Day: October 25, 2016

คดีทรมานนักศึกษายะลา : บทพิสูจน์ความก้าวหน้ากระบวนการยุติธรรมไทย โดย จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว

คดียุทธศาสตร์อีกคดีหนึ่งที่เครือข่ายฯ เรียกกันติดปากคือ “คดีนักศึกษายะลา” เป็น คดีที่นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวและทรมานให้รับสารภาพ เนื่องจากเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ โดยเจ้าหน้าที่ทหารใช้อำนาจควบคุมตัวตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ เหตุควบคุมตัวและการทรมานดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนมกราคม ๒๕๕๑ ที่หน่วยเฉพาะกิจที่ ๑๑ จังหวัดยะลา และค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี ที่เรียกกันติดปากว่าคดีนักศึกษายะลาก็เพราะว่าผู้ถูกควบคุมตัวและทรมานให้ รับสารภาพทั้งหมดรวม ๗ คน ยังเป็นนักศึกษาและบางส่วนทำกิจกรรมกับชุมชนและชาวบ้าน โดยเป็นสมาชิกของสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ โดยหวังว่าการทำกิจกรรมของตนจะเป็นส่วนหนึ่งในการคลี่คลายปัญหาความไม่สงบลง บ้าง แต่บทบาทดังกล่าวกลับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ถูกควบคุมตัว ปัญหาการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ หรือที่เรียกกันว่ากฎหมายพิเศษ ทำให้ประชาชนตกเป็นผู้ต้องสงสัยและถูกควบคุมตัว ตลอดจนต้องเข้าสู่ขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมโดยไม่จำเป็น สร้างภาระและความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างมาก ภายใต้มายาคติว่าชาวไทยมุสลิมเป็นผู้ก่อความไม่สงบ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนอกจากไม่สามารถแก้ไขปัญหาความไม่สงบได้แล้ว ยังนำมาสู่ปัญหาการทรมานประชาชนโดยเจ้าหน้าที่เพื่อให้รับสารภาพอีกด้วย คดี นักศึกษายะลาเป็นหนึ่งในคดีที่มีการควบคุมตัวโดยมิชอบและทรมานให้รับสารภาพ จำนวนมากที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การควบคุมตัวบุคคลโดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึกฯ ทำได้โดยง่าย เพียงเป็น “ผู้ต้องสงสัย” เจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ได้นาน ๗ วัน เมื่อครบกำหนด และเจ้าหน้าที่ประสงค์จะควบคุมตัวต่อไป ให้ขออนุญาตต่อศาลเพื่อออกหมายจับและควบคุมตัวตามพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ต่อไปอีก ๓๐ […]

ความสำเร็จภายใต้กฎหมายความมั่นคง โดย มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม

นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๔ ส่วนหน้า ได้ประกาศผลความสำเร็จในการทำงานเพื่อยุติการใช้ความรุนแรงด้วยวิธีการอบรมแทนการดำเนินคดี ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ โดยมีผู้จบหลักสูตรการอบรมมาแล้วสองคน คือ นายรอยาลี บือราเฮง และนายยาซะ เจะหมะ ทั้งสองคนเป็นผู้ต้องหาและได้รับสารภาพในความผิดที่ถูกกล่าวหา โดยยอมรับว่ากระทำไปเพราะหลงผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และยินยอมเข้ารับการอบรมตามมาตรา ๒๑ แทนการถูกดำเนินคดี นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีและเป็นการสร้างบรรยากาศที่จะเอื้อให้หลายคนที่เข้าไปอยู่ในกลุ่มของขบวนการก่อความไม่สงบอย่างหลงผิดและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ได้มีช่องทางหรือหาทางออกให้กับตัวเอง กฎหมายความมั่นคงฉบับนี้ฉีกแนวกว่ากฎหมายพิเศษที่ใช้บังคับมาแล้ว ทั้งกฎอัยการศึกและพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเปิดพื้นที่ให้ผู้กระทำความผิดที่กระทบต่อความมั่นคงแต่กลับใจได้มีโอกาสเข้ามอบตัว หรือในกรณีที่พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนแล้วพบว่าผู้ต้องหานั้นๆกระทำไปเพราะหลงผิดและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งเห็นว่าการกลับใจของผู้นั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการรักษาความมั่นคง ในกรณีอย่างนี้ หากผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (ผอ.กอ.รมน.) เห็นชอบ ก็สามารถส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาล และหากศาลเห็นสมควร เมื่อสอบถามผู้ต้องหาแล้วสมัครใจเข้าร่วมอบรม ก็อาจสั่งให้ผู้ต้องหานั้นเข้ารับการอบรม ณ สถานที่ที่กำหนดไว้เป็นเวลาไม่เกินหกเดือนแทนการถูกดำเนินคดี ผลในทางกฎหมายในกรณีนี้ คือ สิทธิในการนำคดีมาฟ้องเกี่ยวกับความผิดตามข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นอันระงับไป ตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๓๙) ซึ่งจะเป็นผลดีต่อตัวผู้ต้องหาเอง เจตนารมณ์ของกฎหมายนั้นต้องการให้กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงหรือผู้ที่มีหมายจับ ไม่ว่าจะเป็นหมายจับตามพรก.ฉุกเฉินหรือตามป.วิอาญาได้เข้าสู่กระบวนทางกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อที่จะยุติการก่อเหตุรุนแรงหรือการก่อความไม่สงบ อันเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับการสร้างบรรยากาศหรือเปิดพื้นที่ให้กับคนที่มีความเห็นต่างได้มีโอกาสเข้ามาให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหา จึงเป็นความปรารถนาดีของรัฐที่มีต่อฝ่ายที่หลงผิดและเข้าสู่ขบวนการ ไม่ว่าที่ยังอยู่ในพื้นที่หรือที่กำลังหลบหนีก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้ยุติทั้งความคิดและการกระทำ เท่ากับว่ารัฐได้เปิดหนทางให้แล้ว และหากพวกเขาเข้าสู่กระบวนการนี้ก็มีโอกาสที่จะได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติ ในกรณีที่ไม่มีอาชีพ ทางการก็อาจหาอาชีพให้โดยมีข้อแลกเปลี่ยนคือขอให้ยุติการก่อเหตุรุนแรง หยุดสร้างความเสียหายแก่ชาติบ้านเมือง ร่วมกันพัฒนาชาติและสร้างสันติภาพในพื้นที่ต่อไป แต่ข้อสรุปนี้จะเป็นความคาดหวังที่ยังห่างไกลความจริงของรัฐหรือไม่ […]

ความจริงคนละชุด โดย ไพโรจน์ พลเพชร

ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายผู้ชุมนุมก็ตาม คุณค่าชีวิตจะต้องมาก่อนเป็นอันดับหนึ่ง ไม่มีสิทธิ์อ้างประชาธิปไตยเพื่อเอาชีวิตเข้าไปทำลายชีวิต ขณะเดียวกันไม่ใช่เอาอำนาจหน้าที่เพื่อรักษาสังคมแล้วทำลายชีวิต เพราะว่านี่คือคุณค่าที่สำคัญที่สุด ไม่มีอะไรยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน ประชาธิปไตยก็ไม่ยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน หน้าที่ในการปกป้องสังคมก็ไม่ยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน ที่รัฐอ้างว่าเป็นหน้าที่ต้องปกป้องความสงบสุขเรียบร้อย ก็ไม่ยิ่งใหญ่กว่าชีวิตคน กฎหมายจัดการไม่ได้ ตำรวจจัดการไม่ได้ รัฐบาลก็ทำอะไรไม่ได้ แล้วสังคมนี้จะอยู่กันอย่างไร มีคนวิตกแบบนี้ และนี่เป็นแรงขับดันทำให้พลังอำนาจทหารที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมืองเป็นไปได้สูง ดังนั้นต้องถามว่าแล้ว นปช.ต้องการอย่างนั้นหรือเปล่า ทำไมต้องการอย่างนั้น หรือกลุ่มที่เคลื่อนไหวต้องการอย่างนั้นหรือ ถ้าเราไม่ต้องการ เราต้องการรักษาประชาธิปไตยใช่ไหม เราจะต้องไม่ทำให้ไปสู่ทางนั้น แน่นอนว่าเขาจ้องอยู่ เราก็ไม่ต้องสร้างเงื่อนไข หลังเหตุการณ์นองเลือดวันที่ 10 เมษา ดูหมือนสังคมไทยยังไม่ได้เรียนรู้จากความสูญเสีย เช่นเดียวกับที่ไม่เคยถอดบทเรียนในอดีตของการใช้ความรุนแรงแก้ปัญหาการเมือง เพราะจนถึง วันนี้ทั้งสองฝ่ายยังส่งสัญญาณว่ากำลังจะเดินไปสู่จุดนั้นอีกครั้ง และครั้งนี้สังคมก็กำลังจะอนุญาตให้ใช้ความรุนแรงอย่างชอบธรรม ภาวะเงื่อนไขเช่นนี้ ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ตั้งคำถามกับนักประชาธิปไตยฝ่าย นปช.และรัฐบาลว่ายังจะเลือกเดินทางนี้อีกหรือ สองฝ่ายขาดความชอบธรรม “ที่จริงมันเตือนกันมาตลอด แต่มันก็ไปจนได้ ก่อนหน้านี้ข้อเรียกร้องทางสังคมก็พูดอยู่สองเรื่องใหญ่ๆ เรียกร้องอันแรกก็คือว่าจะต้องใช้แนวทางสันติทั้งสองฝ่าย หมายความว่ารัฐบาลก็ต้องใช้มาตรการแบบสันติวิธี การกำกับการควบคุมผู้ชุมนุมก็ใช้แบบสันติ ขณะเดียวกันผู้ชุมนุมก็ต้องใช้แนวทางสันติ และดูเหมือนจากวันที่ 12 มี.ค.เป็นต้นมา ในช่วงแรกที่จริงมันก็เกิดสิ่งใหม่ๆ เช่น รัฐบาลก็มีตัวแทนอย่างคุณกอร์ปศักดิ์ นปช.ก็มีหมอเหวงเพื่อประสานงานในการจัดการชุมนุม ประสานงานบริหารการชุมนุม ซึ่งถามว่าในอดีตที่ผ่านมามันมีไหม […]

ความเห็นทางกฎหมายต่อความรับผิดของเจ้าหน้าที่ภายใต้กฎอัยการศึก โดย ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

ตามที่โฆษกของคณะรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (คสช.) ได้แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ สรุปใจความได้ว่า “ประชาชนกลุ่มต่อต้านที่ออกมาชุมนุมอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่อาจจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด หากปะทะกันอาจบาดเจ็บสูญเสีย จะไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้ เพราะขณะนี้อยู่ในช่วงภาวะไม่ปกติ เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ปฏิบัติงานภายใต้กฎอัยการศึก ,ประกาศ ,และคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติในทุกพื้นที่ของประเทศ” (อ่านข่าวได้ที่ http://thainews.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNPOL5705250020022)  ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (ศทส.) เห็นว่าการให้ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย และขัดต่อแนวคำพิพากษาของทั้งศาลปกครองและศาลทหาร  ที่เคยวินิจฉัยกรณีพิพาทที่มีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในสถานการณ์กฎอัยการศึกว่าหากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารใช้อำนาจหน้าที่อย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย  ประชาชนที่เสียหายก็ยังมีสิทธิฟ้องหน่วยงานให้ชดใช้ค่าเสียหายและแจ้งความดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่ได้  หลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครองมีอยู่ว่า การใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าในสถานการณ์พิเศษอย่างไร  ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย เป็นไปอย่างมีเหตุมีผล  และหากมีการฝ่าฝืนต่อหลักการข้างต้นก็ย่อมต้องมีความรับผิดอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ในรัฐสมัยใหม่ที่ยอมรับว่าประชาชนมีฐานะเป็นพลเมืองของรัฐเป็นประธานแห่งสิทธิและรัฐมีอำนาจจำกัดเท่าที่จำเป็นนั้น  การดำเนินการใด ๆ ของรัฐอันอาจไปกระทบสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้นจะกระทำได้ก็แต่โดยมีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้ง  ไม่เพียงเท่านั้นต่อให้มีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้งแล้ว  การใช้อำนาจของฝ่ายปกครองยังต้องเป็นไปโดยถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย มีเหตุผล  เมื่อพิจารณาการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. กฎอัยการศึกทั่วประเทศ  จะพบว่ามีบทบัญญัติที่กำหนดยกเว้นความรับผิดของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไว้ในมาตรา ๑๖ ของ ซึ่งบัญญัติว่า “ความเสียหายซึ่งอาจบังเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในมาตรา ๘ ถึงมาตรา ๑๕ บุคคลหรือบริษัทใด ๆ จะร้องขอค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้าหน้าที่ทหารไม่ได้เลย เพราะอำนาจทั้งปวงที่เจ้าหน้าที่ทหารได้ปฏิบัติและดำเนินการตามกฎอัยการศึกนี้เป็นการสำหรับป้องกันพระมหากษัตริย์ ชาติ […]