Year: 2017

สมาคมนักกฏหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม จัดอบรมเสริมสร้างความเข็มแข็งและพัฒนาทักษะทางกฎหมายแก่ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง

18 – 19 ธันวาคม 2560 สมาคมนักกฏหมายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ได้ลงพื้นที่บ้านป่าเด็ง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การเสริมสร้างความเข็มแข็งและการพัฒนาทักษะทางกฎหมายแก่ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน โดยมีแกนนำชุมชนและชาวบ้านที่ประสบปัญหาด้านกฏหมายและสิทธิมนุษยชน เข้าร่วมราว 60 คน จากหลายพื้นที่ อาทิ บ้านป่าหมาก บ้านป่าเด็ง  บ้านป่าละอูน้อย บ้านป่าละอูบน สวนทุเรียน บ้านปาเกอะญอ บ้านแพรกตะคร้อ บ้านบางกลอย และมีส่วนหนึ่งมาจากอำเภอหนองหญ้าปล้อง และราชบุรี ทั้งนี้ มีวิทยากรจากทั้ง นักกฏหมาย/ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน อัยการ สคช. เจ้าหน้าที่ยุติธรรมจังหวัดเพชรบุรี เข้าร่วมแลกเปลี่ยน ให้ความรู้และประสบการณ์ ทิพวิมล ศิรินุพงษ์ ผู้จัดการสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า การจัดอบรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐาน มีความรู้และทักษะทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพียงพอที่จะสามารถจัดการกับปัญหาทางกฎหมายที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนได้ด้วยตัวเอง รวมทั้งสามารถแนะนำหรือประสานงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่คนในชุมชนของตนได้ ทิพวิมล กล่าวเสริมว่า ที่มาของการจัดอบรมครั้งนี้ สืบเนื่องจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนได้ทำงานและติดตามสถานการณ์ของชาติพันธุ์ในพื้นที่ป่าแก่งกระจานมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2557 หลังเกิดเหตุการณ์การหายตัวไปของนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ แกนนำชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านบางกลอย ตำบลห้วยแม่เพรียง […]

องกรค์สิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินจากการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ

แถลงการณ์ เรียกร้องให้ปล่อยตัวประชาชนจากการควบคุมตัวโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และยุติการปิดกั้นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมของประชาชน เผยแพร่ 27 พฤศจิกายน 2560 ตามที่ชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้จัดกิจกรรมเดินเท้าจากพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะถึงความไม่เป็นธรรมและผลกระทบที่ชาวบ้านได้รับจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และยื่นหนังสือต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย อำเภอเมืองสงขลา ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 โดยวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มเดิน เครือข่ายฯได้ยื่นแจ้งการชุมนุมสาธารณะต่อหัวหน้าสถานีตำรวจภูธรเทพา และวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 เวลา 13.30 น. ได้ยื่นหนังสือขอผ่อนผันการชุมนุมสาธารณะต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาเนื่องจากพึงทราบว่ากิจกรรมดังกล่าวเป็นการชุมนุมสาธารณะที่ต้องแจ้งการชุมนุม อย่างไรก็ดีผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาได้ออกประกาศฉบับลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 ให้เลิกการชุมนุมสาธารณะภายในเวลา 18.00 น.ของวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 โดยอ้างว่าเป็นการชุมนุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาในวันนี้ ( 27 พฤศจิกายน 2560 เวลาประมาณบ่ายโมง เมื่อเครือข่ายฯเดินทางถึงบริเวณแยกสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีตำรวจประมาณ […]

ชวนร่วมงานสิทธิมนุษยชนอีสาน “70 ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนอีสานอยู่ตรงไหน?”

งานสัมมนาทางวิชาการและเทศกาลสิทธิมนุษยชนอีสาน “70 ปี ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน : สิทธิชุมชนอีสานอยู่ตรงไหน?“ วันที่ 24 พ.ย. 2560 ณ ห้องประชุม D-415 วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม(ที่ตั้งขามเรียง) 08.00น. ลงทะเบียน 08.30 น. การเปิดงาน 08.45 น. เสวนาทางวิชาการเรื่อง “สถานการณ์สิทธิมนุษยชนอีสานในปัจจุบัน” วิทยากร : – คุณเลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ ผู้ประสานงานกลุ่มนิเวศวัฒนธรรม – คุณสุวิทย์ กุหลาบวงศ์ เลขาธิการ กป.อพช.อีสาน – คุณอ้อมบุญ ทิพย์สุนา สภาองค์กรชุมชนตำบลลุ่มแม่น้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน – คุณกฤษกร ศิลารักษ์ สมัชชาคนจน-กรณีเขื่อนปากมูล สคจ. – คุณปราโมทย์ ผลภิญโญ เครือปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน 10.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง 10.15 น. […]

รับสมัครนักกฎหมายเข้าอบรมหลักสูตรทักษะการว่าความคดีสิทธิมนุษยชน

โครงการอบรมหลักสูตรทักษะว่าความคดีสิทธิมนุษยชน ระหว่างวันที่ 23-25 ธันวาคม 2560 หลักการและเหตุผล เนื่องจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนพยายามสร้างนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนและบริบทปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องทั้งในเชิงสังคมและกฎหมาย และเพื่อให้เห็นภาพการทำงานจริงของการทำงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายในประเด็นดังกล่าว จึงเห็นว่า การได้ลงไปในพื้นที่การทำงานจริง การได้ทดลองปฏิบัติ การได้นำความรู้ทางกฎหมายมาประยุกต์ใช้และการเผชิญกับข้อท้าทายกับทัศนคติในเชิงสังคมนั้นจะช่วยให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและนำประสบการณ์จากฝึกทดลองปฏิบัตินี้นำไปต่อยอดในการทำงานของตนเอง วัตถุประสงค์ สร้างนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่สนใจการทำงานในประเด็นสิทธิมนุษยชน ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์  ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้พร้อมฝึกทักษะการทำคดีและว่าความ ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้เข้าร่วมมีทักษะการทำคดีและการว่าความ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดในงานของตนเองได้ การรับสมัคร เข้าไปกรอกใบสมัครที่นี่ ใบสมัคร เปิดรับสมัคร 20-30 พฤศจิกายน 2017 ประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วม 1 ธันวาคม 2017 รับสมัคร จำนวน 10 ท่าน (คัดเลือกจากใบสมัคร) คุณสมบัติ จบการศึกษานิติศาสตร์บัณฑิต และสนใจงานด้านสิทธิมนุษยชน และพร้อมที่จะเรียนรู้ กำหนดการ วันที่ 23 ธันวาคม 2560 06.00 น. เดินทางโดยรถตู้ที่สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน 11.00 น. เดินทางถึงบ้านบางกลอย 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00 […]

เลื่อนฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งที่ 2 คดีอภิชาติชูป้ายต้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ ปี 2557

วันนี้ ( 16 พฤศจิกายน 2560 ) เวลาประมาณ 10.00 น. ศาลแขวงปทุมวัน นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีที่จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ถูกดำเนินคดีในความผิดขัดคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง และชุมนุมมั่วสุม  ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215วรรคแรก มาตรา216 และมาตรา 368 (คดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559) ในห้องพิจารณามีตัวจำเลย คือจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ผู้ติดตามและผู้สังเกตการณ์จำนวนหนึ่ง มารอฟังคำพากษา ส่วนพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดผู้เป็นโจทก์ไม่มา เวลาเกือบ 10 นาฬิกา ผู้พิพากษาศาลแขวงออกนั่งบัลลังค์ และได้สอบถามว่าคนในห้องพิจารณาเป็นใครมาจากไหนบ้าง ผ่านไปสักพัก ศาลก็แจ้งแก่จำเลยว่า ศาลอุทธรณ์ได้แจ้งมาว่าขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปอีก เนื่องจากคดีมีประเด็นที่ยุ่งยากซับซ้อน ศาลอุทธรณ์พิจารณายังไม่แล้วเสร็จ จึงให้เลื่อนการอ่านคำพากษาไปเป็นวันที่ 31 มกราคม 2561 เวลา 10.00 น. นี้เป็นการเลื่อนการฟังคำพิพากษาครั้งที่ 2  […]

แจ้งข่าว : พรุ่งนี้ (16 พ.ย. 2560) ศาลอุทธรณ์นัดฟังคำพิพากษาคดี “อภิชาต” ชูป้ายคัดค้านรัฐประหารหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯ

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 เวลา 10.00 น. ณ ศาลแขวงปทุมวัน ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีความผิดขัดคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง และชุมนุมมั่วสุม  ก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215วรรคแรก มาตรา216 และมาตรา 368 (คดีหมายเลขดำที่ 1097/2559 คดีหมายเลขแดงที่ 9075/2559)  ระหว่างพนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด กับ จ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ คดีนี้สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 หลังการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพียงวันเดียว มีกลุ่มประชาชนจำนวนหนึ่งได้ออกมาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่บริเวณหน้าหอศิลป์ฯ เพื่อคัดค้านการรัฐประหาร ซึ่งจ่าสิบเอกอภิชาต พงษ์สวัสดิ์ ก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าร่วมทำกิจกรรมดังกล่าว โดยชูป้ายคัดค้านการรัฐประหารมีข้อความว่า “ไม่ยอมรับอำนาจเถื่อน” เขาเป็นคนแรกที่ถูกทหารจับกุมและควบคุมตัวด้วยกฎอัยการศึก 7 วัน  ต่อมาถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช. 7/2557, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215, 216 […]

จากมาตรา 21 พ.ร.บ.ความมั่นคงฯสู่คดีอาญา : บทเรียนคดีอยู่ในความสนใจของประชาชน โดย พูนสุข พูนสุขเจริญ

1.คดีร้ายแรงอยู่ในความสนใจของประชาชน ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2555 พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนายมาซับบรี กะบูติง กับพวกรวม 5 คน ในฐานความผิด “ร่วมกันก่ออันตรายโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการใด อันก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตโดยมีความมุ่งหมายเพื่อสร้างปั่นป่วน โดยให้เกิดความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน สะสมกำลังพลหรืออาวุธอันเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเพื่อก่อการร้าย พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำตามหน้าที่โดยไตร่ตรองไว้ก่อน เป็นอั้งยี่ เป็นซ่องโจร มีวัตถุระเบิด ซึ่งนายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครอง ขนย้ายวัตถุระเบิดโดยไม่ได้รับอนุญาต และกระทำให้เกิดระเบิดจนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น” ต่อศาลจังหวัดนาทวี จำเลยสี่รายได้ยื่นหลักประกันเป็นโฉนดที่ดินมูลค่ารวม 2,400,000 บาทเพื่อขอปล่อยตัวจำเลยทั้งสี่คน อย่างไรก็ตามศาลได้มีคำสั่งว่า “ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เนื่องจากกรณีเป็นคดีร้ายแรงอยู่ในความสนใจของประชาชน หากปล่อยตัวชั่วคราวเกรงว่าจำเลยจะหลบหนี” 2.มูลเหตุแห่งคดี กระบวนการมาตรา 21 แห่งพ.ร.บ.ความมั่นคงฯและการยื้อเวลาในการฟ้องคดี สำหรับที่มาของจำเลยในคดีดังกล่าวสืบเนื่องจากมีเหตุระเบิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2555 บริเวณตลาดนัดนิคมเทพา อ.เทพา จ.สงขลา ส่งผลให้มีอาสาสมัครทหารพรานได้รับบาดเจ็บจำนวนหกนาย และประชาชนบริเวณดังกล่าวอีกเจ็ดราย โดยก่อนที่จำเลย 4 ใน 5 ราย คือ นายมะซับบรี กะบูติ นายซุบิร์ […]

ชวนนักกฎหมาย/ทนายความเข้าร่วมกิจกรรม H-RIDERS CAMP : กฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก

ชวนนักกฎหมาย ทนายความ เข้าร่วมกิจกรรม H-Riders Camp เราจะมาชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปฏิติการทางกฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก ซึ่งเป็นประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ถูกจำกัดอย่างมากในสถานการณ์ปัจจุบัน มีประชาชน นักศึกษา นักกิจกรรม และชาวบ้านที่ลุกขึ้นมาใช้เสรีภาพในการแสดงออกในการต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิของชุมชนถูกปิดกั้นและถูกดำเนินเป็นจำนวนมาก เปิดรับสมัครแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 – 27 ตุลาคม 2560 จำนวน 25 คนเท่านั้น ผู้สนใจ สามารถเข้าไปกรอกใบสมัครได้ที่ https://goo.gl/forms/NXVJw5vuoq2LTWbq1  จะมีการคิดเลือกและประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าร่วมวันที่ 29 ตุลาคม 2560 ทางหน้าเพจ facebook : Human Rights Lawyers Association และ Website : https://naksit.net/th ฟรีค่าเข้าร่วม ค่าอาหาร และค่าที่พัก ตลอดงาน สอบถามรายละเอียดหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ 089-090-7593 (คุณน้ำหวาน ฝ่ายดูแลผู้สมัครร่วมโครงการ)   โครงการและกำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ H-RIDERS CAMP หัวข้อ : กฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก […]

จอแฮริ สุณี ดอกไม้ : ความอยุติธรรมภาคต่อในผืนป่าแก่งกระจาน

วันนี้ (20 กันยายน 2560) เป็นวันที่พนักงานอัยการจังหวัดเพชรบุรีนัดส่งสำนวนและสั่งคดี กรณี 3 ชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงถูกดำเนินคดีข้อหาความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และอาวุธปืน ทั้งสามคนเข้าพบอัยการตามนัด พร้อมทั้งขอยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ทั้งนี้ พนักงานอัยการให้เลื่อนนัดสั่งคดีไปเป็นวันที่ 19 ตุลาคม 2559 ผู้ต้องหา 3 คนคือ นายจอแฮริ กว่าบุ นายสุณี กว่าบุ และนายดอกไม้ พื้อแม้ ทั้ง 3 เป็นชาวบ้านชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย พวกเขาถูกดำเนินคดีแบบงงๆ ในข้อหาทำไม้หรือทำอันตรายใดๆแก่ไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต แปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต, ยึดถือ ครอบครอง ทำประโยชน์ หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่นสร้าง แผ้วถางหรือทำด้วยประการใดๆอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต, มีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาต, เก็บหาของป่า นำออกไปหรือทำด้วยประการใดๆให้เป็นอันตรายแก่สภาพป่าไม้ภายในอุทยานโดยไม่ได้รับอนุญาต การดำเนินคดีดังกล่าวมาจากเหตุการณ์การเข้าตรวจค้นของเจ้าหน้าที่หน่วยเฉพาะกิจทัพพระยาเสือ เจ้าหน้าที่กองร้อยตำรวจตะเวนชายแดนที่ 144 และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2560 และได้ตรวจพบไม้แปรรูปจำนวนหนึ่ง ในพื้นที่หมู่ 1 ตำบลห้วยแม่เพรียง อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี ทั้ง […]

ใบแจ้งข่าว : ขอเชิญสื่อมวลชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมสังเกตการณ์การไต่สวนคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนน้ำแดงพัฒนา สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้(สกต.) 4 คน

วันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2560 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้นัดไต่สวนคำร้องขอให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวชาวบ้านชุมชนน้ำแดงพัฒนา 4 คน ซึ่งถูกบริษัทอีควอโทเรียล คอมมิวนิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด โจทก์ร่วม ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2560 และวันที่ 28 สิงหาคม 2560 โดยในคำร้องอ้างว่าทั้ง 4 คนเป็นภัยต่อโจทก์ร่วมและพยานของโจทก์ร่วม ซึ่งข้อเท็จจริงที่ฝ่ายบริษัทโจทก์ร่วมอ้างมาเพื่อเป็นเหตุในการขอเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 23 มิถุนายน 2560 วันที่ 17 และ 21 กรกฎาคม 2560 ที่คนของบริษัทได้เข้ามาทำการเก็บเกี่ยวพืชผลในชุมชนน้ำแดงพัฒนา และชาวบ้านได้เข้าไปขอให้คนของบริษัทยุติการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ชาวบ้านเพาะปลูกไว้ แต่บริษัทอ้างว่าชาวบ้านได้บุกรุกเข้าไปในที่ดินแปลงที่บริษัทโจทก์ร่วมอ้างเป็นเจ้าของ ชาวบ้านน้ำแดงพัฒนาทั้ง 4 คนที่ถูกยื่นคำร้องของเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว ได้แก่ นายไพโรจน์ กลับนุ้ย นายอดิศร ศิริวัฒน์ นายสุวรรณ์ คงพิทักษ์ และนายเริงฤทธิ์ สโมสร ทั้งหมดเป็นผู้นำชาวบ้านที่ต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินทำกินในชุมชนน้ำแดงพัฒนา […]

1 2 3 5