2556 ระหว่างพนักงานอัยการ โจทก์ กับ นายจอน อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คน จำเลย ในความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และร่วมกันทำให้ปรากฏด้วยวาจา อันมิใช่กระทำในความหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แสดงความคิดเห็นโดยปกติเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 116, 215, 362, 364, 365 คดีนี้สืบเนื่องจากหลังการรัฐประหาร โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 และตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขึ้นมาทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย […]

คดีโลกร้อน ปะทะ สิทธิชุมชน โดย กฤษดา ขุนณรงค์

ปมที่ไม่อาจคลายหากยังไม่เลิกใช้ “ แบบจำลอง” ใช่ครับเรื่องที่จะพูดถึงต่อไปนี้เกิดขึ้นในเมืองไทยของเราเมื่อไม่กี่ปีมานี่เอง ปัจจุบันนี้หลายท่านพอคุ้นเคยกับคำว่า โลก ร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งเชื่อกันว่าจะส่งผลร้ายแรง ต่อโลกของเรา ว่ากันไปถึงขั้นโลกใบนี้อาจถึงจุดอวสานหรือพูดกันให้เห็นภาพสั้น ๆ ภาษาชาวบ้าน ว่า “ โลกของเรากำลังจะแตก ” ทำนองนั้น หลายปีก่อนผู้นำกว่าร้อยประเทศทั่วโลกไปนั่งคุยเพื่อหาทางแก้ไขเรื่องนี้ และมีข้อตกลงอันเป็นพันธสัญญาทางกฎหมายภายใต้ชื่อ “ พิธีสารเกียวโต ” เป้าหมายหลัก คือ การลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกซึ่งมีคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้นเหตุสำคัญที่ส่ง ผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา รัสเซีย ญี่ปุ่น ยกเว้น สหรัฐและออสเตรเลีย ยอมที่จะรับผิดชอบปฏิบัติตามอนุสัญญา สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญาฉบับนี้ด้วย แต่เนื่องจากเราไม่ได้เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมจึงไม่มีผลบังคับให้ต้อง ดำเนินการครบถ้วนตามอนุสัญญา แต่สามารถเลือกเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบดูแลในเรื่องนี้ ผมเกริ่นถึงเรื่องนี้เสียยืดยาวเพื่อที่จะบอกว่ามันมีความสำคัญและจะไม่ไกลตัวของเราอีกแล้ว เพราะกระแสภาวะโลกร้อนไม่เพียงเป็นเรื่องข้อกังวลของคนทั่วโลกถึงผลกระทบทาง ธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น แต่ด้านหนึ่งประเด็นนี้กำลังเชื่อมโยงมาถึงกลุ่มประเทศเกษตรกรรม ภาคชนบท ลงมาถึงชุมชนท้องถิ่นของประเทศไทยในฐานะผู้ต้องรับผิดชอบกับความเปลี่ยนแปลง ดังที่ว่า ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา พวกเราคงพอได้ยินคำว่า “ คดีโลกร้อน ” กันอยู่บ้าง ดูจากคำก็ตีความได้ทันทีว่าเป็นคดีเกี่ยวกับคนกระทำความผิดข้อหาทำให้โลก […]