Day: December 12, 2016

ใช้ บุญทองเล็ก นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดิน สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้

นายใช้ บุญทองเล็ก อายุ 61 ปี สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) และนักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินชุมชนคลองไทรพัฒนา ตำบลไทรทอง อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2558 ซึ่งในการสอบสวนพบว่ามีผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องจำนวนสามคนคือ มือปืน ผู้จ้างวาน และคนขับรถจักรยานยนต์ แต่ในชั้นฟ้องร้องดำเนินคดี สามารถนำเพียงผู้ต้องต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์เท่านั้นมาดำเนินคดีในชั้นศาลได้ ต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้ที่ต้องสงสัยที่คาดว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์ให้มือปืนที่ก่อเหตุยิงนายใช้ ในข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและร่วมกันพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ ญาติของนายใช้ ได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยมีทนายความจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนให้การช่วยเหลือในด้านการดำเนินคดี เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2559 ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์ เนื่องจากศาลเห็นว่าประจักษ์พยานโจทก์ทั้งสองคนไม่น่าจะจดจำใบหน้าคนร้ายได้ เพราะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ พยานอยู่ห่างจากจุดที่คนขับรถยืนอยู่พอสมควร ประกอบกับเป็นช่วงเวลาใกล้ค่ำ ส่วนที่โจทก์ร่วมนำสืบในประเด็นการใช้โทรศัพท์ของจำเลยซึ่งเชื่อมโยงกับคนยิงนั้น เห็นว่าเป็นข้อมูลหลังจากวันเกิดเหตุเวลานานมาก จากพยานหลักฐานและการนำสืบดังกล่าวจึงไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง จึงต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย ซึ่งฝ่ายโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 8 ล่าสุดวันที่ 28 พฤศจิกายน 2559 ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็ได้มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ การเสียชีวิตของนายใช้ คาดว่ามีสาเหตุหลักมาจากการต่อสู้ร่วมกับชาวชุมชนคลองไทรพัฒนา […]

บิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ นักต่อสู้เพื่อสิทธิและวิถีชีวิตชาติพันธุ์กระเหรี่ยงแห่งแก่งกระจาน

นายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ ได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอยตั้งแต่วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557 หลังจากถูกควบคุมตัวโดยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ที่ด่านเขามะเร็ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าบิลลี่มีรังผึ้งและน้ำผึ้งป่าไว้ในครอบครอง หลังจากนั้นบิลลี่ก็หายตัวไปโดยไม่ทราบชะตากรรมจนกระทั่งบัดนี้ แม้ภายหลังนายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจับกุมจะอ้างว่าได้ทำการตักเตือนและปล่อยตัวบิลลี่ไปแล้ว อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏหลักฐานที่อ้างเกี่ยวกับการจับกุมและหลักฐานการปล่อยตัวแต่อย่างใด บิลลี่เป็นแกนนำชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านบางกลอย นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน และผู้ช่วยทนายความในคดีที่ชาวบ้านบางกลอยยื่นฟ้องกรมอุทยานแห่งชาติฯ ต่อศาลปกครองกลาง จากกรณีที่นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เข้ารื้อทำลาย เผาบ้านเรือนและทรัพย์สินของชาวบ้านกว่า 20 ครอบครัว ที่บ้านบางกลอยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 ตาม“โครงการขยายผลการอพยพ ผลักดัน/จับกุม ชนกลุ่มน้อยที่บุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ตามแนวชายแดนไทยพม่า” หรือ “ยุทธการตะนาวศรี” เพื่อผลักดันให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ แม้จะปรากฏผลการศึกษายืนยันว่าชาวบ้านเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมชาวปาเกอญอที่ตั้งรกรากอาศัยอยู่ในพื้นที่มาเป็นเวลาร่วมกว่า 100 ปีแล้ว ขณะที่บิลลี่หายตัวไปนั้นอยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลเพื่อต่อสู้คดีดังกล่าว นอกจากนี้ บิลลี่ยังอยู่ระหว่างการเตรียมถวายฎีกาเพื่อร้องเรียนขอความเป็นธรรมต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ทั้งนี้ ยังเชื่อด้วยว่านายบิลลี่มีพยานหลักฐานเกี่ยวกับคดีและกรณีร้องเรียนดังกล่าวอยู่กับตัวด้วยในขณะที่หายไป ทั้งนี้ คดีดังกล่าว ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 8 กันยาน 2559 ซึ่งคำพิพากษาโดยสรุประบุว่า ผู้ร้องที่เป็นชาบบ้านกลุ่มชาติพันธุ์กระเหรี่ยงไม่มีสิทธิอยู่อาศัยในพื้นที่ดั้งเดิม ส่วนการรื้อถอนด้วยวิธีเผาทำลายเพิ่งพักและยุ้งฉาง ศาลตัดสินว่าเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักความได้สัดส่วนและตามควรแก่กรณีสภาพการณ์ ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจโดยชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว อย่างไรก็ดี ศาลให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช […]

ทนายสมชาย นีลไพจิตร ทนายความด้านสิทธิผู้ทำงานตรวจสอบอำนาจรัฐในสถานการณ์พิเศษ

นายสมชาย นีละไพจิตร ทนายความและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ถูกบังคับให้สูญหายเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2547 การบังคับสูญหายทนายสมชาย คาดว่ามีมูลเหตุมาจากการที่เขาทำงานช่วยเหลือทางคดีแก่ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนใต้ และเขายังมีบทบาทในการเคลื่อนไหวรณรงค์เพื่อยกเลิกกฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงที่ประกาศใช้ในพื้นที่ด้วย ในทางคดี พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญาพิเศษ 6 ได้เป็นโจทก์ฟ้องเจ้าพนักงานตำรวจรวม 5 นายได้แก่ พ.ต.ต.เงิน ทองสุก พ.ต.ท.สินชัย นิ่มปุญกำพงษ์ จ.ส.ต.ชัยเวง พาด้วง ส.ต.อ.รันดร สิทธิเขต และ พ.ต.ท.ชัดชัย เลี่ยมสงวน ต่อศาลอาญาเป็นคดีหมายเลขดำที่ 1952/2547 ในความผิดฐานร่วมกันปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะและร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นโดยทำให้กลัวว่าจะทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพโดยใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 390 และ 391 เพราะเหตุประเทศไทยยังไม่มีความผิดฐานบังคับให้บุคคลสูญหายโดยตรง จึงต้องฟ้องในฐานความผิดอาญาอื่น คดีนี้ ครอบครัวผู้เสียหายได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ซึ่งศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้ครอบครัวผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์กับอัยการได้  แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้อนุญาตให้ภรรยาของนายสมชายเข้าเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการและศาลฎีกาพิพากษายืน โดยทั้งสองศาลให้เหตุผลว่าคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ไม่ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 5 (2) กล่าวคือภรรยาและบุตรไม่สามารถแสดงให้เห็นได้ว่านายสมชายได้ถูกทำร้ายจนถึงแก่ความตายตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถเข้าเป็นโจทก์ร่วมเอง ประเด็นที่ญาติของนายสมชายไม่สามารถเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวของกระบวนการยุติธรรมในการนำคนผิดมาลงโทษอย่างสิ้นเชิงโดยส่วนสำคัญของปัญหาคคือการขาดซึ่งกฎหมายอาญาที่กำหนดว่าการบังคับให้บุคคลหายสาบสูญหรืออุ้มหายเป็นความผิดทางอาญา และการตีความกฎหมายอย่างแคบไปในทางจำกัดสิทธิของญาติในการเข้าเข้าเป็นโจทก์ร่วมของศาลลทำให้สิทธิในการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้เสียหายไม่ได้รับการยอมรับ การต่อสู้คดีที่ยาวนานกว่า 12 ปี จบลงด้วยการที่ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้องจำเลยซึ่งเป็นตำรวจทั้ง 5 […]

เด่น คำแหล้ นักต่อสู้เพื่อสิทธิในที่ดินอีสาน

นายเด่น คำแหล้ ประธานโฉนดชุมชนโคกยาว ต.ทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ แกนนำการต่อสู้เรื่องสิทธิที่ดินทำกินในภาคอีสาน หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย หลังเดินทางไปเก็บหน่อไม้บริเวณสวนป่าโคกยาว จ.ชัยภูมิ ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2559 นายเด่น คำแหล้ เป็นเกษตรกรใน ต.ทุ่งลุยลาย ตั้งแต่ก่อนพื้นที่ดังกล่าวจะถูกประกาศให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม จ.ชัยภูมิ ในปี 2516 โดยเด่นกับภรรยาได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกินด้วยการปลูกสร้างสวนป่าโคกยาวและปลูกยูคาลิปตัส จนกระทั่งปี 2528 เจ้าหน้าที่ป่าไม้และกองกำลังทหารพรานได้อพยพครอบครัวของเด่น และชาวบ้านคนอื่น ๆ ออกจากพื้นที่ทำกิน โดยสัญญาว่าจะจัดสรรที่แห่งใหม่ให้รายละ 15 ไร่ แต่พื้นที่ที่รัฐจัดสรรให้กลับมีเจ้าของอยู่แล้ว ชาวบ้านจึงอยู่ในสภาพไร้ที่ดินทำกิน นายเด่น คำแหล้ ร่วมต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิที่ดินทำกินมานับแต่นั้น กระทั่งกระบวนการแก้ไขปัญหาเข้าสู่ปี 2548 คณะทำงานตรวจสอบพื้นที่โดยมี ธนโชติ ศรีกุล ปลัดอาวุโสอำเภอคอนสาร เป็นประธาน ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถือครองทำประโยชน์ที่ดิน และการสำรวจรังวัดพื้นที่ มีมติว่าสวนป่าโคกยาวได้สร้างผลกระทบขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ และให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนเป็นการต่อไป ต่อมาคณะอนุกรรมการสิทธิที่ดินและป่าในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้ลงตรวจสอบพื้นที่และได้รายงานผลการละเมิดสิทธิ โดยมีมติว่าการปลูกสร้างสวนป่าโคกยาวได้ละเมิดสิทธิในที่ดินของผู้เดือดร้อน และให้ยกเลิกสวนป่าโคกยาว ทั้งนี้ในระหว่างการแก้ไขปัญหาจะได้ข้อยุติ ให้ผู้เดือดร้อน สามารถทำกินในระหว่างร่อง แถวของสวนป่าไปพลางก่อน ต่อมาพื้นที่พิพาทสวนป่าโคกยาว […]

ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความด้านสิทธิฯ ผู้ถูกเจ้าหน้าที่รัฐแจ้งความถึง 3 คดีสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ทนายความ

ภายหลังจากการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) นอกจากจะมีกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่มีความพิเศษผิดไปจากระบบปกติแล้ว การปฏิบัติหน้าที่ของทนายความในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยก็ตกอยู่ในสภาวะยากลำบากด้วยเช่นกัน  การแจ้งความดำเนินคดีถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความ ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน คือหนึ่งในทนายความที่ถูกแจ้งความดำเนินคดีอันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ ศิริกาญจน์ ถูกดำเนินคดีจากเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าจะทำการตรวจค้นหาหลักฐานของ 14 นักศึกษาจากรถยนต์ของเธอ เมื่อช่วงกลางดึกวันนี้ 27 มิถุนายน 2558 แต่เธอและทีมทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนไม่ยินยอม เนื่องจากการตรวจค้นวัตถุพยานตามกฎหมายจะต้องกระทำในที่เกิดเหตุ หรือต้องมีหมายศาล และเธอได้เข้าแจ้งความฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง นี้จึงเป็นเหตุให้ต่อมาเธอถูกดำเนินคดี โดยปัจจุบัน ศิริกาญจน์ เจริญศิริ ถูกแจ้งความดำเนินคดีแล้ว 3 คดี ได้แก่ คดีที่ 1 พล.ต.ต.ชยพล ฉัตรชัยเดช ได้แจ้งความดำเนินคดีข้อหากระทำความผิดฐานซ่อนเร้นพยานหลักฐานและทราบคำสั่งเจ้าพนักงานแล้วไม่ปฏิบัติตามคำสั่งตามมาตรา 142 และมาตรา 368 ประมวลกฎหมายอาญา จากการที่ .ศิริกาญจน์ทำหน้าที่ทนายความปกป้องสิทธิของลูกความโดยการไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าค้นรถของตนโดยไม่มีหมายค้นเพื่อยึดโทรศัพท์มือถือของนักศึกษาทั้ง 14 คน ซึ่งฝากทีมทนายความไว้ก่อนเข้าเรือนจำในคืนวันที่ 26 มิ.ย. 2558 คดีนี้มีนัดฟังคำสั่งอัยการว่าจะฟ้องหรือไม่ฟ้องต่อศาลแขวงดุสิตหรือไม่ในวันที่ 17 ม.ค. 2560 ซึ่นี้เป็นการเลื่อนรอบที่ 4 แล้ว คดีที่ 2 […]