Month: March 2017

เมื่อผีเสื้อขยับปีก …… เผยให้เห็นว่าประเทศไทยมีอาชญากรมากกว่า 2 ล้านคน โดย เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล

หลังการอ่านคำพิพากษาอุทธรณ์คดีนางหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายดิ๊แปะโพ ชาวปกาญอ บ้านแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ทำให้เกิดคำถามต่างๆ ตามมามากมายในกลุ่มนักกฎหมาย ทนายความสิทธิมนุษยชน นักวิชาการและชาวบ้าน ซึ่งได้ติดตามคดีนี้มาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากคดีนี้มีเป็นคดีแรกที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุม เนื่องจากทำไร่หมุนเวียน ได้ยกเอาหลักสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 และ 67 และ หลักวิชาการเกี่ยวกับการทำไร่หมุนเวียน ซึ่งถือเป็นวิถีการเกษตรที่ต่อเนื่องและเกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม มาเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาล เป็นผลให้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องทั้งสองคดี แต่ศาลอุทธรณ์กลับมีคำพิพากษาแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้ง สองคดีนี้มีข้อเท็จจริงอย่างเดียวกันในสาระสำคัญ กล่าวคือ ที่พิพาทอยู่ติดกันโดยตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าท่าสองยาง , ถูกจับกุมในวันเดียวกัน , สภาพการใช้พื้นที่เหมือนกัน คือ ทำไร่หมุนเวียน , โจทก์ฟ้องในข้อหาเดียวกันและใช้พยานชุดเดียวกัน , จำเลยก็ยกข้อต่อสู้เหมือนกันและใช้พยานชุดเดียวกัน , ที่สำคัญคือ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเหมือนกันซึ่งสรุปได้ว่า “จำเลยเป็นชาวเขา เผ่ากะเหรี่ยงไม่สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้ และได้อาศัยที่พิพาททำประโยชน์มาก่อนที่จะถูกประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ เข้าใจผิดคิดว่าสามารถทำกินได้ เห็นว่าเป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง” อย่าง ไรก็ตามเมื่ออัยการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีความเห็นสำหรับสองคดีนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ คดีนางหน่อเฮหมุ่ย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยสรุปได้ว่า “การ ที่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่เกิดเหตุในลักษณะไร่หมุนเวียนมาก่อน ย่อมทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าที่เกิดเหตุเป็นที่ที่จำเลยสามารถเข้าทำประโยชน์ […]

พรุ่งนี้แล้ว! ศาลฎีกาพิพากษาคดีสิทธิในที่ดินทำกินและวิถีชีวิตของชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอญอ บ้านแม่อมกิ

วันพุธที่ 22 มีนาคม 2560 ณ ศาลจังหวัดแม่สอด จังหวัดตาก เวลา 09.00 น. มีนัดอ่านคำพิพากษาฎีกาคดีนางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชา ชาวปกาเกอญอ ชุมชนบ้านแม่อมกิ ที่ถูกดำเนินคดีจากการทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชุมชน โดยในวันเดียวกันนั้นทนายความจะยื่นคำร้องขอให้ศาลจังหวัดแม่สอดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนายดิ๊แปะโพหรือดิแปะโป จำเลยอีกคดีจากการกระทำความผิดในฐานเดียวกัน เพื่อให้ศาลอ่านคำพิพากษาในวันดังกล่าวข้างต้นพร้อมกันทั้ง 2 คดี (จากเดิมที่ศาลมีนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในวันที่ 23 มีนาคม 2560) คดีนี้เริ่มต้นจากชาวกะเหรี่ยง 2 คนคือ นางน่อเฮมุ้ย เวียงวิชชา และนายดิแปะโป ที่มีอาชีพทำไร่หมุนเวียนเพื่อเลี้ยงชีพ ในชุมชนบ้านแม่อมกิ ตำบลแม่ว่าหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้จับกุมในที่ดินที่ตนเองได้รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าบุกรุกทำลายป่า โดยถูกนำไปขังและฟ้องเป็นคดีความต่อศาลในเวลาต่อมา และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องทั้งสองคดี โดยเห็นว่าจำเลยไม่ได้มีเจตนาบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติ เป็นการขาดเจตนา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง หลังมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น พนักงานอัยการได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในคดีของนางน่อเฮมุ้ย แต่อย่างไรก็ดี ศาลเห็นว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตป่าสงวน แม้การกระทำของจำเลยจะขาดเจตนา แต่ก็ไม่มีสิทธิที่จะเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่เกิดเหตุได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องออกจากป่าสงวนแห่งชาติที่เกิดเหตุ ส่วนคดีของนายดิแปะโปศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยให้เหตุผลว่า แม้ว่าจำเลยจะทำกินในที่ดินดังกล่าวต่อจากบิดามารดาอันเป็นเวลาก่อนที่จะมีการประกาศให้เป็นเขตป่าสงวน และแม้ว่าจำเลยไม่ทราบว่าเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่เกิดเหตุเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อกฎกระทรวงกำหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว […]

ศาลฎีกาพิพากษา 10 จำเลยคดีปีนสภามีความผิด แต่ให้รอการกำหนดโทษไว้ 2 ปี

วันนี้ (พุธที่ 15 มีนาคม 2560) เวลา 10.00 น. ศาลอาญาได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำ อ.4383/2553 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1092/2556 ที่พนักงานอัยการ ฟ้องนายจอน อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คน ในความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และร่วมกันทำให้ปรากฏด้วยวาจา อันมิใช่กระทำในความหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แสดงความคิดเห็นโดยปกติเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 116, 215, 362, 364, 365 ซึ่งสาเหตุการฟ้องร้องดำเนินคดีนี้ เกิดจากการที่มีประชาชนจำนวนหลายร้อยคนทำการชุมนุมและเข้าไปในรัฐสภาในวันที่ 12 ธันวาคม 2550 เพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหารปี 2549 เพราะไม่เห็นด้วยกับการพิจารณาร่างกฎหมายจำนวน 11 ฉบับ ที่ได้มีการเร่งรีบพิจารณา โดยร่างกฎหมายมีเนื้อหาที่ไม่เป็นธรรม ละเมิดสิทธิเสรีภาพและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับคดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2556 ให้จำคุกและปรับจำเลย แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา […]

ปัญหาการพิจารณาค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา โดยสมชาย หอมลออ

พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ (“พระราชบัญญัติ”) มี ผลบังคับใช้มาเกือบจะสิบปีแล้ว ในระหว่างเวลาดังกล่าวมีคดีอาญาที่ (๑) จำเลยถูกดำเนินคดีโดยพนักงานอัยการและ (๒) ถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดี ที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องนับหมื่นคดี แต่มีจำเลยจำนวนน้อยนักที่ได้รับค่าทดแทนที่ต้องถูกคุมขังระหว่างการพิจารณา คดีและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีที่ตนต้องเสียไป จำเลยบางคนจะต้องข้อหาร้ายแรงและศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการ พิจารณาคดี หรือจำเลยบางคนแม้ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในข้อหาไม่ร้ายแรง แต่เนื่องจากเป็นคนยากจน ไร้ญาติขาดมิตร จึงไม่สามารถหาหลักประกันเพื่อขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการพิจารณา คดีได้ บางคนศาลชั้นต้นแม้มีคำพิพากษายกฟ้อง แต่กลับต้องถูกคุมขังระหว่างการอุทธรณ์ เสมือนหนึ่งว่าศาลเองก็ไม่เชื่อมั่นว่าคำพิพากษาของศาลเองที่ให้ยกฟ้องถูก ต้องแล้ว จำเลยเหล่านี้จำนวนไม่น้อยต้องถูกจองจำอยู่ในคุกนานนับปีกว่าที่ศาลจะมีคำ พิพากษาถึงที่สุดยกฟ้อง ถูกรัฐลิดรอนสิทธิเสรีภาพโดยการคุมขัง บางคนกระทั่งเสียชีวิตในคุก ใช่แต่เพียงเท่านั้น การที่จำเลยคนหนึ่งถูกจองจำอยู่เป็นระยะยาวนานย่อมมีผลกระทบต่อครอบครัวและ บุคคลใกล้ชิด ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และผลกระทบทางด้านจิตใจ หลายครอบครัวต้องแตกสลายเนื่องจากหัวหน้าครอบครัว หรือสมาชิกที่เป็นหลักของครอบครัวต้องถูกจองจำระหว่างการพิจารณาคดีเป็นเวลา นาน กลายเป็นปัญหาและภาระของสังคมในที่สุด ปัญหา หลักของการที่อดีตจำเลยในคดีอาญานับพันๆคนไม่มีโอกาสได้รับค่าทดแทนและค่า ใช้จ่ายในการต่อสู้คดีคือการวินิจฉัยตีความกฎหมายของคณะกรรมการพิจารณาค่า ตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย ในคดีอาญา ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ และการวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ยื่นคำขอของศาลอุทธรณ์ตามอำนาจที่กำหนดไว้ใน มาตรา ๒๕ แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว […]

ใบแจ้งข่าว นัดฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หลังรัฐประหาร 2549

วันพุธที่ 15 มีนาคม 2560 เวลา 09.30 น. ณ ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก บัลลังก์ 710 มีนัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีหมายเลขดำที่ อ.4383/2553 คดีหมายเลขแดงที่ อ.1092/2556 ระหว่างพนักงานอัยการ โจทก์ กับ นายจอน อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คน จำเลย ในความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง และร่วมกันทำให้ปรากฏด้วยวาจา อันมิใช่กระทำในความหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่แสดงความคิดเห็นโดยปกติเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 116, 215, 362, 364, 365 คดีนี้สืบเนื่องจากหลังการรัฐประหาร โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 และตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขึ้นมาทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย […]

คดีโลกร้อน ปะทะ สิทธิชุมชน โดย กฤษดา ขุนณรงค์

ปมที่ไม่อาจคลายหากยังไม่เลิกใช้ “ แบบจำลอง” ใช่ครับเรื่องที่จะพูดถึงต่อไปนี้เกิดขึ้นในเมืองไทยของเราเมื่อไม่กี่ปีมานี่เอง ปัจจุบันนี้หลายท่านพอคุ้นเคยกับคำว่า โลก ร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งเชื่อกันว่าจะส่งผลร้ายแรง ต่อโลกของเรา ว่ากันไปถึงขั้นโลกใบนี้อาจถึงจุดอวสานหรือพูดกันให้เห็นภาพสั้น ๆ ภาษาชาวบ้าน ว่า “ โลกของเรากำลังจะแตก ” ทำนองนั้น หลายปีก่อนผู้นำกว่าร้อยประเทศทั่วโลกไปนั่งคุยเพื่อหาทางแก้ไขเรื่องนี้ และมีข้อตกลงอันเป็นพันธสัญญาทางกฎหมายภายใต้ชื่อ “ พิธีสารเกียวโต ” เป้าหมายหลัก คือ การลดการปล่อยก๊าชเรือนกระจกซึ่งมีคาร์บอนไดออกไซด์เป็นต้นเหตุสำคัญที่ส่ง ผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อน กลุ่มประเทศอุตสาหกรรม เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา รัสเซีย ญี่ปุ่น ยกเว้น สหรัฐและออสเตรเลีย ยอมที่จะรับผิดชอบปฏิบัติตามอนุสัญญา สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีตามอนุสัญญาฉบับนี้ด้วย แต่เนื่องจากเราไม่ได้เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมจึงไม่มีผลบังคับให้ต้อง ดำเนินการครบถ้วนตามอนุสัญญา แต่สามารถเลือกเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ได้ ซึ่งปัจจุบันมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบดูแลในเรื่องนี้ ผมเกริ่นถึงเรื่องนี้เสียยืดยาวเพื่อที่จะบอกว่ามันมีความสำคัญและจะไม่ไกลตัวของเราอีกแล้ว เพราะกระแสภาวะโลกร้อนไม่เพียงเป็นเรื่องข้อกังวลของคนทั่วโลกถึงผลกระทบทาง ธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น แต่ด้านหนึ่งประเด็นนี้กำลังเชื่อมโยงมาถึงกลุ่มประเทศเกษตรกรรม ภาคชนบท ลงมาถึงชุมชนท้องถิ่นของประเทศไทยในฐานะผู้ต้องรับผิดชอบกับความเปลี่ยนแปลง ดังที่ว่า ช่วงปีสองปีที่ผ่านมา พวกเราคงพอได้ยินคำว่า “ คดีโลกร้อน ” กันอยู่บ้าง ดูจากคำก็ตีความได้ทันทีว่าเป็นคดีเกี่ยวกับคนกระทำความผิดข้อหาทำให้โลก […]

พรทิพย์ หงชัย : กฎหมายชุมนุมฯ ทำให้เสียงของผู้เดือดร้อนเงียบลง

สถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ที่กระทำการรัฐประหารรัฐบาลพลเรือนเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2549 สิทธิและสรีภาพของประชาชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในเรื่องต่างๆของประชาชนถูกจำกัดมากกว่าในยุครัฐบาลปกติ นอกจากรัฐบาลทหารจะมีกองกำลังที่ใหญ่โตในมือเพื่อปิดกั้นการเคลื่อนไหวของประชาชนแล้ว สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลทหารนำมาใช้และค่อนข้างได้ผลก็คือกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยกฎหมายที่มักจะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจำกัดเสรีภาพของประชาชนก็คือพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 ถูกตราออกมาได้โดยง่ายในยุคสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มีสมาชิกประกอบด้วยข้าราชการเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในยุครัฐบาลปกติ แม้จะมีการพยายามผลักดันกฎหมายเหล่านี้ แต่ก็ไม่สามารถจะตราออกมาได้ง่ายๆ ส่วนคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ารัฐธรรมนูญมาตรานี้ได้ให้อำนาจแก่หัวหน้า คสช. อย่างกว้างขว้างในการออกคำสั่งใดๆก็ได้ในนามของการรักษาความสงบและการปฏิรูปประเทศ และที่ผ่านมาก็มีการใช้อำนาจตามมาตราดังกล่าวออกคำสั่งต่างๆที่มีค่าบังคับเป็นกฎหมายมาใช้บังคับมากมาย โดยที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมใดๆ กฎหมายเหล่านี้ ถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับประชาชนที่ต่อต้านรัฐบาล คสช. โดยตรง และประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิของตนเองและชุมชนจากการดำเนินโครงการพัฒนาต่างๆของรัฐและทุนที่ก่อผลกระทบต่อชุมชน วันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา พรบ. ชุมนุมฯ ก็แผลงฤทธิ์อีกครั้ง เมื่อ สภ.วังสะพุง […]

ใบแจ้งข่าว : ฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีสิทธิในที่ดินทำกินและวิถีชีวิตของชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอญอบ้านแม่อมกิ

วันพุธที่ 22 มีนาคม 2560 เวลา 9.00 น. ณ ศาลจังหวัดแม่สอด จังหวัดตาก ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนและผู้สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนางน่อเฮมุ้ยหรือหน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา ชาวปกาเกอญอที่ถูกดำเนินคดีจากการทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชุมชนดั้งเดิม คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2551 เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้จับกุมชาวปกาเกอญอกลุ่มหนึ่งในขณะกำลังทำไร่หมุนเวียนตามวิถีชุมชนดั้งเดิม ที่ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน 2551 พนักงานอัยการจังหวัดแม่สอดได้ส่งฟ้องผู้ต้องหา 2 คน ต่อศาลจังหวัดแม่สอด คือ นางน่อเฮหมุ่ย เวียงวิชชา และนายนายดิ๊แปะโพ ไม่มีชื่อสกุล โดยทั้งสองเป็นประชาชนในชุมชนแม่อมกิ ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 และความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ.2507 ในศาลชั้นต้น จำเลยทั้ง 2 คนรับสารภาพตามคำฟ้อง จึงไม่มีการสืบพยาน ศาลจึงตัดสินพิพากษาโดยคดีของนายดิ๊แปะโพให้ลงโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือนรับ สารภาพลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 1 ปี […]

ไพโรจน์ พลเพชร : เราต้องยืนยันว่าเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบเป็นสิ่งที่พึงกระทำได้ไม่ว่าในรัฐบาลไหน

วันพุธที่ 15 มีนาคมนี้ เวลา 09.30 น. ศาลอาญารัชดานัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีที่ 10 เอนจีโอ/นักเคลื่อนไหวชุมนุมและปีนรั้วเข้ารัฐสภาเพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในช่วงปี 2550 คดีนี้เราเรียกกันสั้นๆติดปากว่า “คดีปีนสภา” ความเป็นมาของคดีนี้ก็คือ ในช่วงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ไม่กี่วัน  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งตั้งขึ้นหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้มีการเร่งรีบพิจารณาร่างกฎหมายจำนวนมาก โดยร่างกฎหมายหลายฉบับมีเนื้อหาที่ไม่เป็นธรรม ละเมิดสิทธิเสรีภาพและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน  ทำให้กลุ่มบุคคลและองค์กรภาคเอกชนหลายร้อยคน ออกมาเคลื่อนไหวชุมนุมเพื่อแสดงความถึงความไม่เห็นด้วยและคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) รวมทั้งคัดค้านการพิจารณาออกกฎหมายจำนวน 11 ฉบับ อาทิ ร่างกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ร่างกฎหมายว่าด้วยเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ร่างกฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ฯลฯ เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2549 ประชาชนหลายร้อยคน นัดชุมนุมกันที่บริเวณหน้ารัฐสภา และได้มีการปีนเข้าไปในอาคารรัฐสภา เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้ผู้ชุมนุม 10 คน ประกอบด้วย 1) นายจอน อึ๊งภากรณ์ อดีตประธานมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม 2) […]