Month: December 2010

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนคัดค้านร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ย้ำตัดอำนาจศาลปกครองขัดรัฐธรรมนูญ

วันนี้ (20 ธ.ค.53) สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรสิทธิฯได้เข้าพบเพื่อขอให้ยกเลิกบท บัญญัติซึ่งตัดอำนาจศาลปกครองตามร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ….ต่อสำนักงานกฤษฎีกา เนื่องจากร่างดังกล่าวอาจทำให้ขัดรัฐธรรมนูญเหตุและจะทำให้ประชาชนเข้าไม่ ถึงสิทธิ เครือข่ายฯมีความเห็นร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดมีเนื้อหาขัดต่อรัฐธรรมนูญ นางสาวพูนสุข พูนสุขเจริญ ผู้ประสานงานฝ่ายวิชากาสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวว่าเครือข่ายฯและองค์กรสิทธิอีกหลายองค์กร ได้เข้าพบ นายโกมล จิรชัยสุทธิกุล ผู้ อำนวยการสำนักกฎหมายปกครองสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อยื่นหนังสือแสดง ความเห็นคัดค้านร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ…..ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นของสำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกา เนื่องจากทางเครือข่ายฯ เห็นว่าร่างดังกล่าวได้ตัดเขตอำนาจศาลปกครองในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับการ กระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ออกไป โดยการนิยามคำว่า “ศาล” ให้หมายถึงศาลยุติธรรมตามมาตรา 4 ซึ่งจะทำให้ขัดต่อมาตรา 223 รัฐธรรมนูญ เพราะคดีดังกล่าวมีลักษณะเป็นคดีปกครองซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง อีกทั้งมูลหนี้ละเมิดทางปกครองไม่ใช่มูลหนี้ละเมิดทางแพ่งอย่างที่สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกาเข้าใจเพราะละเมิดทางปกครองมีที่มาจากการอาศัยอำนาจรัฐใน การกระทำการไม่ใช่การกระทำละเมิดทางแพ่งทั่วไป การตัดเขตอำนาจศาลปกครองจึงถือเป็นการทำลายเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในการก่อ ตั้งศาลปกครอง ย้ำหากให้ตัดเขตอำนาจศาลปกครองในการพิจารณาประชาชนจะเข้าไม่ถึงสิทธิ นางสาวพูนสุข ยังกล่าวว่าการโอนอำนาจในการพิจารณาคดีละเมิดจากศาลปกครองไปยังศาลยุติธรรม จะทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิได้ยากลำบากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมต้องอาศัยทนายความในการดำเนินคดี ระบบการพิจารณาของศาลยุติธรรมเป็นระบบกล่าวหา ทั้งที่คู่ความมีสถานะไม่เท่าเทียมกัน อาจทำให้ความสามารถในการหยิบยกประเด็นซึ่งถูกละเมิดขึ้นมาต่อสู้และโอกาสใน การเข้าถึงพยานหลักฐานน้อยลง ในขณะที่กระบวนการพิจารณาของศาลปกครองเป็นระบบไต่สวน ซึ่งเปิดโอกาสให้ศาลสามารถแสวงหาข้อเท็จจริงได้กว้างขวางกว่าระบบกล่าวหาของ ศาลยุติธรรม หากคดีละเมิดต้องถูกโอนไปยังศาลยุติธรรมจริงจะทำให้หลายคดีไม่สามารถเรียก ร้องความเป็นธรรมได้ เผยปัญหาไม่ได้เกิดจากกฎหมายแต่เกิดจากเจ้าหน้าที่ไม่กล้าบังคับคดีทางปกครอง สำหรับสาเหตุในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวเป็นเพราะหน่วยงานรัฐมีปัญหาในการ เรียกชำระเงินคืนจากเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทำความผิด ซึ่งหน่วยงานได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เอกชนไปตามพระราชบัญญัติความรับผิด ทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539 แล้ว แต่ไม่สามารถไปบังคับเอาคืนได้ทำให้สูญเสียงบประมาณปีละหลายพันล้านบาท สาเหตุที่ไม่สามารถบังคับคดีได้มีหลายประการ ทั้งความไม่ชัดเจนของกลไกการบังคับคดี ความไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่และไม่มีบุคคลากรด้านกฎหมายในองค์กร […]